พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สากัจฉสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39133
อ่าน  346

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 155

ทุติยปัณณาสก์

สัญญาวรรคที่ ๒

๕. สากัจฉสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 155

๕. สากัจฉสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหา ที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหา ที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหา ที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหา ที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหา ที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

จบสากัจฉสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 156

อรรถกถาสากัจฉสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสากัจฉสูตที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อลํสากจฺโฉ แปลว่า เป็นผู้ควรที่จะสนทนาด้วย. บทว่า อาคตํ ปญฺหํ คือปัญหาที่ถูกถามแล้ว. บทว่า พฺยากตฺตา โหติ คือเป็นผู้แก้ปัญหาได้.

จบอรรถกถา สากัจฉสูตรที่ ๕