พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยอคารวสูตร ว่าด้วยธรรมที่ทําให้เจริญและไม่เจริญในศาสนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39074
อ่าน  320

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 15

ปฐมปัณณาสก์

เสขพลวรรคที่ ๑

๑๐. ทุติยอคารวสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทําให้เจริญ และไม่เจริญในศาสนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 15

๑๐. ทุติยอคารวสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เจริญ และไม่เจริญในศาสนา

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้ไม่มีหิริ... ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ... ภิกษุผู้เกียจคร้าน... ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้มีหิริ... ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ... ภิกษุผู้ปรารภความเพียร... ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.

จบทุติอคารวสูตรที่ ๑๐

จบเสขพลวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 16

อรรถกถาทุติยอคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยอคารวสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภพฺโพ คือ ถือความเป็นผู้อาภัพ. บทว่า วุฑฺฒึ แปลว่า เจริญ. บทว่า วิรุฬฺหึ ได้แก่ ถึงควานเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นผู้งอกงาม. บทว่า เวปุลฺลํ ได้แก่ ความเป็นใหญ่. บทที่เหลือ ในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถา ทุติยอคารวสูตรที่ ๑๐

จบเสขพลวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถตสูตร ๓. ทุกขสูตร ๔. ภตสูตร ๕. สิกขสูตร ๖. สมาปัตติสูตร ๗. กามสูตร ๘. จวนสูตร ๙. ปฐมอคารวสูตร ๑๐. ทุติยอคารวสูตร และอรรถกถา.