พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมสิกขาสูตร ว่าด้วยไตรสิกขา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38721
อ่าน  296

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 465

ทุติยปัณณาสก์

สมณวรรคที่ ๔

๙. ปฐมสิกขาสูตร

ว่าด้วยไตรสิกขา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 465

๙. ปฐมสิกขาสูตร

ว่าด้วยไตรสิกขา

[๕๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ สิกขา ๓ คืออะไรบ้าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา

อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ... จากอกุศลกรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน ... นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา

อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิกขา ๓.

จบปฐมสิกขาสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 466

อรรถกถาปฐมสิกขาสูตร

ในสูตรที่ ๙ มีความหมายง่ายทั้งนั้น. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสิกขา ๓ ไว้ปนกันแล.

จบอรรถกถาปฐมสิกขาสูตรที่ ๙