พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุพพิโนทยสูตร ว่าด้วยธรรมที่บรรเทาได้ยาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39235
อ่าน  291

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 335

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๑๐. ทุพพิโนทยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่บรรเทาได้ยาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 335

๑๐. ทุพพิโนทยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่บรรเทาได้ยาก

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ปฏิภาณ ๑ จิตคิดจะไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก.

จบทุพพิโนทยสูตรที่ ๑๐

จบสัทธัมมวรรคที่ ๑

อรรถกถาทุพพิโนทยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุพพิโนทยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุปฺปฏิวิโนทยา ความว่า ฐานะทั้งหลายใด ย่อมมีเพื่อยังกิจ มีการรื่นเริงเป็นต้น ให้เกิดขึ้น เมื่อฐานะนั้นๆ ยังไม่สิ้นสุดเป็นอันนำออก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 336

ยาก ข่มได้ยาก. ความเป็นผู้ประสงค์จะกล่าว ท่านเรียกว่า ปฏิญาณ. ธรรม ๕ อย่างนี้ ระงับยาก ไม่ใช่ระงับได้ง่าย แต่สามารถระงับได้ด้วยปัจจเวกขณะ (การพิจารณา) และอนุสาสนะ (การสั่งสอน) อันสมควรโดยอุบาย โดยเหตุ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถา ทุพพิโนทยสูตรที่ ๑๐

จบสัทธัมมวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัทธัมมนิยามสูตร ๓ สูตร ๔. สัทธัมมสัมโมสสูตร ๓ สูตร ๗. ทุกถาสูตร ๘. สารัชชสูตร ๙. อุทายิสูตร ๑๐. ทุพพิโนทยสูตร และอรรถกถา.