พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ราชสูตร ว่าด้วยการมีศีลไม่เป็นเหตุให้ได้รับโทษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39255
อ่าน  290

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 377

จตุตถปัณณาสก์

อุปาสกวรรคที่ ๓

๘. ราชสูตร

ว่าด้วยการมีศีลไม่เป็นเหตุให้ได้รับโทษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 377

๘. ราชสูตร

ว่าด้วยการมีศีลไม่เป็นเหตุให้ได้รับโทษ

[๑๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็น หรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาต ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขามาประหาร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 378

จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาต แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละ ย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ฆ่าหญิง หรือชายตาย พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งปาณาติบาต ท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม เห็นปานนี้ บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่าท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้ว บ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากอทินนาทาน.

ภิ. มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีล่ะ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากอทินนาทาน แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละ ย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ลักทรัพย์เขามาจากบ้าน หรือจากป่า พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งอทินนาทาน ท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม เห็นปานนี้ บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่า ท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้ว บ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 379

กาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุการงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร.

ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้ เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละ ย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ ละเมิดประเพณีในหญิงหรือบุตรีของผู้อื่น พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งกาเมสุมิจฉาจาร ท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้ บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่า ท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้ว บ้างหรือว่า คนผู้นี้ เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท.

ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้ เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ ทำลายประโยชน์ของคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีด้วยมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 380

เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งมุสาวาท ท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม เห็นปานนี้ บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่า ท่านทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้ว บ้างหรือว่า คนผู้นี้ เป็นผู้ละการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้น จากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.

ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้น จากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละ ย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ประกอบการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แล้วฆ่าหญิง หรือชายตาย ลักทรัพย์เขามาจากบ้านหรือจากป่า ละเมิดประเพณีในหญิง หรือบุตรีของผู้อื่น ทำลายประโยชน์ของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี ด้วยมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 381

แห่งการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม เห็นปานนี้ บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป.

จบราชสูตรที่ ๘

อรรถกถาราชสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในราชสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปพฺพาเชนฺติ คือ ให้ขับออกจากแว่นแคว้น. บทว่า ยถา ปจฺจยํ วา กโรนฺติ ได้แก่ ทำตามความประสงค์ ทำตามอัธยาศัย. บทว่า ตเถว ปาปกมฺมํ ปเวเทนฺติ ได้แก่ บอกกล่าวกรรม ที่ผู้นั้นทำ แก่ผู้อื่น.

จบอรรถกถา ราชสูตรที่ ๘