พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. มารตัชชนียสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36054
อ่าน  572

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 465

๑๐. มารตัชชนียสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 465

๑๐. มารตัชชนียสูตร

[๕๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในเภสกลาวันเขตเมืองสุงสุมารคีระ ในภัคคชนบท.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจงกรมอบยู่ในที่แจ้งถูกมารผู้ลามกเข้าไปในท้องในไส้ ได้มีความดําริว่า "ท้องเราเป็นดั่งว่ามีก้อนหินหนักๆ และเป็นเช่นกะทออันเต็มด้วยถั่วหมัก เพราะเหตุอะไรหนอ. จึงลงจากจงกรมแล้วเข้าไปสู่วิหาร นั่งอยู่บนอาสนะที่ปูไว้. ครั้นนั่งแล้วได้ใส่ใจถึงมารที่ลามกด้วยอุบายอันแยบคายเฉพาะตน.

[๕๕๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นมารผู้ลามก เข้าไปในท้องในไส้แล้วครั้นแล้วจึงเรียกว่า "มารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่างเบียดเบียน พระตถาคตเจ้าและสาวกของพระตถาคต เจ้าเลย การเบียดเบียนนั้นอย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน"

ลําดับนั้น มารผู้มีบาปมีความดําริว่า "สมณะนี้ไม่รู้และไม่เห็นเราจึงกล่าวว่า "มารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเจ้าและสาวกของพระตถาคตเจ้าเลยการเบียดเบียนนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน" ดังนี้แล้วจึงดําริว่า "แม้สมณะที่เป็นศาสดายังไม่พึงรู้จักเราได้เร็วไว ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉนจักรู้จักเรา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 466

ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้บอกมารชั่วว่า "มารผู้ลามก เรารู้จักท่านแม้ด้วยเหตุนี้แล" ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านมีความดําริว่า " สมณะนี้ไม่รู้และไม่เห็นเรา จึงกล่าวว่า "มารผู้ลามก ท่านออกมาฯลฯก็สมณะที่เป็นสาวกไฉนจักรู้จักเรา."

ลําดับนั้น มารผู้ชั่วได้มีความดําริว่า "สมณะนี้รู้จักและเห็นเราจึงกล่าวว่า มารผู้ลามก ท่านจงออกมา ฯลฯการเบียดเบียนนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน" ดังนี้แล้วจึงออกจากปากท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วยืนอยู่ที่ข้างบานประตู.

[๕๕๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นมารผู้ลามกยืนอยู่ที่ข้างบานประตู ครั้นแล้วจึงกล่าวว่า " มารผู้ลามก เราเห็นท่าน แม้ที่ข้างบานประตูนั้น ท่านอย่าเข้าใจว่า "สมณะนี้ไม่เห็นเรา" ท่านยืนอยู่แล้วที่ข้างบานประตู"มารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว เราเป็นมารชื่อทูสี มีน้องหญิงชื่อกาลีท่านเป็นบุตรน้องหญิงของเรานั้น ท่านนั้นได้เป็นหลานชายของเรา ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์มีคู่พระมหาสาวกชื่อวิธุระและชื่อสัญชีวะเป็นคู่เจริญเลิศ. พระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีประมาณเท่าใดในพระสาวกมีประมาณเท่านั้น ไม่มีองค์ใดที่จะสม่ําเสมอด้วยท่านพระวิธุระในทางธรรมเทศนาด้วยเหตุนี้ท่านพระวิธุระจึงมีนามเกิดขึ้นว่า "วิธุระ วิธุระ" ส่วนท่านพระสัญชีวะไปสู่ป่าก็ดีไปสู่โคนต้นไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดีย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยความลําบากเล็กน้อย มารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว ท่านพระสัญชีวะ นั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์พวกคนไถนาและพวกคนเดิน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 467

ทางได้เห็นท่านพระสัญชีวะ นั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งครั้นแล้วได้พูดกันว่า "ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์แปสกปลาดหนอพระสมณะนี้ นั่งทํากาละเสียแล้ว ฉะนั้น พวกเราจงเผาท่านเถิด" ครั้งนั้น คนเหล่านั้นจึงหาหญ้าไม้และโคมัยมากองสุมกายท่านพระสัญชีวะเอาไฟจุดเผาแล้วหลีกไป เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว ท่านพระสัญชีวะออกมาจากสมาบัตินั้นแล้วก็สลัดจีวรเวลาเช้านุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์พวกคนไถนาและพวกคนเดินทางได้เห็นท่านพระสัญชีวะเที่ยวบิณฑบาต แล้วก็พูดกันว่า "ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์ แปลกปลาดหนอ พระสมณะนี้นั่งทํากาละแล้ว พระสมณะนี้นั้นกลับมีสัญญาอยู่แล้ว" ด้วยเหตุนี้ ท่านพระสัญชีวะจึงได้มีชื่อเกิดขึ้นว่า "สัญชีวะ สัญชีวะ."

[๕๖๐] "มารผู้ลามก ครั้งนั้นแหละ ทูสีมารมีความดําริว่า "เราไม่รู้จักความมาและไปของภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ ถ้ากระไร เราพึงดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า "มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษเสียดสี เบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ถ้าไฉนภิกษุเหล่านั้น ถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสีเบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่นโดยอาการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง."

ครั้งนั้น ทูสีมารก็ดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีตามดํารินั้นพวกพราหมณ์และคฤหบดีฯลฯถูกทูสีมารดลใจแล้วก็ด่า บริภาษ เสียดสีเบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมว่า "ภิกษุเหล่านี้เป็นสมณะหัวโล้น เป็นคฤหบดีเป็นค่าง เป็นผู้เกิดแต่หลังเท้าของพรหม" พูดว่า "พวกเราเจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน" เป็นผู้คอตกก้มหน้า เกียจคร้าน ย่อมรําพึง ซบเซา หงอยเหงาอยู่ เหมือนนกเค้าจ้องหาหนูที่กิ่งไม้ฯลฯและเหมือน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 468

สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลาใกล้ฝังน้ำฯลฯ และเหมือนแมวจ้องหาหนูที่ที่ต่อเรือนอันรุงรังและกองหยากเยื่อฯลฯ และเหมือนลาที่ปลดต่างแล้ว ต่างก็รําพึงซบเซา เหงาหงอยอยู่ฉะนั้น มารผู้ลามก ครั้งนั้นมนุษย์เหล่าใดทํากาละไป มนุษย์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรกโดยมาก.

[๕๖๑] "มารผู้ลามก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่ากกุสันธะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วรับสั่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์และคฤหบดีถูกทูสีมารดลใจชักชวนว่า มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสีเบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ถ้าไฉนภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสีเบียดเบียนอยู่พึงมีจิตเป็นอย่างอื่นโดยอาการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง ภิกษุทั้งหลาย มาเถิดพวกเธอจงมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ทิศที่๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้นมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวางเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ไม่มีเวรไม่มีพยาบาทแผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ทั้งมวลโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ํา เบื้องขวางอยู่ดังนี้เถิด. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา... มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิดไปสู่ทิศที่๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกอันกว้างขวาง เป็นใหญ่หาประมาณมิได้ไม่มีเวรไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไปในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวางอยู่ดังนี้เถิด. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ําสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 469

ดีไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ก็มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่๑ อยู่แผ่ไปสู่ทิศที่๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง เป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไปในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวางอยู่ดังนี้. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา...มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา...มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่แผ่ไปสู่ทิศที่๒ ก็อย่างนั้นแผ่ไปสู่ทิศที่๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้นมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวาง เป็นใหญ่หาประมาณมิได้ไม่มีเวรไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวลโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ํา เบื้องขวางอยู่ ดังนี้.

[๕๖๒] "มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูลสีมารมีความดําริว่า "เราทําอยู่แม้ถึงอย่างนี้แลก็มิได้รู้ความมาหรือความไปของภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้เลยถ้ากระไร เราพึงชักชวนพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า "เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะเคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายสักการะเคารพ นับถือ บูชาอยู่พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารจึงชักชวนพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นว่า "เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมกันเถิดแม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายสักการะเคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่องดังนี้มารผู้ลามกครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น ถูกทูสีมารชักชวนแล้วพากันสักการะเคารพ นับถือบูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม มารผู้ลามก สมัยนั้นแลมนุษย์เหล่าใดกระทํากาละไป มนุษย์เหล่านั้น เมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์โดยมาก.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 470

[๕๖๓] มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์และคฤหบดีอันทูสีมารชักชวนว่า "เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะเคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะเคารพ นับถือบูชาอยู่พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่องดังนี้." "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสําคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสําคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดีพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่เถิด. "มารผู้ลามก ภิกษุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ําสอนอยู่อย่างนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ก็พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสําคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสําคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดีพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่."

[๕๖๔] มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครองสบงแล้วทรงบาตรและจีวร มีท่านพระวิธุระเป็นปัจฉาสมณะเสด็จเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารเข้าสิงเด็กคนหนึ่งแล้วเอาก้อนหินขว้างที่ศีรษะท่านพระวิธุระศีรษะแตก. มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ท่านพระวิธุระศีรษะแตกเลือดไหลอยู่ เดินตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไปข้างหลัง. มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชําเลืองดูเหมือนช้างชายตาดูด้วยตรัสว่า "ทูสีมารนี้มิได้รู้ประมาณเลย"

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 471

มารผู้ลามก ก็แหละทูสีมารเคลื่อนแล้วจากที่นั้น และเข้าถึงมหานรกพร้อมด้วยพระกิริยาที่ชําเลืองดู.

[๕๖๕] มารผู้ลามก ก็มหานรกนั้นแลมีชื่อ ๓ อย่าง ชื่อฉผัสสายตนิกะก็มี ชื่อสังกุสมาหตะก็มี ชื่อปัจจัตตเวทนียะก็มี มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พวกนายนิรยบาลเข้ามาหาเราแล้วบอกว่า "เมื่อใดแลหลาวเหล็กกับหลาวเหล็กมารวมกันที่กลางหทัยของท่าน เมื่อนั้นท่านพึงรู้ว่า "เราไหม้อยู่ในนรกพันปีแล้ว." มารผู้ลามก เรานั้นแล หมกไหม้อยู่ในมหานรกนั้นหลายปีหลายร้อยปี หลายพันปี และหมกไหม้อยู่ในอุสสทะนรกแห่งมหานรกนั้นแลเสวยทุกขเวทนาหนักกว่าก่อนอีกหมื่นปี มีศีรษะเหมือนศีรษะมนุษย์ก็มีเหมือนศีรษะปลาก็มี."

[๕๖๖] ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสันธะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระและพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสนะแล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้คือมีหลาวเหล็กร้อยหนึ่ง ล้วนให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุใดเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักนรกนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนักวิมานทั้งหลายตั้งอยู่ในท่ามกลางสระ มีความตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์มีความรุ่งเรือง มีรัศมีโชติช่วง เป็นประภัสสร พวกนางอัปสรมีวรรณะต่างๆ เป็นอันมาก ฟ้อนรําอยู่ที่วิมานเหล่านั้นภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักวิมานนั้น มาร

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 472

ประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดแลอันพระพุทธเจ้าทรงเตือนแล้วเมื่อภิกษุสงฆ์เห็นอยู่ ยังปราสาทของมิคารมารดาให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดเข้มแข็งด้วยกําลังฤทธิ์ ยังเวชยันตปราสาทให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้าและยังพวกเทวดาให้สังเวช ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดทูลสอบถามท้าวสักกะในเวชยันตปราสาทว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านย่อมรู้ความน้อมจิตไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ". ท้าวสักกะถูกถามปัญหาแล้วพยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตามควรแก่กถา ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใด ย่อมสอบถามพรหม ณ ที่ใกล้สุธรรมาสภาว่า "ท่านผู้มีอายุทิฏฐิของท่านในวันนี้และทิฏฐิของท่านมีในวันก่อน ท่านย่อมเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้วและรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลกบ้างหรือ" พรหมพยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตามลําดับ โดยควรแก่กถาว่า "ท่านผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าไม่มีทิฏฐินั้น และทิฏฐิในวันก่อน ข้าพเจ้าเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้วแหละเห็นรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลก (ฉะนั้น) วันนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวว่า "เราเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน ได้อย่างไร"ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดได้กระทบยอดภูเขามหาเนรุด้วย ชมพูทวีปและ ปุพพวิเทหะทวีป

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 473

พวกนรชนผู้อยู่ในแผ่นดิน (ชาวอมรโคยานทวีปและชาวอุตตระกุรุทวีป) ด้วยวิโมกข์ภิกษุเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้เหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนักก็คนพาลมาเข้ากองไฟที่กําลังลุกโชน ย่อมเดือดร้อนอยู่ว่า "ไฟย่อมไม่คิดจะเผาเราแต่เราย่อมเผาตนผู้เป็นคนพาลเอง มาร! ท่านเบียดเบียนพระตถาคตเจ้าแล้ว ต้องประสบบาปมิใช่บุญ ท่านอย่าสําคัญว่า "บาปไม่ให้ผลแก่เราหรือหนอ" การกชนที่สั่งบาป ย่อมโอดครวญตลอดกาลนานมาร ท่านเบื่อหน่ายพระพุทธเจ้าอย่าได้ทําความหวัง (ซึ่งความพินาศ) ในภิกษุทั้งหลายเลย. ภิกษุได้คุกคามมารในเภสกลาวัน ด้วยประการฉะนี้ลําดับนั้น มารนั้นมีความเสียใจได้หายไปในที่นั้น ฉะนี้แล"

จบ มานตัชชนียสูตรที่ ๑๐

จบ จูฬยมกวรรคที่ ๕

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 474

อรรถกถามารตัชชนียสูตร

มารตัชชนียสูตรมีคําเริ่มต้นว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้นบทว่า "เข้าไปตามลําไส้" ความว่า เข้าท้องไปแล้วเข้าไปตามลําตับภายในลําไส้ใหญ่แล้วนั่งที่กระเพาะอาหาร.บทว่า "เหมือนหนักกว่า" ความว่า กระด้างเหมือนหนักนักเช่นกับก้อนแผ่นหิน. อธิบายว่า อาหารที่ทําด้วยถั่วเห็นจะเหมือนถั่วที่ชุ่ม (ด้วยน้ำมัน) ดุจท้องของคนที่กินข้าวแล้วดุจกระสอบที่เต็มด้วยถั่วและดุจถั่วที่ชุ่มแล้ว.

บทว่า "เข้าไปวิหาร" ความว่า ถ้านี้เป็นความหนักเพราะโทษของอาหารการจงกรมในที่แจ้งก็จะไม่เป็นความสบาย. ฉะนั้น พระเถระจึงลงจากที่จงกรมเข้าไปบรรณศาลา นั่งบนอาสนะที่ปูไว้ตามปกติ.

บทว่า "ใส่ใจโดยแยบคายเฉพาะตน" ความว่า เมื่อรําพึงว่า นี่อะไรหนอแล พระเถระจึงได้ใส่ใจด้วยอุบายของตนทีเดียว. ก็ถ้าพระเถระระลึกถึงศีลเอามือลูบท้องรําพึงอยู่ว่าอาหารที่เราบริโภควันวาน วันซืน หรือก่อนวันซืนนั้นไม่สุก หรือว่า โทษที่เกิดจากอาหารที่ไม่ถูกส่วนกันอย่างอื่นไรๆ มีอยู่อาหารนั้นทั้งหมดจงย่อยไป จงผาสุกเถิด. มารผู้มีบาปก็จะได้ละอายหายไป. พระเถระหาได้ทําอย่างนั้นไม่จึงได้แต่ใส่ใจโดยแยบคาย.

บทว่า "ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเจ้าเลย" ความว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อลูกๆ ถูกเบียดเบียนมารดาและบิดาก็เป็นอันถูกเบียดเบียนด้วยเมื่อสัทธิ-วิหาริกและอันเตวาสิถูกเบียดเบียน อุปัชฌาย์และอาจารย์ก็เป็นอันถูกเบียดเบียนด้วย เมื่อชาวชนบทถูกเบียดเบียน พระราชาก็เป็นอันถูกเบียดเบียนด้วย ฉันใดเมื่อสาวกของพระตถาคตเจ้าถูกเบียดเบียน พระตถาคตเจ้าก็เป็น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 475

อันถูกเบียดเบียนด้วยทีเดียวฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น พระมหาโมคคัลลานะเถระจึงกล่าวว่า ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเจ้าเลย.

บทว่า "ได้ยืนที่บานหน้าต่าง" ได้แก่ยืนที่บานประตู บานประตูท่านเรียกว่า "อัคคฬะ" มารได้ลอยออกไปทางปากไปจากบรรณศาลาแล้วยืนอิงประตูบรรณศาลาอยู่.

เพราะเหตุไร พระเถระจึงปรารภเทศนานี้ว่า "มารผู้มีบาป เรื่องเคยมีมาแล้ว "

นัยว่า พระเถระคิดว่า "กลิ่นของพวกมนุษย์ย่อมเบียดเบียนพวกอากาศเทวดาตั้งร้อยโยชน์ก่อน."

ก็คํานั้น พระเถระกล่าวว่า "เจ้านครกลิ่นพวกมนุษย์ย่อมเบียดเบียนพวกเทวดาตั้งร้อยโยชน์ก็เพราะเหตุนั้น มารผู้เป็นชาวเมือง มีบริวารรักษา ถึงพร้อมด้วยอานุภาพเป็นราชาของพวกเทพเข้าไปในท้องของเรานั่งอยู่ในกระเพาะอาหารภายในลําไส้ดุร้ายเหลือเกิน. ก็เมื่อพระเถระกล่าวว่า หน้าที่อื่นไรจักมีแก่ผู้ที่อาจเข้าโอกาสที่น่ารังเกียจน่าขยะแขยงเห็นปานนี้ไม่ละอายสิ่งอื่นไร ท่านมิใช่ญาติของเรา. มารจึงคิดว่าขึ้นชื่อว่า"ผู้ที่ไม่ถึงความอ่อนโยนย่อมไม่มี เอาเถิดจักแทงข้างหลังญาติของพระเถระนั้นแล้วปล่อยเธอด้วยอุบายที่สุภาพทีเดียวจึงปรารภการแสดงนี้.

บทว่า "ท่านนั้นเป็นหลานของเรา" ความว่า ท่านนั้นเป็นหลานของเราในเวลานั้น. พระเถระกล่าวคํานี้ด้วยอํานาจธรรมเนียม. ก็ชื่อว่าเหล่ากอของบิดามารซึ่งเป็นเชื้อสายของปู่ครองราชย์ไม่มีในเทวโลก. บิดาของมารนั้นเกิดเป็นราชาแห่งเทวดาในเทวโลกด้วยอํานาจของบุญ ดํารงอยู่ชั่วอายุแล้วจุติ เทวดาอื่นอีกตนหนึ่งซึ่งเกิดเป็นใหญ่ในที่นั้นด้วยกรรมที่ตนทํา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 476

แล้ว. ถึงมารนั้นก็พึงทราบว่า "เวลานั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้น ทํากุศลอีก เกิดในตําแหน่งอธิบดีเวลานี้ ดังนี้แล.

บทว่า "มีธุระไปปราศแล้ว" คือ ปราศจากธุระอธิบายว่าไม่เหมือนคนพวกอื่นๆ.

คําว่า "มีทุกข์น้อย" คือ ลําบากน้อย.

คําว่า "คนเลี้ยงสัตว์" คือ คนเลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ.

คําว่า "ผู้เดินทาง" คือ ผู้ดําเนินไปตามทาง.

บทว่า "ค้นหาที่กาย" ความว่า ผูกเชิงตะกอนรอบๆ.

บทว่า "จุดไฟแล้วก็หลีกไป" ความว่า "ชาวนาทั้งหลายกําหนดขนาดของเชิงตะกอนว่า "เชิงตะกอนเท่านี้ร่างกายก็จักถือเอารอบ (ไหม้ทั่วถึง) แล้วจุดไฟขึ้นทั้ง ๔ ทิศ หลีกไปแล้ว. เชิงตะกอนก็ได้ลุกโพลงเหมือนเปลวประทีป (และ) ได้เป็นเหมือนเวลาที่พระเถระเข้าถ้ำมีน้ำแล้วนั่งลง."บทว่า "สลัดจีวร" ความว่า "พระเถระเมื่อออกจากสมาบัติแล้วย่ําถ่านเพลิงที่ไม่มีควันมีสีเหมือนดอกทองกวาวได้สลัดจีวรแล้วก็แม้เพียงไออุ่นก็มิได้มีในร่างกายของท่าน. แม้เพียงไออุ่นก็ยังไม่ไหม้จีวร. นี้ชื่อว่าเป็นผลของสมาบัติ.

บทว่า "จงด่า" ความว่า พวกท่านจงด่าด้วยวัตถุสําหรับด่า ๑๐ข้อ.

บทว่า "บริภาษ" ได้แก่ กล่าวด้วยวาจา.

บทว่า "จงด่าประชด" ได้แก่ จงกระทบกระเทียบ.

บทว่า "จงเบียดเบียน" ได้แก่ ให้ถึงทุกข์. คําทั่งหมดนี้เป็นชื่อของการกระทบกระเทียบทางวาจา.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 477

บทว่า "เหมือนมารชื่อว่า ทูสี...ช่องนั้น" ความว่า เหมือนมารชื่อว่าทูสี (ได้ช่อง) ของพวกพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น.

บทว่า "จงได้ช่อง" ความว่า พวกท่านจงได้รู้ คือพึงได้อารมณ์ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของกิเลส.

ในบทเป็นต้นว่า "โล้น" ดังนี้ พวกพราหมณ์และคฤหบดีกล่าวว่า"มารพึงสมควรกล่าวกะผู้มีศีรษะโล้นว่า "โล้น" และกับพวกสมณะว่า"สมณะ" ก็พวกสมณะโล้นเหล่านี้ดูหมิ่นอยู่.

คําว่า "มั่งคั่ง" ได้แก่ เจ้าเรือน

คําว่า "ดํา" ได้แก่ มืด.

พรหม ท่านประสงค์เอาว่า "ญาติ" ในบทนี้ว่า "เหล่ากอของท้าวมหาพรหม." พวกพราหมณ์ย่อมร้องเรียกพรหมแม้นั้นว่า "ปู่." อธิบายว่า เหล่ากอของพวกที่เกิดจากเท้าทั้งหลาย ชื่อว่า เหล่ากอของพวกที่เกิดจากเท้า. คือพวกที่เกิดจากหลังเท้าของพระพรหม.

ได้ยินว่า พวกพราหมณ์นั้นได้มีลัทธิอย่างนี้ว่า พวกพราหมณ์เกิดจากปากพระพรหม กษัตริย์เกิดจากอก. พวกพ่อค้าเกิดจากสะดือ. พวกศูทรเกิดจากแข้ง. พวกสมณะเกิดจากหลังพระบาท.

บทว่า "เราเป็นผู้เพ่ง เป็นผู้จ้อง" ความว่า พวกเราเป็นผู้เพ่ง พวกเราเป็นผู้เล็ง.

บทว่า "เกิดความอร่อย" ได้แก่ เกิดความเกียจคร้าน.

บทว่า "เพ่ง" ได้แก่ คิด.

บทว่า "เพ่งทั่ว" เป็นต้น ท่านขยายด้วยอํานาจอุปสัค.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 478

บทว่า "หาหนูอยู่" ความว่า เสาะหาหนูบนกิ่งไม้ ตัวที่ออกจากต้นไม้ที่มีโพรง เพื่อหาอาหารเวลาเย็น.

นัยว่า นกฮูกนั้นยืนนิ่งเหมือนสงบเสงี่ยมแล้วจะจับหนูอย่างรวดเร็วในเวลาที่พบกัน.

บทว่า "หมาป่า" ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าเหยี่ยวบ้าง.

บทว่า "ที่ต่อเรือน บ่อน้ำครํา และกองหยากเยื่อ" ความว่า ที่ฝาเรือนด้วยบ่อน้ำครําด้วยกองหยากเยื่อด้วย. ในที่เหล่านั้น ที่ต่อเรือน ชื่อว่าที่ต่อแห่งเรือน บ่อน้ำครําเป็นที่ฝังคูถ ชื่อว่าบ่อน้ำครํา ที่เป็นที่ทิ้งหยากเยื่อ ชื่อ กองหยากเยื่อ.

บทว่า "มีโคคอขาดแล้ว" ความว่า เมื่อออกจากที่กันดาร มีโคคอขาดแล้ว.

บทว่า "ที่ต่อเรือน บ่อน้ำครํา และกองหยากเยื่อ" ได้แก่ ที่ต่อเรือน บ่อน้ำครํา หรือกองหยากเยื่อ. ก็ลาแม้นั้น ถ้าเผาก็ไม่ไหวติงดุจแข็งกระด้าง

บทว่า "เข้าถึงนรก" ความว่า. ถ้ามารเข้าสิงในร่างของพวกมนุษย์พวกมนุษย์ไม่พึงมีอกุศลกรรม จะพึงมีแก่มารเท่านั้น แต่มารไม่ได้สิงในร่างกายแล้วแสดงวัตถุที่ไม่ถูกส่วนกัน และอารมณ์ที่ให้เกิดความเดือดร้อน.

ทราบว่าครั้งนั้น มารนั้น แสดงภิกษุทั้งหลายทําให้เป็นเหมือนผู้จะจับปลาก็จับโดยเร็ว ๑ ให้เป็นเหมือนผู้ถือข่ายแล้วดักปลา ๑ ให้เป็นเหมือนผู้ดักแร้วแล้วผูกนกไว ้๑ ผู้เที่ยวต้อนเนื้อในป่ากับสุนัข ๑ ผู้พาหญิงมานั่งในนี้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 479

ดื่ม ๑ ผู้ฟ้อนอยู่ ๑ ผู้ขับอยู่ ๑ ให้เป็นเหมือนพวกมนุษย์ที่ไม่ถูกกันนั่งและยืนในที่พักกลางคืนและกลางวันของภิกษุทั้งหลาย ๑.

คนทั้งหลายไปป่าบ้างไปดงบ้างไปวัดบ้าง เห็นอารมณ์ที่ทําให้เร่าร่อน แล้วมากล่าวแก่คนพวกอื่นว่า พวกสมณะทํากิจที่ไม่เหมาะแก่สมณะไม่สมควรเห็นปานนี้เมื่อพวกเราได้ถวายทานแก่สมณะพวกนั้น ที่ไหนจะได้บุญกุศล พวกท่านอย่าได้ถวายอะไรๆ แก่สมณะพวกนั้น. คนเหล่านั้นด่าภิกษุผู้มีศีลทั้งหลายในที่ที่ตนเห็นแล้วๆ ได้ประสบบาป เป็นผู้ที่ยังอบายให้เต็ม เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า พวกมนุษย์ได้เข้าถึงนรก.

บทว่า "อันมารให้หมุนไปตาม" ได้แก่ ถูกมารให้หมุนไปทั่ว.

บทว่า "แผ่ไปแล้วอยู่" ได้แก่ แผ่ไปแล้วอยู่อย่างเดียวหามิได้. ก็คนผู้ดํารงอยู่ในโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ให้พรหมวิหารธรรม ๔ เหล่านี้เกิดแล้วเจริญวิปัสสนาซึ่งมีฌาณเป็นที่รองรับ ได้ดํารงอยู่ในพระอรหัต.

คําว่า "ที่มา หรือ ที่ไป" ความว่า เราไม่รู้ที่เป็นที่มาด้วยอํานาจปฏิสนธิหรือที่เป็นที่ไปด้วยอํานาจคติ.

บทว่า "จิตจะพึงมีความเป็นโดยประการอื่น" ความว่า พึงมีความเป็นไปโดยประการอื่นด้วยอํานาจความพอใจ.

แม้ในบทนี้ว่า " เข้าถึงโลกสวรรค์ " ก็พึงทราบเนื้อความตามนัยก่อนนั่นเทียว. เหมือนอย่างว่า มารย่อมแสดงอารมณ์ที่ทําให้เดือดร้อนในกาลก่อนฉันใด ในบัดนี้ก็ฉันนั้น แสดงอารมณ์ทําให้ผ่องใสได้.

ทราบว่าครั้งนั้น มารนั้นได้แสดงภิกษุทั้งหลายไว้ในที่ที่ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ทําให้เป็นดุจไปในอากาศยืนในอากาศ. นั่งคู้บัลลังก์ดุจเย็บ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 480

ผ้าในอากาศดุจบอกคัมภีร์ในอากาศดุจคลี่จีวรให้กายรับฤดูในอากาศดุจบรรพชิตแก่เที่ยวไปในอากาศ ดุจสามเณรหนุ่มยืนเก็บดอกไม้ในอากาศ. พวกมนุษย์ไปป่าบ้างไปดงบ้างไปวัดบ้าง เห็นการปฏิบัตินั้นของพวกบรรพชิต ย่อมมาบอกแก่พวกคนเหล่าอื่นว่า ในพวกภิกษุโดยที่สุดแม้สามเณรก็มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ท่านที่ถวายทานเหล่านี้ชื่อว่ามีผลมาก พวกท่านจงถวายจงทําสักการะ พวกท่านเหล่านี้เถิด. ลําดับนั้น พวกมนุษย์ได้สักการะภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ ทําบุญไว้มากเป็นผู้ที่ยังหนทางสวรรค์ให้เต็ม เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า "ย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์."

คําว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมาพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามอยู่ในกายนี้" ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเที่ยวไปตลอดชมพูทวีปทั้งสิ้น โดยที่สุดก็ยังได้เสด็จไปที่อยู่ของภิกษุ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้างทรงแสดงอานิสงส์อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจที่อบรมด้วยความสําคัญในของที่ไม่งามมากอยู่ จิตย่อมหดหู่ ครอบงํา ถอยกลับ ไม่เหยียดออกความวางเฉย หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่พร้อม จากความถึงพร้อมด้วยเมถุนธรรม. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจที่อบรมด้วยความสําคัญในของที่ไม่งามมากอยู่จิตย่อมหดหู่ครอบงําถอยกลับ ไม่เหยียดออกความวางเฉย หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่พร้อมจากความอยากในรส ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้มีใจที่อบรมแล้วด้วยความสําคัญว่าไม่น่ายินดียิ่งในโลกทั้งปวงมากอยู่ จิตย่อมสลดหดหู่ ถอยกลับ ไม่เหยียดออกความวางเฉย หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่พร้อมในจิตที่ประกอบด้วยความโลภ. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยความสําคัญว่าไม่เที่ยงมากอยู่ จิตย่อมสลดหดหู่ ถอยกลับไม่เหยียดออก ความวาง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 481

เฉย หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่พร้อมในความโลภในลาภและสักการะแล้วตรัสกัมมัฏฐาน ๔ เหล่านี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมาพิจารณาเห็นเป็นของไม่งาม เป็นผู้มีความสําคัญในความปฏิกูลในอาหาร เป็นผู้มีความสําคัญในความไม่ยินดียิ่งในโลกทั้งปวง เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงในกายอยู่.

ภิกษุแม้เหล่านั้น ทํากรรมในกัมมัฏฐานทั้ง ๔ เหล่านี้. ให้อาสวะทั้งหมดสิ้นไป ดํารงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. กัมมัฏฐาน ๔ เหล่านี้ให้ราคะโทสะและโมหะสงบ กําจัดราคะโทสะและโมหะได้แน่นอนแล.

บทว่า "ถือก้อนกรวด" ความว่า ถือเอาก้อนหินประมาณเท่ากํามือ.

ก็มารนี้ได้ให้พวกพราหมณ์เละคฤหบดีด่าภิกษุบ้าง บันดาลให้ภิกษุสงฆ์เกิดลาภและสักการะด้วยอํานาจพราหมณ์และคฤหบดีบ้าง เมื่อไม่ได้ช่อง บัดนี้ได้มีความประสงค์เพื่อจะพยายามด้วยมือของตนจึงสิงในร่างของเด็กคนใดคนหนึ่งแล้วได้ถือเอาก้อนหินขนาดนั้น. พระเถระหมายเอาเด็กนั้น จึงกล่าวว่า "จับก้อนหินแล้ว."

บทว่า "ต่อยศีรษะของท่าน" ความว่า ทําลายศีรษะของท่านความว่า ทําลายศีรษะ. เนื้อฉีกไปถึงหนังใหญ่เป็น ๒ ส่วน. ก็ก้อนกรวดไม่ทําลายกระโหลกศีรษะจดกระดูกแล้วหยุดนั่นเอง.

บทว่า "ได้ทรงแลดูแล้วโดยดูอย่างช้าง" ได้แก่ ได้ยินเสียงดัง.ช้างตัวประเสริฐเมื่อประสงค์จะหลีกไปข้างนี้หรือข้างโน้น จะไม่เอี้ยวคอแต่จะถอยร่างทั้งสิ้นกลับแลดูอยู่นั่นเทียว ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะก็ฉันนั้น ได้ทรงกลับสรีระทั้งสิ้นแลดูแล้ว กระดูกทั้งหลายของมหาชนปลายจดกันตั้งอยู่ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าตรงปลายเป็น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 482

ขอ. แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นฉันนั้นหามิได้เป็นพืดเดียวกันตั้งอยู่ ดุจปลอกเหล็ก เพราะฉะนั้น เวลาทรงแลดูข้างหลัง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงไม่อาจเอี้ยวพระศอไปได้ก็ช้างตัวประเสริฐ. เมื่อประสงค์จะแลดูส่วนข้างหลังจึงหมุนร่างกายทั้งสิ้นนั่นเทียว พระพุทธเจ้าก็พึงหมุนไปเช่นนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถอยกลับพระสรีระทั้งสิ้นเทียวชําเลืองดูดุจพระพุทธรูปทองคําที่หมุนไปด้วยเครื่องยนต์ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับยืนชําเลืองดูตรัสว่า " หรือว่า มารชื่อทูสีนี้ไม่ได้รู้ประมาณ."

คํานั้น มีเนื้อความว่า มารทูสีนี้กระทําบาป ไม่ได้รู้ประมาณนั่นเองได้ทําการก้าวล่วงประมาณแล้ว.

บทว่า "ทรงชําเลืองพร้อมกัน" ความว่า ขณะนั้นนั่นเอง พร้อมกับการแลดูของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ.

บทว่า "เคลื่อนจากที่นั้นด้วย" ความว่า เคลื่อนจากที่ในเทวโลกนั้น เข้าถึงมหานรกแล้วด้วย.

ก็มารเมื่อจะเคลื่อนจึงยืนที่ใดที่หนึ่งเคลื่อน เพราะฉะนั้น มารนั้นจึงไม่มาเทวโลกชั้นวสวัตดีเคลื่อนแล้ว. มารนั้นไม่พึงทราบว่า เคลื่อนแล้วเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า. มารนั้นมิได้อําลาแล้วเพราะคําว่า ด้วยการแลดูร่วมกัน.

ก็คํานี้เป็นเพียงการแสดงเวลาจุติเท่านั้น. ก็อายุของมารนั้นพึงทราบว่าขาดไปแล้วในเทวโลกชั้นวสวัตดีนั้นเอง เหมือนการประหารด้วยขวาน เพราะผิดในพระมหาสาวกผู้ใหญ่.

บทว่า "มีชื่อ ๓ ชื่อ" ได้แก่ มี ๓ นาม

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 483

บทว่า "ชื่อว่า มีผัสสายตนะ๖ (นรกชื่อว่า ผัสสายตนิกะ) " ความว่า ในผัสสายตนะ ๖ เวทนาเฉพาะอย่างย่อมมีปัจจัย.

บทว่า "ชื่อว่า นําไปพร้อมด้วยขอ (นรกชื่อว่า สังกุสมาหตะ) " ความว่า อันเขานําไปพร้อมด้วยขอเหล็ก.

บทว่า "เสวยอารมณ์เฉพาะตน (นรกชื่อว่า ปัจจัตตเวทนิยะ) " ได้แก่ ตนเองนั่นแหละให้เกิดเวทนา.

บทว่า "ขอกับขอพึงมารวมกันที่หทัย" ความว่า ขอเหล็กกับขอเหล็กมารวมกันที่ท่ามกลางหัวใจ.

ได้ยินว่า เมื่อคนเหล่านั้นเกิดในนรกนั้นมีอัตตภาพ ๓ คาวุต แม้ของมารก็เป็นเช่นนั้นนั่นแหละครั้งนั้นพวกนายนิรยบาลถือหลาวเหล็กประมาณเท่าต้นตาลที่ไฟติดลุกโพลงโชติช่วงเองกล่าวว่า " ก็เจ้านี่คิดแล้วจึงทําความชั่วไว้โดยที่นี้" แล้วทุบกลางหัวใจเหมือนคนทุบขนมในรางทําขนม. ทําคน ๕๐ คนให้มีหน้าที่เท้า ๕๐ คนให้มีหน้าที่บนศีรษะไป เมื่อหลาวเหล็กไปอยู่อย่างนี้๕๐๐ ปี ถึงข้างทั้งสองกลับมาอีก ๕๐๐ ปีถึงกลางหัวใจ. พระเถระหมายเอาหลาวเหล็กนั้น จึงกล่าวคํานี้ไว้.

บทว่า "เวทนาที่ตั้งขึ้น" ความว่า เวทนาที่ตั้งขึ้นจากวิบาก.ได้ยินว่าการเสวยอารมณ์นั้นมีทุกข์มากกว่าการเสวยผลในมหานรก.อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เหมือนอย่างว่าการรักษาตลอด ๗ วัน ลําบากกว่าการดื่มความเยื่อใยตลอด ๗ วัน ฉันใดการเสวยอารมณ์ที่ตั้งขึ้นแห่งวิบากในตัณหาซึ่งฟูขึ้นมีทุกข์มากกว่าทุกข์ในมหานรก.

บทว่า ".....ของปลาแม้ฉันใด" ความว่า ศีรษะของคนกลม เมื่อบุคคลประหารด้วยหลาว การประหารย่อมไม่ตรงที่ ย่อมคลาดเคลื่อนไป

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 484

ศีรษะของปลายาวหนาการประหารย่อมตรงที่ การประหารย่อมเป็นอันกระทําไว้ดีเพราะทํากรรมไม่ผิด. ฉะนั้น ศีรษะจึงมีรูปนี้.

บทว่า "จรดพระสาวกชื่อว่าวิธุระ" ความว่า กระทบพระสาวกชื่อว่าวิธุระ.

บทว่า "การเสวยอารมณ์เฉพาะตน" ความว่า ให้เกิดการเสวยอารมณ์อย่างหนึ่งเฉพาะตนเอง.

บทว่า "นรกเป็นเช่นนี้" ความว่า พึงแสดงนรกด้วยเทวทูตสูตรในที่นี้.

บทว่า "ท่านถึงทุกข์ที่เกิดจากบาป" คือ ประสบทุกข์ที่เกิดจากมารตายแล้ว.

บทว่า "กลางสระ" ได้แก่ ได้ยินว่าวิมานที่ทําให้น้ำเป็นที่รองรับแล้วเกิดในท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป. วิมานเหล่านั้น มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์มีเปลวไฟลุกโพลงอยู่ เหมือนกองไฟที่ไหม้ไม้อ้อลุกโพลงบนยอดเขา มีรัศมีซ่านไป. สมบูรณ์ด้วยรัศมีในวิมานเหล่านั้น มีนางฟ้าสีสรรต่างๆ กันฟ้อนรําอยู่.

บทว่า "ผู้ใดรู้เฉพาะเรื่องนี้" ความว่า ผู้ใดรู้เรื่องวิมานวัตถุนี้ในเรื่องนี้ ก็ควรแสดงเนื้อความด้วยเรื่องวิมานวัตถุและเปตวัตถุเหมือนกัน.

คํานี้ว่า "ให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า" ควรแสดงด้วยปาสาทกัมปนสูตรนี้.

คํานี้ว่า "ผู้ใด (ให้) ไพชยนต์ไหวแล้ว" ควรแสดงด้วยจุลลตัณหาสังขยสูตรและวิมุตติสูตร.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 485

คํานี้ว่า "พระเถระนั้นสอบถามท้าวสักกะอยู่" ก็ควรแสดงด้วยจุลลตัณหาสังขยสูตรและวิมุตติสูตรนั้นเหมือนกัน.

บทว่า "ที่ประชุมใกล้สุธรรมสภา" ความว่า ใกล้ที่ประชุมชื่อว่า สุธรรมา. ก็สุธรรมสภานี้อยู่ในพรหมโลกไม่ใช่ในชั้นดาวดึงส์ ขึ้นชื่อว่าเทวโลกที่เว้นจากสุธรรมสภาไม่มี.

บทว่า "รัศมีที่ซ่านไปในพรหมโลก" ความว่า แสงสว่างของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จไปกับเหล่าสาวก มีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะ. เป็นต้นในพรหมโลก แล้วนั่งเข้าเตโชธาตุอยู่แล้ว.ด้วยว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบจิตของหมู่พรหม ผู้นั่งประชุมในสุธรรมเทวสภาในพรหมโลก คิดอยู่ว่า " มีอยู่หรือหนอแลที่สมณะหรือพราหมณ์ไรๆ ผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้อาจมาในที่นี้" จึงเสด็จไปที่นั้นประทับนั่งที่สุดคณะของพรหม ทรงเข้าเตโชธาตุได้ทรงดําริถึงการมาของพระมหาโมคคัลลานะเป็นต้น.

พระสาวกแม้เหล่านั้น ได้ไปถวายบังคมพระศาสดาแล้วจึงนั่งเข้าเตโชธาตุในทิศละ ๑ องค์พรหมโลกทั้งสิ้นจึงได้มีแสงอย่างเดียวกัน.

พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมที่ประกาศสัจจะ ๔. เวลาจบเทศนาพรหมหลายพันดํารงอยู่ในมรรคและผล. พระเถระหมายเอาธรรมนี้จึงกล่าวคาถานี้. ก็เนื้อความนั้นควรแสดงด้วยพกพรหมสูตร.

บทว่า "ได้ถูกต้องด้วยความหลุดพ้น" ได้แก่ ถูกต้องด้วยความหลุดพ้นคือฌานนั่นเอง.

บทว่า "ดง" ได้แก่ ชมพูทวีป.

บทว่า "ปุพพวิเทหทวีป" ได้แก่ ทวีปที่ชื่อว่า ปุพพวิเทหะด้วย.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 486

คําว่า "เหล่านระผู้นอนบนพื้นดินใด" ความว่า ชาวอมรโคยานทวีปและชาวอุตตรกุรุทวีป ชื่อว่าเหล่านระผู้นอนบนแผ่นดิน มีคําอธิบายว่าถูกต้องนระเหล่านั้นทั้งหมด

ก็ความนี้ควรแสดงด้วยการทรมานนันโทปนันทนาคราช เรื่องนี้ท่านให้พิสดารแล้วด้วยกถาว่าฤทธิ์ในปกรณ์วิเศษชื่อว่าวิสุทธิมรรค

บทว่า "ประสบสิ่งที่มิใช่บุญ" ได้แก่ ได้เฉพาะสิ่งที่มิใช่บุญ

บทว่า "อย่าได้ทําความหวังในภิกษุทั้งหลาย" ความว่า อย่าได้ทําความหวังนี้ว่า เราจะให้ภิกษุนี้พินาศเราจะเบียดเบียนภิกษุ คําที่เหลือในบททั้งปวงตื้นนั่นเทียวแล

จบ อรรถกถามารตัชชนียสูตร ที่ ๑๐

จบ จุลลยมกวรรคที่ ๕

การขยายความพระสูตรมูลปัณณาสก์แห่งอรรถกถามัชฌิมนิกายชื่อปปัญจสูทนี แล้วด้วยประการฉะนี้

และอรรถกถาที่รวมพระสูตรในคัมภีร์ปัณณาสก์ที่ประดับด้วย ๕ วรรค จบแล้ว