พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. จวนสูตร ว่าด้วยธรรมที่ทําให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39072
อ่าน  279

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 12

ปฐมปัณณาสก์

เสขพลวรรคที่ ๑

๘. จวนสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทําให้มั่นคง และไม่มั่นคงในศาสนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 12

๘. จวนสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคง และไม่มั่นคงในศาสนา

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีหิริ... ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ... ภิกษุผู้เกียจคร้าน... ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีหิริ... ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ... ภิกษุผู้ปรารภความเพียร... ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม.

จบจวนสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 13

อรรถกถาจวนสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในจวนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สทฺธมฺเม ได้แก่ ศาสนาสัทธรรม. บทว่า อสฺสทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากศรัทธาแม้สองอย่าง คือ อกัปปนศรัทธา ศรัทธาแนบแน่น และปัจจักขศรัทธา ศรัทธาชัดแจ้ง. บทว่า จวติ น ปติฏฺาติ ได้แก่ เคลื่อนจากคุณในศาสนานี้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. ในสูตรนี้ ตรัสทั้งดำรงอยู่ไม่ได้ ทั้งดำรงอยู่ได้.

จบอรรถกถา จวนสูตรที่ ๘