พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. นิพพุตสูตร ว่าด้วยพระนิพพาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ต.ค. 2564
หมายเลข  38681
อ่าน  300

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 223

ทุติยปัณณาสก์

พราหมณวรรคที่ ๑

๕. นิพพุตสูตร

ว่าด้วยพระนิพพาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 223

๕. นิพพุตสูตร (๑)

ว่าด้วยพระนิพพาน

[๔๙๕] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อชานุสโสณี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์ชานุสโสณีนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ที่ว่าพระนิพานเป็น สนฺทิฏฺิกํ สนฺทิฏฺิกํ ด้วยเหตุเท่าไร พระนิพพานจึงเป็น สนฺทิฏฺิกํ อกาลิกํ เอหิปสฺสิกํ โอปนยิกํ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺพํ วิญฺญูหิ.

พราหมณ์ คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตัวให้ลำบากบ้าง ฯลฯ ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะ โทสะ โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจเลย อย่างนี้แล พราหมณ์ พระนิพพานเป็น สนฺทิฏฺิกํ ...

พราหมณ์ เมื่อบุคคลได้รสความสิ้นราคะ โทสะ โมหะไม่มีเหลือ นั่นแล พระนิพพานจึงเป็น สนฺทิฏฺิกํ ...


(๑) ความพิสดาร เหมือนข้อ ๔๙๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 224

ดีจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.

จบนิพพุตสูตรที่ ๕

อรรถกถานิพพุตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิพพุตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกาลิกํ ความว่า ไม่ใช่จะพึงบรรลุในเวลาอื่น. บทว่า โอปนยิกํ ได้แก่ ควรเข้าถึงด้วยข้อปฏิบัติ.

จบอรรถกถานิพพุตสูตรที่ ๕