พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. นิสันติสูตร ว่าด้วยเหตุให้คิดได้เร็วเรียนได้ดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39246
อ่าน  343

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 361

จตุตถปัณณาสก์

อาฆาตวรรคที่ ๒

๙. นิสันติสูตร

ว่าด้วยเหตุให้คิดได้เร็วเรียนได้ดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 361

๙. นิสันติสูตร

ว่าด้วยเหตุให้คิดได้เร็วเรียนได้ดี

[๑๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหา ท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 362

ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอแล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว ในกุศลธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้ว ย่อมไม่เลือนไป ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ท่านอานนท์แลเป็นพหูสูต ข้อความนั้น จงแจ่มแจ้งแก่ท่านอานนท์ทีเดียว.

อา. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระสารีบุตร รับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น อาวุโส ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้น และเบื้องปลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว ในกุศลธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้ว ย่อมไม่เลือนไป.

สา. ดูก่อนอาวุโส น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่ท่านอานนท์กล่าวไว้ดี แล้วนี้ และพวกเราย่อมทรงจำท่านอานนท์ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ว่า ท่านอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้น และเบื้องปลาย.

จบนิสันติสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 363

อรรถกถานิสันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในนิสันติสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เพราะกำหนดจดจำได้เร็ว. ชื่อว่าเรียนได้ อย่างดี เพราะรับเอาไว้ดีแล้ว. บทว่า อตฺถกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในอรรถกถา. บทว่า ธมฺมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในบาลี. บทว่า นิรุตฺติกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในภาษา. บทว่า พฺยญฺชนกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งอักษร. บทว่า ปุพฺพาปรกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้น เบื้องปลาย ๕ คือ เบื้องต้นเบื้องปลายของอรรถกถา เบื้องต้นเบื้องปลายของบาลี เบื้องต้นเบื้องปลายของบท เบื้องต้นเบื้องปลายของอักษร เบื้องต้นเบื้องปลายของอนุสนธิ. ในเบื้องต้นเบื้องปลายเหล่านั้น รู้อรรถ เบื้องต้นด้วยอรรถเบื้องปลาย รู้อรรถเบื้องปลายด้วยอรรถเบื้องต้น ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งอรรถกถา. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่า ก็ภิกษุนั้น เมื่อท่านเว้นอรรถเบื้องต้น กล่าวแต่อรรถเบื้องปลาย ย่อมรู้ว่า อรรถเบื้องต้นมีอยู่ดังนี้ แม้เมื่อท่านเว้นอรรถเบื้องปลาย กล่าวแต่อรรถเบื้องต้น ก็รู้ว่าอรรถเบื้องปลายมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถทั้งสอง กล่าวแต่อรรถในท่ามกลาง ย่อมรู้ว่าอรรถทั้งสองมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถในท่ามกลาง กล่าวแต่อรรถทั้งสองส่วน ย่อมรู้ว่าอรรถในท่ามกลางมีอยู่ดังนี้. แม้ในเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งบาลี ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เมื่อพระสูตรเริ่มศีลเป็นต้นไป ในที่สุดก็มาถึงอภิญญา ๖ ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตรไปตามอนุสนธิ ตามกำหนดบท ดังนี้ เมื่อพระสูตรเริ่มแต่ทิฏฐิไป เบื้องปลาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 364

สัจจะทั้งหลายก็มาถึง ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตรไปตามอนุสนธิ เมื่อพระสูตรเริ่ม แต่การทะเลาะบาดหมางกัน เบื้องปลายสาราณียธรรมก็มาถึง เมื่อพระสูตร เริ่มแต่ดิรัจฉานกถา ๓๒ เบื้องปลายกถาวัตถุ ๑๐ ก็มาถึง ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตรไปตามอนุสนธิ ดังนี้.

จบอรรถกถา นิสันติสูตรที่ ๙