พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทุติยกูฏสูตร ว่าด้วยกรรมพินาศและไม่พินาศเพราะจิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38742
อ่าน  284

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 519

ตติยปัณณาสก์

สัมโพธิวรรคที่ ๑

๘. ทุติยกูฏสูตร

ว่าด้วยกรรมพินาศและไม่พินาศเพราะจิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 519

๘. ทุติยกูฏสูตร

ว่าด้วยกรรมพินาศและไม่พินาศเพราะจิต

[๕๕๐] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาว่า

คฤหบดี เมื่อจิตร้ายแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็ร้ายด้วย การตายของบุคคลผู้มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมร้าย ย่อมไม่เป็นการตายดี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 520

เปรียบเหมือนเรือนยอดเมื่อมุงไม่ดี ยอด กลอน ฝา ก็เสียด้วย ฉันใด เมื่อจิตร้ายแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่เป็นการตายดี ฉันนั้น

คฤหบดี เมื่อจิตไม่ร้ายแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็ไม่ร้าย การตายของบุคคลผู้มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไม่ร้าย ย่อมเป็นการตายดี เปรียบเหมือนเรือนยอดเมื่อมุงดี ยอด กลอน ฝา ก็ไม่เสีย ฉันใด เมื่อจิตไม่ร้ายแล้ว ฯลฯ ย่อมเป็นการตายดี ฉันนั้น.

จบทุติยกูฏสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยกูฏสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกูฏสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺยาปนฺนํ ได้แก่ จิตที่ละปกติภาพแล้วตั้งอยู่ บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาทุติยกูฏสูตรที่ ๘