พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. มหาสกุลุทายิสูตร เรื่องสกุลุทายิปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36082
อ่าน  755

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 549

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เรื่องสกุลุทายิปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 549

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เรื่องสกุลุทายิปริพาชก

[๓๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ปริพาชกที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ อันนภารปริพาชก ๑ วรตรปริพาชก ๑ สกุลุทายิปริพาซก ๑ และปริพาชกเหล่าอื่นอีก ล้วนมีชื่อเสียง อาศัยอยู่ในปริพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดําริว่า การที่เราจะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาสกุลุทายิปริพาชกยังปริพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูงเถิด. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังปริพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง.

ติรัจฉานกถา

[๓๑๕] ก็สมัยนั้น สกุลุทายิปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ซึ่งกําลังพูดถึงติรัจฉานกถาหลายอย่าง ด้วยเสียงอื้ออึงอึกทึก คือพูดถึงเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอํามาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องช้าง เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องหญิงคนใช้ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 550

เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ สกุลุทายิปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบาๆ เสียงหน่อย อย่าส่งเสียงอึงนัก นี่พระสมณโคดมกําลังเสด็จมา พระองค์ท่านโปรดเสียงเบา และทรงกล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา บางทีพระองค์ท่านทรงทราบว่าบริษัทเสียงเบา พึงทรงสําคัญจะเข้ามาก็ได้. ลําดับนั้น พวกปริพาชกเหล่านั้นพากันนิ่งอยู่.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปหาสกุลุทายิปริพาชกจนถึงที่ใกล้ สกุลุทายิปริพาชกได้ทูลเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้ถวายแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ถวาย ส่วนสกุลุทายิปริพาชกถือเอาอาสนะต่ําอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอุทายี เมื่อกี้นี้ท่านทั้งหลายประชุมสนทนาอะไรกัน และเรื่องอะไรที่ท่านทั้งหลายหยุดค้างไว้ในระหว่าง.

ถามเรื่องการทําความเคารพ

[๓๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลายประชุมสนทนาเมื่อกี้นี้นั้น ของดไว้ก่อนเถิด เรื่องนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจักได้ทรงสดับแม้ในภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ หลายวันมาแล้ว พวกสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ ประชุมกันในโรงแพร่ข่าว สนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชนชาวอังคะและมคธะหนอ ชาวอังคะและชาวมคธะได้ดีแล้วหนอ ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มียศเป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี เข้าไปจําพรรษายัง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 551

กรุงราชคฤห์แล้ว คือ ครูปูรณกัสสป ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี ครูมักขลิโคสาล... ครูอชิตเกสกัมพล... ครูปกุทธกัจจายนะ... ครูสญชัยเวลัฏฐบุตร... ครูนิครนถ์นาฏบุตร... แม้สมณโคดมผู้เป็นเจ้าหมู่คณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี พระองค์ก็เสด็จเข้าจําพรรษายังกรุงราชคฤห์ บรรดาท่านสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติกันว่าดี เหล่านี้ ใครเล่าหนอที่สาวกทั้งหลายสักการะเคารพนับถือบูชา ก็และใครเล่าที่สาวกทั้งหลายสักการะเคารพอาศัยอยู่.

ศิษย์ไม่เคารพครูทั้ง ๖

[๓๑๗] ในประชุมนั้น สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่าครูปูรณกัสสปนี้ถึงจะเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี แต่สาวกทั้งหลายไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชา และจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยครูปูรณกัสสปอยู่ก็หามิได้.

เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณกัสสปแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกคนหนึ่งของครูปูรณกัสสปได้ส่งเสียงขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถามเนื้อความนี้กะครูปูรณกัสสปเลย ครูปูรณกัสสปนี้ไม่รู้เนื้อความนี้ พวกเรารู้เนื้อความนี้ ท่านทั้งหลายจงถามพวกเราเถิด พวกเราจักพยากรณ์ให้ท่าน เรื่องเคยมีมาแล้ว. ครูปูรณกัสสปจะยกแขนทั้งสองขึ้นคร่ําครวญว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียง อย่าส่งเสียงไป ท่านพวกนี้จะถามกะพวกท่านไม่ได้ จะถามกะเราได้ เราจักพยากรณ์แก่ท่านพวกนี้ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ได้.

อนึ่ง สาวก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 552

ของท่านครูปูรณกัสสปเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ถ้อยคําของเราเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คําที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คําที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ําชอง มาผันแปรไปแล้ว เราจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว เราข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้ แล้วพากันหลีกไป พวกสาวกไม่สักการะเคารพนับถือบูชาครูปูรณกัสสป ด้วยประการดังนี้ แล้วจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ก็หามิได้ ก็แลครูปูรณกัสสปก็ถูกติเตียนด้วยคําติเตียนโดยธรรม.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ครูมักขลิโคสาล... ครูอชิตเกสกัมพล... ครูปกุทธกัจจายนะ... ครูสญชัยเวลัฏฐบุตร... ครูนิครนถ์นาฏบุตร... ถึงจะเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ มีเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี แต่สาวกทั้งหลายไม่สักการะเคารพนับถือบูชา และจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ก็หามิได้.

เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกคนหนึ่งของครูนิครนถ์นาฏบุตรได้ส่งเสียงขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถามเนื้อความนี้กะครูนิครนถ์นาฏบุตรเลย ครูนิครนถ์นาฏบุตรนี้ไม่รู้เนื้อความนี้ พวกเรารู้เนื้อความนี้ ท่านทั้งหลายจงถามพวกเราเถิด เราจักพยากรณ์ให้ท่าน เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์นาฏบุตรยกแขนทั้งสองขึ้นคร่ําครวญว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียง อย่าส่งเสียงไป ท่านพวกนี้จะถามกะพวกท่านไม่ได้ จะถามกะเราได้ เราจักพยากรณ์แก่ท่านพวกนี้ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ได้.

อนึ่ง สาวกของครูนิครนถ์นาฏบุตรเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ท่านไม่รู้ทั่ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 553

ถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ถ้อยคําของเราเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คําที่ควรกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คําที่ควรกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ําชอง มาผันแปรไปแล้ว เราจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว เราข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น จงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้ แล้วพากันหลีกไป พวกสาวกไม่สักการะเคารพนับถือบูชานิครนถ์นาฏบุตรด้วยประการดังนี้ และจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ก็หามิได้ ก็และครูนิครนถ์นาฏบุตร ก็ถูกติเตียนด้วยคําติเตียนโดยธรรม.

ความเคารพในพระพุทธเจ้า

[๓๑๘] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมพระองค์นี้ทรงเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ ทรงเป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศเป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือบูชาพระองค์ และสักการะ เคารพ แล้วอาศัยอยู่.

เรื่องเคยมีมาแล้ว พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกของพระสมณโคดมองค์ใดองค์หนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจรรย์องค์ใดองค์หนึ่งเอาเข่ากระตุ้นเธอเพื่อจะให้รู้ว่า ท่านจงเงียบเสียงอย่าส่งเสียงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลายกําลังทรงแสดงธรรม ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย จะมีเสียงที่สาวกของพระสมณโคดมจามหรือไอหามิได้เลย หมู่มหาชนมีแต่คอยหวังตั้งหน้าเฉพาะพระสมณโคดมว่า เราทั้งหลายจักได้ฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสแก่พวกเรา เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงให้น้ำผึ้งหวี่ที่ปราศจากตัวอ่อน ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง หมู่มหาชนก็คอยหวังตั้งหน้าเฉพาะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 554

บุรุษนั้น ฉันใด ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อยนั้นก็ฉันนั้น จะได้มีเสียงที่สาวกของพระสมณโคดมจามหรือไอหามิได้เลย หมู่มหาชนมีแต่คอยหวังตั้งหน้าเฉพาะพระสมณโคดมว่า เราทั้งหลายจะได้ฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสแก่พวกเรา สาวกของพระสมณโคดมเหล่าใด แม้บาดหมางกับเพื่อนพรหมจรรย์แล้ว ลาสิกขาสึกไป แม้สาวกเหล่านั้นก็ยังกล่าวสรรเสริญคุณพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นแต่ติเตียนตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นว่า ถึงพวกเราจักได้มาบวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วอย่างนี้ แต่ไม่อาจจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ ให้บริบูรณ์จนตลอดชีวิตได้ เป็นคนไม่มีบุญ มีบุญน้อยเสียแล้ว สาวกของพระสมณะโคดมเหล่านั้น จะเป็นอารามิกก็ดี เป็นอุบาสกก็ดี ก็ยังประพฤติมั่นอยู่ในสิกขาบทห้า สาวกทั้งหลายสักการะเคารพนับถือบูชาพระสมณโคดม ด้วยประการดังนี้ และสักการะ เคารพ แล้วอาศัยอยู่.

พ. ดูก่อนอุทายี ก็ท่านพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายกี่อย่างในเรา อันเป็นเหตุให้สาวกของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๑๙] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรม ๕ อย่างในพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นเหตุให้สาวกสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่ ธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระอาหารน้อย และทรงสรรเสริญคุณในความเป็นผู้มีอาหารน้อย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อต้น อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 555

ธรรมเป็นเครื่องทําความเคารพ

[๓๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๒ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๓ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๒๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๔ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๒๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้สงัด และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สงัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๕ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลาย สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรม ๕ ประการนี้แลในพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 556

[๓๒๔] ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราแล้ว พึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงเป็นผู้มีอาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเรามีอาหารเพียงเท่าโกสะ [จุในเท่าถ้วยเล็ก] หนึ่งก็มี เพียงกึ่งโกสะก็มี เพียงเท่าเวลุวะ [จุในผลมะตูม] หนึ่งก็มี เพียงกึ่งเวลุวะก็มี ส่วนเราแล บางครั้งบริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงมีอาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อยไซร้ บรรดาสาวกของเราผู้มีอาหารเพียงเท่าโกสะหนึ่งบ้าง เพียงกึ่งโกสะบ้าง เพียงเท่าเวลุวะบ้าง เพียงกึ่งเวลุวะบ้าง ก็จะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๕] ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุล ทรงจีวรเศร้าหมอง เธอเหล่านั้นเลือกเก็บเอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้าง แต่ที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ บ้าง มาทําเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ก็มีอยู่ ส่วนเราแล บางคราวก็ใช้คหบดีจีวรที่เนื้อแน่นระกะด้วยเส้นด้าย มีเส้นด้าย เช่นกับขนน้ำตา [มีเส้นด้ายละเอียด] อุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ทรงผ้าบังสุกุล ใช้จีวรเศร้าหมอง เลือกเก็บเอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้าง แต่ที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ บ้าง มาทําเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 557

[๓๒๖] ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลําดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ํา เธอเหล่านั้นเมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้วถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดีมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขาเก็บเมล็ดดําออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้บรรดาสาวกของเราที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลําดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ํา เมื่อเข้าไปยังละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๗] ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราแล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราถือโคนไม้เป็นวัตร ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร เธอเหล่านั้นไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือนมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งอยู่ในเรือนยอดที่ฉาบทาทั้งข้างในข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิท มีหน้าต่างเปิดปิดได้ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่าพระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 558

ทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือน ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๘] ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือบูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัดและทรงสรรเสริญความเป็นผู้สงัด อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเรา ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าชัฏอยู่ เธอเหล่านี้ย่อมมาประชุมในท่ามกลางสงฆ์เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน มีอยู่ ส่วนเราแล บางคราวก็อยู่เกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอํามาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สงัดไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าชัฏอยู่ มาประชุมในท่ามกลางสงฆ์ เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

อุทายี สาวกทั้งหลายจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรม ๕ ประการนี้ แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

ธรรมเป็นเหตุให้ทําความเคารพข้อที่ ๑

[๓๒๙] ดูก่อนอุทายี มีธรรม ๕ ประการอย่างอื่นอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 559

ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญในเพราะอธิศีลว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง.

อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะอธิศีลว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง นี้แลธรรมข้อที่หนึ่ง อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทําความเคารพข้อที่ ๒

[๓๓๐] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดม เมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์.

อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์ นี้แล ธรรมข้อที่สองอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทําความเคารพข้อที่ ๓

[๓๓๑] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญในเพราะปัญญาอันยิ่งว่า พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันยิ่ง ข้อที่ว่า พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นทาง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 560

แห่งถ้อยคําอันยังไม่มาถึง หรือจักทรงข่มคําโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการข่มได้ด้วยดีพร้อมทั้งเหตุไม่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ อุทายี ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จะพึงคัดค้านถ้อยคําให้ตกไปในระหว่างๆ บ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ไม่มีเลย.

ดูก่อนอุทายี ก็เราจะหวังการพร่ําสอนในสาวกทั้งหลายก็หาไม่ สาวกทั้งหลายย่อมหวังคําพร่ําสอนของเราโดยแท้.

อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะปัญญาอันยิ่งว่า พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยปัญญาขันธ์อย่างยิ่ง ข้อที่ว่า พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นทางแห่งถ้อยคําอันยังไม่มาถึง หรือจักทรงข่มคําโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้วให้เป็นการข่มได้ด้วยดี พร้อมทั้งเหตุไม่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ นี้แลธรรมข้อที่สามอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทําความเคารพข้อที่ ๔

[๓๓๒] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว อันทุกข์ครอบงําแล้ว เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจ เราอันเธอเหล่านั้น ถามถึงทุกขอริยสัจแล้วก็พยากรณ์ให้ยังจิตของเธอเหล่านั้นให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ... ทุกขนิโรธอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราอันเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว ก็พยากรณ์ให้ ยังจิตของเธอเหล่านั้นให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 561

อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว อันทุกข์ครอบงําแล้วเพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจ... ถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ... ถามถึงทุกขนิโรธอริยสัจ... ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราอันเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว ก็พยากรณ์ให้ ยังจิตของเธอเหล่านั้นให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา นี้แล ธรรมข้อที่สี่ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทําความเคารพข้อที่ ๕

[๓๓๓] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสติปัฏฐานสี่.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญสติปัฏฐานสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา [พระอรหัต] อยู่.

[๓๓๔] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสัมมัปปธานสี่.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 562

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังความพอใจให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ เริ่มตั้งความเพียร เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความสมบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญสัมมัปปธานสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๕] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอิทธิบาทสี่.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอิทธิบาทสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๖] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอินทรีย์ห้า.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสตินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญินทรีย์ที่จะให้ถึงความ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 563

สงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอินทรีย์ห้านั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๗] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญพละห้า.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสติพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธิพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญาพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญพละห้านั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๘] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์เจ็ด.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 564

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๙] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิ เจริญสัมมาสังกัปปะ เจริญสัมมาวาจา เจริญสัมมากัมมันตะ เจริญสัมมาอาชีวะ เจริญสัมมาวายามะ เจริญสัมมาสติ เจริญสัมมาสมาธิ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอริยมรรคมีองค์แปดนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๐] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายของเราแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญวิโมกข์ ๘ คือ

ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง.

ผู้ไม่มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง.

ผู้น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงามอย่างเดียว นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม.

ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่.

ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 565

ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า อะไรๆ ก็ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก.

ผู้ที่บรรลุเนวลัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด.

ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญวิโมกข์แปดนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๑] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอภิภายตนะ [คือเหตุเครื่องครอบงําธรรมอันเป็นข้าศึกและอารมณ์] ๘ ประการคือ

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง.

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง.

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 566

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่.

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณอันเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสีมีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว ย่อมมีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า.

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกบานไม่รู้โรยอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญใน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 567

อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด.

ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอภิภายตนะ ๘ นั่นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๒] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ

๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 568

๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปีตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสินทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณายตนะ ๑๐ นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๓] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทํากายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 569

ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสําริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสีตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทํากายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.

[๓๔๔] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทํากายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปันป่วนไม่มีทางที่น้ำจะไหลไปมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทําห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทํากายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

[๓๔๕] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทํา

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 570

กายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอดตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทํากายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.

[๓๔๖] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วเจริญฌานสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๗] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 571

เรานี้แลมีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทําลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาวสมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล ร้อยอยู่ในนั้นฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้น ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทําลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้แล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๘] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องก็อย่างหนึ่ง ไส้ก็อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 572

เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบก็อย่างหนึ่ง ฝักก็อย่างหนึ่ง ก็แต่ชักดาบออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูก็อย่างหนึ่ง คราบก็อย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๙] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทําให้ปรากฏก็ได้ ทําให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากําแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดําลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลําพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทําภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สําเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทําเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สําเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใด พึงทําทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สําเร็จได้ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิ-

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 573

วิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทําให้ปรากฏก็ได้ ทําให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากําแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลําพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๐] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกําลัง จะพึงยังคนให้รู้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยากฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๑] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกําหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 574

ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมกําหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๒] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 575

อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้นเราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้นมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๓] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 576

กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนเรือนสองหลังที่มีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ตรงกลางเรือนนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกําลังเข้าไปบ้าง กําลังเดินวนเวียนอยู่ที่เรือนบ้าง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๔] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กําลังว่ายอยู่บ้าง หยุด

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 577

อยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กําลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้นดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๕] ดูก่อนอุทายี นี้แลธรรมข้อที่ห้าอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.

ดูก่อนอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่ ฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบมหาสกุลุทายิสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 577

๗. อรรถกถามหาสกุลุทายิสูตร

มหาสกุลุทายิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า โมรนิวาเป คือ ในที่นั้นชนทั้งหลายได้ประกาศให้อภัยแก่นกยูงทั้งหลายแล้วได้ให้อาหาร. เพราะฉะนั้นที่นั้นจึงชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 578

โมรนิวาปะ เป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง.

บทว่า อนฺนภาโร เป็นชื่อของปริพาชกผู้หนึ่ง. เหมือนวรตระก็เป็นชื่อปริพาชกเหมือนกัน.

บทว่า อฺเ จ ไม่เพียงปริพาชก ๓ คนนี้เท่านั้น แม้ปริพาชกอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงก็มีอยู่มาก.

ในบทนี้ว่า อปฺปสทฺทสฺส วณฺณวาที พระสมณโคดมทรงกล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา ท่านไม่กล่าวว่า อปฺปสทฺทวินีโต แนะนําให้มีเสียงเบา จึงกล่าวบทนี้.

เพราะเหตุไร. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแนะนําผู้อื่น.

บทว่า ปุริมานิ วันก่อนๆ คือ วันก่อนๆ หมายถึง เมื่อวานนี้. หลังจากนั้นเป็นวันก่อนหลังจากวานนี้.

ไม่มีศาลาเฉพาะจึงชื่อว่า กุตูหลสาลา (ศาลาแพร่ข่าว). ศาลาที่พวกเดียรถีย์ต่างๆ สมณพราหมณ์ประชุมสนทนากันหลายอย่างท่านเรียกว่า กุตูหลสาลา เพราะเป็นที่แพร่ข่าวของชนเป็นอันมากว่า คนนี้พูดอะไร คนนี้พูดอะไร.

ปาฐะว่า โกตูหลสาลา บ้าง.

บทว่า ลาภา ความว่า นี้เป็นลาภของชาวอังคะ มคธะ ที่จะได้เห็นสมณพราหมณ์ ถามปัญหา หรือฟังธรรมกถาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สงฺฆิโน เจ้าหมู่ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า สงฺฆิโน เพราะมีหมู่ คือ หมู่บรรพชิต.

ชื่อว่า คณิโน เจ้าคณะ เพราะมีคณะนั้นนั่นแล.

ชื่อว่า คณาจริยา เพราะเป็นอาจารย์ของคณะนั้น ด้วยให้ศึกษาถึงอาจาระ.

บทว่า ญาตา คือ มีชื่อเสียง เป็นผู้ปรากฏ.

ชื่อว่า ยสสฺสิโน เพราะมียศสูงด้วยคุณตามที่ไม่จริงและด้วยคุณตามที่เป็นจริง.

ก็บูรณกัสสปเป็นต้นมียศสูงโดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ แม้ผ้าก็ไม่นุ่งเพราะเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย.

ยศของพระตถาคตสูงด้วยพระคุณตามที่เป็นจริงมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้.

บทว่า ติตฺถกรา คือ เจ้าลัทธิ.

บทว่า สาธุสมฺมตา คือ ชนเป็นอันมากสมมติกันอย่างนี้ว่า ดีงาม เป็นสัตบุรุษ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 579

บทว่า พหุชนสฺส ชนเป็นอันมาก คือ คนอันธพาล และพาลปุถุชนผู้ไม่มีการศึกษา และบัณฑิตชนผู้มีปัญญา. ในชนเหล่านั้นพวกเดียรถีย์เขาสมมติว่าเป็นพาลชน. พระตถาคตเขาสมมติว่าเป็นบัณฑิตชน.

โดยนัยนี้พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปูรโณ กสฺสโป สงฺฆี บูรณกัสสปเป็นเจ้าหมู่.

ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจําแนกอารมณ์ ๓๘ ได้ทรงกระทําท่าเป็นที่หยั่งลงสู่นิพพานไว้มาก ฉะนั้นควรกล่าวว่าเป็น ติตฺถกโร ผู้ทําท่า.

ก็เพราะเหตุไรเจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดจึงมาประชุมในที่นั้น.

เพื่อรักษาอุปัฏฐากและเพื่อลาภสักการะ.

ได้ยินว่าเจ้าลัทธิเหล่านั้นมีความวิตกว่า อุปัฏฐากของพวกเราพึงพากันถึงพระสมณโคดมว่าเป็นที่พึ่ง. พวกเราจักดูแลอุปัฏฐากเหล่านั้น. แม้อุปัฏฐากของพวกเราเห็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดมทําสักการะ ก็จักทําสักการะแก่พวกเราบ้าง. เพราะฉะนั้นเจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดจึงพากันไปประชุมในที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประชุม.

บทว่า วาทํ อาโรเปตฺวา พากันยกโทษ คือ ยกโทษในวาทะ.

บทว่า อปกฺกนฺตา คือ พากันหลีกไป บางพวกพากันหลีกไปสู่ทิศ. บางพวกสึก บางพวกมาสู่ศาสนานี้.

บทว่า สหิตมฺเม ถ้อยคําของเราเป็นประโยชน์ คือ ถ้อยคําของเรามีประโยชน์ สละสลวย ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยเหตุ.

บทว่า อสหิตํ คือ ถ้อยคําของท่านไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

บทว่า อธิจิณฺณนฺเต วิปราวตฺตํ ข้อที่ท่านเคยช่ําชองมาผันแปรไปแล้ว ความว่า ข้อที่ท่านเคยมีความคล่องแคล่วด้วยสะสมมาเป็นเวลานาน ได้ผันแปรไปแล้วด้วยคําพูดคําเดียวของเรา ไม่เกิดอะไรขึ้น.

บทว่า อาโรปิโต เต วาโท คือ เราจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว.

บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ท่านจงถอนวาทะของท่านเสีย ความว่า จงประพฤติเพื่อปลดเปลื้องความผิด คือ จงศึกษาเพื่อไปในที่นั้นๆ.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 580

นิพฺพิเธหิ วา สเจ ปโหสิ หรือจงแก้ไขเสียถ้าสามารถ คือ หากสามารถด้วยตนเอง จงแก้ไขเสียในบัดนี้ทีเดียว.

บทว่า ธมฺมกฺโกเสน ด้วยคําติเตียนโดยธรรม คือ ด้วยคําติเตียนที่เป็นจริง.

บทว่า ตนฺโน โสสฺสาม คือ เราทั้งหลายจักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พวกเรา.

บทว่า ขุทฺทํ มธุํ คือ รังผึ้งที่ตัวอ่อนทําไว้.

บทว่า อเนลกํ ไม่มีโทษ คือ รังผึ้งที่ปราศจากตัวอ่อน.

บทว่า ปีเฬยฺย คือ พึงให้.

บทว่า ปจุจาสิํสมานรูโป หมู่มหาชนคอยหวังอยู่ คือ ถือภาชนะตั้งความหวังว่า บุรุษนั้นจักให้เราจนเต็มภาชนะไหมหนอ.

บทว่า สมฺปโยเชตฺวา บาดหมางกัน คือ เถียงกันเล็กน้อย.

บทว่า อิตรีตเรน คือ ตามมีตามได้.

บทว่า ปวิวิตฺโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้สงัด ปริพาชกกล่าวคํานี้หมายถึงเพียงกายวิเวก. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงัดด้วยวิเวก ๓.

บทว่า โกสกาหารา คือ อาหารเพียงเท่าโกสกะ.

ในเรือนของทานบดีมีถ้วยเล็กเพื่อใส่อาหารอย่างดี. ทานบดีทั้งหลายใส่อาหารดีไว้ในถ้วยนั้นแล้วบริโภค. เมื่อบรรพชิตมาถึง ก็ถวายอาหารแก่บรรพชิตนั้น ถ้วยนั้นเรียกว่า โกสกะ เพราะฉะนั้นบุคคลใดยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารถ้วยหนึ่ง บุคคลนั้นชื่อว่า โกสกาหารา มีอาหารเพียงเท่าโกสกะ.

บทว่า เวฬุวาหารา คือ มีอาหารเพียงเท่าภัตใส่ในผลมะตูม.

บทว่า สมติตฺติกํ เสมอขอบ คือ เสมอลวดลายข้างล่างแห่งขอบปากบาตร.

บทว่า อิมินา ธมฺเมน คือ โดยธรรมเพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนี้.

อนึ่ง ในบทนี้ไม่ควรกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีอาหารน้อยโดยอาการทั้งปวง. ทรงมีอาหารน้อยตลอด ๖ ปี ณ ที่ทรงบําเพ็ญเพียร. ทรงยังพระชนม์ชีพให้เป็นไปด้วยข้าวแล่งหนึ่งตลอด ๓ เดือน ในเมืองเวรัญชา. ทรงยังพระชนม์ชีพให้เป็นไปด้วยเหง้าบัวเท่านั้นตลอด ๓ เดือน ในปาริไลยกไพรสณฑ์. แต่ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงถึงความนี้ว่า เราได้มีอาหาร

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 581

น้อยในกาลหนึ่ง แต่สาวกทั้งหลายของเราไม่ทําลายธุดงค์ตลอดชีวิตตั้งแต่สมาทานธุดงค์.

เพราะฉะนั้น ผิว่าสาวกทั้งหลายเหล่านั้นพึงสักการะเราโดยธรรมนี้. ด้วยว่า สาวกเหล่านั้นเป็นผู้วิเศษโดยเรา ย่อมสักการะเราด้วยธรรมอื่นที่มีอยู่.

ท่านแสดงไว้ดังนี้. โดยนัยนี้พึงทราบโยชนาในทุกวาระ.

บทว่า ปํสุกูลิกา ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร คือ สมาทานปังสุกูลิกังคธุดงค์.

บทว่า ลูขจีวรธรา ทรงจีวรเศร้าหมองด้วยด้าย ๑๐๐ เส้น.

บทว่า นนฺตกานิ ผ้าเก่า คือ ชิ้นผ้าที่ไม่มีชาย.

จริงอยู่ ผิว่า ผ้าเหล่านั้นพึงมีชาย ผ้าเหล่านั้นเรียกว่า ปิโลตกา ผ้าขี้ริ้ว.

บทว่า อุจฺจินิตฺวา เลือกเก็บ คือ ฉีกทิ้งส่วนที่ใช้ไม่ได้ถือเอาส่วนที่ยังใช้ได้เท่านั้น.

บทว่า อลาวุโลมสานิ คือ มีเส้นด้ายเช่นกับขนน้ำเต้า.

ท่านแสดงว่า ละเอียด. ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ไม่ควรกล่าวว่าพระศาสดามิได้ทรงสันโดษด้วยจีวรสันโดษ. เพราะในวันที่พระองค์ทรงรับเอาผ้าบังสุกุลทําด้วยเปลือกไม้ ที่นางปุณณทาสีนํามาจากป่าช้าผีดิบถวาย มหาปถพีได้ไหวจนกระทั่งถึงน้ำเป็นที่สุด พระองค์ทรงแสดงความในบทนี้ไว้ว่า เรารับผ้าบังสุกุลครั้งเดียวเท่านั้น. แต่สาวกทั้งหลายของเราไม่ทําลายธุดงค์จนตลอดชีวิต จําเดิมแต่สมาทานธุดงค์.

บทว่า ปิณฺฑปาติกา ถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ปฏิเสธอติเรกลาภ สมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์.

บทว่า สปทานจาริโน คือ เที่ยวไปตามลําดับตรอกเป็นวัตร คือ ปฏิเสธโลลุปปจาร (การเที่ยวไปด้วยความโลภ) แล้วสมาทานสปทานจาริกวัตร.

บทว่า อุจฺจาปเก วตฺเต รตา ยินดีในวัตรชั้นสูงของตน ความว่า ยินดีในวัตรตามปรกติของภิกษุทั้งหลาย กล่าวคือ การเที่ยวไปเพื่ออาหารเลี้ยงชีพ เป็นผู้ยืนที่ประตูเรือนทั้งสูงและต่ํา สํารวมอาหารที่ปนกันเป็นคําแล้วฉัน.

บทว่า อนฺตรฆรํ ละแวกบ้าน คือ ละแวกเรือนตั้งแต่

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 582

ธรณีประตู ดังได้กล่าวแล้วในพรหมายุสูตร. ในที่นี้ท่านประสงค์ตั้งแต่ เสาเขื่อน.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ควรกล่าวว่า พระศาสดาไม่ทรงสันโดษ ด้วยบิณฑบาตสันโดษ.

ทั้งหมดพึงพิสดารโดยทํานองเดียวกับที่กล่าวแล้ว เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. แม้ในที่นี้พระองค์ก็ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราไม่ยินดีรับนิมนต์ในเวลาเดียวเท่านั้น. แต่สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ทําลายธุดงค์ตลอดชีวิต ตั้งแต่สมาทานธุดงค์.

บทว่า รุกฺขมูลิกา ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือ ปฏิเสธที่มุงบัง สมาทานรุกขมูลิกังคธุดงค์.

บทว่า อพฺโภกาสิกา ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือ ปฏิเสธที่มุงบังและโคนไม้ แล้วสมาทานอัพโภกาสิกังคธุดงค์.

บทว่า อฏมาเส ตลอด ๘ เดือน คือ ตลอดเดือนในฤดูเหมันต์และคิมหันต์. แต่ในภายในฤดูฝนเข้าไปสู่ที่มุงบังเพื่อรักษาจีวร.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ไม่ควรกล่าวว่าพระศาสดาไม่ทรงสันโดษด้วยเสนาสนสันโดษ. แต่พึงแสดงเสนาสนสันโดษของพระองค์ ด้วยมหาปธานตลอด ๖ ปี และด้วยปาริไลยกไพรสณฑ์ แต่ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราไม่เข้าไปสู่ที่มุงบังในกาลหนึ่งเท่านั้น. แต่สาวกของเราไม่ทําลายธุดงค์ตลอดชีวิตตั้งแต่สมาทานธุดงค์.

บทว่า อารฺิกา ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือ ปฏิเสธเสนาสนะท้ายบ้านแล้วสมาทานอารัญญิกังคธุงค์.

บทว่า สงฺฆมชฺเฌ โอสรนฺติ ย่อมประชุมในท่ามกลางสงฆ์.

ท่านกล่าวถึงใน อพัทธสีมา (สีมาที่ยังมิได้ผูก). แต่สาวกผู้อยู่ในพัทธสีมา ย่อมทําอุโบสถในที่อยู่ของตน.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ไม่ควรกล่าวว่าพระศาสดา ไม่ทรงสงัด เพราะความสงัดย่อมปรากฏแก่พระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาเพื่อหลีกเร้นอยู่ตลอด ๘ เดือน. แต่ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราหลีกเร้นอยู่ในกาลเห็น

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 583

ปานนั้น ครั้งหนึ่งๆ. แต่สาวกของเราไม่ทําลายธุดงค์ ตลอดชีวิตตั้งแต่สมาทานธุดงค์.

บทว่า มมํ สาวิกา คือ สาวกทั้งหลายของเรา.

บทว่า สนิทานํ มีเหตุ คือ มีปัจจัย.

ก็พระศาสดาไม่ทรงแสดงถึงนิพพานอันไม่มีปัจจัยหรือ. ไม่แสดงหามิได้. แต่ทรงแสดงทําเทศนานั้นให้มีเหตุ.

บทว่า โน อเหตุกํ มิใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ.

บทว่า สปฺปาฏิหาริยํ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อน. อธิบายว่ามีเหตุ.

วต ในบทว่า ตํ วต เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า อนาคตวาทปถํ คลองแห่งวาทะในอนาคต คือ คลองแห่งวาทะอันตั้งอยู่ในวันนี้แล้วมาเบื้องบนแห่งปัญหานั้นๆ ในวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ กึ่งเดือน หรือปีหนึ่ง.

บทว่า น ทกฺขติ ย่อมไม่เห็น คือ ไม่เห็นโดยอาการที่สัจจกนิครนถ์ ยังเหตุที่ตนมาเพื่อจะข่มขี่ให้วิเศษ เมื่อจะกล่าวจึงมิได้เห็น เพราะเหตุนั้น ข้อนั้นมิใช่ฐานะจะมีได้.

บทว่า สหธมฺเมน เป็นไปกับด้วยธรรม คือ มีเหตุ.

บทว่า อนฺตรนฺตรา กถํ โอปาเตยฺยุํ จะพึงคัดค้านๆ ให้ตกไปในระหว่างๆ ความว่า ตัดการสนทนาของเราแล้ว สอดการสนทนาของตนเข้าไปในระหว่างๆ.

บทว่า น โข ปนาหํ อุทายิ ความว่า ดูก่อนอุทายี เราไม่หวังคําสอนในสาวกทั้งหลายนี้ว่า เมื่อการสนทนาครั้งยิ่งใหญ่กับอัมพัฏฐะ โสณทัณฑะ กูฏฑัณฑะ และสัจจกนิครนถ์ เป็นต้น แม้ยังดําเนินอยู่ ถ้าการใช้สาวกของเรารูปหนึ่ง ควรชักอุปมา หรือเหตุมากล่าว.

บทว่า มมเยว คือ ในฐานะอย่างนี้ สาวกทั้งหลายก็มิได้หวังโอวาทอันเป็นคําสอนของเรา.

บทว่า เตสาหํ จิตฺตํ อาราเธมิ เรายังจิตของสาวกเหล่านั้นให้ยินดี คือ เราจะถือเอาจิตของสาวกเหล่านั้นให้ถึงพร้อม ให้บริบูรณ์ ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของพระอรหันต์.

ถามอย่างหนึ่ง พยากรณ์อย่างหนึ่ง เหมือนถามมะม่วง พยากรณ์ ขนุนสํามะลอ. ถามขนุนสํามะลอ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 584

พยากรณ์มะม่วงฉะนั้น.

อนึ่ง ในบทนี้ ท่านกล่าวถึงศีลของพระพุทธเจ้าในที่ที่กล่าวไว้แล้วว่า อธิสีเล สมฺภาเวนฺติ ให้สรรเสริญในเพราะอธิศีล.

ท่านกล่าวถึงสัพพัญุตญาณในที่ที่กล่าวไว้แล้วว่า อภิกฺกนฺเต าณทสฺสเน สมฺภาเวนฺติ ให้สรรเสริญในเพราะญาณทัศนะอันงาม.

ท่านกล่าวถึงปัญหาอันให้เกิดฐานะในที่ที่ท่านกล่าวไว้ว่า อธิปฺาย สมฺภาเวนฺติ ให้สรรเสริญในเพราะอธิปัญญา.

ท่านกล่าวถึงปัญหาพยากรณ์สัจจะในที่ที่กล่าวไว้ว่า เยน ทุกฺเขน ด้วยทุกข์ใด ปัญหาที่เหลือ เว้นสัพพัญุตญาณ และปัญหาพยากรณ์สัจจะ ย่อมเป็นอธิปัญญา.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกปฏิปทา ของสาวกเหล่านั้นๆ ผู้บรรลุถึง จึงตรัสว่า ปุน จ ปรํ อุทายิ ดูก่อนอุทายี ข้ออื่นยังมีอยู่อีกเป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อภิฺาโวสานปารมิปฺปตฺตา สาวกของเราเป็นอันมากได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา คือ บรรลุอรหัตอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา และอันเป็นบารมีแห่งอภิญญา.

บทว่า สมฺมปฺปธาเน สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรอันเป็นอุบาย.

บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ ยังความพอใจให้เกิด คือ ยังความพอใจในกุศลอันเป็นกัตตุกามยตาฉันทะให้เกิด.

บทว่า วายมติ คือ ทําความพยายาม.

บทว่า วีริยํ อารภติ คือ ปรารภความเพียร ได้แก่ ยังความเพียรให้เป็นไป.

บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหติ ย่อมประคองจิต คือ ยกจิตขึ้น.

บทว่า ปทหติ ย่อมตั้ง คือ ทําความเพียรด้วยอุบาย.

บทว่า ภาวนาย ปาริปูริยา คือ เพื่อความเจริญ เพื่อความสมบูรณ์.

อีกอย่างหนึ่งในบทนี้ พึงทราบว่าความตั้งมั่นใด นั้นเป็นความไม่หลง ความไพบูลย์ใด นั้นเป็นความเจริญและความสมบูรณ์.

บทก่อนเป็นอธิบายของบทหลังด้วยประการฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 585

อนึ่ง บุพภาคปฏิปทา ของพระสาวก ท่านกล่าวไว้ ด้วยปริยายแห่งกัสสปสังยุตที่พระมหากัสสปเถระกล่าวไว้ด้วยเรื่องสัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล้ว สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั้นว่า

ดูก่อนอาวุโส สัมมัปปธานของเรามี ๔ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทําความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่าอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทําความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทําความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทําความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์. (๑)

อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า อกุศลอันลามก ได้แก่ โลภะ เป็นต้น.

บทว่า อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ได้แก่ สมถวิปัสสนาและมรรคเท่านั้น.

สมถวิปัสสนาชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว. ส่วนมรรคเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ไม่ชื่อว่าเป็นไปเพื่อความพินาศ. เพราะมรรคนั้น ให้ปัจจัยแก่ผลแล้วจึงดับ.

หรือแม้ในบทก่อนท่านกล่าวว่า พึงถือเอาสมถะและวิปัสสนา แต่ข้อนั้นไม่ถูก. สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ในกุศลธรรมนั้น เมื่อดับไปย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ.

เพื่อความแจ่มแจ้งของเนื้อความ จะนําเรื่องมาเล่าดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่าพระเถระผู้เป็นขีณาสพรูปหนึ่ง คิดว่าเราจักไหว้พระมหาเจดีย์และพระมหาโพธิ จึงมายังมหาวิหารจากชนบทกับสามเณรผู้ถือภัณฑะผู้ได้สมาบัติ แล้วเข้าไปยังบริเวณวิหารในตอนเย็น เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ไหว้พระเจดีย์อยู่ ไม่ออกไปเพื่อไหว้พระเจดีย์.

เพราะเหตุไร.

เพราะพระขีณาสพ


(๑) สัง. นิ. ๑๖/ข้อ ๔๖๓.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 586

มีความเคารพอย่างมากในพระรัตนตรัย. ฉะนั้น เมื่อภิกษุสงฆ์ไหว้กลับไปแล้วในเวลาที่พวกมนุษย์บริโภคอาหารในตอนเย็น แม้สามเณรก็ไม่ให้รู้ คิดว่าเราจักไหว้พระเจดีย์ จึงออกไปรูปเดียวเท่านั้น.

สามเณรคิดว่า พระเถระไปรูปเดียวในมิใช่เวลา เราจักรู้ จึงออกตามรอยเท้าพระอุปัชฌาย์ไป. พระเถระไม่รู้ว่าสามเณรมา เพราะไม่ได้นึกถึง จึงขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ทางประตูทิศใต้. สามเณรก็ขึ้นตามรอยเท้าไป.

พระมหาเถระแลดูพระมหาเจดีย์ ยึดปีติในพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ สํารวมใจทั้งหมด ชื่นชมยินดีไหว้พระเจดีย์ สามเณรเห็นอาการไหว้ของพระเถระจึงคิดว่า พระอุปัชฌาย์ของเรามีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่ง ไหว้พระเจดีย์ ได้ดอกไม้แล้วพึงทําการบูชาหรือหนอ. เมื่อพระเถระลุกขึ้นไหว้ ยกอัญชลีเหนือศีรษะ ยืนแลดูพระมหาเจดีย์.

สามเณรกระแอมให้พระเถระรู้ว่าตนมา. พระเถระเหลียวดูแล้วถามว่า เธอมาเมื่อไร.

สามเณรตอบว่า ท่านขอรับ ในเวลาท่านไหว้พระเจดีย์ ท่านเลื่อมใสเหลือเกินจึงไหว้พระเจดีย์. ท่านได้ดอกไม้แล้วพึงบูชาหรือ. พระเถระตอบว่าถูกแล้ว สามเณร ชื่อว่าการฝังพระธาตุประมาณเท่านี้ นอกจากในพระเจดีย์นี้แล้วย่อมไม่มี. ใครได้ดอกไม้แล้วจะไม่พึงบูชามหาสถูปอันไม่มีเหมือนเช่นนี้ได้เล่า.

สามเณรกล่าวว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงรอก่อน ผมจักนําดอกไม้มา. ทันใดนั้นเอง สามเณรก็เข้าฌานไปป่าหิมพานต์ด้วยฤทธิ์ เก็บดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นใส่ในธมกรก จนเต็ม เมื่อพระมหาเถระยังไม่ถึงมุขหลัง จากมุขใต้. สามเณรมาวางผ้าธมกรกห่อดอกไม้ไว้ที่มือแล้วกล่าวว่า ขอท่านจงบูชาเถิดขอรับ.

พระเถระกล่าวว่า สามเณร ดอกไม้ของเธอยังน้อยนัก. สามเณรกล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงไป ระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบูชาเถิด. พระเถระขึ้นบันไดอาศัยมุขหลัง เริ่มทําการบูชาด้วยดอกไม้ ณ ชั้นแท่นบูชา. ชั้นแท่นบูชาเต็มไปหมด. ดอกไม้ตกลงไปเต็มในชั้นที่ ๒ โดยพื้นที่ประมาณเข่า. พระเถระลงจากชั้นที่ ๒ ยังแถวหลังเท้าให้เต็ม. แม้แถวหลังเท้านั้นก็เต็ม. พระเถระรู้ว่าเต็มจึงเกลี่ย ที่

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 587

พื้นล่างกลับไป. ลานพระเจดีย์ มีดอกไม้เต็มไปหมด. เมื่อลานพระเจดีย์เต็ม พระเถระกล่าวว่า สามเณร ดอกไม้ยังไม่หมด. สามเณรตอบว่า ท่านขอรับท่านจงคว่ําธมกรกลงเถิด. พระเถระคว่ําธมกรกแล้วเขย่า. ในกาลนั้นดอกไม้ก็หมด.

พระเถระให้ธมกรกแก่สามเณรแล้วทําประทักษิณพระเจดีย์ มีกําแพงสูง ๖๐ ศอก ๓ ครั้ง ไหว้ในที่ทั้ง ๔ แห่งแล้วกลับไปยังบริเวณ คิดว่าสามเณรนี้มีฤทธิ์มากแท้ จักสามารถรักษาอิทธานุภาพนี้ไว้ได้หรือหนอ. แต่นั้นพระเถระเห็นว่า จักไม่สามารถรักษาไว้ได้ จึงกล่าวกะสามเณรว่า สามเณร บัดนี้เธอมีฤทธิ์มาก ในภายหลัง ครั้นฤทธิ์เสื่อม จักดื่มน้ำซาวข้าวด้วยมือของหญิงทอหูกตาบอดช้างเดียว. นี้ชื่อว่าโทษของความเป็นหนุ่ม.

สามเณรนั้นหวั่นใจในถ้อยคําของพระอุปัชฌาย์ (แต่) ไม่ขอร้องว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงบอกกรรมฐานแก่ผมเถิด. สามเณรคิดว่า พระอุปัชฌาย์ ของพวกเราพูดอะไร ทําเหมือนไม่ได้ยินคํานั้นได้ไปแล้ว.

พระเถระครั้นไหว้พระมหาเจดีย์ และพระมหาโพธิแล้ว จึงให้สามเณรรับบาตรและจีวรไปยังกุเฏฬิติสสมหาวิหาร สามเณรเดินตามพระอุปัชฌาย์ไป ไม่ไปบิณฑบาต. แต่ถามว่า ท่านขอรับ ท่านจักเข้าไปบ้านไหน ครั้นรู้ว่าบัดนี้พระอุปัชฌาย์ของเราจักไปถึงประตูบ้าน จึงถือบาตรและจีวรของตนและของพระอุปัชฌาย์ แล้วเหาะไป ถวายบาตรและจีวรแก่พระเถระแล้วจึงเข้าไปบิณฑบาต.

พระเถระสั่งสอนตลอดเวลาว่า สามเณร เธออย่าได้ทําอย่างนั้น ชื่อว่า ฤทธิ์ของปุถุชน ง่อนแง่น ไม่แน่นอน ครั้นได้อารมณ์มีรูปเป็นต้นไม่เป็นที่สบายเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ทําลาย. เมื่อการเสื่อมจากสมาบัติมีอยู่ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่สามารถค้ำจุนไว้ได้. สามเณรไม่ปรารถนาจะฟังว่าพระอุปัชฌาย์ของเรากล่าวอะไร ยังทําเหมือนเดิม. พระเถระไหว้พระเจดีย์ไปโดยลําดับแล้วจึงไปยัง กัมพพินทวิหาร. แม้เมื่อพระเถระอยู่ ณ วิหารนั้น สามเณรก็ยังทําอยู่อย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 588

อยู่มาวันหนึ่ง ธิดาของช่างทอหูกคนหนึ่งรูปงาม ยังอยู่ในปฐมวัย ออกจากบ้านกัมพพินทะ ลงไปยังสระบัวร้องเพลงเก็บดอกบัว. ในสมัยนั้น สามเณรไปถึงท้ายสระติดใจเสียงร้องเพลงของหญิงนั้น ดุจคนขายปลาตาบอดติดใจเสียงของหญิงยั่วยวนฉะนั้น.

ทันใดนั้นเอง ฤทธิ์ของสามเณรนั้นก็เสื่อม ได้เป็นดุจกาปีกหัก. แต่ด้วยผลของสมาบัติที่ยังมีอยู่ สามเณรไม่ตกไปที่หลังน้ำนั้น ตกลงเหมือนปุยดอกงิ้วโดยลําดับ ได้ยืนอยู่แล้วใกล้ฝังสระปทุม. สามเณรรีบไปถวายบาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับ.

พระมหาเถระคิดว่า เราเห็นเหตุการณ์มาก่อนแล้ว แม้ห้ามสามเณรก็คงไม่กลับ จึงไม่พูดอะไรๆ เข้าไปบิณฑบาต. สามเณรไปยืนที่ฝังสระบัว รอหญิงนั้นขึ้น. แม้หญิงนั้นก็เห็นสามเณรทั้งขณะเหาะและขณะมายืนอยู่ รู้ว่าสามเณรนี้กระสันเพราะอาศัยเราเป็นแน่ จึงกล่าวว่า หลีกไปเถิด สามเณร. สามเณรนั้นจึงหลีกไป.

หญิงนั้นขึ้นมานุ่งผ้าแล้วเข้าไปหาสามเณร ถามว่า สามเณรต้องการอะไรหรือ. สามเณรบอกความนั้น. นางจึงแสดงถึงโทษในการครองเรือนด้วยเหตุหลายอย่างและอานิสงส์ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แม้สอนอยู่ก็ไม่สามารถบรรเทาความกระสันของสามเณรนั้นได้ คิดว่า สามเณรนี้เสื่อมฤทธิ์เห็นปานนี้เพราะเราเป็นเหตุ บัดนี้ไม่ควรจะเสียสละ จึงกล่าวว่า สามเณร ท่านจงรออยู่ที่นี่เถิด แล้วไปเรือน บอกเรื่องนั้นแก่มารดาบิดา.

แม้มารดาบิดาก็มาแล้วสอนหลายอย่าง ได้กล่าวกะสามเณรผู้ไม่เชื่อฟังว่า ท่านอย่าเข้าใจพวกเราว่ามีตระกูลสูง. พวกเราเป็นเพียงช่างทอหูก สามารถทําได้เพียงงานทอหูกเท่านั้น. สามเณรกล่าวว่า อุบาสก ธรรมดาคนที่เป็นคฤหัสถ์ควรทํางานทอหูก หรือควรทํางานสานกระจาดก็ได้. ประโยชน์อะไรด้วยเพียงผ้าสาฎกนี้ ท่านจงทํางานไปเถิด. ช่างหูกให้ผ้าสาฎกที่ผูกท้องแล้วนําไปเรือน

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 589

ยกลูกสาวให้.

นายหนุ่มผู้นั้น (สึกจากสามเณรแล้ว) เรียนการงานของช่างหูก ทําการงานที่โรงกับพวกช่างหูก. บรรดาหญิงของช่างหูกเหล่าอื่น ได้เตรียมอาหารนํามาแต่เช้าตรู่. ภรรยาของนายหนุ่มนั้นยังไม่มา. นายหนุ่มนั้นเมื่อคนอื่นพักงานบริโภคอาหาร ยังนั่งกรอหลอดด้ายอยู่. ภรรยาได้ไปภายหลัง. นายหนุ่มนั้นจึงพูดตะคอกภรรยาว่า เธอนี่มาช้าเหลือเกิน. ธรรมดามาตุคามรู้ว่า แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีจิตผูกพันในตน ยังนึกว่าตนเป็นดุจทาส. เพราะฉะนั้น นางจึงกล่าวว่า ในเรือนของคนอื่นเขาสะสมฟืนใบไม้และเกลือไว้. แม้คนทอหูกที่เป็นทาสนําออกจากภายนอกก็ยังมี. แต่ฉันเป็นหญิงตัวคนเดียวเท่านั้น. แม้ท่านก็ยังไม่รู้ว่า ในเรือนของเรา สิ่งนี้มี สิ่งนี้ไม่มี. หากท่านต้องการก็จงบริโภคเถิด. หากไม่ต้องการก็อย่าบริโภค.

นายหนุ่มนั้นพูดตะคอกว่า เธอไม่เพียงนําอาหารมาสายเท่านั้น ยังกระทบกระเทียบเราด้วยคําพูดอีก แล้วโกรธ เมื่อไม่เห็นเครื่องทําร้ายอื่นจึงดึงไม้กระสวยทอผ้านั้นเอาหลอดด้ายออกจากกระสวยแล้วขว้างไป ภรรยาเห็นไม้กระสวยแล่นมาจึงหลบหน่อยหนึ่ง ก็ปลายไม้กระสวยคม. เมื่อนางหลบ ปลายไม้กระสวยจึงเข้าไปที่หางตาคาอยู่. นางรีบเอามือทั้งสองกุมนัยน์ตา. เลือดไหลออกที่ที่ถูกเจาะ.

นายหนุ่มนั้นระลึกถึงคําของพระอุปัชฌาย์ได้ในเวลานั้นว่า พระอุปัชฌาย์คงหมายถึงเหตุนี้จึงกล่าวกะเราว่า ในอนาคตเธอจักต้องดื่มน้ำข้าวที่ขยําด้วยมือของหญิงทอหูกตาบอดข้างเดียว. พระเถระคงจักเห็นเหตุนี้เป็นแน่. จึงเริ่มร้องไห้ด้วยเสียงดังว่า โอ พระคุณเจ้าผู้เห็นกาลไกล. พวกช่างหูกอื่นๆ ได้กล่าวกะนายหนุ่มนั้นว่า พอทีเถิดพ่อคุณ อย่าร้องไห้ไปเลย. ธรรมดานัยน์ตาที่แตกแล้วไม่สามารถทําให้เหมือนเดิมได้ ด้วยการร้องไห้ดอก. นายหนุ่มนั้นกล่าวว่า เรามิได้ร้องไห้ถึงเรื่องนั้นดอก แต่เราร้องไห้หมายถึงเหตุนี้ ดังนี้แล้วจึงบอกเรื่องทั้งหมดตามลําดับ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 590

สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับย่อมเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์. ยังมีเรื่องอื่นอีก.

ภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ไหว้พระกัลยาณิมหาเจดีย์แล้วหยั่งลงสู่ทางใหญ่ ตามทางดงได้เห็นมนุษย์คนหนึ่งทํากรรมในเขตไฟไหม้ในระหว่างทางเดินมา. ร่างกายของมนุษย์ผู้นั้นได้เป็นดุจเปื้อนด้วยเขม่า. แลดูผ้าสาฎกผืนหนึ่งเปื้อนด้วยเขม่านุ่งหนีบรักแร้ ปรากฏดุจตอไม้ถูกไฟไหม้. มนุษย์ผู้นั้นทําการงานในตอนกลางวัน ขนกองไม้ที่ถูกไฟไหม้ครึ่งหนึ่งออก มีผมรุงรังที่หลัง มาผิดทาง ได้ยืนอยู่เฉพาะหน้าภิกษุทั้งหลาย.

พวกสามเณรเห็นจึงมองดูกันและกันแล้วหัวเราะกล่าวว่า อาวุโส บิดาของท่าน ลุงของท่าน อาของท่าน แล้วจึงถามชื่อว่า อุบาสกท่านชื่อไร. ชายผู้นั้นถูกถามถึงชื่อก็เดือดร้อน ทิ้งกองฟืน จัดแจงนุ่งผ้าไหว้พระมหาเถระแล้วจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย โปรดหยุดก่อนเถิด. พระมหาเถระทั้งหลายได้ยืนอยู่. พวกสามเณรมาแล้ว ทําการเย้ยหยันแม้ต่อหน้าพระมหาเถระทั้งหลาย.

อุบาสกกล่าวว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายเห็นผมแล้วหัวเราะเยาะ พระคุณเจ้าอย่าเข้าใจว่า พวกเราได้บรรลุถึงที่สุดด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แม้ผมเมื่อก่อนก็เป็นสมณะเช่นเดียวกับพวกท่าน แต่พวกท่านมิได้มีแม้เพียงจิตมีอารมณ์เดียว ผมได้เป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากในศาสนานี้. ผมถืออากาศแล้วทําให้เป็นแผ่นดินได้. ถือแผ่นดินแล้วทําให้เป็นอากาศได้. ทําที่ไกลให้ใกล้ได้. ทําที่ใกล้ให้ไกลได้. ผมทะลุไปแสนจักรวาลได้โดยขณะเดียว. พวกท่านจงดูมือของผมซิ บัดนี้เช่นกับมือลิง. ผมนั่ง ณ ที่นี้ลูบคลําพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยมือทั้งสองเหล่านี้ได้. ผมทําพระจันทร์และพระอาทิตย์ให้เป็นแท่นรองนั่งล้างเท้าเหล่านี้แล.ฤทธิ์ของผมเห็นปานนี้ได้สิ้นไปเพราะความประมาท. พวกท่านอย่าได้ประมาท

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 591

เลย. เพราะชนทั้งหลายถึงความพินาศเห็นปานนี้ ด้วยความประมาท. ผู้ไม่ประมาท ย่อมทําที่สุดแห่งชาติชราและมรณะได้. เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายทําผมนี้แหละให้เป็นอารมณ์ แล้วพูดเตือนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงอย่าประมาทเลยแล้วให้โอวาท เมื่อชายผู้นั้นกล่าวอยู่นั่นเอง ภิกษุ ๓๐ รูป เหล่านั้นถึงความสลดใจนี้ เห็นแจ้งอยู่ ได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้นเองด้วยประการฉะนี้.

สมถวิปัสสนาที่เกิดขึ้นแล้วแม้อย่างนี้ เมื่อดับไปพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ.

อนึ่ง ในบทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ความลามกยังไม่เกิดนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว น อุปฺปชฺชติ กามาสวะยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด.

อนึ่ง ในบทว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ความลามกเกิดขึ้นแล้วนี้ มีความดังต่อไปนี้.

ความลามกเกิดขึ้น ๔ อย่าง คือ เกิดขึ้นในปัจจุบัน ๑ เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้ว ปราศไป ๑ เกิดขึ้นเพราะทําโอกาส ๑ เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ ๑.

ใน ๔ อย่างนั้น กิเลสเหล่าใดมีอยู่พร้อมที่จะเกิดเป็นต้น นี้ชื่อว่า เกิดในปัจจุบัน.

อนึ่ง เมื่อกรรมยังแล่นไปเสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไปชื่อว่า เสวยผลแล้วปราศไป. กรรมเกิดขึ้นแล้วดับ ชื่อว่า เสวยผลแล้วปราศไป.

แม้ทั้งสองอย่างนั้น ก็ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้วปราศไป.

กุศลกรรมและอกุศลกรรมห้ามวิบากของกรรมอื่นแล้วทําโอกาสแห่งวิบากของตน. เมื่อทําโอกาสอย่างนี้ วิบากเมื่อเกิดขึ้น ย่อมชื่อว่า เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ทําโอกาส. นี้ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะทําโอกาส.

อนึ่ง ขันธ์ ๕ ชื่อว่า เป็นภูมิแห่งวิปัสสนา. ขันธ์ ๕ เหล่านั้น ย่อมมีประเภทเป็นอดีต เป็นต้น. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน. เพราะ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 592

แม้กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธ์ที่เป็นอดีตก็ยังเป็นอันละไม่ได้. แม้กิเลสที่นอนเนื่องในขันธ์เป็นอนาคต ในขันธ์เป็นปัจจุบัน ก็เป็นอันยังละไม่ได้แท้. นี้ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ.

ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า กิเลสที่ยังถอนไม่ขึ้นในภูมิเหล่านั้นๆ ย่อมชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ.

กรรมลามกเกิดขึ้น ๔ อย่าง อย่างอื่นอีก คือ เกิดขึ้นเพราะความประพฤติ ๑ เกิดขึ้นเพราะยึดถืออารมณ์ ๑ เกิดขึ้นเพราะไม่ข่ม ๑ เกิดขึ้นเพราะไม่ถอน ๑.

ใน ๔ อย่างนั้น กรรมที่ยังเป็นไปอยู่ไม่ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะความประพฤติ. เมื่อลืมตาขึ้นคราวเดียวแล้วยึดนิมิตเป็นอารมณ์ กิเลสทั้งหลายในขณะที่ระลึกถึงๆ ไม่ควรกล่าวว่า จักไม่เกิดขึ้น.

เพราะเหตุไร. เพราะยังยึดถืออารมณ์อยู่.

เหมือนอะไร. เหมือนน้ำนมแห่งต้นน้ำนมที่ถูกขวานฟันแล้ว เขาไม่ควรกล่าวว่า น้ำนมจักไม่ออก ฉันใด. นี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะยึดถืออารมณ์.

กิเลสทั้งหลายที่มิได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ไม่ควรกล่าวว่า จักไม่เกิดในฐานะนี้.

เพราะเหตุไร. เพราะยังข่มไว้ไม่ได้.

เหมือนอะไร. เหมือนหากว่าชนทั้งหลายพึงนําต้นน้ำนมมาด้วยขวาน ไม่ควรกล่าวว่า น้ำนมไม่พึงออกในที่นี้ ฉันใด. นี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะไม่ข่มไว้.

อนึ่ง กิเลสทั้งหลายที่ยังถอนออกไม่ได้ด้วยมรรค ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้เกิดในภวัคคพรหม พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้แล. นี้ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะยังถอนไม่ได้.

ในกรรมลามกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ กรรมเกิดขึ้น ๔ อย่าง คือ เกิดขึ้นในปัจจุบัน ๑ เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้วปราศไป ๑ เกิดขึ้นเพราะทําโอกาส ๑ เกิดขึ้นเพราะความประพฤติ ๑ ไม่ถูกทําลายด้วยมรรค.

กรรมลามก ๔ อย่าง คือ กรรมเกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ ๑ เกิดขึ้นเพราะยึดถืออารมณ์ ๑ เกิดขึ้นเพราะ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 593

ข่มไว้ไม่ได้ ๑ เกิดขึ้นเพราะถอนไม่ได้ ๑ ถูกทําลายด้วยมรรค. เพราะมรรคเมื่อเกิดย่อมละกิเลสเหล่านี้ได้. มรรคนั้นย่อมละกิเลสเหล่าใดได้ กิเลสเหล่านั้น ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน.

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ถ้าว่ามรรคย่อมละกิเลสอันเป็นอดีตได้ไซร้ ถ้าเช่นนั้นย่อมทํากิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไปได้ ย่อมทํากิเลสที่ดับแล้ว ให้ดับไป ที่ปราศไปแล้วให้ปราศไป ที่ตั้งอยู่ไม่ได้ให้ตั้งอยู่ไม่ได้ กิเลสเป็นอดีตใดไม่มี ย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตนั้นได้.

ก็ถ้าว่ามรรคนั้นย่อมละกิเลสในอนาคตได้ไซร้. ถ้าเช่นนั้น มรรคก็ย่อมละกิเลสที่ยังไม่เกิดได้ ย่อมละกิเลสที่ยังไม่บังเกิดไม่เกิด คือ ไม่ปรากฏได้, กิเลสที่เป็นอนาคตใดไม่มี ย่อมละกิเลสนั้นได้.

ก็ถ้าว่ามรรคนั้นย่อมละกิเลสอันเป็นปัจจุบันได้ไซร้ ถ้าเช่นนั้นผู้ถูกย้อมด้วยราคะ ย่อมละราคะได้ ถูกโทสะประทุษร้าย ย่อมละโทสะได้ ลุ่มหลงด้วยโมหะ ย่อมละโมหะได้ กระด้างด้วยมานะ ย่อมละมานะได้ ผู้ถูกต้องด้วยทิฏฐิ ย่อมละทิฏฐิได้ ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจะ ย่อมละอุทธัจจะได้ ถึงความไม่ตกลงใจด้วยวิจิกิจฉา ย่อมละวิจิกิจฉาได้ ผู้ดําเนินไปด้วยกําลังอนุสัย ย่อมละอนุสัยได้.

ธรรมดำธรรมขาวย่อมเป็นไปคู่กัน มรรคภาวนาย่อมเศร้าหมอง ถ้าเช่นนั้นมรรคภาวนาย่อมไม่มี การทําให้แจ้งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี กระนั้นหรือ.

มรรคภาวนามี ฯลฯ ธรรมาภิสมัยมี. เหมือนอย่างอะไร. เหมือนต้นไม้อ่อน ฯลฯ สิ่งที่ไม่ปรากฏ ย่อมไม่ปรากฏ. ต้นไม้ยังไม่เกิดผลมาแล้วในบาลี. แต่พึงแสดงโดยต้นไม้ที่เกิดผล. เหมือนต้นมะม่วงอ่อนมีผล. พวกมนุษย์บริโภคผลของต้นมะม่วงอ่อนนั้น. ทําผลที่เหลือให้หล่นแล้วใส่ตะกร้าจนเต็ม คราวนั้น บุรุษอื่นเอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น. ผลของมะม่วงนั้นในอดีตยังไม่สูญไป. ผลอนาคตปัจจุบันก็ไม่สูญ เป็นอันไม่สูญทั้งนั้น. เพราะมนุษย์ทั้งหลายบริโภคผลในอดีต. ผลในอนาคตยังไม่เกิด จึงไม่อาจทําให้สูญเสียได้.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 594

แต่สมัยใดต้นมะม่วงนั้นถูกตัด ในตอนนั้นผลนั่นแหละย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น แม้ผลในปัจจุบันก็ยังไม่สูญ. แต่ถ้าต้นไม้ไม่พึงถูกตัดไซร้ ผลของต้นไม้ที่อาศัยรสดินและรสน้ำ พึงเกิดย่อมไม่สูญ. เพราะผลเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมไม่เกิด ที่ยังไม่งอก ก็ย่อมไม่งอก ที่ยังไม่ปรากฏ ก็ย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด มรรคก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ยังละกิเลสทั้งหลาย อันต่างด้วยอดีตเป็นต้นไม่ได้ แม้ยังละไม่ได้ ก็ละไม่ได้.

เพราะเมื่อยังมิได้กําหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้น กิเลสเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิด ที่ยังไม่บังเกิด ย่อมไม่บังเกิด ที่ยังไม่ปรากฏ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะยังมิได้กําหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายด้วยมรรค พึงให้ความนี้แจ่มแจ้งว่าด้วยยาที่ดื่ม เพื่อไม่ให้หญิงที่ลูกยังอ่อน คลอดอีก และเพื่อให้คนเจ็บป่วยหายจากโรค. มรรคละกิเลสเหล่าใดได้อย่างนี้ กิเลสเหล่านั้นไม่พึงกล่าวว่า เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน.

อนึ่ง ไม่ใช่มรรคย่อมละกิเลสไม่ได้. มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใดได้ ท่านกล่าวว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ เป็นอาทิ หมายถึงกิเลสเหล่านั้น. มรรคมิใช่จะละกิเลสได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่เพราะยังละกิเลสทั้งหลายไม่ได้ อุปาทินนกขันธ์พึงเกิดขึ้น ย่อมละได้ แม้ซึ่งอุปาทินนกขันธ์นั้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า นามและรูป พึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้ เว้นในภพ ๗ เพราะการดับแห่งอภิสังขารและวิญญาณด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ นามและรูปเหล่านั้นย่อมดับไปในที่นั้น.

พึงทราบความพิสดารดังต่อไปนี้.

มรรคย่อมออกจากอุปาทินนะและอนุปาทินนะ คือ วิบากและกรรมด้วยประการฉะนี้. แต่เมื่อว่าโดยภพ โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ สกทาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติภพส่วนเดียว. อนาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติกามภพ. อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อรหัตมรรคออกจากภพทั้งปวง.

เมื่อเป็น

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 595

เช่นนั้น การเจริญเพื่อเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมอันยังไม่เกิดขึ้นในขณะแห่งมรรคเป็นอย่างไร. หรือเพื่อความตั้งมั่นแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร.

เพื่อความเป็นไปแห่งมรรคนั่นเอง.

เพราะมรรคเมื่อเป็นไปอยู่ ท่านกล่าวว่ามรรคยังไม่เกิดแล้วเพราะยังไม่เคยเกิดมาก่อน. เพราะผู้กล่าวมาสู่ฐานะที่ไม่เคยมา หรือเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวย ย่อมกล่าวว่า เรามาสู่ฐานะอันไม่เคยมาแล้ว. หรือว่าเราเสวยอารมณ์อันไม่เคยเสวยแล้ว ความเป็นไปแห่งมรรคนั้นแหละ ชื่อว่า ฐิติ เพราะเหตุนั้นควรกล่าวว่า ิติยา ภาเวติ ให้มรรคเจริญเพื่อความตั้งมั่น.

ความย่อในอิทธิบาท ท่านกล่าวไว้แล้วในเจโตขีลสูตร.

ชื่อว่า อุปสมคามี เพราะถึงความสงบระงับหรือถึงเพื่อความสงบกิเลส.

ชื่อว่า สมฺโพธคามี เพราะถึงความตรัสรู้หรือถึงเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้มรรค.

บทมีอาทิว่า วิเวกนิสฺสิตา อาศัยวิเวกท่านกล่าวไว้แล้วในการสังวรในอาสวะทั้งปวง.

นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ส่วนโพธิปักขิยกถานี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคโดยพิสดารแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในวิโมกขกถาดังต่อไปนี้.

บทว่า วิโมกฺเข ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่ากระไร. เพราะอรรถว่าหลุดพ้นดี.

ก็วิโมกข์นี้คืออะไร. วิโมกข์มีอรรถว่าหลุดพ้นด้วยดีแม้จากธรรมเป็นข้าศึกชื่อว่า อธิมุจฺจนฏโ มีอรรถว่าหลุดพ้นดี. มีอรรถว่าพ้นด้วยดีแม้จากอารมณ์ทั้งหลายด้วยสามารถความไม่ยินดี.

ท่านอธิบายไว้ว่าวิโมกข์เป็นไปในอารมณ์ เพราะหมดความหวั่นใจด้วยความไม่ถูกข่ม ดุจทารกปล่อยอวัยวะนอนบนตักบิดา. แต่ความนี้ไม่มีในวิโมกข์สุดท้าย. มีในวิโมกข์ต้นๆ ทั้งหมด.

ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ ผู้ได้รูปฌาน ย่อมเห็นรูปนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.

รูปฌานอันให้เกิดด้วยอํานาจนีลกสิณ เป็นต้น ในบรรดากสิณมีผมในภายใน เป็นต้น ชื่อว่า รูป. ชื่อว่า รูปี

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 596

เพราะมีรูปฌานนั้น.

บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ เห็นรูปภายนอก คือ เห็นรูปมีนีลกสิณ เป็นต้น แม้ภายนอกด้วยฌานจักษุ.

ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงรูปาวจรฌาน ๔ ของบุคคลผู้มีฌานอันให้เกิดแล้วในกสิณทั้งหลายที่มีวัตถุภายในและภายนอก.

บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสฺี คือ ผู้ไม่มีรูปสัญญาในภายใน. อธิบายว่า มีรูปาวจรฌานอันยังไม่เกิดในกสิณ มีผมเป็นของตน.

ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงรูปาวจรฌานของผู้มีฌาน ซึ่งทําบริกรรมอย่างดีในภายนอกแล้วให้เกิดในภายนอก.

ด้วยบทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ ผู้น้อมใจเชื่อว่ากสิณเป็นของงามอย่างเดียวนี้ ท่านแสดงถึงฌานในวรรณกสิณ มีนีลกสิณ เป็นต้น อันบริสุทธิ์.

ในบทนั้น การผูกใจว่างาม ไม่มีในอัปปนาภายในก็จริง แต่ถึงดังนั้น พระโยคาวจรใด ทําสุภกสิณให้เป็นอารมณ์หมดจดด้วยดีอยู่. เพราะพระโยคาวจรนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้ควรกล่าวว่า เป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างาม. ฉะนั้นท่านจึงแสดงไว้อย่างนี้.

แต่ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะเป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างามเป็นอย่างไร.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาสัตว์ทั้งหลายจึงไม่น่าเกลียด. มีจิตสหรคตด้วยกรุณามุทิตาและอุเบกขาแผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. เพราะเป็นผู้เจริญกรุณามุทิตาและอุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงไม่น่าเกลียด ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะเป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างามอย่างนี้.

ในบทว่า สพฺพโส รูปสฺานํ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเป็นอาทิ.

บทที่ควรกล่าวทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า อยํ อฏโม วิโมกฺโข นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘ คือ นี้ชื่อว่าวิโมกข์อันสูงสุดข้อที่ ๘ เพราะสละขันธ์ ๔ หลุดพ้นแล้วโดยประการทั้งปวง.

พึงทราบวินิจฉัยในอภิภายตนกถาดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิภายตนานิ คือ เหตุเครื่องครอบงํา. ครอบงําอะไร. ครอบงําธรรมอันเป็นข้าศึกบ้าง

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 597

อารมณ์บ้าง. เพราะอภิภายตนะเหล่านั้น ย่อมครอบงําธรรมเป็นข้าศึกโดยความเป็นข้าศึก. ครอบงําอารมณ์เพราะความที่บุคคลเป็นผู้ยิ่งด้วยญาณ.

อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า อชฺฌตฺตํ รูปสฺี ผู้มีความสําคัญในรูปภายใน มีความดังต่อไปนี้.

ย่อมชื่อว่ารูปสัญญี ผู้มีความสําคัญในรูปภายใน ด้วยสามารถบริกรรมรูปภายใน.

เพราะเมื่อทําบริกรรม นีลบริกรรม ในภายใน ย่อมทําที่ผม ที่ดี หรือที่ดวงตา. เมื่อทํา ปีตบริกรรม ย่อมทําที่มันข้น ที่ผิว ที่ฝ่ามือ ที่ฝ่าเท้า หรือที่ความเหลืองของดวงตา. เมื่อทํา โลหิตบริกรรม ย่อมกระทําเนื้อ ที่โลหิต ที่ลิ้น ที่มีสีแดงของดวงตา. เมื่อกระทํา โอทาตบริกรรม ย่อมทําที่กระดูก ที่ฟัน ที่เล็บ หรือที่ความขาวของดวงตา. แต่กสิณนั้น ไม่เขียวดี ไม่เหลืองดี ไม่แดงดี ไม่ขาวดี ย่อมเป็นกสิณไม่บริสุทธิ์.

บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอก ความว่า นิมิตภายนอกเกิดขึ้นภายในเพราะทําบริกรรมของผู้ใด ผู้นั้น เราเรียกว่า เป็นผู้หนึ่ง มีความสําคัญรูปภายในเห็นรูปภายนอก ด้วยสามารถแห่งบริกรรมภายใน และแห่งอัปปนาภายนอกอย่างนี้.

บทว่า ปริตฺตานิ รูปภายนอกเล็ก คือ ไม่โต.

บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ คือ มีผิวพรรณดีหรือมีผิวพรรณทราม.

พึงทราบว่า นี้ท่านกล่าวว่าเป็นอภิภายตนะ ด้วยสามารถรูปเล็กนั้นเอง.

บทว่า ตานิ อภิภุยฺย ครอบงํารูปเหล่านั้น ความว่า เหมือนคนมีน้ำย่อยอาหารดี ได้อาหารเพียงทัพพีเดียว คิดวามีอะไรที่ควรบริโภคในอาหารนี้ จึงหยิบเอามาปั้นเป็นคําเดียวฉันใด. บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ มีญาณเฉียบแหลมคิดว่า มีอะไรที่ควรเข้าถึงในอารมณ์เล็กน้อยนี้. นี้ไม่ใช่ภาระของเราจึงครอบงํารูปเหล่านั้นเข้าถึงสมาบัติ. อธิบายว่ายังอัปปนาให้ถึงในรูปนี้พร้อมกับการเกิดแห่งนิมิต.

ท่านกล่าวถึงความผูกใจรูปนั้น ด้วยบทนี้ว่า ชานามิ ปสฺสามิ เรารู้ เราเห็น. ผู้นั้น เมื่อออกจากสมาบัติแล้ว ไม่เข้าสมาบัติในภายใน.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 598

บทว่า เอวํ สฺี โหติ มีความสําคัญอย่างนี้ คือ ด้วยอาโภคสัญญาบ้าง (ความสําคัญด้วยความผูกใจ) ด้วยฌานสัญญาบ้าง (ความสําคัญด้วยฌาน) อภิภวสัญญา (ความสําคัญด้วยความครอบงํา) ย่อมมีแก่ผู้นั้นแม้ในภายในสมาบัติ. ส่วนอาโภคสัญญา ย่อมมีแก่ผู้ออกจากสมาบัติ.

บทว่า อปฺปมาณานิ หาประมาณมิได้ คือ มีประมาณเจริญได้แก่มาก.

พึงทราบความในบทว่า อภิภุยฺย ครอบงํา ดังต่อไปนี้.

เหมือนบุรุษผู้กินจุครั้นได้อาหารมื้อเดียว ก็คิดว่าอาหารแม้อื่นจงมี อาหารแม้อื่นจงมี อาหารมื้อเดียวจักทําอะไรแก่เราได้ จึงไม่เห็นอาหารนั้นมากพอฉันใด. บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ ผู้มีญาณเฉียบแหลมคิดว่าจะพึงเข้าถึงญาณนี้ได้อย่างไร. นี้ไม่มีประมาณหามิได้ ภาระในการทําความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียวมีอยู่แก่เรา จึงครอบงํารูปเหล่านั้นแล้วเข้าสมาบัติ. อธิบายว่า ยังอัปปนาให้ถึงในจิตนี้พร้อมกับให้เกิดนิมิต.

บทว่า อุชฺฌตฺตํ อรูปสฺี มีความสําคัญในอรูปภายใน ความว่า ไม่มีความสําคัญบริกรรมในรูปภายในเพราะไม่ได้หรือเพราะไม่มีประโยชน์.

บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอก ความว่า บริกรรมก็ดี นิมิตก็ดีของผู้ใดเกิดขึ้นในภายนอก. ผู้นั้นมีความสําคัญในอรูปภายในอันเกิดขึ้นด้วยสามารถบริกรรม และอัปปนาภายนอกอย่างนี้ ท่านกล่าวว่าผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอก.

บทที่เหลือในบทนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในอภิภายตนะที่ ๔.

ก็ในอภิภายตนะ ๔ นี้ อภิภายตนะเล็กน้อยมาแล้วด้วยสามารถวิตกจริต. อภิภายตนะหาประมาณมิได้ มาแล้วด้วยสามารถโมหจริต. รูปผิวทองมาแล้วด้วยสามารถโทสจริต. ผิวทรามมาแล้วด้วยสามารถราคจริต. รูปเหล่านี้เป็นที่สบายของคนเหล่านั้น.

อนึ่ง ความที่รูปเป็นที่สบายของคนเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในจริตนิเทศในวิสุทธิมรรคโดยพิสดารแล้ว.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 599

พึงทราบวินิจฉัยในอภิภายตนะที่ ๕ เป็นต้นดังต่อไปนี้.

บทว่า นีลานิ เขียว ท่านกล่าวรวมสีทั้งหมด.

บทว่า นีลวณฺณานิ มีวรรณเขียว คือ เขียวด้วยสี.

บทว่า นีลทสฺสนานิ เขียวล้วน ท่านอธิบายว่า วรรณะไม่มีปน ไม่มีช่องปรากฏด้วยการแสดงให้เห็นเป็นสีเขียวล้วน.

ส่วนบทว่า นีลนิภาสานิ มีรัศมีเขียวนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแสง. อธิบายว่ามีแสงเขียว ประกอบด้วยรัศมีเขียว.

ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงความที่รูปเหล่านั้นบริสุทธิ์. จริงอยู่ ท่านกล่าวอภิภายตนะ ๔ เหล่านี้ด้วยสามารถวรรณะบริสุทธิ์.

บทว่า อุมฺมารปุปฺผํ ดอกผักตบ เพราะดอกไม้นี้แม้ปรากฏว่าอ่อนสนิท ก็เขียวล้วน. แต่ดอกอัญชัน เป็นต้น ปรากฏเป็นดอกไม้ตระกูลขาว. เพราะฉะนั้น ท่านถือเอาดอกผักตบนี้แหละ ไม่ถือเอาดอกอัญชัน เป็นต้นเหล่านั้น.

พาราณเสยฺยกํ ผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสี คือ ทําในกรุงพาราณสี. ได้ยินว่าในกรุงพาราณสีนั้น แม้ฝ้ายก็อ่อนนุ่ม แม้คนปันฝ้ายก็ฉลาด แม้น้ำก็สะอาดเย็นสนิท เพราะฉะนั้น ผ้าจึงเกลี้ยงทั้งสองข้าง. ในสองข้างปรากฏเกลี้ยงนุ่มสนิท.

ในบทมีอาทิว่า ปีตานิ พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน. เมื่อกําหนดนีลกสิณ ย่อมถือเอานิมิตในสีเขียว.

อนึ่ง ในกสิณนี้ การทํากสิณ การบริกรรมและแบบแห่งอัปปนา มีอาทิ คือ ในดอกไม้ ในผ้า หรือในวรรณธาตุทั้งหมด ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า อภิฺาโวสานปารมิปฺปตฺตา บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา คือ สาวกทั้งหลายเจริญธรรมเหล่านั้นในสติปัฏฐาน เป็นต้น ในก่อนจากนี้แล้วบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา.

อนึ่ง สาวกทั้งหลายก็ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา เพราะความเป็นผู้มีความชํานาญอันสะสมมาแล้ว ในอภิภายตนะ ๘ เหล่านี้.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 600

พึงทราบวินิจฉัยในกสิณกถาดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า ทั้งสิ้น.

ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นเขตหรือเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรมทั้งหลาย มีกสิณนั้นเป็นอารมณ์.

บทว่า อุทฺธํ เบื้องบน คือ มุ่งหน้าไปสู่ท้องฟ้าเบื้องบน.

บทว่า อโธ เบื้องต่ํา คือ มุ่งหน้าไปสู่พื้นดินเบื้องต่ํา.

บทว่า ติริยํ เบื้องขวาง คือ กําหนดโดยรอบดุจบริเวณของพื้นที่.

บางคนเจริญกสิณเบื้องบนเท่านั้น. บางคนเจริญกสิณเบื้องต่ํา. บางคนเจริญกสิณโดยรอบๆ ด้วยเหตุนั้นแหละ ผู้ประสงค์จะเห็นรูปดุจยังความสว่างให้ผ่องใส.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทมีอาทิว่า ปวีกสิณเมโก สฺชานาติ อุทฺธํอโธติริยํ ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวาง.

บทว่า อนฺวยํ คือ ในทิศน้อยใหญ่.

ก็บทนี้ท่านกล่าวเพื่อไปถึงความไม่มีอื่นของทิศหนึ่ง เหมือนผู้เข้าไปสู่แม่น้ำ น้ำเท่านั้น ย่อมมีในทิศทั้งหมด มิใช่อย่างอื่นฉันใด. ปฐวีกสิณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นปฐวีกสิณเท่านั้น. กสิณนั้นไม่มีกสิณอื่นปะปน.

ในกสิณทั้งหมดก็มีนัยนี้.

บทว่า อปฺปมาณํ นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถกสิณนั้นแผ่ไปไม่มีประมาณ. เพราะกสิณนั้นแผ่ไปด้วยใจ ย่อมแผ่ไปตลอดดวงกสิณเท่านั้น. ย่อมถือเอาประมาณว่า นี้เป็นเบื้องต้นของกสิณนั้น นี้เป็นท่ามกลาง.

อนึ่ง ในบทว่า วิฺาณกสิณํ นี้มีความดังต่อไปนี้ วิญญาณที่เป็นไปแล้ว ในอากาศที่เพิกกสิณแล้ว.

ในบทว่า วิฺาณกสิณํ นั้น พึงทราบความที่กสิณนั้นทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา และเบื้องขวางในวิญญาณอันเป็นไปแล้วนั้น ด้วยสามารถอากาศอันเพิกกสิณแล้ว ในอากาศอันเพิกกสิณ ด้วยอํานาจแห่งกสิณ.

นี้เป็นความย่อในบทนี้. ส่วนปฐวีกสิณ เป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค โดยพิสดารตามนัยแห่งการเจริญกรรมฐาน.

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 601

ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา โดยความเป็นผู้มีความชํานาญอันสะสมไว้แล้ว.

ในฌาน ๔ อันเป็นลําดับต่อจากนี้ ก็อย่างเดียวกัน. ส่วนบทที่ควรกล่าวในที่นี้ ได้กล่าวไว้แล้วในมหาอัสสปุรสูตร. แต่ในวิปัสสนาญาณ ท่านกล่าวความแห่งบทมีอาทิว่า รูปี ผู้ได้รูปฌานไว้แล้ว.

บทว่า เอตฺถ สิตํ เอตฺถ ปฏิพทฺธํ คือ วิญญาณ อาศัยและเนื่องอยู่ในกาย คือ มหาภูตรูป ๔ นี้.

บทว่า สุโภ คือ งาม.

บทว่า โชติมา คือ ตั้งอยู่ในอาการอันบริสุทธิ์.

บทว่า สุปริกมฺมกโต ทําบริกรรมเป็นอย่างดี คือ นายช่างเจียระไนดีแล้ว ไม่มีหินและกรวด.

บทว่า อจฺโฉ สุกใส คือ สุกใสในตัว ผุดผ่องในตัว.

บทว่า วิปฺปสนฺโน คือ แวววาว.

บทว่า สพฺพาการสมฺปนฺโน สมส่วนทุกอย่าง คือ สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงมีขัดและเจาะ เป็นต้น.

ท่านแสดงถึงสมบัติของสีด้วยบทมีอาทิว่า นีลํ. เพราะด้ายที่ร้อยไว้เช่นนั้นปรากฏ.

ในบทว่า เอวเมว นี้พึงทราบการเปรียบเทียบอย่างนั้น.

เพราะกรชกาย ดุจแก้วมณี. วิปัสสนาญาณดุจด้ายที่ร้อยไว้.

ภิกษุผู้ได้วิปัสสนาดุจบุรุษผู้มีจักษุ. กาลที่รู้แจ้งกายอันมีมหาภูตรูป ๔ ของภิกษุผู้นั่งกําหนดวิปัสสนาญาณ ดุจกาลที่รู้แจ้งแก้วมณีของผู้วางแก้วมณีไว้ที่มือ แล้วพิจารณาดูว่านี้แลแก้วมณีฉะนั้น. กาลที่รู้แจ้งอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕ ก็ดี จิตเจตสิกทั้งปวงก็ดี วิปัสสนาญาณก็ดี ของภิกษุผู้นั่งกําหนดวิปัสสนาญาณ ดุจกาลที่รู้แจ้งด้ายว่า ด้ายนี้ร้อยอยู่ในแก้วมณีนั้นฉะนั้น.

ก็การรู้แจ้งญาณเป็นอย่างไร. เพราะการรู้แจ้งญาณนั้นเป็นการรู้แจ้งบุคคลนั่นแหละ.

อนึ่ง วิปัสสนาญาณนี้เป็นลําดับของมรรค. เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อปรารภ วาระแห่งอภิญญาจึงไม่มีวาระในระหว่างแห่งวิปัสสนาญาณนั้น. ฉะนั้น ท่านจึงแสดงไว้ในที่นี้นั่น

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 602

แหละ.

อนึ่ง เพราะความสะดุ้งต่อภัย ย่อมเกิดแก่ผู้ไม่พิจารณาด้วยสามารถความไม่เที่ยง เป็นต้น ผู้ได้ยินเสียงน่ากลัวด้วยหูทิพย์ ผู้ระลึกถึงขันธ์น่ากลัวด้วยระลึกชาติได้ ผู้เห็นรูปน่ากลัวด้วยตาทิพย์.

ฉะนั้น ท่านจึงไม่แสดงบทนั้นไว้ในที่นี้ แม้เพื่อตระเตรียมเหตุ บรรเทาความกลัว ของผู้มิได้ทําการพิจารณาด้วยสามารถความไม่เที่ยง เป็นต้น ผู้บรรลุอภิญญานั้น.

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า สาวกทั้งหลายบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาด้วยพระอรหัต.

พึงทราบเพราะความเป็นผู้มีความชํานาญใน มโนมยิทธิ ดังต่อไปนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า มโนมยํ คือ เกิดแต่ใจ.

บทว่า สพฺพงฺคปฺจงฺคํ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน คือ ประกอบด้วยองค์ทั้งหมด และด้วยองค์ ๕.

บทว่า อหีนินฺทฺริยํ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง คือ มีอินทรีย์ไม่วิกลด้วยสัณฐาน. เพราะรูปนิรมิตของผู้มีฤทธิ์เป็นเช่นเดียวกับรูปนั้น ด้วยอาการทุกอย่างอย่างนี้ คือ หากผู้มีฤทธิ์ขาว แม้รูปนิรมิตนั้นก็ขาว. หากผู้มีฤทธิ์มีหูมิได้เจาะ แม้รูปนั้นก็มีหูมิได้เจาะ.

แม้อุปมา ๓ ข้อ มีอาทิว่า มุฺชมฺหา อีสิกํ พึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเหมือนกัน. เพราะไส้ภายในหญ้าปล้องนั้นก็เช่นกับหญ้าปล้องนั่นเอง. เมื่อชักดาบออกจากฝักใส่ดาบที่ชักออก เมื่อชักศัสตราออกจากฝักใส่ศัสตราที่ชักออก ดาบ ศัสตรา ก็เช่นกับฝักนั่นเอง.

แม้บทว่า กรณฺฑา นี้เป็นชื่อของคราบงู มิใช่เป็นชื่อของหีบไม้ไผ่. เพราะคราบงูก็เช่นกับงู.

ในบทนั้น ท่านแสดงดุจชักด้วยมือว่า บุรุษพึงชักงูออกจากคราบ ที่แท้พึงทราบว่าชักด้วยจิตของบุรุษนั้นนั่นเอง. เพราะธรรมดางูนี้ย่อมลอกคราบด้วยตนเอง ด้วยเหตุ ๔ เหล่านี้ คือ ตั้งอยู่ในกําเนิดของตน ๑ อาศัยระหว่างไม้หรือระหว่างต้นไม้ ๑ ดุจกินร่างกายด้วยกําลัง คือ พยายามฉุดตัวออกจากคราบ ๑ รังเกียจคราบเก่า ๑ ไม่สามารถจะลอกคราบ ด้วยวิธีอื่นจากนั้นได้.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 603

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวบทนี้ หมายถึง การชักด้วยจิต.

ข้อเปรียบเทียบในบทนี้มีดังนี้ว่า สรีระของภิกษุนี้เช่นกับหญ้าปล้อง เป็นต้น. รูปนิรมิตเช่นกับไส้ เป็นต้น.

ก็ในที่นี้จะกล่าวถึง วิธีนิรมิต ด้วยว่าการกล่าวถึง อภิญญา ๕ มีอิทธิวิธะ เป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคทุกประการ. พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแหละ. เพราะในที่นี้ท่านกล่าวเพิ่มเพียงอุปมาเท่านั้น.

พึงเห็นภิกษุผู้ได้ญาณ คือ อิทธิวิธะ ดุจช่างหม้อผู้ฉลาดฉะนั้น. พึงเห็น อิทธิวิธญาณ ดุจดินเหนียวที่ช่างหม้อตกแต่งเป็นอย่างดีฉะนั้น. พึงเห็นการแสดงฤทธิ์ของภิกษุนั้น ดุจการกระทําให้เป็นภาชนะชนิดต่างๆ ตามที่ตนต้องการแล้วๆ.

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า พระสาวกทั้งหลายบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีความชํานาญอันสะสมไว้แล้วนั่นแล. ในอภิญญา ๔ อื่นจากนี้ก็เหมือนอย่างนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาแห่ง ทิพโสตธาตุ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สงฺขธโม คือ บุรุษเป่าสังข์.

บทว่า อปฺปกสิเรเนว คือ โดยไม่ยากนั่นเอง.

บทว่า วิฺาเปยฺย คือ ให้รู้. พึงเห็นว่ากาลที่พระโยคีรู้แจ้งเสียงของมนุษย์ทั้งใกล้และไกล และนิพพาน ดุจกาลที่เมื่อบุรุษเป่าสังข์ให้รู้แจ้งไปใน ๔ ทิศอย่างนี้นั้น เสียงสังข์นั้น ก็ปรากฏชัดแก่สัตว์ทั้งหลายผู้กําหนดว่า นี้เสียงสังข์ฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาแห่ง เจโตปริยญาณ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทหโร คือ หนุ่ม.

บทว่า ยุวา คือ ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม.

บทว่า มณฺฑนกชาติโก ชอบแต่งตัว คือ แม้ยังหนุ่มสาวก็ไม่เกียจคร้าน ถึงจะมีผ้าและร่างกายเศร้าหมอง ก็ยังชอบแต่งตัว. อธิบายว่า อาบน้ำวันละ ๒ - ๓ ครั้ง แล้วนุ่งห่มผ้าสะอาด และแต่งตัว.

บทว่า สกณิกํ หน้ามีไฝ คือ หน้ามีโทษด้วยโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง มีจุดดํา ตุ่มกลม หูด เป็นต้น.

ในบทนั้นพึงทราบว่า

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 604

เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษนั้นส่องดูเงาหน้า โทษของใบหน้าย่อมปรากฏฉันใด เมื่อภิกษุนั่งกําหนดจิตด้วยเจโตปริยญาณก็ฉันนั้น จิต ๑๖ อย่างของผู้อื่นย่อมปรากฏ.

บทที่ควรกล่าวในอุปมาแห่งปุพเพนิวาสญาณ เป็นต้นทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วในมหาอัสสปุรสูตร.

บทว่า อยํ โข อุทายิ ปฺจโม ธมฺโม ดูก่อนอุทายี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ คือ ท่านกล่าวธรรมข้อที่ ๕ ทํา ๑๙ บรรพให้เป็นธรรมข้อเดียวด้วยข้อปฏิบัติ. เหมือนอย่างว่าท่านทํา ๑๑ บรรพในอัฏฐกนาครสูตร ให้เป็นธรรมข้อเดียวด้วยสามารถเป็นคําถาม ฉันใด พึงทราบว่า ๑๙ บรรพในที่นี้ ท่านทําให้เป็นธรรมข้อเดียวด้วยสามารถการปฏิบัติฉันนั้น.

พึงทราบสาวกทั้งหลายบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ในส่วนทั้งหลาย ๘ ตามลําดับในบรรดาธรรม ๑๙ บรรพเหล่านี้ ในวิปัสสนาญานและอาสวักขยญาณ ด้วยสามารถแห่งพระอรหัต.

ในบทที่เหลือทั้งหลาย พึงทราบด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีความชํานาญอันสะสมมาแล้ว.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้

จบอรรถกถามหาสกุลุทายิสูตรที่ ๗