พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๒ ประวัติพระเขมาเถรี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38383
อ่าน  529

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 8

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ประวัติพระเขมาเถรี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 8

อรรถกถาสูตรที่ ๒

๒. ประวัติพระเขมาเถรี

ในสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เขมา ได้แก่ ภิกษุณีมีชื่ออย่างนี้. ก็แล ตั้งแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจะกล่าวว่า ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้แล้ว จะกล่าวข้อนี้ ควรจะกล่าวตั้งแต่อภินิหารเป็นต้นไปไว้ทุกแห่ง.

ดังได้สดับมา ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ นางเขมานี้ก็บังเกิดนับเนื่องกับคนอื่นในกรุงหังสวดี. ต่อมา วันหนึ่งนางพบพระสุชาตเถรี อัครสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นกำลังเที่ยวบิณฑบาต จึงถวายขนมต้ม ๓ ก้อน ในวันนั้นนั่นแล ก็จัดในเรือนของตนแล้วถวายทาน แต่พระเถรีทำความปรารถนาว่า ดิฉันพึงมีปัญญามากเหมือนท่าน ในพุทธุปบาทกาลในอนาคต. เป็นผู้ไม่ประมาทในกุศลกรรมทั้งหลายจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์แสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระธิดาอยู่ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ทรง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 9

ประพฤติกุมารีพรหมจรรย์ในพระราชนิเวศน์ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ร่วมกับพระพี่น้องนางเหล่านั้น สร้างบริเวณที่ประทับอยู่ของพระทศพล เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติเฉลิมพระนามของพระนางว่า เขมา พระนางมีพระฉวีวรรณแห่งพระวรกายเลื่อมเรื่อดังน้ำทอง พอเจริญพระชันษา ก็เสด็จไปอยู่ในพระราชนิเวศน์ [เป็นพระเทวี] ของพระเจ้าพิมพิสาร. เมื่อพระตถาคตทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนางทรงสดับว่า เขาว่า พระศาสดาทรงแสดงโทษในรูป เป็นผู้มัวเมาในรูปโฉม ไม่กล้าไปเฝ้าพระทศพลด้วยทรงกลัวว่า พระศาสดาจะทรงแสดงโทษในรูปของเรา. พระราชาทรงพระดำริว่า เราเป็นอัครอุปฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสีของอริยสาวกเช่นเรา ก็ยังไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย. จึงทรงให้เหล่ากวีประพันธ์คุณสมบัติของพระเวฬุวันราชอุทยาน รับสั่งว่า พวกท่านจงขับร้องใกล้ๆ ที่พระนางเขมาเทวีทรงได้ยิน. พระนางทรงสดับคำพรรณนาคุณของพระราชอุทยาน ก็มีพระประสงค์จะเสด็จไป จึงกราบทูลสอบถามพระราชา. ท้าวเธอตรัสว่า ไปอุทยานก็ได้ แต่ไม่เฝ้าพระศาสดา อย่าได้กลับมานะ พระนางไม่ถวายคำตอบแด่พระราชา ก็เสด็จไปตามทาง. พระราชาตรัสสั่งเหล่าบุรุษที่ไปกับพระนางว่า ถ้าพระเทวีเมื่อจะกลับจากสวน เฝ้าพระทศพลได้อย่างนี้นั่นก็เป็นบุญ ถ้าไม่เฝ้า พวกท่านก็จงใช้ราชอำนาจแสดงกะพระนาง. ครั้งนั้น พระนางเสด็จชมพระราชอุทยานเสียจนสิ้นวัน เมื่อเสด็จกลับก็ไม่เฝ้าพระทศพล เริ่มจะเสด็จกลับ. แต่เหล่าราชบุรุษนำพระนางไปยังสำนักพระศาสดา ทั้งที่พระนางไม่ชอบพระทัย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 10

พระศาสดาทรงเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงใช้พุทธฤทธิ์เนรมิตเทพอัปสรนางหนึ่งซึ่งกำลังถือก้านใบตาลถวายงานพัดอยู่. พระนางเขมาเทวีเห็นเทพอัปสรนั้นแล้วทรงพระดำริว่า เสียหายแล้วสิเรา เหล่าสตรีที่เทียบกับเทพอัปสรเห็นปานนี้ ยังยืนอยู่ไม่ไกลพระทศพล เราแม้จะเป็นปริจาริกาของสตรีเหล่านั้นก็ยังไม่คู่ควรเลย ก็เพราะเหตุไรเล่าเราจึงเป็นผู้เสียหาย ด้วยอำนาจจิตที่คิดชั่ว เพราะอาศัยความมัวเมา แล้วก็ถือนิมิตนั้น ยืนทอดพระเนตรสตรีนั้นอยู่. เมื่อพระนางพิจารณาสตรีนั้นอยู่นั่นแล แต่ด้วยกำลังพระอธิษฐานของพระตถาคต สตรีนั้นล่วงปฐมวัยไป เหมือนตั้งอยู่ในมัชฌิมวัยฉะนั้น ล่วงมัชฌิมวัยไป เหมือนตั้งอยู่ในปัจฉิมวัยฉะนั้น ได้เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหักแล้ว. แต่นั้น เมื่อพระนางกำลังแลดูอยู่นั่นแหละ. สตรีนั้นก็ล้มลงกลิ้งพร้อมกับพัดใบตาล. ลำดับนั้น พระนางเขมา เมื่ออารมณ์นั้นมาสู่วิถี เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยบุพเหตุ จึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า สรีระมีอย่างอย่างนี้ ยังถึงความวิบัติอย่างนี้ได้ แม้สรีระของเรา ก็จักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน. ขณะที่พระนางมีพระดำริอย่างนี้ พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาในธรรมบทนี้ว่า

เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ

สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลํ

เอตมฺปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ

อนเปกฺขิโน กามสุขํ ปหาย.

ชนเหล่าใด ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปตามกระแส เหมือนแมลงมุมตกไปตามใยข่ายที่ตนเอง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 11

ทำไว้ ชนเหล่านั้น ตัดกระแสนั้นได้แล้ว ไม่เยื่อใย ละกามสุขเสีย ย่อมบวช ดังนี้.

จบพระคาถา พระนางประทับยืน ในอิริยาบถที่ยืนอยู่นั่นแล ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ธรรมดาว่า ผู้อยู่ครองเรือนบรรลุพระอรหัต จำต้องปรินิพพานหรือบวชเสียในวันนั้นนั่นแหละ. ก็พระนางรู้ว่าอายุสังขารของพระองค์ยังเป็นไปได้ ทรงพระดำริว่า เราจักให้พระราชาทรงอนุญาตการบวชของพระองค์ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ไม่ถวายบังคม พระราชาประทับยืนอยู่. พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคือพระอาการว่า พระนางคงจักบรรลุอริยธรรมแล้ว. พระราชาจึงตรัสกะพระนางว่า พระเทวีเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาหรือ. ทูลว่า พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันประพฤติทัศนะอย่างที่พระองค์ทรงเห็นแล้ว หม่อมฉันได้ทำพระทศพลให้เป็นผู้อันหม่อมฉันเห็นด้วยดีแล้ว ขอได้โปรดทรงอนุญาตการบรรพชาแก่หม่อมฉันเถิด. พระราชาตรัสรับว่า ดีละพระเทวี ทรงนำไปยังสำนักภิกษุณีด้วยวอทอง ให้ทรงผนวช. ครั้งนั้น ความที่พระนางมีพระปัญญามาก ปรากฏไปว่า ชื่อพระเขมาเถรี บรรลุพระอรหัตทั้งที่อยู่ในเพศคฤหัสถ์ ในข้อนี้มีเรื่องดังนี้. ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่างๆ จึงทรงสถาปนาพระเขมาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้มีปัญญามาก แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒