พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปัจจยวัตตสูตร ว่าด้วยประโยชน์ ๓ ที่ผู้แสดงธรรมสมควรพิจารณา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38665
อ่าน  275

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 199

ปฐมปัณณาสก์

จูฬวรรคที่ ๕

๓. ปัจจยวัตตสูตร

ว่าด้วยประโยชน์ ๓ ที่ผู้แสดงธรรมสมควรพิจารณา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 199

๓. ปัจจยวัตตสูตร

ว่าด้วยประโยชน์ ๓ ที่ผู้แสดงธรรมสมควรพิจารณา

[๔๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ก็ควรเทียวที่จะแสดงธรรมแก่คนอื่น ประโยชน์ ๓ คืออะไร คือ ผู้ใดแสดงธรรม ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถ ได้รสธรรม ผู้ใดฟังธรรม ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถ ได้รสธรรม ผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถ ได้รสธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย ภิกษุทั้งหลายเมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ นี้แล ควรเทียวที่จะแสดงธรรมแก่คนอื่น.

จบปัจจยวัตตสูตรที่ ๓

อรรถกถาปัจจยวัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยวัตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ตโย ภิกฺขเว อตฺถวเส สปฺปสฺสมาเนน ความว่า เห็นประโยชน์ ๓ อย่าง คือ เหตุ ๓ อย่าง. บทว่า อลเมว แปลว่า ควรแล้วทีเดียว. บทว่า โย ธมฺมํ เทเสติ ความว่า บุคคลใดประกาศสัจธรรมทั้ง ๔. บทว่า อตฺถปฏิสํเวที ความว่า แตกฉานอรรถกถาด้วยญาณ. บทว่า ธมฺมปฏิสํเวที ความว่า แตกฉานธรรมที่เป็นบาลี.

จบอรรถกถาปัจจยวัตตสูตรที่ ๓