พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. กาลทานสูตร ว่าด้วยกาลทาน ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39103
อ่าน  535

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 83

ปฐมปัณณาสก์

สุมนวรรคที่ ๔

๖. กาลทานสูตร

ว่าด้วยกาลทาน ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 83

๖. กาลทานสูตร

ว่าด้วยกาลทาน ๕

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการ นี้แล.

ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาล ในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใส ทักขิณาทานจึงจะมีผล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 84

ไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา หรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้น ย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนา หรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอย จึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก.

จบกาลทานสูตรที่ ๖

อรรถกถากาลทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในกาลทานสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาลทานานิ คือ ทานที่ควร ทานที่มาถึงแล้ว อธิบายว่า ทานอันสมควร. บทว่า นวสสฺสานิ คือ ข้าวกล้าดีเลิศ. บทว่า นวผลานิ ได้แก่ ผลไม้ดีเลิศ ที่ออกคราวแรกจากสวน. บทว่า ปมํ สีลวนฺเตสุ ปติฏฺาเปติ ความว่า เขาถวายแก่ท่านผู้มีศีลก่อนแล้ว ตนก็บริโภคภายหลัง. บทว่า วทญฺญู คือ เป็นผู้รู้ภาษิต. บทว่า กาเลน ทินฺนํ ได้แก่ ทาน ที่เขาให้ อันสมควรที่มาถึงเข้า. บทว่า อนุโมทนฺติ ได้แก่ ชนที่ยืนอนุโมทนาอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. บทว่า เวยฺยาวจฺจํ ได้แก่ ทำการที่เป็นงาน ขวนขวายทางกาย. บทว่า อปฺปฏิวาสนจิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตไม่เบื่อหน่าย. บทว่า ยตฺถทินฺนํ มหปฺผลํ ได้แก่ พึงให้ในที่ๆ ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก.

จบอรรถกถา กาลทานสูตรที่ ๖