พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มาคัณฑิยสูตร เรื่องมาคัณฑิยปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36080
อ่าน  640

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 486

๕. มาคัณฑิยสูตร

เรื่องมาคัณฑิยปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 486

๕. มาคัณฑิยสูตร

[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเครื่องลาดอันลาดด้วยหญ้าในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ใกล้นิคมของชาวกุรุอันชื่อว่า กัมมาสธัมมะ ในกุรุรัฐ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกัมมาสธัมมนิคม ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาต เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่งเพื่อประทับพักกลางวัน ครั้นเสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง.

เรื่องมาคัณฑิยปริพาชก

[๒๗๗] ครั้งนั้น มาคัณฑิยปริพาชกเดินเที่ยวไปมาเพื่อแก้เมื่อย เข้าไปถึงโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็นเครื่องลาดอันทําด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร และได้กล่าวกะพราหมณ์ภารทวาชโคตรว่า ดูก่อนสหาย เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใครหนอ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ.

ภา. มีอยู่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมศากยบุตรออกบวชจากศากยสกุล เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนั้นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม ที่นอนนี้ปูไว้สําหรับท่านพระโคดมนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 487

มา. ท่านภารทวาชะ พวกเราที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้กําจัดความเจริญนั้น ชื่อว่าได้เห็นชั่ว.

ภา. ดูก่อน มาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ดูก่อนท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดีที่เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะที่เป็นบัณฑิตเป็นอันมากก็ดี พากันเลื่อมใสยิ่งนักต่อท่านพระโคดมพระองค์นั้น ท่านพระโคดมทรงแนะนําในธรรมที่มีเหตุอันบริสุทธิ์ไม่มีโทษ.

มา. ท่านภารทวาชะ ถ้าแม้พวกเราได้พบท่านพระโคดมนั้นต่อหน้า เราก็พึงกล่าวกะท่านพระโคดมต่อหน้าว่า พระสมณโคดมผู้กําจัดความเจริญดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า คําเช่นนี้ลงในสูตรของเราทั้งหลาย.

ภา. ถ้าการที่จะกล่าวนั้น ไม่เป็นการหนักแก่ท่านมาคัณฑิยะ ข้าพเจ้าจักทูลกะพระสมณโคดมพระองค์นั้น.

มา. ท่านภารทวาชะ จงมีความขวนขวายน้อยเถิด เราได้ว่าไว้แล้ว ก็พึงกล่าวกะพระองค์เถิด.

[๒๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับคําสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรกับมาคัณฑิยปริพาชกด้วยทิพโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบนเครื่องลาดหญ้าที่เขาลาดไว้ ลําดับนั้นพราหมณ์ภารทวาชโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเขาว่า ดูก่อนภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องลาดหญ้านี้ ได้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 488

เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรตกใจ เกิดโลมชาติชูชัน ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าปรารถนาจะกราบทูลเรื่องนี้แก่ท่านพระโคดม แต่ท่านพระโคดมตรัสเสียก่อนที่ข้าพเจ้ายังไม่ทันกราบทูล ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพราหมณ์ภารทวาชโคตรเจรจากันยังค้างอยู่ในระหว่างนี้ ลําดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชกกําลังเดินเที่ยวไปมาแก้เมื่อยอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร แล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระพุทธเจ้าตรัสซักถามมาคัณฑิยะเรื่องกามคุณ

[๒๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาคัณฑิยปริพาชกผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ นัยน์ตามีรูปเป็นที่มายินดี... หูมีเสียงเป็นที่มายินดี... จมูกมีกลิ่นเป็นที่มายินดี... ลิ้นมีรสเป็นที่มายินดี... กายมีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี... ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม อันธรรมให้บันเทิงแล้ว ใจนั่นตถาคตทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สํารวมแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสํารวมใจมั่น ดูก่อนมาคัณฑิยะ คําที่ท่านกล่าวว่าพระสมณโคดมเป็นผู้กําจัดความเจริญนั้น ท่านหมายเอาความข้อนี้ละซิหนอ.

มา. ท่านพระโคดม ก็คําที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กําจัดความเจริญนี้ ข้าพเจ้าหมายเอาความข้อนี้แหละ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะคําเช่นนี้ลงกันในสูตรของข้าพเจ้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 489

[๒๘๐] ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับบําเรอด้วยรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งรูปทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในรูป บรรเทาความเร่าร้อนอันเกิดเพราะปรารภรูป เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า.

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร.

ดูก่อนท่านมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับบําเรอด้วยเสียงทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู... ด้วยกลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก... ด้วยรสทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในโผฏฐัพพะ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะปรารภโผฏฐัพพะ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า.

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร.

[๒๘๑] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็เป็นผู้อิ่มหนํา เพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บําเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู... ด้วยกลิ่นอันจะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 490

พึงรู้แจ้งด้วยจมูก... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้น ได้มีถึง ๓ แห่ง คือ ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เรานั้นได้รับบําเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาท เป็นที่อยู่ในฤดูฝนตลอดสี่เดือน ไม่ได้ลงภายใต้ปราสาท สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะปรารภกาม เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ เรานั้นย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้น.

[๒๘๒] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บําเรอตนด้วยรูปอันพึงจะรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ พึงเข้าถึงความเป็นสหายของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 491

เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมในนันทวัน เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์ บําเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก เทพบุตรนั้นได้เห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บําเรอตนอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในนันทวัน เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์บําเรอตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยานต่อคฤหบดีต่อบุตรคฤหบดีโน้น หรือต่อกามคุณห้าของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนมาเพราะกามของมนุษย์บ้างหรือหนอ.

ไม่เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามอันเป็นทิพย์น่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อนเอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บําเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม ได้บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นที่ยังไม่ปราศจากความกําหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีอยู่ ด้วยความ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 492

ยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุข เป็นของทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้นเลย.

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนโรคเรื้อน

[๒๘๓] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวอันสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอํามาตย์ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดนั้น พึงทํายารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอํานาจในตนเองจะไปไหนได้ตามความพอใจ บุรุษนั้นได้เห็นบุรุษโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผลมีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึงทะเยอทะยานต่อบุรุษโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกลับเสพยาบ้างหรือหนอ.

ไม่อย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่ควรทําด้วยยาก็ต้องมี เมื่อไม่มีโรค กิจที่ควรทําด้วยยาก็ไม่ต้องมี.

ดูก่อนมาคัณทิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บําเรอตนอยู่ด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 493

แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่. เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีอยู่ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุขอันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้นเลย.

[๒๘๔] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผลมีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอํามาตย์ญาติสาโลหิตของเขาพึงตั้งแพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดทํายารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอํานาจในตนเอง จะไปไหนได้ตามความพอใจ บุรุษมีกําลังสองคนช่วยกันจับบุรุษนั้นที่แขนคนละข้าง ฉุดเข้าไปในหลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะต้องดิ้นรนไปอย่างนั้นๆ บ้างซิหนอ.

เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟโน้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ในบัดนี้เท่านั้นหรือ แม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 494

ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อน ทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผลมีตัวสุก ถูกกิมิชาติบ่อน เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ มีอินทรีย์อันโรคกําจัดเสียแล้วโน้น กลับได้ความสําคัญผิดในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่าเป็นสุขไป.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาล กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษกําจัดแล้ว กลับได้ความสําคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่าเป็นสุขไป.

[๒๘๕] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผลมีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ บุรุษโรคเรื้อนคนโน้นมีตัวเป็นแผล มีตัวสุกอันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิงด้วยประการใดๆ ปากแผลเหล่านั้น ของบุรุษโรคเรื้อนนั้นเอง ยิ่งเป็นของไม่สะอาดขึ้น มีกลิ่นเหม็นขึ้น และเน่าขึ้นด้วยประการนั้นๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดีน่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็คือปากแผลทั้งหลาย มีการเกาแผลเป็นเหตุเท่านั้นฉันใด ดูก่อนมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ยังไม่ปราศจากความกําหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 495

ปรารภกามเผาอยู่เสพกามอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัดในกามอันกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะกามเผาลนอยู่ เสพกามอยู่ด้วยประการใดๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะปรารภกามเผาอยู่ ด้วยประการนั้นๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็เพราะอาศัยกามคุณทั้งห้าเท่านั้น.

[๒๘๖] ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านได้เห็นหรือได้ฟังบ้างหรือว่า พระราชาหรือมหาอํามาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อม บําเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้า ยิ่งละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกําลังอยู่ หรือจักอยู่.

ข้อนี้ ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.

ดีละมาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาว่า พระราชาหรือมหาอํามาตย์ของพระราชาผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมบําเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้า ยังละตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกําลังอยู่ หรือจักอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกําลังอยู่ หรือจักอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งกามนั่นเทียว ตามความเป็นจริง แล้วละกามตัณหา บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามแล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกําลังอยู่ หรือจักอยู่.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 496

[๒๘๗] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว เพียงข้อที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้วนี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังข้อนี้มา ต่อปริพาชกทั้งหลายแต่ก่อน ผู้เป็นอาจารย์และอาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ข้อนี้ย่อมสมกัน.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลาย ก่อนๆ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่าความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น ความไม่มีโรคนั้นเป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวของตัวเอง กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้ เป็นผู้ไม่มีโรคมีความสุข อะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า.

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด

[๒๘๘] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กําเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 497

ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาได้ฟังต่อคนผู้มีจักษุกล่าวว่า ดูก่อนผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ เขาพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงบุรุษตาบอดแต่กําเนิดนั้นว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอดแต่กําเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความยินดีด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเล่า.

ท่านพระโคดม บุรุษตาบอดแต่กําเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่าเข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเท่านั้น.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังไม่กล่าวคาถานี้ได้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งดังนี้ ดูก่อนมาคัณฑิยะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า

ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางเกษม.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 498

บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลําดับ ดูก่อนมาคัณฑิยะ กายนี้แลเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลําบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลําบาก เป็นความเจ็บไข้ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค อันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.

มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม

[๒๘๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรคให้เห็นนิพพานได้.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กําเนิด ไม่ได้เห็นรูปสีดําและสีขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มิตรอํามาตย์ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดนั้น ได้ทํายารักษาเขา เขาอาศัยยานั้นแล้วก็เห็นไม่ได้ ทําจักษุให้ใสไม่ได้ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสําคัญความข้อนี้เป็นไฉน แพทย์ต้องมีส่วนแห่งความลําบาก ความคับแค้นสักเพียงไรมิใช่หรือ.

อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้นคือสิ่งนี้ นิพพานนั้นคือสิ่งนี้ ดังนี้ ท่านนั้นก็พึงรู้ความไม่มี

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 499

โรคไม่ได้ พึงเห็นนิพพานไม่ได้ อันนั้น พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย เป็นความลําบากแก่เรา.

[๒๙๐] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กําเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปสีดําและสีขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กําเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตรอํามาตย์ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชํานาญการผ่าตัดนั้น ทํายาถอนให้อาเจียน ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ ชําระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความรัก ด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง เขาพึงสําคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ มานานหนอ ฉันใด ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้ ท่านนั้นพึงรู้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 500

ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ ท่านนั้นก็จะละความกําหนัดด้วยสามารถความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น อนึ่ง ท่านพึงมีความดําริอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น เมื่อยึดมันก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรานั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

[๒๙๑] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

มาคัณฑิยะได้บรรพชาและอุปสมบท

[๒๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 501

นัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสํานักท่านพระโคดม.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี ต่อเมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชา ได้อุปสนบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เมื่อท่านมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบมาคัณฑิยสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 502

๕. อรรถกถามาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อคฺยาคาเร คือ ในโรงบูชาไฟ.

บทว่า ติณสนฺถรเก คือ บนเครื่องลาดอันทําด้วยหญ้า.

มาคัณฑิยปริพาชก ๒ คน ลุงและหลาน. ใน ๒ คนนั้นลุงบวชได้บรรลุพระอรหัต. แม้หลานก็มีอุปนิสัยบวชไม่นานนักจักบรรลุอรหัต.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของมาคัณฑิยปริพาชกนั้นทรงละพระคันธกุฎีเช่นกับเทวสถาน ทรงให้ปูเครื่องลาดอันทําด้วยหญ้า ที่โรงบูชาไฟนั้น สกปรกไปด้วยเถ้าหญ้าและหยากเยื่อ เสด็จประทับอยู่ ๒ - ๓ วัน เพื่อทรงทําการสงเคราะห์ผู้อื่น.

ท่านกล่าวบทว่า เตนุปสงฺกมิ เสด็จเข้าไป หมายถึง โรงบูชาไฟนั้น. แต่เพราะโรงบูชาไฟนั้นมิได้อยู่ใกล้บ้านอย่างเดียว ตอนกลางวันเท่านั้น พวกเด็กชายและเด็กหญิงพากันลงไปเล่นไม่มีความสงบ. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้ตอนกลางวันผ่านพ้นไปในไพรสณฑ์ตลอดกาลเป็นนิตย์. ในตอนเย็นจึงเสด็จเข้าไปในโรงบูชาไฟนั้นเพื่อประทับอยู่.

บทว่า อทฺทสา โข ติณสนฺกรกํ ปฺตฺตํ มาคัณฑิยปริพาชกได้เห็นเครื่องลาดอันทําด้วยหญ้าปูไว้ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับปรุงเครื่องลาดทําด้วยหญ้าในวันอื่น แล้วทรงทําเครื่องหมายตั้งไว้เสด็จกลับไป. ในวันนั้นนั่นเองได้ทรงให้ปูแล้วเสด็จไป.

เพราะเหตุไร.

เพราะในกาลนั้นตอนใกล้รุ่งพระองค์ทรงตรวจดูโลกได้ทรงเห็นแล้วว่า วันนี้มาคัณฑิยะจะมาในที่นี้ ครั้นเห็นเครื่องลาดทําด้วยหญ้านี้แล้วจักสนทนาปรารภเครื่องลาดทําด้วยหญ้ากับภารทวาชพราหมณ์. แต่นั้นเราจักมาแสดงธรรม. มาคัณฑิยพราหมณ์ฟัง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 503

ธรรมแล้วจักบวชในสํานักของเราแล้วบรรลุอรหัต.

จริงอยู่ เราบําเพ็ญบารมีมาก็เพื่อทําการสงเคราะห์ผู้อื่น จึงทรงให้ปูเครื่องลาดอันทําด้วยหญ้าแล้วเสด็จไป.

บทว่า สมณเสยฺยานุรูปํ มฺเ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ คือ สําคัญเครื่องลาดนี้ว่า เป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ.

อนึ่ง เครื่องลาดนี้มิใช่ที่อยู่ของสมณะผู้ไม่สํารวมแล้ว. เป็นความจริงอย่างนั้นที่เครื่องลาดนี้ มิได้ปรากฏที่ถูกเขี่ยด้วยมือ ที่ถูกกระทบด้วยศีรษะ หรือที่ถูกเขี่ยด้วยเท้า. เครื่องลาดนี้ไม่เลอเทอะไม่ถูกเสียดสี ไม่ถูกทําลายดุจช่างระบายสีผู้ฉลาดเอาดินสอพองระบายปูไว้ คงเป็นที่อยู่ของสมณะผู้สํารวมแล้ว. มาคัณฑิยพราหมณ์จึงถามว่าท่านผู้เจริญที่อยู่ของใคร.

บทว่า ภูนหนสฺส ผู้กําจัดความเจริญ คือ ผู้สร้างมารยาท.

เพราะเหตุไรมาคัณฑิยะถึงกล่าวอย่างนั้น.

เพราะเขามีลัทธิ คือ ทําให้ความเจริญปรากฏในทวาร ๖.

นี้เป็นลัทธิของเขา คือ ควรให้จักษุงอกงามเจริญ. ควรเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น. รูปที่เห็นแล้วควรผ่านไป. ควรให้โสตะงอกงามเจริญ ควรฟังเสียงที่ไม่เคยฟัง. เสียงที่ฟังแล้วควรผ่านไป. ควรให้ฆานะงอกงามเจริญ ควรดมกลิ่นที่ไม่เคยดม. กลิ่นที่ดมแล้วควรผ่านไป. ควรให้ชิวหางอกงามเจริญ ควรลิ้มรสที่ไม่เคยลิ้ม. รสที่ลิ้มแล้วควรผ่านไป. ควรให้กายงอกงามเจริญ ควรสัมผัสโผฏฐัพพะที่ยังไม่เคยสัมผัส. โผฏฐัพพะที่สัมผัสแล้วควรผ่านไป. ควรให้มนะงอกงามเจริญ ควรรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ ธรรมที่รู้แล้วควรผ่านไป.

มาคัณฑิยะบัญญัติความเจริญในทวาร ๖ ไว้ด้วยประการฉะนี้.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติความสํารวมในทวาร ๖ ไว้ว่า

ความสํารวม จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย วาจา ใจ เป็นความดี. ความสํารวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี. ภิกษุสํารวมในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 504

เพราะฉะนั้น มาคัณฑิยพราหมณ์สําคัญว่า พระสมณโคดมนั้นเป็นผู้กําจัดความเจริญ เป็นผู้สร้างมารยาท จึงกล่าวว่า ภูนหโน เป็นผู้กําจัดความเจริญ.

บทว่า อริเย าเย ธมฺเม กุสเล คือ ในเหตุในธรรมบริสุทธิ์ไม่มีโทษ.

ด้วยบทนี้ทรงแสดงไว้อย่างไร. อันผู้จะกล่าววาจาแก่ผู้มียศมีความสูงส่ง เป็นที่รู้จักกันทั่วเห็นปานนี้ ควรพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ควรพูดโดยไม่ระวังปาก.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ท่านอย่าพูดพร่ํา ท่านจงระวังปาก.

บทว่า เอวํ หิ โน สุตฺเต โอจรติ เพราะว่าคําเช่นนี้ลงกันในสูตรของพวกเรา ความว่า เพราะว่าคําเช่นนี้มาในสูตรของพวกเรา. พวกเราจะไม่พูดเพียงปรารถนาจะให้งอกงามทางปากเท่านั้น.

อนึ่ง พวกเราเมื่อพูดคําอันมาแล้วในสูตรจะพึงพูดแก่ใคร. ฉะนั้น เราจะพูดต่อหน้าพระสมณโคดมนั้น.

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ความว่า ไม่ขวนขวาย คือ ไม่กังวลเพื่อจะรักษาเรา.

บทว่า วุตฺโต จ นํ วเทยฺย เราได้ว่าไว้แล้วก็พึงกล่าวกะพระสมณโคดมนั้นเถิด ความว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เราได้กล่าวไว้แล้ว แม้ไม่ถามก็ตั้งคําพูดได้ ถือเอามะม่วงและหว้าเป็นต้นแล้วยังไม่ครบ ก็พึงกล่าวกะพระสมณโคดม โดยทํานองที่เรากล่าวแล้วเถิด.

บทว่า อสฺโสสิโข ความว่า พระศาสดาทรงเจริญอาโลกกสิณ ได้ทรงเห็นมาคัณฑิยพราหมณ์ซึ่งมา ณ ที่นั้นด้วยทิพยจักษุ ได้ทรงสดับแม้เสียงของชนทั้งสองสนทนากันด้วยทิพโสต.

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ.

บทว่า สํวิคฺโค คือ ภารทวาชพราหมณ์ตกใจ หวั่นไหว ด้วยกําลังแห่งปีติ.

นัยว่า ภารทวาชพราหมณ์นั้นได้มีความดําริว่า มาคัณฑิยะและเราก็มิได้พูดกับพระสมณโคดม คนอื่นนอกจากเรา สอง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 505

คนในที่นี้ไม่มีคนที่ ๓. บุรุษผู้มีโสตไวจักได้ยินเสียงของเราทั้งสองเป็นแน่.

ลําดับนั้น ภารทวาชพราหมณ์บังเกิดปีติภายในขุมขนเก้าหมื่นได้ชูชัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สํวิคฺโค โลมหฏชาโต ภารทวาชพราหมณ์ตกใจ โลมชาติชูชัน.

ลําดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชก ทั้งๆ ที่มีญาณแก่กล้าดุจเมล็ดพืชที่มีปากอ้าแล้ว ไม่สามารถนั่งสงบอยู่ได้เดินไปมา มาเฝ้าพระศาสดาอีก แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เพื่อแสดงถึงมาคัณฑิยะนั้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อถ โข มาคณฺฑิโย ครั้งนั้นมาคัณฑิยะ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านได้กล่าวกะเราแล้วดังนี้ ทรงปรารภพระธรรมเทศนาแก่ปริพาชกว่า จกฺขุ โข มาคณฺฑิย ดังนี้.

ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ชื่อว่า จกฺขุ รูปารามํ เพราะรูปเป็นที่มายินดีแห่งจักษุด้วยอรรถว่าเป็นที่อาศัย. ชื่อว่า รูปรตํ เพราะจักษุยินดีในรูป. ชื่อว่า รูปสมฺมุทิตํ เพราะจักษุอันรูปให้บันเทิงแล้ว.

บทว่า ทนฺตํ ทรมานแล้ว คือ ให้หมดพยศแล้ว.

บทว่า คุตฺตํ คือ คุ้มครองแล้ว.

บทว่า รกฺขิตํ รักษาแล้ว คือ ตั้งการอารักขาไว้แล้ว.

บทว่า สํวุตํ สํารวมแล้ว คือ ปิดแล้ว.

บทว่า สํวราย เพื่อสํารวม คือ เพื่อต้องการปิด.

บทว่า ปริจาริตปุพฺโพ เคยได้รับบําเรอ คือ เคยพูดจาปราศรัย.

บทว่า รูปปริฬาหํ เดือดร้อนเพราะรูป คือ ความเดือดร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภรูป.

บทว่า อิมสฺส ปน เต มาคณฺฑิย กิมสฺส วจนียํ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า คือ ท่านจะพึงกล่าวคําอะไรแก่พระขีณาสพนี้ ผู้กําหนดรูปแล้วบรรลุพระอรหัตเล่า.

ถามว่า ควรจะกล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กําจัดความเจริญ เป็นผู้สร้างมารยาท ดังนี้ หรือไม่ควรกล่าว.

บทว่า น กิฺจิ โภ โคตม

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 506

คือ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ควรกล่าวคําไรๆ เลย.

แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บัดนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงว่าไม่มีคําไรๆ ที่ท่านควรจะกล่าวแก่พระขีณาสพผู้กําหนดขันธ์ ๕ แล้วบรรลุพระอรหัต และเราก็กําหนดขันธ์ ๕ แล้วบรรลุพระสัพพัญู. ฉะนั้น มาคัณฑิยะนั้นจะควรกล่าวอะไรกะเรา ดังนี้ จึงตรัสว่า อหํ โข ปน ดังนี้.

บทว่า ตสฺส มยฺหํ มาคณฺฑิย ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสมบัติของพระองค์ เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์จึงตรัส.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า วสฺสิโก นั้นดังต่อไปนี้.

ความสุขย่อมมีในที่อยู่ในฤดูฝนนี้ คือ ปราสาทที่อยู่ในฤดูฝน.

แม้ในบทนอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

แต่ในบทนี้มีอธิบายคําดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า วสฺสิโก เพราะควรอยู่ตลอดฤดูฝน.

แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ในบทนั้น ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ําเกินไป. แม้ประตูและหน้าต่างของปราสาทนั้น ก็ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป เครื่องลาดพื้น ของเคี้ยวของบริโภคในปราสาทนี้มีเหลือเฟือ.

ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่ต่ํา. ประตูและหน้าต่างมีน้อยมีช่องเล็ก. เอาช่องฝาออกเพื่อต้องการให้ความอุ่นเข้าไป. อนึ่ง ในปราสาทนี้ เครื่องลาดพื้น เครื่องปู เครื่องนุ่งห่ม ควรเป็นผ้ากัมพลเป็นต้นที่ช่วยให้อบอุ่นได้. ของเคี้ยว ของบริโภค ละเอียดอ่อนและมีรสเข้มข้น.

ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่สูง. ประตูและหน้าต่างในปราสาทนี้มีมากมีแสงสว่างไปทั่ว. เครื่องลาดพื้นเป็นต้นควรเป็นผ้าเนื้อดี. ของเคี้ยว ของบริโภคมีรสหวาน ทําให้ได้รับความเย็น.

อนึ่ง ในที่ใกล้หน้าต่างในปราสาทนี้ ตั้งตุ่มน้ำไว้ ๙ ตุ่ม เต็มด้วยน้ำปลูกบัวเขียวเป็นต้นไว้. ในที่นั้นทําน้ำพุไว้ สายน้ำจะพุ่งดุจเมื่อฝนตก.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 507

แต่ของพระโพธิสัตว์เขาปลูกกอบัวเขียวไว้ในหม้อทองคํา และหม้อเงิน อย่างละ ๑๐๘ หม้อ เต็มไปด้วยน้ำหอม ตั้งล้อมห้องนอน. เขาใส่เปือกตมหอมให้เต็มในกระถางโลหะใหญ่ ปลูกบัวเขียว บัวแดง บัวขาวเป็นต้น ตั้งไว้ในที่นั้นๆ เพื่อถือเอาอุตุ. ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบานด้วยรัศมีของดวงอาทิตย์. หมู่ภมรนานาชนิดบินเข้าไปยังปราสาท เที่ยวสูดรสในดอกไม้ทั้งหลาย. ปราสาทมีกลิ่นหอมชวนดมยิ่งนัก. ในระหว่างฝาคู่ได้ตั้งทะนานโลหะแล้วตามไฟอ่อนๆ ไว้ที่สุดมณฑปแก้วบนเนินอากาศเบื้องบนปราสาทเก้าชั้น. ลาดหนังกระบือแห้งไว้ในที่แห่งหนึ่ง. ในเวลาพระโพธิสัตว์เล่นน้ำ เขาทอดลูกหินไปที่หนังกระบือ. เครื่องยนต์หมุนไปข้างล่าง ดุจเสียงเมฆคําราม. น้ำพุ่งขึ้นแล้วตกไปที่เปลวไฟ. เป็นดุจน้ำฝนตก.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงนุ่งผ้าเขียวห่มผ้าเขียว ทรงประดับเครื่องประดับสีเขียว. แม้พวกบริวารของพระโพธิสัตว์มีนักฟ้อนรําสี่หมื่น ประดับด้วยสีเขียว แต่งตัวสีเขียวแวดล้อมพระมหาบุรุษไปสู่มณฑปแก้ว. พระโพธิสัตว์ทรงเล่นกีฬาในน้ำตลอดวัน เสวยความสุขในฤดูแห่งความเย็นฉ่ํา. ในทิศ ๔ ของปราสาทมีสระอยู่ ๔ สระ. ในตอนกลางวันฝูงนกนานาชนิด ออกจากสระด้านทิศตะวันออกร้องเสียงระงม บินไปสู่สระด้านทิศตะวันตกทางยอดของปราสาท. ออกจากสระด้านทิศตะวันตกบินไปสู่สระด้านทิศตะวันออก. ออกจากสระด้านทิศเหนือบินไปสู่สระด้านทิศใต้. ออกจากสระด้านทิศใต้ บินไปสู่สระด้านทิศเหนือ. เป็นดุจสมัยในระหว่างฤดูฝน. แต่ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาวมี ๕ ชั้น. ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝนมี ๗ ชั้น.

บทว่า นิปฺปุริเสหิ ไม่มีบุรุษ คือ เว้นจากบุรุษ.

อนึ่ง มิใช่ดนตรีเท่านั้นที่ไม่มีบุรุษเจือปน. แม้ที่ทุกแห่งก็ไม่มีบุรุษเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็เป็นผู้หญิง. แม้ผู้ทําบริการมีอาบน้ำให้เป็นต้นก็เป็นผู้หญิง. นัยว่าพระราชทรง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 508

ตั้งพวกผู้หญิงไว้ในกิจทุกอย่างด้วยทรงพระดําริว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยอิสริยสมบัติและสุขสมบัติเห็นปานนั้น จะเกิดความข้องใจในบุรุษ เพราะเห็นบุรุษ. ความข้องใจนั้นอย่าได้มีแก่โอรสของเราเลย.

บทว่า ตาย รติยา รมมาโน ยินดีด้วยความยินดีนั้น นี้ท่านกล่าวหมายถึงความยินดีผลสมาบัติอันประกอบด้วยฌานที่ ๔.

พึงทราบความในบทนี้ว่า คหปติ วา คหปติปุตฺโต วา ดังต่อไปนี้.

เพราะกษัตริย์ทั้งหลายย่อมมีความปรารถนาในเศวตฉัตรทั้งนั้น. ความปรารถนาใหญ่เป็นความเนิ่นช้าของกษัตริย์เหล่านั้น. พราหมณ์ทั้งหลายไม่อิ่มด้วยมนต์ จึงเที่ยวแสวงหามนต์. ส่วนคหบดีทั้งหลายย่อมเสวยสมบัติทั้งแต่กาลเรียนเพียงคํานวณชั้นสูง. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอากษัตริย์และพราหมณ์ จึงตรัสว่า คหปติ วา คหปติปุตฺโต วา ดังนี้.

บทว่า อาวฏเฏยฺย พึงเวียนมา ความว่า พึงเวียนมาเพราะเหตุแห่งกามอันเป็นของมนุษย์.

บทว่า อภิกฺกนฺตตรา น่าใคร่ยิ่งกว่า คือ ประเสริฐกว่า.

บทว่า ปณีตตรา ประณีตกว่า คือ ไม่น้อยกว่า.

สมดังที่ท่านกล่าวถึงข้อนี้ไว้ว่า (๑)

กามอันเป็นของมนุษย์ เมื่อเทียบกับสํานักของกามอันเป็นทิพย์ ก็เหมือนกับเอาน้ำที่ปลายหญ้าคาสลัดลงในสมุทร ฉะนั้น.

บทว่า สมธิคฺคยฺห ติฏติ ถือเอาสุขอันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ คือ ถือเอาสุขที่เป็นทิพย์ประเสริฐกว่านั้นตั้งอยู่.

อนึ่ง พึงทราบข้อเปรียบเทียบในข้อนี้ดังต่อไปนี้.

กาลแห่งความยินดีในท่ามกลางหญิง ๔ หมื่นในปราสาท ๓ หลัง ของพระโพธิสัตว์ ดุจกาลแห่งความเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ของคหบดีฉะนั้น. กาลที่พระโพธิสัตว์ทรง


(๑) ขุ ชา. ๒๘/ข้อ ๓๒๗.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 509

ผนวชแล้วแทงตลอดพระสัพพัญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ดุจกาลที่คหบดีนั้นบําเพ็ญสุจริตแล้วบังเกิดในสวรรค์ฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่คหบดีนั้นเสวยสมบัติในนันทวันฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ไม่ทรงปรารถนาความสุขของชนเลวอันเป็นของมนุษย์ ดุจกาลที่คหบดีนั้น ไม่ปรารถนากามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์ฉะนั้น.

บทว่า สุขี มีความสุข คือ ได้รับทุกข์ก่อน ภายหลังพึงมีความสุข.

บทว่า เสรี มีเสรีภาพ คือ มีแพทย์เป็นเพื่อนก่อน ภายหลังพึงมีเสรีภาพ คือ พึงเป็นคนเดียว.

บทว่า สยํ วสี มีอํานาจในตนเอง คือ อยู่ในอํานาจของแพทย์ก่อน เมื่อแพทย์บอกว่าจงนั่งก็นั่ง บอกว่าจงนอนก็นอน บอกว่าจงบริโภคก็บริโภค บอกว่าจงดื่มก็ดื่ม ภายหลังจึงมีอํานาจในตนเอง.

บทว่า เยน กามงฺคโม จะไปไหนได้ตามความพอใจ คือ ไม่ได้ไปยังที่ตนต้องการจะไปก่อน ภายหลังเมื่อโรคหายดีแล้ว จึงไปไหนได้ตามความพอใจ แม้ในการชมป่าชมถ้ำและชมภูเขาเป็นต้น พึงไปได้ในที่ที่ปรารถนาจะไป.

ในบทนี้มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้.

กาลที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ท่ามกลางปราสาท ดุจกาลที่บุรุษเป็นโรคเรื้อนฉะนั้น, กามวัตถุอย่างหนึ่งดุจกระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น. กามวัตถุ ๒ อย่างดุจกระเบื้อง ๒ แผ่น. นักฟ้อน ๓ โกฏิครึ่งดุจกระเบื้องใส่ถ่านไฟ ๓ โกฏิครึ่งของท้าวสักกเทวราชฉะนั้น. การเสพวัตถุกาม ดุจเอาเล็บเกาปากแผลแล้วเอาไปลนบนกระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น. กาลที่พระโพธิสัตว์เห็นโทษในกามเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสด็จออกบวชได้เป็นพระพุทธเจ้า. และกาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่บุรุษโรคเรื้อนอาศัยยาแล้วหายโรคฉะนั้น. กาลที่พระตถาตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีนั้นไม่ทรงปรารถนาด้วยความ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 510

ยินดีในชนเลว ดุจกาลเห็นบุรุษเป็นโรคเรื้อนอื่นแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอีกฉะนั้น.

บทว่า อุปหตินฺทริโย มีอินทรีย์อันโรคกําจัดเสียแล้ว คือ มีกายประสาทอันโรคเรื้อนกําจัดแล้ว.

บทว่า อุปหตินฺทฺริยา มีอินทรีย์อันโทษกําจัดแล้ว คือ มีปัญญินทรีย์อันโทษกําจัดแล้ว. สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเพราะปัญญินทรีย์ถูกกําจัดกลับได้ความสําคัญผิดในกามทั้งหลายอันมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เหมือนอย่างบุรุษโรคเรื้อนนั้นมีกายินทรีย์ถูกโรคกําจัดกลับได้ความสําคัญผิดในไฟอันสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฉะนั้น.

พึงทราบความในบทว่า อสุจิตรานิ เจว ไม่สะอาดยิ่งขึ้นเป็นต้นดังต่อไปนี้.

ตามปกติปากแผลเหล่านี้ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นและเน่า แต่บัดนี้ยิ่งไม่สะอาด ยิ่งมีกลิ่นเหม็นและยิ่งเน่าขึ้นอีก.

บทว่า กาจิ คือ หนอนทั้งหลายย่อมเข้าไปภายในแผลที่รนไฟและที่เกา เลือดและหนองที่น่าเกลียดก็ไหลออก แผลอย่างนี้นั้นจะมีความน่าพอใจสักหน่อยหนึ่งจะกระไรอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาว่า อาโรคฺยา (๑) ปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่งดังต่อไปนี้.

การได้ทรัพย์ก็ดี การได้ยศก็ดี การได้บุตรก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่ง ความไม่มีโรคเป็นลาภอันสูงสุดกว่าลาภเหล่านั้น. ลาภยิ่งกว่าความไม่มีโรคนั้นไม้มี เพราะเหตุนั้น ความไม่มีโรคจึงเป็นลาภอย่างยิง. สุขเกิดแต่ฌานก็ดี สุขเกิดแต่มรรคก็ดี สุขเกิดแต่ผลก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่. บรรดาสุขเหล่านั้น นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. สุขยิ่งกว่านิพพานนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง.

บทว่า อฏงฺคิโก จ มคฺคานํ บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรมด้วยการไปอันเป็นส่วนเบื้องต้น สู่มรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหลาย มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม. ทางอื่นเกษม


(๑) บาลีว่า อนิรคฺยปรมา วราภา ม. มัช. ๑๓/ข้อ ๒๘๗.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 511

ยิ่งกว่ามรรคมีองค์ ๘ นั้นไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เขมํ ก็ดี บทว่า อมตํ ก็ดีในบทว่า เขมํ อมตํ นี้ เป็นชื่อของนิพพานนั่นเอง.

ในบทนี้มีความว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวคัดค้านเป็นอันมาก ถือเอาด้วยลัทธิว่าทางอันเป็นทางเกษม และทางอันให้ถึงอมตธรรม มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอย่างยิ่ง คือ สูงสุดกว่ามรรคทั้งหลายอันเป็นทางเกษมและเป็นทางอมตะเหล่านั้นทั้งหมด.

บทว่า อาจริยปาจริยานํ แห่งอาจารย์และปาจารย์ คือ แห่งอาจารย์และแห่งอาจารย์ของอาจารย์ทั้งหลาย.

บทว่า สเมติ ย่อมสมกัน คือ เช่นเดียวกัน ไม่ต่างกัน ดุจตวงด้วยทะนานเดียวกัน ดุจชั่งด้วยตาชั่งเดียวกัน.

บทว่า อโนมชฺชติ ลูบตัว คือ มาคัณฑิยปริพาชกลดฝ่ามือลงข้างล่างลูบตัว.

บทว่า อิทนฺตํ โภ โคตม อาโรคฺยํ อทนฺตํ นิพฺพานํ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ นี้คือความไม่มีโรค นี้คือความสุข คือ มาคัณฑิยปริพาชกลูบศีรษะตามเวลา ลูบท้องตามเวลา จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า เฉกํ คือ ผ่องใส.

บทว่า พาหุลิจีวเรน ผ้าเทียม คือ ผ้าเนื้อหยาบทําด้วยขนแกะดํา.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า สงฺการโจฬเกน บ้าง แปลว่า ผ้าที่เขาตั้งไว้ในหยากเยื่อ.

บทว่า วาจํ นิจฺฉเรยฺย เปล่งวาจา ความว่า เปล่งวาจาลูบคลําที่ชาย ที่ปลาย ที่ท่ามกลางตามเวลา.

บทว่า ปุพฺพเกเหสา ตัดบทเป็น ปุพฺพเกหิ เอสา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีบ้าง ฯลฯ พระนามว่ากัสสปะบ้าง ประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ๔ ได้ตรัสพระคาถานี้. คาถาอาศัยประโยชน์เพราะเหตุนั้น มหาชนจึงได้เรียน.

ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ภายหลังคาถาทั้งหลายจึงพากันเข้าไปสู่ระหว่างพวกปริพาชก. ปริพาชกเหล่านั้นจดไว้ในใบลานรักษาไว้ ๒ บทเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าคาถานั้นบัดนี้เป็นคาถาของปุถุชนตามลําดับ.

ชื่อว่า โรคภูโต เพราะเป็นรังโรค.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อริยํ จกฺขุํ จักษุประเสริฐ คือ วิปัสสนาญาณและมรรคญาณ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 512

บริสุทธิ์.

บทว่า ปโหติ เพียงพอ คือ สามารถ.

บทว่า เภสชฺชํ กเรยฺย พึงผสมยา คือ พึงผสมยาถอนให้อาเจียน ยาถ่าย ยาหยอดตา ยาต้มเป็นต้น.

บทว่า น จกฺขูนิ อุปฺปาเทยฺย มองไม่เห็น ความว่า จักษุประสาทของผู้ใดถูกความอึดอัด มีดีและเสมหะเป็นต้นกําจัดแล้วในระหว่าง. ผู้นั้นอาศัยแพทย์ผู้ฉลาดรับประทานยาอันสบาย จึงมองเห็นได้. แต่นัยน์ตาของคนตาบอดแต่กําเนิด บอดตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา. เพราะฉะนั้น เขาจะเห็นไม่ได้เลย.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น จกฺขูนิ อุปฺปาเทยฺย มองไม่เห็น ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ชจฺจนฺโธ บอดแต่กําเนิด คือ บอดด้วยความอึดอัด มีดีเป็นต้นตั้งแต่เวลาเกิด.

เมื่อก่อนท่านกล่าวว่า อมุสฺมิํ คือ ในครั้งโน้น.

บทว่า อมิตฺตโต ทเหยฺย เขาพึงตั้งบุรุษนั้นไว้โดยความเป็นศัตรู คือ พึงตั้งไว้โดยความเป็นศัตรูอย่างนี้ว่า บุรุษนี้เป็นศัตรูของเราดังนี้.

แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อิมินา จิตฺเตน ด้วยจิตดวงนี้ คือ ด้วยจิตอันตามไปในวัฏฏะ. บทว่า ตสฺส เม อุปาทานปจฺจยา เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา คือ ท่านกล่าวถึงปัจจยาการอันมีสนธิ ๑ และสังเขป ๒, ประกาศวัฏฏะให้แจ้ง.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมํ ธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ปฏิปทาอันสมควรแก่ธรรม.

บทว่า อิเม โรคา คณฺฑา สลฺลา โรค ฝี ลูกศร คือ อันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงขันธ์ ๕.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อุปาทานนิโรธา เพราะอุปาทานดับดังนี้.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามาคัณฑิยสูตรที่ ๕