พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ภัตตาหกสูตร ว่าด้วยองค์ของช้างต้นกินจุและของภิกษุฉันมาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39211
อ่าน  290

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 288

ตติยปัณณาสก์

ราชวรรคที่ ๔

๘. ภัตตาทกสูตร

ว่าด้วยองค์ของช้างต้นกินจุ และของภิกษุฉันมาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 288

๘. ภัตตาทกสูตร

ว่าด้วยองค์ของช้างต้นกินจุ และของภิกษุฉันมาก

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นช้างกินจุ ขวางที่ ขี้มาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ ถึงความนับว่าเป็นช้างทรง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทนต่อรส ๑ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ นี้แล เป็นช้างกินจุ ขวางที่ ขี้มาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ ถึงความนับว่าเป็นช้างทรง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 289

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ฉันอาหารจุ ขวางที่ นั่งนอนมาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ ถึงความนับว่าเป็นภิกษุ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เป็นผู้ฉันอาหารจุ ขวางที่ นั่งนอนมาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ ถึงความนับว่าเป็นภิกษุ.

จบภัตตาทกสูตรที่ ๘

อรรถกถาภัตตาทกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในภัตตาทกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ภตฺตาทโก ได้แก่ คอยแต่จะกิน อธิบายว่า กินจุ. บทว่า โอกาสผรโณ ความว่า ชื่อว่า โอกาสผรณะ (ขวางที่) เพราะกินเนื้อที่ เบียดช้างเชือกอื่นๆ. ชื่อว่า ลัณฑสาธนะ (ถ่ายไม่เป็นที่) เพราะเที่ยวถ่ายคูถเรี่ยราดในที่นั้นๆ. ชื่อว่า สลากัคคาหี (คอยรับคะแนน) เพราะรับคะแนนในเวลา นับจำนวนว่า ช้างมีจำนวนเท่านี้. ชื่อว่า ปิฐมัททนะ (ย่ำตั่ง) เพราะเหยียบย่ำเตียงตั่ง เมื่อจะนั่งจะนอน. ชื่อว่า สลากัคคาหี (คอยรับคะแนน) เพราะรับคะแนนในเวลานับภิกษุ.

จบอรรถกถา ภัตตาทกสูตรที่ ๘