พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36078
อ่าน  411

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 456

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 456

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

[๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปะ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่าข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านพระโคดมเป็นเวลานานแล้ว ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระโคดมจงทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ข้าพเจ้าโดยย่อเถิด.

พ. ดูก่อนวัจฉะ เราพึงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศลแก่ท่านโดยย่อก็ได้ โดยพิสดารก็ได้ ก็แต่ว่าเราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ปริพาชกวัจฉโคตรทูลรับพระดํารัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นท่านพระโคดมผู้เจริญ.

ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศล

[๒๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนวัจฉะ โลภะแลเป็นอกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็นกุศล โมหะเป็นอกุศล อโมหะเป็นกุศล ดูก่อนวัจฉะ ธรรม ๓ ข้อนี้เป็นอกุศล ธรรม ๓ ข้อนี้เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนวัจฉะ ปาณาติบาตแลเป็นอกุศล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 457

เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล อทินนาทานเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทานเป็นกุศล กาเมสุมิจฉาจารเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นกุศล มุสาวาทเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นกุศล ปิสุณาวาจาเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นกุศล ผรุสวาจาเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจาเป็นกุศล สัมผัปปลาปะเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นกุศล อภิชฌาเป็นอกุศล อนภิชฌาเป็นกุศล พยาบาทเป็นอกุศล อัพยาบาทเป็นกุศล มิจฉาทิฏฐิเป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล.

ดูก่อนวัจฉะ ธรรม ๑๐ ข้อนี้เป็นอกุศลธรรม ๑๐ ข้อนี้เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนวัจฉะ เพราะตัณหาอันภิกษุละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทําให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

ภิกษุปุจฉา

[๒๕๕] ท่านพระโคดมจงยกไว้ ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้ว เข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้ว เข้าถึงอยู่นั้น มีมิใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 458

ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ ก็ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดม ทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกภิกษุณีผู้เป็นสาวกาของเรา ทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

อุบาสกปุจฉา

[๒๕๖] ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ พวกภิกษุณีจงยกไว้ ก็อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ ก็อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทํา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 459

ตามคําสอน ผู้ทําเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันห้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคําสอนของศาสดา มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกอุบาสกผู้เป็นสาวกของเราฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทําตามคําสอน ผู้ทําเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคําสอนของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จงยกไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้ ก็อุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดม ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้นมีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จงยกไว้ อุบาสก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 460

ทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้ พวกอุบาสิกาทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี ก็จงยกไว้ ส่วนอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทําตามคําสอน ผู้ทําเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคําสอนของศาสนา มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทําตามคําสอน ผู้ทําเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคําสอนของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ความเป็นผู้บําเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์

[๒๕๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมเท่านั้นจักได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ ส่วนพวกภิกษุจักไม่ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้เป็นผู้บําเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าท่านพระโคดมจักได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์แล้วก็ดี พวกภิกษุได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์แล้วก็ดี แต่พวกภิกษุณีจักไม่ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์และพวกภิกษุก็บําเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีก็บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 461

[๒๕๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุจักได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีจักได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว แต่พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จักไม่บําเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุจักได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีจักได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จักได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 462

อุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว แต่พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ก็ไม่บําเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บําเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์พวกภิกษุได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ ภิกษุณีได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 463

ปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา

[๒๕๙] ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา มีแต่จะน้อมไป โอนไป เบนไปสู่สมุทร คงจรดสมุทรอยู่ ฉันใด บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็ฉันนั้น มีแต่จะน้อมไป โอนไป เบนไปสู่พระนิพพาน คงจรดพระนิพพานอยู่ ฉันนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสํานักของท่านพระโคดม.

ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชา อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อหวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสให้ครบสี่ปี โดยล่วงสี่ปีไป ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด ปริพาชกวัจฉโคตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 464

สมถวิปัสสนา

[๒๖๐] ก็ท่านพระวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ําที่กําหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูก่อนวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ดูก่อนวัจฉะ ธรรมทั้งสองคือ สมถะและวิปัสสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ.

อภิญญา ๖

[๒๖๑] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธะหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทําให้ปรากฏก็ได้ ทําให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากําแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดดุจไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดําลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลําพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในอิทธิวิธะนั้นๆ เทียว.

[๒๖๒] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอัน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 465

บริสุทธิ์ล่วงโสตธาตุของมนุษย์ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในทิพโสตธาตุ นั้นๆ เทียว.

[๒๖๓] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงกําหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคตะ พึงรู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในเจโตปริยญาณนั้นๆ เทียว.

[๒๖๔] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 466

มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในบุพเพนิวาสานุสสติญาณนั้นๆ เทียว.

[๒๖๕] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในจุตูปปาตญาณนั้นๆ เทียว.

[๒๖๖] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นๆ เทียว.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 467

ท่านวัจฉโคตรสําเร็จเป็นพระอรหันต์

[๒๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านวัจฉโคตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้นแล้วหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ไม่นานเท่าไร ก็ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดของพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านวัจฉโคตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจํานวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

[๒๖๘] ก็สมัยนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันไปเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระวัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้กําลังเดินไปแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึงที่ใกล้ แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะไปไหนกัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทั้งหลายจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคําของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัจฉโคตรภิกษุกราบถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บําเรอพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ได้บําเรอพระสุคตแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระวัจฉโคตรแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 468

พระวัจฉโคตรถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์บําเรอพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ข้าพระองค์บําเรอพระสุคตแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากําหนดรู้ใจวัจฉโคตรภิกษุด้วยใจก่อนแล้วว่า วัจฉโคตรภิกษุเป็นเตวิชชะ มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก แม้เทวดาทั้งหลายก็บอกเนื้อความนี้แก่เราแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัจฉโคตรภิกษุเป็นเตวิชชะ มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบมหาวัจฉโคตตสูตรที่ ๓

๓. อรรถกถามหาวัจฉสูตร (๑)

มหาวัจฉสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า สหกถี กล่าวร่วมกัน คือ ให้ระลึกถึงสิ่งที่ทําแล้ว ได้สืบไมตรีต่อกันมาว่า ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านมามากแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสองสูตรก่อนแก่วัจฉปริพาชกนั้น. ตรัสอัพยาวัฏฏสังยุตในสังยุตตนิกายแก่วัจฉปริพาชกนั้น. ยังมีข้อความที่วัจฉปริพาชกกล่าวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ในอังคุตตรนิกายอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือหนอ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ เพราะเหตุนั้น พระองค์ยังมิได้ทรงพยากรณ์ข้อนี้ไว้. เพราะฉะนั้น วัจฉปริพาชกจึงกล่าวอย่างนี้.

แม้


(๑) บาลีเป็น มหาวัจฉโคตตสูตร

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 469

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงทําการสงเคราะห์ ได้ทรงให้โอกาสแก่วัจฉปริพาชกนั้นผู้มาแล้วๆ เพราะเหตุไร. เพราะวัจฉปริพาชกนี้ เป็นสัสสตทิฏฐิ (มีความเห็นว่าเที่ยง).

อนึ่ง ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่สละลัทธิทันทีทันใด ย่อมบริสุทธิ์ได้โดยเวลานาน ดุจผ้าขี้ริ้วเปื้อนน้ำมันเหลว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ปริพาชกนี้ไปๆ มาๆ อยู่ จักสละลัทธิแล้วบวชในสํานักของเรา จักทําให้แจ้งอภิญญา ๖ แล้วจักเป็นอริยสาวกผู้ได้อภิญญา. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทําการสงเคราะห์ ทรงให้โอกาสแก่วัจฉปริพาชกผู้มาแล้วมาอีกนั้น นี้เป็นการไปครั้งสุดท้ายของวัจฉปริพาชกนั้น.

เพราะในสูตรนี้ วัจฉปริพาชกนั้น ตัดสินใจว่า จะเป็นจะตายอย่างไรก็ตาม เราจักไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วจักบวชดุจบุคคลหยั่งไม้เท้าตกลงไปในน้ำฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น วัจฉปริพาชกเมื่อจะทูลขอพระธรรมเทศนา จึงกล่าวคํามีอาทิว่า สาธุ เม ภวํ โคตโม ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทศนาอย่างย่อด้วยมูลของกุศล อกุศล อย่างพิสดารด้วยกรรมบถ.

อนึ่ง ในที่นี้ เทศนาด้วยอํานาจมูลทรงย่อไว้ เทศนาด้วยอํานาจกรรมบถทรงย่อไว้ ก็เหมือนกับทรงแสดงโดยพิสดาร.

อนึ่ง ชื่อว่าเทศนาอย่างพิสดาร ด้วยการแสดงจนหมดสิ้นมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะแม้สมันตปัฏฐาน ๒๔ และมูลทั้งปวง ก็ยังทรงย่อลงในอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภีร์ ฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงแสดงย่อด้วยอํานาจของมูลบ้าง ของกรรมบถบ้าง.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสลํ เจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต เป็นกุศลดังต่อไปนี้. กามาวจรธรรม ๗ ตามลําดับ, ธรรม ๓ มีอนภิชฌาเป็นต้น เป็นไปในภูมิ ๔ ย่อมควร.

บทว่า ยโต โข วจฺฉ ภิกฺขุโน ดูก่อนวัจฉะ เพราะตัณหาอันภิกษุละได้แล้ว ท่านมิได้กําหนดไว้ก็จริง. แต่พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทนี้ไว้ทรงหมาย

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 470

ถึงพระองค์เท่านั้น ในชีวกสูตร ในจังกีสูตรและในสูตรนี้อย่างนี้.

บทว่า อตฺถิ ปน ยังมีอยู่หรือ วัจฉะทูลถามว่า ข้าพระองค์ขอถามว่า ยังมีอยู่หรือ.

นัยว่าวัจฉะนั้นมีลัทธิอยู่ว่า ในศาสนานั้นมีศาสดาเท่านั้นเป็นอรหันต์. ส่วนสาวกผู้สามารถบรรลุพระอรหัตไม่มี.

อนึ่ง พระสมณโคดมตรัสดุจการตรัสกะภิกษุรูปหนึ่งว่า ยโต โข วจฺฉ ภิกฺขุโน ดังนี้. วัจฉะถามด้วยคิดว่าเราจักถามความนี้ว่า สาวกของพระสมณโคดมบรรลุพระอรหัตมีอยู่หรือหนอ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ติฏตุ คือ ท่านพระโคดมจงยกไว้. อธิบายว่า เพราะท่านพระโคดมเป็นพระอรหันต์ปรากฏแล้วในโลก. เมื่อพระองค์ทรงพยากรณ์แล้ว วัจฉะทูลถามปัญหาเกี่ยวกับภิกษุณีเป็นต้นต่อไป. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์แก่เขาแล้ว.

บทว่า อาราธโก ผู้พอใจ ผู้ให้สําเร็จ ผู้ทําให้บริบูรณ์.

บทว่า เสกฺขาย วิชฺชาย ปตฺตพฺพํ พึงบรรลุวิชชาของเสกขะ คือ บรรลุผล ๓ เบื้องต่ํา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทั้งหมดนั้นเราบรรลุแล้ว. ส่วนอาจารย์ผู้มีวาทะนอกรีตนอกรอยกล่าวว่า ภิกษุนั้นบรรลุอรหัตมรรคเท่านั้น แต่ยังไม่บรรลุผล เพราะคําว่า เสกขธรรมเป็นไฉน มรรค ๔ ยังไม่ถึงที่สุด และสามัญญผล ๓ ก็เป็นเบื้องต่ํา. ด้วยเหตุนั้นย่อมให้กล่าวถึงความเพียรให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเพื่อบรรลุผลนั้น.

ควรให้ผู้นั้นรู้อย่างนี้ว่า

หากนระใด ละกิเลสทั้ง ๕ ได้แล้ว เป็นพระเสกขะบริบูรณ์ มีธรรมไม่เสื่อม ถึงความชํานาญทางจิต มีอินทรีย์ตั้งมั่น นระนั้นแล ท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีตนมั่นคงแล้ว.

จริงอยู่พระอนาคามีบุคคล เป็นพระเสกขะบริบูรณ์โดยส่วนเดียว. วัจฉะกล่าวว่า พึงบรรลุวิชชาของพระเสกขะ หมายถึงพระอนาคามีบุคคลนั้น.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 471

ชื่อว่าคําถามย่อมไม่มีแก่ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรคนั้น เพราะมรรคมีขณะจิตเดียว. หากถามว่า ด้วยสูตรนี้ แม้มรรคก็มีหลายขณะจิตกระนั้นหรือ.

ตอบว่า นั่นมิใช่พุทธวจนะ ทั้งเนื้อความแห่งกถาที่กล่าวแล้วก็ผิด.

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผลแล้ว ย่อมให้เจริญวิปัสสนาเพื่ออรหัตมรรคด้วย ก็เพราะอรหัตมรรคมิได้เป็นอุปนิสัยแก่สุทธอรหัตอย่างเดียว ย่อมเป็นอุปนิสัยแม้แก่อภิญญา ๖.

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วัจฉภิกษุนี้ ทํากรรมในสมถะอย่างนี้แล้วจักยังอภิญญา ๕ ให้เกิด. ทํากรรมในวิปัสสนาแล้วจึงจักบรรลุพระอรหัต. จักเป็นมหาสาวกผู้ได้อภิญญา ๖ อย่างนี้ จึงไม่ทรงกล่าวเพียงวิปัสสนา ทรงบอกทั้งสมถะและวิปัสสนา.

บทว่า สติ สติ อายตเน คือ เมื่อเหตุมีอยู่.

เหตุในที่นี้คืออะไร.

พึงทราบว่า ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญาก็ดี พระอรหัตในที่สุดก็ดี วิปัสสนาเพื่อพระอรหัตก็ดี ชื่อว่าเป็นเหตุ.

บทว่า ปริจิณฺโณ เม ภควา ข้าพระองค์ได้บําเรอพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ความว่า จริงอยู่พระเสกขะ ๗ จําพวก ชื่อว่าผู้บําเรอพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้อันพระขีณาสพบําเรอแล้ว. ด้วยประการฉะนี้ พระเถระเมื่อพยากรณ์พระอรหัตโดยสังเขปจึงกล่าวอย่างนี้.

อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ความนั้น. เมื่อไม่รู้ก็ไม่รับคําของพระเถระนั้น จึงพากันไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า เทวตา ได้แก่ เทวดาผู้ได้คุณเหล่านั้น.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามหาวัจฉสูตรที่ ๓