พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สุวัณณปาติสูตร ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36658
อ่าน  320

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 655

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. สุวัณณปาติสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 655

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. สุวัณณปาติสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะถาดทองคำ อันเต็มด้วยผงเงินเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบสุวัณณปาติสูตรที่ ๑

ทุติยวรรคที่ ๒

อรรถกถาสุวัณณปาติสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยใน สุวัณณปาติสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 656

บทว่า สมฺปชานมุสา ภาสนฺตํ ความว่า กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ด้วยเหตุแม้เพียงเล็กน้อย.

บทว่า สีลํ ปูเรสฺสามิ ความว่า กองปัจจัยแม้ขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ ไม่สามารถทำให้ภิกษุผู้มีจิตส่งไปแล้วว่า เราจักยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ หวั่นไหวได้.

ก็คราวใดเธอละศีล อาศัยลาภและสักการะ ในคราวนั้นเธอก็พูดเท็จ แม้เพราะมีรำข้าวกำหนึ่งเป็นเหตุ หรือทำสิ่งอื่นที่ไม่ใช่กิจ.

จบอรรถกถาสุวัณณปาติสูตรที่ ๑