พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยสัมเภชอุทกสูตร ว่าด้วยแม่น้ำ ๕ สาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36562
อ่าน  329

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 397

๔. ทุติยสัมเภชอุทกสูตร

ว่าด้วยแม่น้ำ ๕ สาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 397

๔. ทุติยสัมเภชอุทกสูตร

ว่าด้วยแม่น้ำ ๕ สาย

[๓๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 398

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน แม่น้ำนั้นพึงหมดไป สิ้นไป ยังเหลืออยู่สองสามหยาด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไป กับน้ำที่ยังเหลืออยู่สองสามหยาด ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไปนี้แหละมากกว่า น้ำที่ยังเหลืออยู่สองสามหยาดมีประมาณน้อย น้ำที่เหลืออยู่สองสามหยาดเมื่อเทียบเข้ากับน้ำในที่บรรจบกัน ซึ่งหมดไป สิ้นไปแล้ว ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบทุติยสัมเภชอุทกสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยสัมเภชอุทกสูตรที่ ๔

ทุติยสัมเภชอุทกสูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยสัมเภชอุทกสูตรที่ ๔