พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สาเลยยกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36045
อ่าน  380

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 245

จูฬยมกวรรคที่ ๕

๑. สาเลยยกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 245

๑. สาเลยยกสูตร

[๔๘๓] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมกับหมู่ภิกษุจํานวนมาก มาประทับอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์แห่งแคว้นโกศลชื่อสาละ พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละได้ฟังข่าวว่า นี่แน่ เขาว่าพระสมณโคดมผู้เจริญ โอรสเจ้าศากยะบวชจากตระกูลศากยะกําลังท่องเที่ยวอยู่ในแคว้นโกศล ได้มาถึงหมู่บ้านสาละพร้อมกับหมู่ภิกษุจํานวนมาก ก็แลเกียรติ-ศัพท์อันงามได้ขจรขึ้นไปยังพระโคดมผู้เจริญนั้นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ถูกต้องด้วยพระองค์เอง สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ไปดีแล้ว รู้จักโลกเป็นผู้ฝึกคนที่พอจะฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้สอนพวกเทวดาและมนุษย์เป็นพุทธะ เป็นผู้จําแนกธรรม พระโคดมนั้นได้กระทําให้แจ้งโลกนี้รวมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่คนรวมทั้งสมณะและพราหมณ์รวมทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วชี้แจง. ท่านแสดงธรรมงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งใจความ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. ก็แหละการเห็นหมู่พระอรหันต์เห็นปานนั้นย่อมเป็นการดีแท้.

ครั้นนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละ ก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วบางพวกก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็บันเทิงกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพูดจาปราศรัยกันพอเป็นที่ระลึกนึกถึงกันเสร็จแล้ว ก็นั่งลงในที่ควร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 246

ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็ประณมอัญชลีหันไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งลงในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็บอกชื่อและนามสกุลในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งลงในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกไม่พูดว่าอะไรแล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละก็ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า "ท่านโคดมผู้เจริญ...ขอถามสักหน่อยเถิดว่า อะไรล่ะ เป็นเหตุ? อะไรเป็นปัจจัย ซึ่งเหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก? พระโคดมผู้เจริญ และก็อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทําให้เหล่าสัตว์บางพวกหลังจากตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์?

ภ. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความไม่ประพฤติธรรมและความประพฤติไม่สม่ําเสมอ เป็นเหตุโดยแท้ เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรกอย่างนี้ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติเรียบร้อยเป็นเหตุโดยแท้ที่ทําให้หมู่สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายเพราะกายแตกอย่างนี้.

พ. "พวกข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจ ใจความของคําพูดที่ท่านพระโคดมกล่าวโดยย่อนี้อย่างพิสดารได้ และคําพูดที่ท่านยังไม่แจกแจงก็เข้าใจใจความอย่างพิสดารโดยทั่วถึงยังไม่ได้ พวกข้าพเจ้าขอโอกาสให้พระโคดมผู้เจริญแสดงธรรมโดยประการที่พวกข้าพเจ้าจะพึงเข้าใจใจความของคําพูดที่ท่านพระโคดมกล่าวโดยย่อนี้อย่างพิสดารได้ และคําพูดที่ท่านยังไม่แจกแจงก็เข้าใจใจความอย่างพิสดารโดยทั่วถึงได้."

ภ. "พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังให้ดีฉันจะกล่าว"

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 247

พ. "อย่างนั้นท่าน." พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ รับสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๔๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมและความประพฤติไม่สม่ําเสมอทางกายมี ๓ อย่าง ความประพฤติไม่เป็นธรรมและความประพฤติไม่สม่ําเสมอทางวาจามี ๔ อย่างความประพฤติไม่เป็นธรรมและความประพฤติไม่สม่ําเสมอทางใจมี ๓ อย่าง."

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมและความประพฤติไม่สม่ําเสมอทางกาย ๓ อย่าง อย่างไรเล่า? คือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้ชอบฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบ มือเปื้อนเลือด ตั้งมั่นในการเข่นฆ่าไม่ละอายไม่สงสารในหมู่สัตว์ทั้งปวง.

๒. และก็เป็นผู้ชอบลักขโมยของสิ่งใดเป็นของคนอื่น เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของคนอื่น ไม่ว่าอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า เป็นผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ อันเป็นส่วนแห่งขโมยนั้น.

๓. อีกทั้งชอบประพฤติผิดในของรักของใคร่ทั้งหลาย เป็นผู้ละเมิดจารีตในผู้หญิงที่ไม่รักษา พ่อรักษา ทั้งแม่และพ่อรักษา พี่น้องชายรักษาพี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีผัว หญิงมีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้แต่หญิงที่คล้องพวงมาลังให้ (เสี่ยงพวงมาลัย) เห็นปานนี้.

อย่างนี้แลพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติที่ไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ําเสมอทางกาย ๓ อย่าง.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 248

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็แหละ ความประพฤติที่ไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ําเสมอทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร?คือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นคนชอบพูดเท็จไม่ว่าอยู่ในที่ประชุม อยู่ในบริษัท อยู่กลางญาติ อยู่กลางพรรคพวก หรืออยู่กลางราชตระกูลก็ตาม เมื่อถูกนํามาซักเป็นพยานว่า ""มานี่ซินายขอให้คุณจงพูดสิ่งที่คุณรู้." เขาไม่รู้ก็พูดว่า "ผมรู้" หรือรู้อยู่ก็กลับพูดว่า " ผมไม่รู้ " ไม่เห็นก็พูดว่า " ผมเห็น " หรือเห็นอยู่ก็ไพล่พูดไปว่า " ผมไม่เห็น " ทั้งนี้เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือเพราะเหตุแห่งอามิสลางสิ่งลางอย่าง จึงเป็นกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่.

๒. และก็เป็นคนพูดส่อเสียด คือได้ฟังจากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น เพื่อทําลายพวกเหล่านี้ หรือได้ฟังจากทางโน้นแล้วก็มาบอกพวกนี้เพื่อทําลายพวกโน้น ดังนี้ก็เป็นอันว่า ทําผู้ที่พร้อมเพรียงกันอยู่แล้วให้แตกกัน หรือส่งเสริมให้คนที่แตกกันอยู่แล้วแตกกันยิ่งขึ้น พอใจผู้ที่แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก ยินดีกับที่แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก ชอบผู้ที่แตกกันเป็นพรรคเป็นพวกเป็นผู้พูดวาจาที่ทําให้แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก

๓. ทั้งเป็นคนพูดคําหยาบ คือเป็นผู้พูดคําชนิดที่ค่อนขอด หยาบช้าต่อคนอื่น เผ็ดร้อน คนอื่นเหน็บความเจ็บใจใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไม่เพื่อให้จิตใจตั้งมั่นเห็นปานนั้น.

๔. อีกทั้งเป็นผู้ชอบพูดสํารากเพ้อเจ้อ ชอบพูดไม่ถูกเวลา ชอบพูดไม่จริง (พูดไม่เป็น) ชอบพูดไร้ประโยชน์ชอบพูดไม่เป็นธรรม ชอบพูดไม่เป็นวินัยเป็นผู้พูดไม่มีหลักฐาน ไม่เป็นเวลาไม่มีที่อ้างอิงไม่มีที่สิ้นสุดไม่ประกอบด้วยประโยชน์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 249

อย่างนี้แล พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติที่ไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ําเสมอทางวาจา ๔ อย่าง.

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็แหละ ความประพฤติที่ไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ําเสมอทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไรคือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็ง เป็นผู้เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของคนอื่น ไฉนหนอขอสิ่งที่เป็นของคนอื่นนั้นพึงเป็นของเราเถิด.

๒. และก็เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีใจคิดแต่จะประทุษร้ายว่า " ขอให้สัตว์พวกนี้ จงถูกฆ่า จงถูกเขาฆ่า จงขาดสูญ หรืออย่าได้มีเลย."

๓. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้มีความเห็นคลาดเคลื่อนว่า "ทานที่ให้แล้วไม่มีผลการบูชาไม่มีผลการเซ่นสรวงไม่มีผล ผลคือวิบากของกรรมที่ทําดีและชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มีโลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีบุญคุณ บิดาไม่มีบุญคุณ พวกสัตว์ที่ผุดเกิดไม่มีในโลกไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบชนิดที่ทําให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศโลกนี้และโลกหน้า "

อย่างที่ว่ามานี่แหละ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายจัดเป็นความประพฤติที่ไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ําเสมอทางใจ ๓อย่าง.

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเพราะความประพฤติไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ําเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจึงย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก"

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 250

[๔๘๕] "พราหมณ์และคฤหบดีทั่งหลาย ความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางกายมี๓ อย่างแล. ความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางวาจามี๔ อย่าง. ความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางใจมี๓ อย่าง

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แลความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างไรคือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์วางกระบองลง วางศัสตราลง มีความละอายประกอบด้วยความเอ็นดูเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อและความสงสารในสัตว์ทั้งหมดอยู่.

๒. ละการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์เป็นผู้ไม่ถือเอาทรัพย์สมบัติของคนอื่น จะอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ซึ่งเขาไม่ได้ให้อันเป็นส่วนแห่งการขโมยนั้น.

๓. ละความประพฤติผิดในกามทั้งหลายเป็นผู้เว้นขาดจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่ละเมิดจารีตในผู้หญิงที่แม่ปกครอง พ่อปกครอง ทั้งพ่อและแม่ปกครอง พี่น้องชายปกครอง พี่น้องหญิงปกครอง หญิงมีผัว หญิงที่อยู่ในเขตหวงห้ามโดยที่สุดแม้แต่หญิงที่ชายคล้องพวงมาลัยให้เห็นปานนั้น.

อย่างนี้แล พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลายจัดเป็นความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางกาย ๓ อย่าง.

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 251

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ละการกล่าวเท็จเป็นผู้เว้นขาดจากการกล่าวเท็จไม่ว่าอยู่ในที่ประชุม อยู่ในบริษัท อยู่กลางญาติ อยู่กลางพรรคพวกหรืออยู่กลางราชตระกูลก็ตาม เมื่อถูกนํามาซักเป็นพยานว่า "มานี่ซินายขอให้คุณจงพูดไปตามที่คุณรู้" เขาไม่รู้ ก็พูดว่า " ผมไม่รู้ " หรือรู้อยู่ ก็พูดว่า " ผมรู้ " ไม่เห็นก็พูดว่า " ผมไม่เห็น " หรือเห็นอยู่ก็พูดว่า " ผมเห็น " ทั้งนี้ไม่ว่าเพราะตนเป็นเหตุ เพราะคนอื่นเป็นเหตุ หรือเพราะอามิสลางสิ่งลางอย่างเป็นเหตุ เป็นผู้ไม่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่.

๒. ละคําพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากคําพูดส่อเสียด คือไม่เป็นผู้ฟังจากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น เพื่อทําลายพวกเหล่านี้หรือไม่เป็นผู้ฟังจากทางโน้นแล้วก็มาบอกทางนี้ เพื่อทําลายพวกโน้น ดังนี้ ก็เป็นอันว่า เป็นผู้เชื่อมคนที่แตกกันแล้วให้สนิทกัน หรือเป็นผู้ส่งเสริมผู้ที่สนิทกันแล้วให้สนิทกันยิ่งขึ้น พอใจผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีกับผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ชอบผู้ที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้พูดวาจาที่ทําให้สมัครสมานกัน.

๓. ละคําพูดหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากคําพูดหยาบ เป็นผู้พูดแต่คําที่ไม่มีโทษ สบายหู น่ารัก ดื่มด่ําในหัวใจเป็นภาษาชาวกรุงคนส่วนมากรักใคร่ คนส่วนมากชอบใจเห็นปานนั้น.

๔. ละคําสํารากเพ้อเจ้อเป็นผู้เว้นขาดจากคําสํารากเพ้อเจ้อ พูดเป็นเวลา พูดคําที่เป็นจริง พูดคํามีประโยชน์พูดเป็นธรรมพูดเป็นวินัย เป็นผู้พูดคําที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิงตามเวลา มีที่สิ้นสุดประกอบด้วยประโยชน์.

อย่างนี้แล พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย จักเป็นความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางวาจา ๔ อย่าง.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 252

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็แหละ ความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางใจ ๓ อย่าง อย่างไรบ้างคือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ไม่ใช่เป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็งไม่ใช่เป็นผู้เพ่งเล็งในสิ่งที่เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของคนอื่นๆ นั้นว่าโอหนอขอสิ่งที่เป็นของคนอื่นนั้น พึงเป็นของเรา.

๒. และก็ไม่ใช่เป็นผู้มีจิตพยาบาทไม่ใช่เป็นผู้มีจิตคิดแต่จะแก้แค้นว่า "ขอให้สัตว์พวกนี้จงเป็นผู้ไม่พยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด"

๓. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นที่ถูกต้องไม่ใช่เป็นผู้มีความเห็นที่คลาดเคลื่อนว่า " ทานที่ให้แล้วมีผล, การเซ่นสรวงมีผล, การบูชามีผล, ผลคือวิบากของกรรมที่ทําดีและทําชั่วมี, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, มารดามีบุญคุณ, บิดามีบุญคุณ, พวกสัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดมี, ในโลกมีสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ, ชนิดที่ทําให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศโลกนี้และโลกหน้า.

"อย่างนี้ว่ามานี้และพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายจัดเป็นความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอทางใจ ๓ อย่าง. "

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเพราะความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ําเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. "

[๔๘๖] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติประพฤติเรียบร้อยเป็นปกติ ถ้าพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตกไป. ขอให้เราเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่ากษัตริย์มหาศาลเถิด, ข้อที่เขาหลังจากตายเพราะกายแตกไป พึงเข้าถึงความเป็นพวก

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 253

เดียวกันกับเหล่ากษัตริย์มหาศาลนี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ปฏิบัติธรรมโดยปกติประพฤติสม่ําเสมอเป็นปกติอย่างนั้น.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติสม่ําเสมอเป็นปกติ ถ้าพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตกไปขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหล่าพราหมณ์มหาศาล ฯลฯเหล่าคฤหบดีมหาศาลเถิด." ข้อที่หลังจากตายเพราะกายแตกไป เขาพึงเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพวกพราหมณ์มหาศาลฯลฯ พวกคฤหบดีมหาศาลนี้ ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติประพฤติสม่ําเสมอโดยปกติอย่างนั้น"

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติประพฤติสม่ําเสมอเป็นปกติ พึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตกไป ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นอันเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา...ชั้นดาวดึงส์...ชั้นยามา... ชั้นดุสิต...ชั้นนิมานรดี...ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี...ชั้นพรหมกายิกา (พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา) เถิด,ข้อที่เขาหลังจากตายเพราะกายแตกไป พึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกาฯลฯ ชั้นพรหมกายิกานี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติประพฤติสม่ําเสมอเป็นปกติอย่างนั้น."

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายถ้าผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติสม่ําเสมอเป็นปกติพึงหวังว่า "โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 254

ไป ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นอาภา (๑) (ปริตตาภาอัปปมาณาภา อาภัสสรา) เถิด, ข้อที่หลังจากตายเพราะกายแตกไป เขาพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นอาภานี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติสม่ําเสมอเป็นปกติอย่างนั้น"

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้มีปกติประพฤติธรรม มีปกติประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า " โอหนอ ... หลังจากตายเพราะกายแตกไป ขอให้เราเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับพวกเหล่าเทพชั้นปริตตสุภา ... ชั้นอัปปมาณสุภา ... ชั้นสุภกิณหกา ... ชั้นเวหัปผลา ... ชั้นอวิหา ... ชั้นอตัปปา ... ชั้นสุทัสสา ... ชั้นสุทัสสี ... ชั้นอกนิฏฐา ... เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ... เข้าถึงวิญญานัญจายตนะ ... .เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ, ข้อที่หลังจากตายเพราะกายแตกไปเข้าพึงเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับพวกเหล่าเทพชั้นปริตตสุภา ฯลฯ ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ, นี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้มีปกติประพฤติธรรม มีปกติประพฤติเรียบร้อยอย่างนั้น"

พราหมณ์เละคฤหดีทั้งหลายถ้าผู้มีปรกติประพฤติธรรม มีปรกติประพฤติสม่ําเสมอพึงหวังว่า " โอหนอ ... หลังจากตายเพราะกายแตกไป ขอให้เราพึงทําเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่ไม่มีอาสวะ เพราะพวกอาสวะสิ้นไป ให้แจ้งด้วยความรู้อย่างยิ่งเองในปัจจุบันนี้แล แล้วเข้าถึงอยู่เถิด,ข้อที่เขาเป็นผู้ปกติประพฤติธรรม ประพฤติสม่ําเสมอโดยปกติ พึงทํา


(๑) พวกอาภา มี ปริตตาภา, อัปปมาณาภา, อาภัสสรา แล้วทําไมบาลีถัดไปจึงเรียงระบุว่าปริตตาภา, อัปปมาณาภา, อาภัสสรา อีก ผู้แปลจึงตัดบาลีถัดไปตามแบบพรหมกายิกาที่ไม่ระบุพรหม ๓ ชั้นไว้อย่างที่แปลมาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 255

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ เพราะพวกอาสวะสิ้นไปให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้แล แล้วเข้าถึงอยู่ นี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้มีปกติประพฤติธรรม ประพฤติสม่ําเสมอเป็นปกติอย่างนั้น"

[๔๘๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้เสร็จแล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ ได้พากันทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ว่า"ไพเราะจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญไพเราะจริงๆ ธรรมที่พระโคดมผู้เจริญได้ประกาศแล้วหลายแบบ เหมือนหงายภาชนะที่คว่ําเปิดสิ่งที่ปิด บอกทางแก่คนหลง หรือส่องตะเกียงน้ำมันในที่มืดด้วยคิดว่า "พวกผู้มีตาดีๆ จะได้เห็นรูป " ฉะนั้นแลพระโคดมผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ขอเข้าถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจําพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบสาเลยยกสูตร ที่ ๑

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 256

อรรถกถาสาเลยยกสูตร (๑)

สาเลยยกสูตรมีคําขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้"

ในคําเหล่านั้น คําว่า "ในแคว้นโกศล" ความว่า ในแคว้นของชาวโกศลทั้งหลาย คือพวกชาวจังหวัด หรือ พวกราชกุมารชื่อโกศล. จังหวัดที่เป็นถิ่นอาศัยของคนเหล่านั้น แม้เพียงจังหวัดเดียว ก็เรียกด้วยเสียงคล่องปากว่า "โกศลทั้งหลาย" ได้. ในจังหวัดของพวกชาวโกศลนั้น. ฝ่ายพวกคนรุ่นเก่าท่านว่า เพราะแต่ก่อนพระราชาได้ทรงฟังว่า มหาปนาทราชกุมาร ทอดพระเนตรท่าตลกต่างๆ แม้แต่ยิ้มก็ไม่ทรงทํา จึงตรัสว่า ใครทําให้ลูกฉันหัวเราะได้ ฉันจะเอาเครื่องสําอางทุกอย่างมาแต่งให้คนนั้น. เมื่อกลุ่มมหาชนทิ้งแม้แต่ไถมาประชุมกัน พวกคนก็พากันแสดงการละเล่นต่างๆ ตั้งเจ็ดปีกว่า ก็ยังไม่อาจทําให้พระราชกุมารนั้นทรงพระสรวลได้. ลําดับนั้น พระอินทร์ทรงส่งตัวตลกเทวดาไป เทพองค์นั้นแสดงท่าตลกแบบทิพย์จนทําให้ทรงพระสรวลได้. ลําดับนั้น คนเหล่านั้นก็พากันบ่ายหน้าหลีกไปยังถิ่นของตนๆ เมื่อพบเพื่อนฝูงที่สวนทางมา พวกนั้นก็ทักทายปราศรัยกันว่า "ดีไหม?" ฉะนั้น เพราะอาศัยคําว่า "ดีๆ " นั้น ประเทศนั้นจึงเรียกว่า "โกศล"

คําว่า "เสด็จเที่ยวจาริก" คือ กําลังเสด็จเที่ยวจาริกแบบไม่รีบร้อน. คําว่า " กับหมู่ภิกษุจํานวนมาก" คือ กับหมู่ภิกษุจํานวนมากที่ไม่ได้กําหนดชัดลงไปอย่างนี้ว่า ร้อย พัน หรือแสน. คําว่า "หมู่บ้านของพราหมณ์" ได้แก่ หมู่บ้านชุมชนพวกพราหมณ์ เรียกว่า หมู่บ้านของพราหมณ์. แม้หมู่บ้านโภคของพวกพราหมณ์ก็เป็นหมู่บ้านชุมชนในที่


(๑) บาลีใช้ จูฬยมกวรรค

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 257

นี้ ไม่ใช่ประสงค์เอาบ้านอยู่ของพวกพราหมณ์. คําว่า " ระลึกลงที่นั้น " คือระลึกลงไปในที่นั้น หมายถึงความ พร้อมแล้ว. ส่วนวิหารไม่ได้จํากัดให้แน่ลงไปในที่นี้. ฉะนั้น จึงคงจะเป็นป่าชัฏแห่งหนึ่งที่เหมาะแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านของพวกพราหมณ์นั้น. พึงทราบว่า พระศาสดาได้เสด็จพระพุทธดําเนินไปถึงไพรดงนั้น. คําว่า " ได้ยินแล้ว " แปลว่า ฟังแล้วคือเข้าไปได้ ได้แก่ทราบโดยทํานองเสียงก้องแห้งคําที่ถึงโสตทวาร. " โข " เป็นนิบาตลงในอรรถอวธารณะ คือเป็นเพียงทําบทให้เต็ม. พึงทราบอธิบายในข้อนี้อย่างนี้ว่า ได้ฟังแล้วด้วยอาวธารณะอรรถในที่นี้เท่านั้น อันตรายแห่งการฟังไรๆ ไม่ได้มีแก่พวกเขา. ด้วยการทําให้บทเต็มก็เพียงให้พยัญชนะมีความสละสลวยเท่านั้น.

บัดนี้ เมื่อจะประกาศข้อความที่ได้ฟังนั้น. ท่านจึงได้กล่าวว่า " เออนี่แน่ะ เขาว่าพระสมณโคดม" ดังนี้เป็นต้น. พึงทราบว่า ชื่อว่า สมณะ เพราะระงับบาป. ในบทเหล่านั้น. " ขลุ " เป็นนิบาตลงในอรรถว่าฟังตาม. " โภ "เป็นคําร้องเรียกกันและกันของพวกนั้น. " โคดม " เป็นคําแสดงด้วยพระโคตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น ในคําเหล่านี้ว่า " นี่แน่ะเขาว่าพระสมณะโคดม " จึงพึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่า " นี่แน่ะท่าน เขาเล่ากันว่า พระสมณะผู้เป็นโคดมโคตร" ส่วนคําว่า "โอรสศากยะ" นี้เป็นคําแสดงตระกูลอันสูงของพระผู้มีพระภาคเจ้า. คําว่า " บวชจากตระกูลศากยะ " เป็นคําแสดงความเป็นผู้บวชด้วยศรัทธา. มีคําที่กล่าวไว้ว่า ผู้ที่ไม่ถูกความฉิบหายอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงํา มาละตระกูลที่ยังไม่สูญสิ้น (อะไรๆ ไปเลย) ชื่อว่าบวชด้วยศรัทธา. คําต่อจากนั้นไปก็มีใจความที่ได้กล่าวไว้แล้วทีเดียว. คําว่า"ก็นั่นแล" เป็นทุติยาวิภัติลงในอรรถ บอกอิตถัมภูตะ ใจความก็คือ " ของพระโคดมเจริญแล ". คําว่า " อันงาม " ได้แก่ผู้ประกอบด้วยพระคุณอันงดงาม มีอธิบายว่าผู้ประเสริฐสุด. เกียรตินั่นแหละ หรือ เสียงชมเชยชื่อ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 258

ว่า " เกียรติศัพท์ ". คําว่า " ฟุ้งขึ้น " คือขจรขึ้นทับโลกรวมทั้ง (โลกของพวก) เทวดา. ว่าอย่างไร? ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นฯลฯ ทรงเป็นผู้ตื่น (ผู้ปลุก ผู้เบิกบานด้วยพระคุณ) ทรงเป็นผู้มีโชคดี (ทรงมีส่วนแห่งการจําแนกธรรม, ทรงจําแนกแจกธรรม).

ต่อไปนี้พึงทราบความเกี่ยวข้องแห่งบทในคําเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้ ฯลฯ ทรงเป็นผู้มีโชคดี แม้เพราะเหตุนี้. มีคําอธิบายว่า เพราะเหตุนี้และนี้. บททั้งหมดนี้เองที่ท่านยกขึ้นเป็นแม่บทโดยทํานองเป็นต้นว่า พึงเข้าใจว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงเป็นพระอรหันต์ด้วยเหตุเหล่านี้ก่อน คือ ทรงไกลจากข้าศึก เพราะทรงหักกํา (แห่งล้อภพ) เพราะควรแก่ปัจจัยเป็นต้น เพราะไม่มีความลับในการทําชั่ว " ได้ให้พิสดารแล้วแล ในพุทธานุสสตินิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. พึงถือเอาความพิสดารแห่งบทเหล่านั้นจากที่นั้นเถิด.

คําว่า "ก็แลเป็นการดีโข" คือ ก็เป็นความงามโข. มีคําอธิบายว่า เป็นการนําเอาประโยชน์มาให้ เป็นการนําเอาความสุขมาให้. คําว่า" เหล่าพระอรหันต์เห็นปานนั้น." คือ พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้ความเชื่อถือว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ทั้งหลายในโลก ก็เพราะการบรรลุคุณพิเศษตามที่เป็นจริงของเหล่าพระอรหันต์ ซึ่งเห็นได้ยากด้วยแสนโกฏิกัปป์ แม้ไม่ใช่น้อย มีร่างกายเป็นที่รื่นรมย์ซึ่งเกลื่อนกล่นด้วยรัศมีแห่งมหาปุริสลักษณะสามสิบสองประการ ประดับด้วยแก้ว คือ อนุพยัญชนะแปดสิบอย่าง แวดล้อมด้วยรัศมีวาหนึ่ง มีการเห็นที่ไม่เร่าร้อน มีเสียงแห่งธรรมที่ไพเราะยิ่ง เหมือนอย่างที่พระโคดมผู้เจริญนั้นท่านเป็น. คําว่า "ย่อมเป็นการเห็น" คือ กระทําอัธยาศัยอย่างนี้ว่า การลืมตาที่มีประสาทหยาดเยิ้มขึ้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 259

ดูก็เป็นการดี (ยังประโยชน์ให้สําเร็จ) และถ้าเมื่อท่านกําลังแสดงธรรมด้วยเสียงดุจเสียงพรหมที่ประกอบพร้อมไปด้วยองค์แปด ได้ฟังแม้บทเดียว ก็จะเป็นการดีกว่า. คําว่า " เข้าไปเฝ้าถึงที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ " ได้แก่ เลิกกิจทุกอย่าง มีใจยินดีมาแล้ว. คําว่า" ได้กล่าวคํานี้ " ได้แก่ก็การถามมีสองอย่างคือการถามแบบชาวบ้าน ๑ การถามแบบนักบวช ๑ ในการถามทั้งสองอย่างนั้น การถามแบบชาวบ้าน มาแล้วโดยแบบนี้ว่า " พระคุณเจ้าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล " การถามแบบนักบวชมาแล้วอย่างนี้ว่า " ท่านผู้เจริญ เหล่านี้หรือหนอ เป็นอุปาทานขันธ์ ๕ " ส่วนพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านี้ เมื่อจะทูลถามแบบการถามของชาวบ้านที่เหมาะแก่ตน จึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า " พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย? " กะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแก้ปัญหาโดยย่อจริงๆ ก่อน แก่พวกเขาชนิดที่พวกเขายังไม่สามารถกําหนดได้จึงตรัสคําเป็นต้นว่า " พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลายเพราะความประพฤติที่ไม่ถูกต้องและความประพฤติ ที่ไม่สมควรเป็นเหตุ " ถามว่า " ทําไมเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแก้อย่างที่คนพวกนั้นยังไม่ทันกําหนด " ตอบว่า " มีผู้กล่าวว่า เพราะคนเหล่านั้นถือตัวว่าเป็นบัณฑิต ย่อมตั้งตัวแม่บทแล้วกําหนดไว้แต่ต้นทีเดียวโดยประการใดเมื่อพระองค์ทรงขยายความให้พิสดารโดยประการนั้น ก็พากันสําคัญเทศนาว่า ตื้นๆ จะพากันดูถูกว่า "แม้เมื่อพวกเราจะกล่าว ก็พึงกล่าวอย่างนี้เหมือนกัน " เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแก้ปัญหาอย่างย่อๆ ก่อนชนิดที่พวกนั้นไม่สามารถจะกําหนดได้. ต่อจากนั้น เมื่อทรงถูกพวกที่ไม่อาจจะกําหนดได้นั้นคะยั้นคะยอขอให้แสดงพิสดาร เมื่อทรงแสดงโดยพิสดารจึงตรัสดําเป็นต้นว่า " ถ้าอย่างนั้นพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย"

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 260

ในคําเหล่านั้น คําว่า " ถ้าอย่างนั้น " เป็นนิบาตลงในเหตุ หมายความว่า เพราะเหตุที่พวกท่านขอร้องเรา. คําว่า " สามอย่าง " คือ สามส่วน.คําว่า " ด้วยกาย " คือด้วยกายทวาร. คําว่า " ความประพฤติไม่ถูกต้องและความประพฤติไม่สมควร " คือความประพฤติไม่สมควรอันได้แก่ความประพฤติที่ไม่ถูกต้อง. และต่อไปนี้เป็นความหมายของบทในคําเหล่านี้.

"ความประพฤติอธรรม ชื่อว่าอธรรมจริยา, หมายความว่า การกระทําที่ไม่เป็นธรรมที่ชื่อว่า วิสมจริยา เพราะประพฤติขรุขระ หรือประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ความประพฤติไม่เป็นธรรม และความประพฤติที่ขรุขระนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ความประพฤติไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ําเสมอ พึงทราบความหมายในบทฝ่ายดําและฝ่ายขาวทุกบทโดยอุบายนี้.

คําว่า "โหดร้าย" ได้แก่ หยาบคาย เหี้ยมโหด หุนหัน พลันแล่น. คําว่า " มีมือเปื้อนเลือด " ได้แก่ เปื้อนด้วยเลือดที่มือของผู้ที่กําลังปลงสัตว์อื่นจากชีวิต ถึงแม้จะไม่เปื้อนคนแบบนั้น ท่านก็ยังเรียกว่า "มีมือเปื้อนเลือด" อยู่นั่นเอง. คําว่า " ตั้งมั่นอยู่ในการฆ่าการประหาร " ได้แก่ตั้งมั่นในการฆ่า การให้ประหารสัตว์อื่น และในการเข่นฆ่า คือการทําให้สัตว์อื่นตาย. คําว่า " ไม่ประกอบด้วยความสงสาร " คือมาถึงความเป็นผู้ไม่มีความสงสาร. คําว่า " ของคนอื่นนั้นใด " คือ สิ่งที่มีอยู่ของคนอื่นนั้นใด. คําว่า " อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ " ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของคนอื่นนั่นเองคือเครื่องบริขารที่ก่อให้เกิดความยินดีแก่คนอื่นนั้น. คําว่า" หรืออยู่ในหมู่บ้าน " คือหรือที่ตั้งไว้ภายในหมู่บ้าน.คําว่า " หรืออยู่ในป่า "คือตั้งไว้ในป่า หรือบนยอดไม้ยอดภูเขาเป็นต้น. คําว่า " ที่ไม่ให้ " คือพวกเขาไม่ได้ให้ด้วยกายหรือด้วยวาจา. ผู้ลักชื่อว่า " ขโมย " ในที่นี้. ภาวะแห่งขโมย ชื่อว่า ความเป็นขโมย. คํานี้เป็นชื่อแห่งจิตคิดจะขโมย. คําว่า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 261

" ส่วน " นี้ เป็นชื่อของส่วนหนึ่งโดยใจความ. เหมือนในคําเป็นต้นว่า " ก็ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันสัญญาเป็นเค้ามูล " ส่วนนั้นด้วย ความเป็นขโมยด้วย เหตุนั้น ชื่อว่าส่วนแห่งความเป็นขโมย หมายความว่า ส่วนแห่งจิตหนึ่งกล่าวคือจิตคิดจะขโมย. และคําว่าส่วนแห่งความเป็นขโมยนี้เป็นปฐมาวิภัติลงในอรรถตติยาวิภัติ ฉะนั้น จึงควรเห็นโดยความว่า " ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย " ดังนี้.

ในคําว่า "อันแม่ปกครอง" เป็นต้น มีอธิบายว่า เมื่อพ่อหายหรือตายไปแล้วแม่ดูแลด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น คิดว่าจะให้มีครอบครัวเมื่อเติบโตแล้ว แล้วย่อมปกครองลูกหญิงคนใดไว้คนนี้ชื่อว่าอันแม่ปกครอง. แม้ที่พ่อปกครองเป็นต้น ก็พึงทราบโดยอุบายนี้. ส่วนตระกูลที่ชอบพอกัน ทําข้อตกลงกันตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องว่า ถ้าฝ่ายฉันเป็นลูกชายฝ่ายแกเป็นลูกหญิง ไปที่อื่นไม่ได้ ต้องเป็นของลูกชายฉันเท่านั้น" หญิงที่จับจองตั้งแต่อยู่ในท้องทํานองนี้ ชื่อว่ามีผัว. ส่วนหญิงที่เขาเจาะจงหมู่บ้าน เรือน หรือ ถนนแล้ววางโทษอย่างนี้ว่า " ใครไปหาหญิงชื่อนี้ จะถูกปรับโทษเท่านี้ " ชื่อว่า มีทัณฑ์โดยรอบ. คําว่า " โดยที่สุดแม้แต่หญิงที่ซัดพวงมาลัยไป " คือ โดยกําหนดอย่างต่ําสุดกว่าเขาหมด หญิงที่ชายคนใดคนหนึ่งกําลังเหวี่ยงพวงมาลัยไปบนนางด้วยสําคัญว่า " นางนี้จะเป็นภริยาของเรา " แล้วก็ถูกเอาเพียงพวงมาลัยเท่านั้นซัดไป. คําว่า "ย่อมเป็นผู้ละเมิดจารีต ในพวกหญิงเห็นปานนั้น " ได้แก่ ย่อมเป็นผู้กระทําความก้าวล่วงในเพราะหญิงเห็นปานนั้น ด้วยอํานาจลักษณะความประพฤติผิดอันกล่าวแล้วในสัมมาทิฏฐิสูตร.

คําว่า "อยู่ในที่ประชุม" คือ ยืนอยู่ในสภา. คือ "อยู่ในบริษัท"คือยืนอยู่ในบริษัท. คําว่า "อยู่กลางญาติ" คือ อยู่ท่ามกลางพวกทายาท. คําว่า "อยู่ท่ามกลางพรรคพวก" คือ อยู่ท่ามกลางกองทหาร. คํา

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 262

ว่า "อยู่กลางราชตระกูล" คืออยู่ในท้องพระโรงใหญ่กลางราชตระกูล.คําว่า "ถูกนําพาไป" คือถูกนําไปเพื่อต้องการซัก. คําว่า "ถูกซักพยาน"คือถูกทําเป็นพยานแล้วซัก. คําว่า "มานี่แน่ะ นาย" นี้เป็นคําสําหรับร้องเรียก. คําว่า "เพราะตนเป็นเหตุหรือเพราะคนอื่นเป็นเหตุ" คือเพราะเหตุแห่งมือและเท้าเป็นต้นของตนหรือของตนอื่น หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.คําว่า "ลาภ" ท่านประสงค์ว่า อามิส ในบทว่า "หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยเป็นเหตุ" นี้เพราะฉะนั้น คําว่า "เล็กๆ น้อยๆ " จึงหมายความถึงของไม่สําคัญ คือเล็กๆ น้อยๆ อธิบายว่าโดยที่สุดเพราะเหตุแห่งสินบนซึ่งมีแค่นกกระทา นกคุ่ม ก้อนเนยใส และก้อนเนยแข็งเป็นต้น.

คําว่า "ย่อมเป็นผู้พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่" คือ ทั้งๆ ที่รู้อยู่แท้ๆ ก็ยังเป็นผู้กระทําให้เป็นคําเท็จ. คําว่า "เพื่อทําลายพวกนี้" คือได้ยินในสํานักของคนเหล่าใดที่ท่านเรียกว่า "จากนี้" เพื่อทําลายพวกนั้น. คําว่า "เพื่อทําลายพวกโน้น" คือได้ฟังคําของพวกใดที่ท่านว่า "โน้น" เพื่อทําลายพวกนั้น. คําว่า "หรือเป็นผู้ทําลายคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วอย่างนี้" ได้แก่หรือเป็นผู้ทําให้สหายสองฝ่ายที่สมัครสมานกันอย่างนี้แตกกัน. คําว่า"หรือส่งเสริมคนที่แตกกันแล้ว" คือเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อให้ผู้ที่แตกกันแล้วสมานกันอีกไม่ได้อย่างนี้ว่า คุณทําดีแล้วที่สละมันได้อีกสองสามวันเท่านั้นมันจะทําให้คุณฉิบหายใหญ่" อธิบายว่าเป็นผู้ชี้เหตุให้."พวกเป็นที่มายินดี" คือเป็นที่ตั้งแห่งความยินดียิ่งของเขา เหตุนั้นขาจึงชื่อว่ามีพวกเป็นที่มายินดี. คําว่า "ผู้ยินดีแล้วในพวก" คือยินดีแล้วในพวกทั้งหลาย. ชื่อว่าบันเทิงในพวกเพราะเห็นหรือได้ยินว่าพวกก็ย่อมบันเทิง. คําว่า "วาจาทําให้เป็นพวก" คือวาจาใดทําสัตว์ให้เป็นพวก คือทําลายสัตว์แม้ที่พร้อมเพรียงกันแล้ว เป็นผู้พูดวาจาที่ก่อการทะเลาะนั้น.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 263

คําว่า "เป็นปม" คือชื่อว่าตะปุ่มตะปํา ด้วยคําขู่และคําข่มเป็นต้น เพราะเป็นวาทที่มีโทษ เหมือนปมที่ตั้งขึ้นที่ต้นไม้มีโทษ (เสีย) ฉะนั้น. คําว่า "หยาบ " คือเสีย เป็นวาจาที่หยาบคาย เหมือนต้นไม้ที่เสีย เป็นต้นไม้ที่ขรุขระมีขุยไหลออกฉะนั้น. วาจานั้น ย่อมเหมือนกับครูดหูเข้าไปฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า หยาบคาย. คําว่า เผ็ดร้อนแก่คนอื่น" คือเป็นวาจาที่เผ็ดร้อนไม่น่าชื่นใจของคนเหล่าอื่น คือเป็นวาจาที่ก่อโทษ. คําว่า "ทิ่มแทงผู้อื่น" คือได้แก่วาจาที่แทงไปในของรักเหมือนกิ่งไม้คดมีหนามกระทบกระแทกคนเหล่าอื่น ทําให้เกิดความติดขัด เพราะไม่ให้เพื่ออันไปแม้แก่ผู้ที่อยากไป. คําว่า "ใกล้ต่อความโกรธ" คือใกล้ชิดต่อความโกรธ. คําว่า "ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ" คือเป็นวาจาที่ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิหรือ อุปจารสมาธิ.อย่างที่ว่ามาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นคําใช้แทนวาจาที่มีโทษทั้งนั้นแล.

คําว่า "มีปกติพูดไม่เป็นเวลา" คือเป็นผู้พูดโดยไม่ใช่เวลา. คําว่าว่า "มีปกติพูดไม่จริง" คือเป็นผู้พูดสิ่งที่ไม่มี. คําว่า "มีปกติพูดไม่เป็นผลประโยชน์" คือเป็นผู้พูดถ้อยคําไม่อาศัยเหตุ. คําว่า "มีปกติพูดไม่เป็นธรรม" คือเป็นผู้พูดไม่เป็นสภาวะ. (ไม่มีผล?). คําว่า "มีปกติพูดไม่เป็นวินัย" คือเป็นผู้พูดคําที่ไม่ประกอบด้วยสังวรวินัยเป็นตน. คําว่า "ไม่มีหลักฐาน" คือย่อมเป็นผู้พูดวาจาที่ไม่สมควรจะเก็บไว้ในตู้คือหัวใจ. คําว่า "โดยไม่เลือกเวลา" คือย่อมเป็นผู้พูดในเวลาที่สมควรก่อนหรือหลังเวลาที่ต้องพูด. คําว่า "ไม่มีที่อ้าง" คือเว้นจากที่อ้างอิงคือสูตร. คําว่า "ไม่มีที่จบ"คือยกเอาพระสูตรหรือขาดกที่ไม่มีขั้นตอนมาแล้วชักเอาเรื่องที่พอจะเข้ากับพระสูตรหรือชาดกนั้น ได้ข้อเปรียบหรือวัตถุมาแล้วกลับไปกล่าวถ้อยคําที่ตกเรื่องไปเสียหมด. คําที่ยกมาแล้วก็สักแต่ว่ายกขึ้นมาเท่านั้นเอง. เขาย่อมถึงความเป็นผู้อันผู้อื่นพึงต่อว่า "เขาย่อมกล่าวสูตรหรือหนอ? หรือชาดก. พวกเราไม่เห็นการจบหรือที่สุดของสูตรหรือชาดกนั้น" แม้ผู้นี้ก็ย่อม

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 264

ชื่อว่าเป็นธรรมกถึกย่านไทร ย่อมทําบทที่ยกขึ้นมาตั้งให้สักแต่ว่ายกมาตั้งไว้เท่านั้นแล้วก็ไปเรื่อยเปือยแบบข้างๆ คูๆ อย่างนั้นแหละ เหมือนอย่างรากย้อยของกิ่งต้นไทร ย้อยลงไปในที่ๆ มันไปแล้วๆ ถึงที่ซึ่งมัน หย่อนลงแล้วๆ แล้วก็ย่อมเจริญอีกนั่นเทียวมันไปได้แบบนี้นั่นแหละ ตั้งกึ่งโยชน์บ้าง หรือโยชน์บ้าง ตั้งอยู่เป็นแนวทีเดียว ฉันใดก็ฉันนั้น. ส่วนผู้ใด แม้จะพูดมากก็ยังสามารถเพื่อให้ชักเอามาๆ แล้วรู้ได้ว่า "ท่านพูดคํานี้เพื่อสิ่งนี้"ผู้นั้นจะกล่าวก็ควร. คําว่า "ไม่ประกอบด้วยประโยชน์" คือ หาประกอบด้วยประโยชน์ไม่.

คําว่า "ย่อมเป็นผู้เพ่งเล็ง" ได้แก่ย่อมเป็นผู้แลดูด้วยความเพ่งเล็ง. คําว่า "โอ้หนอ" เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปรารถนา. ก็ในข้อนี้ ด้วยอาการเพียงแต่แลดูด้วยความเพ่งเล็งเท่านั้น การแตกกรรมบถยังไม่มี ต่อเมื่อน้อมมาเป็นของตนว่า "ทําอย่างไรหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของของฉัน ฉันพึงวางอํานาจให้เป็นไปในของสิ่งนี้" ดังนี้ กรรมบถจึงแตก. ท่านหมายการเพ่งเล็งแบบนี้ในที่นี้.

คําว่า "มีจิตพยาบาท" คือมีจิตเสียได้แก่มีจิตบูดเน่า. คําว่า"มีความดําริด้วยใจร้าย" ได้แก่มีความดําริด้วยจิตที่ถูกโทสะประทุษร้าย. คําว่า "จงถูกฆ่า" คือ จงถูกทําให้ตาย. คําว่า "จงถูกทําให้ตาย" คือจงถึงการฆ่า. คําว่า "หรืออย่าได้มีแล้ว" คือแม้แต่อะไรๆ ก็อย่าได้แล้ว. แม้ในข้อนี้ ด้วยเหตุเพียงความกําเริบ (โกรธ) กรรมบถก็ไม่มีแตก. จะมีแตกก็เพราะคิดเป็นต้นว่า "จงถูกฆ่า" ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.

คําว่า "ผู้มีความเห็นผิด" คือ ผู้มีความเห็นเป็นอกุศล. คําว่า"มีความเห็นวิปริต" คือมีความเห็นในใจคลาดเคลื่อนไป. คําว่า "ทานที่ให้แล้วไม่มีผล" คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความไม่มีผลของทานที่ให้

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 265

แล้ว. การบูชาใหญ่ท่านเรียกว่า "ยิฏฐะการบูชา สักการะที่เพียงพอทรงประสงค์ว่า "หุตะ = การเซ่นสรวง" เขาหมายเอาความไม่มีผลเท่านั้นจึงห้ามสิ่งทั้งสองแม้นั้น. คําว่า "แห่งกรรมที่ทําดีและทําชั่ว" หมายความว่าแห่งกุศลและอกุศลที่ทําดีและทําไม่ดี. คําที่ว่า "ผลวิบาก" นั้น จะเรียกว่าผลหรือเรียกว่าวิบากก็ได้. เขาพูดว่า ผล (หรือวิบาก) นั้น ไม่มี. คําว่า "โลกนี้ไม่มี"คือไม่มีโลกนี้สําหรับผู้ตั้งอยู่ในโลกอื่น.คําว่า "โลกอื่นไม่มี" คือไม่มีโลกอื่นแม้สําหรับผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้. เขาชี้แจงว่า ทั้งหมดย่อมขาดสูญในที่นั้นนั่นแหละ.คําว่า "ไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ" หมายถึงว่า เขาย่อมพูดด้วยอํานาจความไม่มีผลแห่งการปฏิบัติชอบและปฏิบัติผิดในท่านเหล่านั้น. คําว่า "ไม่มีสัตว์ที่ลอยเกิด" นั้นคือเขาพูดว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ที่เคลื่อนแล้วเกิดไม่มี. คําว่า "ทําให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศ" คือเขาแสดงถึงความไม่มีแห่งหมู่พระสัพพัญูพุทธเจ้าว่า ผู้ที่ทําให้แจ่มแจ้งเองด้วยปัญญาอันอันพิเศษยิ่งแล้วประกาศโลกนี้และโลกหน้านั้นไม่มี. ดังนี้.

ด้วยคํามีประมาณพียงเท่านี้ ความเห็นผิดซึ่งมีตั้ง ๑๐ อย่าง เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว. กรรมบถ ๗ ข้อเป็นต้นว่า "ล่ะการฆ่าสัตว์" ได้ขยายให้พิสดารในจุลลหัตถิปทสูตรแล้ว. ความไม่เพ่งเล็งเป็นต้น ก็มีใจความที่ง่ายแล้วแล.

คําว่า "ขอให้เราเข้าถึงความเป็นอันเดียวกัน" คือขอให้เราเข้าถึงสหภาพ (ความเป็นพวก เป็นเพื่อน เป็นหนึ่งอันเดียวกัน) คําว่า "แห่งหมู่เทพที่เป็นพวกพรหม" ได้แก่แห่งหมู่เทพชั้นปฐมฌาน. คําว่า "แห่งหมู่เทพชั้นอาภา" คือชื่ออาภา ที่เป็นแผนกหนึ่งต่างหากไม่มี, คํานี้เป็นชื่อแห่งหมู่เทพชั้น ปริตตาภาอัปปมาณาภา และอาภัสสรา. แต่คํา "ปริตตาภา" เป็นต้น เป็นการไม่ถือเอารวมกัน แต่ถือด้วยการแยกหมู่เทพเหล่านั้นนั่นเอง. แม้ในบทเป็นต้นว่า "ชั้นสุภา ชั้นปริตตสุภา" ก็ทํานองเดียวกันนี้แหละ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 266

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความสิ้นอาสวะด้วยประการฉะนี้แล้วก็ทรงจบเทศนาลงด้วยยอดคือพระอรหัตตผล.

สําหรับในที่นี้ ควรรวมเอาเทวโลกมาตั้งไว้ด้วย คือ

ก. พรหมโลก ๑๘ ชั้น คือพรหมโลกด้วยอํานาจฌานภูมิ ๓ ชั้นแรก (ชั้นละ ๓) รวมเป็น ๙สุทธาวาส ๕ รวมกับอรูปภูมิอีก ๔ รวมเป็น ๙ (รวมทั้งหมดเป็น ๑๘)

ข. พรหมโลก ๒๐ ชั้น คือเอาพรหมโลกในข้อ ก. ๑๘พร้อมกับชั้นเวหัปผลาอีก ๑+๑๘=๑๙ใส่อสัญญีภพเข้ามาใน ๑๙ นั้นอีก ๑+๑๙=๒๐ (รวมทั้งหมดเป็น ๒๐)

ค. เทวโลก ๒๖ ชั้น คือเอาพรหมโลกในข้อก. และข. ๒๐กับกามาวจรอีก ๖ (เทวโลกทั้งหมดเป็น ๒๖ ชั้น)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการเกิดของพวกเทพแม้ทั้งหมดนั้นด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ. ใน ๒๖ ชั้น การเกิดในกามาวจร ๖ ชั้น ย่อมมีได้ ด้วยวิบากแห่งสุจริตทั้งสามอย่างนั่นเอง. ส่วนกรรมบถเหล่านี้ตรัสด้วยอํานาจเป็นอุปนิสัยแห่งเทวโลกชั้นบน. จริงอยู่ กุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ข้อก็คือศีล, การบริกรรมกสิณ ย่อมสําเร็จแก่ผู้มีศีลเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อตั้งอยู่ใน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 267

ศีลแล้วก็ทําการบริกรรมกสิณ เมื่อยังปฐมฌานให้เกิดแล้วก็ย่อมเกิดในปฐมฌานภูมิ. อบรมทุติยฌานเป็นต้นแล้วก็ย่อมเกิดในทุติยฌานภูมิเป็นต้น ครั้นทํารูปาวจรฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาดํารงอยู่ในอนาคามิ-ผลแล้วก็ย่อมเกิดในสุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้น เมื่อได้ทํารูปาวจรฌานให้เป็นบาทแล้วยังอรูปาวจรสมาบัติให้เกิดขึ้นก็ย่อมเกิดในอรูปภพ ๔ ชั้น ครั้นทํารูปฌานและอรูปฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาย่อมบรรลุอรหัตตผล.ส่วนอสัญญภพ พวกดาบสและปริพาชกภายนอกสะสมกัน ฉะนั้น จึงไม่ทรงแสดงในที่นี้. ที่เหลือในที่ทุกแห่ง ตื้นแล้วแล.

จบอรรถกถาสาเลยยกสูตร ที่ ๑