พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมสัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญาที่มีผลมาก ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39129
อ่าน  292

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 152

ทุติยปัณณาสก์

สัญญาวรรคที่ ๒

๑. ปฐมสัญญาสูตร

ว่าด้วยสัญญาที่มีผลมาก ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 152

สัญญาวรรคที่ ๒

๑. ปฐมสัญญาสูตร

ว่าด้วยสัญญาที่มีผลมาก ๕ ประการ

[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา ๕ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

จบปฐมสัญญาสูตรที่ ๑

สัญญาวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปฐมสัญญาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสัญญาสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหปฺผลา คือ มีผลมากด้วยผลอันเป็นวิบาก. ชื่อว่า มีอานิสงส์มากด้วยอานิสงส์ อันเป็นวิบาก. บทว่า อมโตคธา คือ มีพระนิพพาน เป็นที่พึ่งพิง. บทว่า สพฺพโลเก อนภิรตสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เบื่อระอาในโลกอันเป็นที่อาศัยอยู่ แห่งธาตุ ๓ ทั้งหมด.

จบอรรถกถา ปฐมสัญญาสูตรที่ ๑