พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อัจจยสูตร ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38625
อ่าน  395

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 9

ปฐมปัณณาสก์

พาลวรรคที่ ๑

๔. อัจจยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 9

๔. อัจจยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต

[๔๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ ไม่เห็นความล่วงเกินโดยเป็นความล่วงเกิน เห็นความล่วงเกินแล้วไม่ทำคืนตามวิธีที่ชอบ อนึ่ง เมื่อคนอื่นแสดงโทษที่ล่วงเกิน ก็ไม่รับตามวิธีที่ชอบ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นคนพาล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ เห็นความล่วงเกินโดยเป็นความล่วงเกิน เห็นความล่วงเกินโดยเป็นความล่วงเกินแล้วทำคืนตามวิธี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 10

ที่ชอบ อนึ่ง เมื่อคนอื่นแสดงโทษที่ล่วงเกินก็รับตามวิธีที่ชอบ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต.

จบอัจจยสูตรที่ ๔

อรรถกถาอัจจยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัจจยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อจฺจยํ อจฺจยโต น ปสฺสติ ความว่า คนพาลย่อมไม่เห็นความผิดของตนว่าเป็นความผิด. บทว่า อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ น ปฏิกโรติ ความว่า คนพาลแม้ทราบแล้วว่าเราทำผิด ก็ไม่ยอมทำตามธรรม คือ รับทัณฑกรรมมาแล้วก็ไม่ยอมแสดงโทษ คือ ไม่ยอมขอโทษคนอื่น. (๑) บทว่า อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส ยถาธมฺมํ ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า เมื่อคนอื่นทราบว่าเราทำผิด รับทัณฑกรรมมาแล้วให้ขอขมา คนพาลก็จะไม่ยอมยกโทษให้.

ธรรมฝ่ายขาว (ของบัณฑิต) พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาอัจจยสูตรที่ ๔


(๑) ปาฐะว่า อจฺจยํ น เทเสติ ฉบับพม่าเป็น อจฺจยํ น เทเสติ นกฺขมาเปติ แปลตามฉบับพม่า