พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สุทธกสูตร ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36648
อ่าน  295

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 639

๕. ลาภสักการสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. สุทธกสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 639

๕. ลาภสักการสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. สุทธกสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๓๖] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.

[๕๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบสุทธกสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 640

อรรถกถาลาภสักการสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

อรรถกถาสุทธกสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสุทธกสูตรที่ ๑ แห่งลาภสักการะสังยุต ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทารุโณ คือ กระด้าง.

การได้ปัจจัย ๔ ชื่อว่าลาภ ในบทนี้ว่า ลาภสกฺการสิโลโก.

บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ ลาภของภิกษุเหล่านั้น ที่พวกเขาทำดี คือปรุงแต่งไว้ดี.

บทว่า สิโลโก คือ เสียงสรรเสริญ.

บทว่า กฏุโก คือ คม.

บทว่า ผรุโส คือ แข็ง.

บทว่า อนฺตรายิโก คือ ทำอันตราย.

จบอรรถกถาสุทธกสูตรที่ ๑