พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. กูฏสูตร ว่าด้วยกําลังพระเสขะ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39078
อ่าน  311

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 18

ปฐมปัณณาสก์

พลวรรคที่ ๒

๒. กูฏสูตร

ว่าด้วยกําลังพระเสขะ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 18

๒. กูฏสูตร

ว่าด้วยกำลังพระเสขะ ๕

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลังคือศรัทธา ๑ กำลังคือหิริ ๑ กำลังคือโอตตัปปะ ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดากำลัง ของพระเสขะ ๕ ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวมสิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ กำลังคือปัญญา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 19

ก็เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉะนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักประกอบด้วย กำลังคือศรัทธา... กำลังคือหิริ... กำลังคือโอตตัปปะ... กำลังคือวิริยะ... กำลังคือปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษา อย่างนี้แล.

จบกูฏสูตรที่ ๒

อรรถกถากูฏสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในกูฏสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เสกฺขพลานิ ได้แก่ กำลังญาณของพระเสกขะ. บทว่า อคฺคํ คือ สูงสุด. เสกขพละ ชื่อว่า สังคาหิกะเป็นที่รวม เพราะรวมพละที่เหลือ ดุจเรือนยอดรวมไม้จันทัน ฉะนั้น. เสกขพละ ชื่อว่า สังฆาตนียะ เป็นที่ประชุม เพราะทำพละเหล่านั้น ให้ประชุมกัน.

จบอรรถกถา กูฏสูตรที่ ๒