พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. จตุตถหิตสูตร ว่าด้วยผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39086
อ่าน  302

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 27

ปฐมปัณณาสก์

พลวรรคที่ ๒

๑๐. จตุตถหิตสูตร

ว่าด้วยผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และผู้อื่น


จบพลวรรคที่ ๒


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 27

๑๐. จตุตถหิตสูตร

ว่าด้วยผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และผู้อื่น

[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 28

๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสนะ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบจตุตถหิตสูตรที่ ๑๐

จบพลวรรคที่ ๒

อรรถกถาจตุตถหิตสูตร

ในจตุตถหิตสูตรที่ ๑๐ ท่านกล่าวถึง พระขีณาสพ เป็นผู้มีสุตะมาก.

จบอรรถกถา จตุตถหิตสูตรที่ ๑๐

จบพลวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. กูฏสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. วิตถตสูตร ๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. ปุนกูฏสูตร ๗. ปฐมหิตสูตร ๘. ทุติยหิตสูตร ๙. ตติยหิตสูตร ๑๐. จตุตถหิตสูตร และอรรถกถา.