พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. พาลิสิกสูตร ว่าด้วยเบ็ด ๖ ชนิด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.ย. 2564
หมายเลข  37336
อ่าน  388

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 342

๓. พาลิสิกสูตร

ว่าด้วยเบ็ด ๖ ชนิด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 342

๓. พาลิสิกสูตร

ว่าด้วยเบ็ด ๖ ชนิด

[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวหนึ่งกลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้นชื่อว่า กลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้มีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้ สำหรับนำสัตว์ทั้งหลายไป สำหรับฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เบ็ด ๖ ชนิด คืออะไรบ้าง. คือรูปอันจะพึงรู้แจ้ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 343

ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นในรูปนั้น ภิกษุนี้ เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้ เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ.

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ตัดเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ตัดเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ.

จบ พาลิสิกสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 344

อรรถกถาพาลิสิกสูตรที่ ๓

พาลิสิกสูตรที่ ๓ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาพาลิสิกสูตรที่ ๓