พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อานันทสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ผาสุก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39176
อ่าน  293

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 242

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรคที่ ๑

๖. อานันทสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ผาสุก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 242

๖. อานันทสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ผาสุก

[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 243

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์ พึงอยู่เป็นผาสุก.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ พึงอยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล และเป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ พึงอยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น และเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้ง เพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ พึงอยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้ง เพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น แต่เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 244

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ พึงอยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล ฯลฯ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกล่าวได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่ เป็นผาสุกอย่างอื่น ที่ดีกว่า หรือประณีตกว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกเช่นนี้ ย่อมไม่มี.

จบอานันทสูตรที่ ๖

อรรถกถาอานันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า โน จ ปรํ อธิสีเล สมฺปวตฺตา โหติ ความว่าไม่ติเตียน ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ถึงเรื่องศีล. บทว่า อตฺตานุเปกฺขี ได้แก่ คอยเพ่งดูตน โดยรู้กิจที่ตนทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ. บทว่า โน ปรานุเปกฺขี ได้แก่ ไม่มัวสนใจในกิจที่ผู้อื่นทำ และยังไม่ได้ทำ. บทว่า อปฺปญฺาโต ได้แก่ ไม่ปรากฏ (ไม่มีชื่อเสียง) คือมีบุญน้อย. บทว่า อปฺปญฺาตเกน ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ไม่ปรากฏ คือไม่มีชื่อเสียง มีบุญน้อย. บทว่า โน ปริตสฺสติ ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้ง. ด้วยสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระ ขีณาสพเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล

จบอรรถกถา อานันทสูตรที่ ๖