พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร ว่าด้วยสังขารมี ชรามรณะจึงมี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36533
อ่าน  337

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 236

๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร

ว่าด้วยสังขารมี ชรามรณะจึงมี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 236

๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร

ว่าด้วยสังขารมี ชรามรณะจึงมี

[๑๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 237

สงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี อะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี.

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้.

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี. อุปาทาน... ภพ... ชาติ... เมื่ออะไรไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี.

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้สดับ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 238

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับอย่างนี้.

[๑๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงเหตุเกิด ความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.

จบทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐

คหปติวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปัญจเวรภยสูตร

๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร

๓. ทุกขนิโรธสูตร

๔. โลกนิโรธสูตร

๕. ญาติกสูตร

๖. อัญญตรสูตร

๗. ชาณุสโสณิสูตร

๘. โลกายติกสูตร

๙. ปฐมอริยสาวกสูตร

๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 239

อรรถกถาทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐

ในทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐ นัยแม้ทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยความเป็นอันเดียวกัน.

ความที่ต่างจากสูตรก่อนมีเพียงเท่านี้.

ส่วนข้อที่เหลือก็เป็นเช่นนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาคหปติวรรคที่ ๕