พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. จูฬสัจจกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36039
อ่าน  446

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 76

๕. จูฬสัจจกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 76

๕. จูฬสัจจกสูตร

[๓๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในพระวิหารยอดในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น บุตรแห่งนิครนถ์ผู้หนึ่ง ชื่อสัจจกะอาศัยอยู่ในเมืองเวสาลีเป็นคนพอใจพูดสังสนทนาลัทธินั้นๆ กล่าวยกตนว่าเป็นคนเจ้าปัญญา มหาชนสมมติว่าเป็นคนดีความรู้ดี. เขาได้กล่าววาจาในที่ประชุมชนในเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ครูของหมู่ แม้ปฏิญญา (ยืนยัน) ตนว่า เป็นพระอรหันต์ผู้ไกลจากกิเลสควรนับถือ ผู้รู้ชอบเอง ที่เราโต้ตอบถ้อยคําแล้ว จะไม่ประหม่าตัวสั่นหวั่นไหวไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้เลยถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคําด้วยถ้อยคํากับเสาที่ไม่มีเจตนาแม้เสานั้นก็จะสะท้านหวั่นไหวจะกล่าวอะไรถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์.

[๓๙๓] ครั้งนั้น เวลาเช้าวันหนึ่ง พระอัสสชิผู้มีอายุ ครองผ้าตามสมณวัตรแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาต ณ เมืองเวสาลี. สัจจกะเดินเที่ยวมาในเมืองเวสาลี ได้แลเห็นพระอัสสชิผู้มีอายุมาอยู่แต่ไกล จึงเข้าไปใกล้กล่าวปราศรัยกับท่านแล้วได้ยืนส่วนข้างหนึ่งแล้ว ถามท่านว่า พระอัสสชิพระโคดมแนะนําสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไรแลคําสั่งสอนของพระโคดม ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างไร. พระอัสสชิผู้มีอายุตอบว่าอัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนําสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้แลคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 77

อย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงวิญญาณไม่เที่ยงรูปไม่ใช่ตัว เวทนาไม่ใช่ตัว สัญญาไม่ใช่ตัว สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตัววิญญาณไม่ใช่ตัว สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนําสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ แลคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างนี้แล. สัจจกะตอบว่าข้าพเจ้าได้ฟังว่า พระโคดมมีถ้อยคําอย่างนี้ ข้าพเจ้าได้ฟังไม่ดีแล้ว ถ้าอย่างไรบางคราว ข้าพเจ้าจะได้พบกับพระโคดม จะได้เจรจากันสักหน่อย ถ้าอย่างไร จะเปลื้องจากความเห็นที่เลวทรามนั้นเสียได้.

[๓๙๔] สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีประมาณห้าร้อยองค์ ประชุมกันอยู่ในศาลาที่ว่าราชการ ด้วยกิจอันหนึ่ง สัจจกะเข้าไปหาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นแล้วพูดว่า ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน วันนี้ข้าพเจ้าจักเจรจา กับพระสมณโคดม. ถ้าพระสมณโคดมจักตั้งอยู่ตามคําที่ภิกษุชื่ออัสสชิผู้เป็นสาวกมีชื่อผู้หนึ่ง ได้พูดแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักชักลากถ้อยคําพระสมณโคดมมาตามถ้อยคําของข้าพเจ้าเหมือนบุรุษมีกําลังจับแกะอันมีขนยาวที่ขน ฉุดลากมาฉะนั้นหรือมิฉะนั้น เหมือนคนทําการในโรงสุรา ผู้มีกําลัง วางลําแพนสําหรับรองแป้งสุราอันใหญ่ในห้วงน้ำอันลึกแล้ว จับที่มุมชักลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะสลัดถ้อยคําของพระสมณโคดมเสียเหมือนบุรุษมีกําลังที่เป็นนักเลงสุราจับภาชนะสําหรับตวงสุราที่มุมตวงสุราอยู่ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักฟาดพระสมณโคดมเล่น เหมือนช้างที่มีวัยล่วงหกสิบปี หยั่งลงสู่สระโบกขรณีอันลึกแล้ว พ่นน้ำเล่นฉะนั้น. ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน วันนี้ข้าพเจ้าจักเจรจากับพระสมณโคดม ดังนี้. ในเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า เหตุอะไร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 78

พระสมณโคดมจักยกถ้อยคําของสัจจกะได้ ที่แท้สัจจกะกลับจะยกถ้อยคําของพระสมณโคดมเสียอีก. บางพวกกล่าวว่า สัจจกะเป็นอะไรมา จึงจะยกถ้อยคําของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ที่แท้พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับจะยกถ้อยคําของสัจจกะได้อีก ลําดับนั้น สัจจกะ. อันเจ้าลิจฉวีประมาณห้าร้อยห้อมล้อมไปสู่พระวิหารยอดในป่ามหาวัน.

[๓๙๕] สมัยนั้น ภิกษุมากหลายรูป จงกรมอยู่ในที่แจ้ง. เขาเข้าไปถามเธอว่า เดี๋ยวนี้พระโคดมอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะเข้าไปเฝ้าพระโคดม ภิกษุทั้งหลายนั้นตอบว่า นั่นแน่ะอัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลงสู่ป่ามหาวัน ประทับนั่งพักร้อนอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง สัจจกะพร้อมด้วยเจ้าลิจฉวีหมู่ใหญ่ เข้าไปสู่ป่ามหาวัน ถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แม้เจ้าลิจฉวีทั้งหลายนั้น บางพวกถวายอภิวาทตามอาการของผู้เลื่อมใส บางพวกก็เป็นแต่กล่าววาจาปราศรัยแสดงความยินดี บางพวกเป็นแต่ประคองอัญชลีประณมมือ บางพวกก็ร้องประกาศชื่อแลโคตรของตนๆ บางพวกเป็นคนนิ่งเฉยอยู่ ต่างคนก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งๆ แล้ว.

[๓๙๖] สัจจกะทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าพเจ้าขอถามปัญหากะพระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทําโอกาสเพื่อการกล่าวแก้ปัญหาแก่ข้าพเจ้า.

พ. ท่านประสงค์จะถามข้อใด ก็ถามเถิด อัคคิเวสสนะ.

ส. พระโคดมแนะนําสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไรแลคําสั่งสอนของพระโคดมเป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย มีส่วนอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 79

พ. อัคคิเวสสนะเราแนะนําสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคําสั่งสอนของเรา เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย มีส่วนอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยงเวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงวิญญาณไม่ใช่ตัว สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวดังนี้ เราแนะนําสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคําสั่งสอนของเราเป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างนี้แล.

ส. อุปมาแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า พระโคดม.

พ. อุปมานั้น แจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด อัคคิเวสสนะ

ส. พระโคดม เหมือนหนึ่งพืชพรรณไม้ทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์พืชพรรณไม้ทั้งหลายนั้นทั้งหมดต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ หรือมิฉะนั้น เหมือนหนึ่งการงานเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ต้องทําด้วยกําลังแขน ที่บุคคลทําอยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงทําได้ฉันใด บุรุษ บุคคลมีรูปเป็นตัว มีเวทนาเป็นตัว มีสัญญาเป็นตัว มีสังขารเป็นตัว มีวิญญาณเป็นตัว ต้องตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญาสังขารวิญญาณ จึงเสวยผลแห่งบุญ หรือไม่ใช่บุญได้ฉันนั้น.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านว่าอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตัวของเรา เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารเป็นตัวของเราวิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้ไม่ใช่หรือ.

ส. พระโคดม ข้าพเจ้าก็กล่าวอย่างนั้น ประชุมชนหมู่ใหญ่นี้ก็กล่าวอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 80

พ. อัคคิเวสสนะ ประชุมชนหมู่ใหญ่ จักทําอะไรแก่ท่าน เอาเถิดท่านแก้แต่ถ้อยคําของตัวเถิด.

ส. พระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตัวของเรา เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตัวของเรา วิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้.

[๓๙๗] พ. อัคคิเวสสนะถ้าอย่างนั้น เราจักถามท่านเฉพาะในข้อนี้ท่านเห็นอย่างไรจึงกล่าวแก้อย่างนั้น. ท่านจะสําคัญความข้อนี้เป็นไฉนอํานาจของพระราชามหากษัตริย์ (พระเจ้าแผ่นดินใหญ่) ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว (สรงน้ำทั่วพระองค์ตลอดถึงพระเศียรในเวลาจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน) เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศลแลพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู อาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ต้องเป็นไปได้ในพระราชอาณาเขตของพระองค์หรือมิใช่.

ส. พระโคดม อํานาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรูอาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ต้องเป็นไปได้ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ เพราะว่าแต่อํานาจของหมู่คณะเหล่านี้ คือวัชชี มัลละ ที่อาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบราชบาทว์คนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ยังเป็นไปได้ในแคว้นของตนๆ เหตุไฉนอํานาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิกเษกแล้วเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรูจักไม่เป็นไปได้เช่นนั้น อํานาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วนั้น ต้องเป็นไปได้ด้วยควรจะเป็นไปได้ด้วย.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 81

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสําคัญความนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า รูปเป็นตัวของเราดังนี้ อํานาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลยดังนี้หรือ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้สัจจกะได้นิ่งอยู่พระองค์ตรัสถามอย่างนี้ถึงครั้งที่สาม จึงได้ทูลตอบว่า ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้นได้พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงทําในใจเสียก่อนแล้วจึงค่อยกล่าวแก้คําหลังของท่านไม่ต่อกันกับคําก่อน คําก่อนไม่ต่อกันกับคําหลัง.

[๓๙๘] อัคคิเวสสนะ ท่านจะสําคัญความนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตัวของเรา วิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้อํานาจของท่านเป็นไปในเวทนา ในสัญญาในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณว่า เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลายสละวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิดอย่าเป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.

ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงทําในใจเสียก่อนแล้วจึงค่อยกล่าวแก้คําหลังของท่านไม่ต่อกันกับคําก่อน คําก่อนไม่ต่อกันกับคําหลัง. อัคคิเวสสนะท่านจะสําคัญความนั้นเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลายและวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ส. มันไม่เที่ยง พระโคดม.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทุกข์หรือสุข.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 82

ส. สิ่งนั้นทุกข์พระโคดม.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า สิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วนนั้น ส่วนนั้นตัวของเรา ดังนี้.

ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสําคัญความนั้นเป็นไฉน ผู้ใดติดทุกข์อยู่เข้าไปถึงทุกข์แล้วยินดีทุกข์แล้ว ตามเห็นทุกข์ว่า สิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วนนั้น ส่วนนั้นตัวของเราดังนี้ ผู้นั้นจะกําหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทําทุกข์ให้สิ้นได้ มีบ้างหรือ.

ส. จะมีได้เพราะอะไร ข้อนี้ไม่มีได้เลย พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสําคัญความนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านก็ติดทุกข์อยู่ เข้าไปถึงทุกข์แล้วยินดีทุกข์แล้ว ตามเห็นทุกข์ว่า สิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วนนั้น ส่วนนั้นตัวของเรา ดังนี้ ไม่ใช่หรือ.

ส. จะไม่มีเพราะอะไรข้อนั้นต้องเป็นอย่างนั้น พระโคดม.

[๓๙๙] พ. อัคคิเวสสนะเหมือนหนึ่งบุรุษ มีความต้องการแก่นไม้เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ ถือเอาผึ่งสําหรับถากไม้ที่คมเข้าไปป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ในป่านั้นต้นหนึ่ง ซึ่งมีลําต้นตรง กําลังรุ่นยังไม่ทันตกเครือไม่เหลือวิสัยที่จะตัดเขาก็ตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้นแล้ว ตัดยอดลิดใบออกเขาจะไม่ได้พบแม้แต่เพียงกระพี้จะได้พบแก่นมาแต่ข้างไหน ข้อนี้ฉันใดเราซักถามท่านให้กล่าวแก้ในถ้อยคําของตัวเอง ท่านก็เปล่าว่างแพ้ไปเอง ฉันนั้น. อัคคิเวสสนะท่านได้กล่าววาจานี้ในที่ประชุมชน ในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ แม้ปฏิญญาตนว่า เป็นพระ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 83

อรหันต์ผู้รู้ชอบเอง ที่เราโต้ตอบถ้อยคําด้วยถ้อยคําแล้วจะไม่ประหม่าตัวสั่น หวั่นไหวไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้เลย ถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคําด้วยถ้อยคํากับเสา ที่ไม่มีเจตนาแม้เสานั้นก็จะสะท้านสั่นหวั่นไหวจะกล่าวอะไรถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์ดังนี้หยาดเหงื่อของท่านบางหยาด หยดจากหน้าผากลงผ้าห่มแล้วตกที่พื้น ส่วนเหงื่อในกายของเราเดี๋ยวนี้ไม่มีเลย. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะได้นั่งนิ่งอั้นเก้อเขินคอตก ก้มหน้าหงอยเหงาไม่มีปฏิภาณ (ปัญญาอันแจ่มแจ้ง) ที่จะคิดโต้เถียงอีก.

[๔๐๐] เจ้าทุมมุขลิจฉวีรู้ดังนั้นแล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อุปมานั้นแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด ทุมมุข ดังนี้แล้วเธอทูลว่าเปรียบเหมือนในที่ใกล้แห่งบ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่ง ในสระนั้นมีปูตัวหนึ่ง มีเด็กชายหญิงเป็นอันมากออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปถึงสระโบกขรณีนั้นแล้วก็ลงจับปูนั้นขึ้นมาจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นน้อมก้ามไปข้างไหน เด็กเหล่านั้นก็จะคอยต่อยก้ามปูนั้น ด้วยท่อนไม้หรือท่อนกระเบื้องครั้นปูนั้นมีก้ามหักหมดอย่างนี้แล้ว ก็ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้อีกเหมือนอย่างก่อน ข้อนี้ฉันใด ทิฏฐิที่เป็นเสี้ยนหนามปกคลุมอยู่ยักไปยักมาไม่อยู่ในร่องรอย บางอย่างๆ ของสัจจกะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหักเสียแล้ว ต่อนี้ไปสัจจกะไม่อาจจะเข้ามาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประสงค์จะโต้ตอบได้อีก ฉันนั้น เมื่อเจ้าทุมมุขลิจฉวีกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกะพูดกะเธอว่า เจ้าทุมมุขท่านหยุดเถิด ท่านหยุดเถิด ท่านเป็นคนปากมากนักข้าพเจ้าไม่ได้พูดหารือกับท่าน ข้าพเจ้าพูดหารือกับพระโคดมต่างหาก. ครั้นพูดอย่างนี้แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดมวาจาของข้าพเจ้าและของพราหมณ์ เป็นอันมากเหล่าอื่น ยกเสียเถิด เพราะเป็นแต่เครื่องพูดเพ้อก็พูดเพ้อไปแล้วเท่านั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 84

[๔๐๑] ส่วนสาวกของพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรจึงชื่อว่าเป็นผู้ได้ทําตามคําสั่งสอน ได้ทําตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ได้ปราศจากความแคลงใจที่เป็นเหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงความแกล้วกล้าปราศจากครั่นคร้าม ไม่ต้องเชื่อแต่ผู้อื่น ในคําสอนของศาสนาของตนอยู่ได้.

พ. อัคคิเวสสนะ สาวกของเราในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นแล้วอย่างไร อย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดีดีก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นเรา ส่วนนั้นไม่ใช่ตัวของเราดังนี้ ด้วยเหตุเท่านี้แล อัคคิเวสสนะ สาวกของเรา ชื่อว่าเป็นผู้ได้ทําตามคําสั่งสอน ได้ทําตามโอวาท ข้ามความสงสัยได้ ไปปราศจากความแคลงใจที่เป็นเหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงความแกล้วกล้าปราศจากครั่นคร้ามไม่ต้องเชื่อแต่ผู้อื่น ในคําสอนของศาสดาของตนอยู่ได้.

[๔๐๒] ส. ด้วยเหตุเพียงไร พระโคดม ภิกษุ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส และควรนับถือ) สิ้นอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน) อยู่จบพรหมจรรย์ (ศาสนา) มีกิจที่จําจะต้องทําได้ทําเสร็จแล้ว ปลงภาระ (ของหนัก) ลงได้แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชนธรรม (ธรรมอันประกอบสัตว์ไว้กับทุกข์) อันจะนําไปเกิดในภพสิ้นแล้วรู้ชอบจึงพ้นไปได้แล้ว.

พ. อัคคิเวสสนะ ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ดังนั้นแล้ว พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน (ความถือมั่น ความยึดมั่น กิเลสที่เป็นเครื่องถือมั่น เป็นเครื่องยึดมั่น) ด้วยเหตุเท่านี้แล อัคคิเวสสนะ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะอยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 85

จะต้องทําได้ทําเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้วมีสังโยชนธรรมอันจะนําไปเกิดในภพสิ้นแล้ว รู้ชอบจึงพ้นไปได้แล้ว. ภิกษุที่พ้นจากอาสวะอย่างนี้แล้วแลอัคคิเวสสนะ ประกอบด้วยคุณที่เลิศไม่มีคุณอื่นจะยิ่งกว่า ๓ ประการคือ ญาณ เครื่องเห็นอันเลิศไม่มีญาณอื่นจะยิ่งกว่าอย่าง ๑ ความปฏิบัติอันเลิศไม่มีความปฏิบัติอื่นจะยิ่งกว่าอย่าง ๑ ความพ้นอันเลิศไม่มีความพ้นอื่นจะยิ่งกว่าอย่าง ๑ และเธอสักการะเคารพนับถือบูชาพระตถาคตด้วยศรัทธาเลื่อมใสว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้เองแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ทรงทรมาน ฝึกพระองค์ก่อนแล้วทรงแสดงธรรมเพื่อทรมานฝึกสอนผู้อื่น ทรงสงบระงับกองกิเลส (สภาพที่เกิดในใจแล้วทําใจให้เศร้าหมอง) ได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้สงบระงับกองกิเลส ทรงข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ข้ามห้วงกิเลส ทรงดับเพลิงกิเลสได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ดับเพลิงกิเลส ดังนี้.

[๔๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะทูลว่าข้าพเจ้านั่นเทียว พระโคดม เป็นคนคอยกําจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา เพราะได้สําคัญถ้อยคําของพระโคดมว่า ตัวอาจจะโต้เถียงได้ด้วยถ้อยคําของตัว บุรุษมาปะทะช้างอันซับมันเข้าก็ดี เจอะกองไฟอันกําลังลุกโชนก็ดี กระทบงูที่มีพิษร้ายก็ดี ยังมีเอาตัวรอดได้บ้าง ก็แต่มาจดพระโคดมเข้าแล้ว ไม่มีเอาตัวรอดได้เลย ข้าพเจ้านั่นเทียว เป็นคนคอยกําจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา เพราะได้สําคัญถ้อยคําของพระโคดมว่า ตัวอาจจะโต้เถียงได้ด้วยถ้อยคําของตัว. ขอพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้. สัจจกะทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงสั่งเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระสมณโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้ท่านจะนําอาหารใดมาเพื่อข้าพเจ้า จงเลือกหาแต่ของที่ควรแก่พระสมณโคดม. ล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีเหล่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 86

นั้นได้นําภัตตาหารไปให้แก่สัจจกะประมาณห้าร้อยหม้อ. สัจจกะให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตในอารามของตนเสร็จแล้ว ให้กราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นกาลที่สมควรจะเสด็จพระพุทธดําเนิน ภัตตาหารพร้อมเสร็จแล้ว.

[๔๐๔] เวลาเช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงผ้าตามสมณวัตรแล้วทรงบาตร จีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดําเนินไป ถึงอารามแห่งสัจจกะแล้วประทับ ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ถวาย. สัจจกะอังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตนให้อิ่มด้วยดีให้ห้ามเสียแล้ว ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ทรงนําพระหัตถ์จากบาตรแล้ว นั่ง ณ อาสนะต่ําแห่งหนึ่งแล้ว ทูลว่า พระโคดม ขอบุญและผลบุญในทานนี้จงมีเพื่อความสุขแก่ทายกทั้งหลายเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อัคคิเวสสนะ บุญและผลบุญในทานนี้ คืออาศัยทักขิเณยยบุคคล (คนควรรับทานที่ทายกให้ด้วยความนับถือ) ซึ่งยังไม่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เหมือนกับท่าน จักเป็นของทายกทั้งหลาย ส่วนบุญและผลบุญที่อาศัยทักขิเณยยบุคคลซึ่งสิ้นราคะ โทสะโมหะแล้ว เหมือนกับเราจักเป็นของท่าน ดังนี้แล.

จบ จูฬสัจจกสูตร ที่ ๕

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 87

อรรถกถาจูฬสัจจกสูตร

จูฬสัจจกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวเน กูฏาคารสาลายํ ความว่า ป่าใหญ่มีกําหนดเกิดเอง มิได้ปลูก ชื่อว่า มหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกสักรุงกบิลพัสดุ์ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ แต่ไม่มีกําหนด ตั้งจดมหาสมุทร.ป่านี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ชื่อว่า ป่ามหาวัน เพราะอรรถว่า เป็นป่าใหญ่มีกําหนด. ส่วนกูฏาคารศาลา เมื่อสร้างอารามเสร็จแล้ว จึงทํากูฏาคารไว้ภายใน มุงหลังคาด้วยเครื่องมุงอย่างหงส์และนกกระจาบมุงแล้ว พึงทราบว่า เป็นพระคันธกุฏีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง.

บทว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อน ชายนิครนถ์คนหนึ่ง หญิงคนหนึ่ง เรียนได้วาทะคนละ ๕๐๐ แล้วคิดว่า เราจักยกวาทะ ดังนี้ เมื่อเที่ยวไปในชมพูทวีปมาอยู่ร่วมกันในกรุงเวสาลี.พวกเจ้าลิจฉวีเห็นแล้วจึงถามว่า ท่านเป็นใคร ท่านเป็นใครดังนี้. ชายนิครนถ์กราบทูลว่าข้าพระองค์เที่ยวไปในชมพูทวีปด้วยคิดว่าข้าพระองค์จักยกวาทะดังนี้.หญิงนิครนถ์ก็ได้กราบทูลอย่างนั้น. เจ้าลิจฉวีตรัสว่าขอท่านจงยกวาทะ กันและกันในที่นี้เถิด. หญิงนิครนถ์ จึงได้ถามวาทะ๕๐๐ ที่ตนเรียนแล้ว. ชายนิครนถ์ได้ตอบแล้วเมื่อชายนิครนถ์ถาม หญิงนิครนถ์ก็ตอบได้หมด. แม้คนหนึ่งไม่มีชนะไม่มีแพ้กัน ทั้ง ๒ คน ได้เป็นผู้เสมอๆ กัน.เจ้าลิจฉวีตรัสว่า ท่านแม้ทั้ง ๒ คนเสมอๆ กัน จักเที่ยวไปทําอะไรจงอยู่ในที่นี้เถิด พระราชทานเรือน ทรงตั้งส่วยให้. เพราะการอยู่ร่วมกัน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 88

ของคนทั้ง ๒ เหล่านั้น เกิดธิดา ๔ คน คือ ชื่อสัจจาคนหนึ่ง ชื่อโลลาคนหนึ่ง ชื่อปฏาจาราคนหนึ่ง ชื่อสิลาวตกาคนหนึ่ง ธิดาเหล่านั้นก็ได้เป็นบัณฑิตด้วยกัน ได้เรียนวาทะคนละ ๕๐๐ อันมารดาบิดาเรียนมาแล้ว. หญิงเหล่านั้นเจริญวัยได้กล่าวกะมารดาบิดาว่าแม่ชื่อว่ากุลทาริกาของเราไม่ต้องให้เงินและทองเป็นต้นแล้ว ส่งไปยังเรือนแห่งตระกูล ส่วนผู้ใดอยู่ครองเรือน ย่อมสามารถเพื่อจะย่ํายีวาทะของหญิงเหล่านั้นได้หญิงเหล่านั้นจะเป็นบาทบริจาริกาของผู้นั้น ผู้ใดเป็นนักบวช ย่อมสามารถเพื่อจะย่ํายีวาทะของหญิงเหล่านั้นได้ หญิงเหล่านั้น ก็จะได้บวชในสํานักของผู้นั้น พ่อแม่จักทําอย่างไรดังนี้หญิง ๔ คน ถือเพศเป็นนักบวชด้วยคิดว่า แม้พวกพวกเราจักกระทําอย่างนี้แหละ คิดว่า ชื่อว่า ชมพูทวีปนี้ ย่อมปรากฏด้วยไม้หว้าดังนี้ ถือกิ่งไม้หว้าท่องเที่ยวไป ถึงหมู่บ้านใด ก็ปักธงไม้หว้า บนกองฝุ่นหรือกองทรายแล้วจึงกล่าวว่า ผู้ใดสามารถยกวาทะ เชิญผู้นั้น เหยียบธงนี้เถิด เข้าไปหมู่บ้าน พวกเขาเที่ยวไปทุกๆ หมู่บ้านอย่างนี้ - ถึงกรุงสาวัตถี ปักธงไม้หว้าไว้ที่ประตูหมู่บ้าน เหมืออย่างนั้น บอกแก่พวกมนุษย์ที่มาถึงแล้ว เข้าไปภายในพระนคร.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยกรุงสาวัตถีประทับอยู่ในพระเชตวัน ครั้งนั้นท่านสารีบุตร ถามอาการที่ป่วย มัวจัดสถานที่ที่ เขายังไม่ได้จัด เมื่อเข้าไปที่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต จึงสายกว่าภิกษุเหล่าอื่น เพราะมีกิจมาก ได้เห็นธงไม้หว้าที่ประตูหมู่บ้าน จึงถามพวกเด็กว่า นี้อะไรกันพวกเขาได้บอกความนั้น. พระเถระกล่าวว่าถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเหยียบเถิด.พวกเด็กกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าไม่สามารถ กลัวอยู่. พระเถระกล่าวว่า พวกเจ้าไม่ต้องกลัว. พระเถระกล่าวว่า เมื่อนางปริพาชิกาถามว่า ใครให้เหยียบธงไม้หว้าของเรา พวกเธอพึงบอกว่า พระสารี-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 89

บุตรผู้เป็นพุทธสาวกให้เหยียบ ท่านอยากจะยกวาทะ จงไปยังสํานักของพระเถระที่พระเชตวัน.

พวกเด็กฟังคําของพระเถระจึงพากันเหยียบธงไม้หว้าทิ้งไป. พระเถระเที่ยวบิณฑบาตแล้วกลับไปยังวิหาร. พวกปริพาชิกาออกจากหมู่บ้านแล้วจึงถามว่า ใครให้เหยียบธงของเรา. พวกเด็กบอกความนั้น.พวกปริพาชิกาเข้าไปหมู่บ้านอีก ไปคนละทางบอกแล้วว่า ได้ยินว่า สารีบุตรเป็นพุทธสาวกจักโต้วาทะ กับพวกเรา ท่านประสงค์จะฟังจงออกไปเถิด.มหาชนออกไปแล้ว. ปริพาชิกามาแล้ว สู่พระเชตวันกับมหาชนนั้น. พระเถระคิดว่า มาตุคามจะมาในที่พักของเราไม่เป็นความผาสุกดังนี้ จึงนั่งในท่ามกลางวิหาร. นางปริพาชิกาไปถามพระเถระว่า ท่านให้เหยียบธงของเราหรือ? พระเถระกล่าวว่าถูกแล้วเราให้เหยียบเองดังนี้. นางปริพาชิกากล่าวว่า เราจักโต้วาทะกับท่าน. พระเถระกล่าวว่าดีละเชิญโต้เถิดใครถามใครตอบ. นางปริพาชิกากล่าวว่า เราถาม. พระเถระกล่าวว่า ก็ท่านเป็นมาตุคามเชิญถามก่อนเถิด. พวกนางปริพาชิกา ๔ คน เหล่านั้น ยืนอยู่ใน ๔ ทิศได้ถามพันวาทะที่ได้เรียนในสํานักของมารดาบิดา. พระเถระกล่าวทําคําถามไม่ให้ยุ่งยากไม่ให้มีปม เหมือนตัดก้านบัวด้วยมีดฉะนั้น.ครั้นกล่าวแล้ว จึงกล่าวเชิญถามอีก. นางปริพาชิกากล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันรู้เท่านี้แหละ. พระเถระกล่าวว่า ท่านถามพันวาทะแล้ว เราก็ได้ตอบแล้ว แต่เราจักขอถามปัญหาสักข้อหนึ่ง ท่านจงต้องตอบปัญหานั้น. นางปริพาชิกาเหล่านั้น เห็นวิสัยของพระเถระไม่อาจที่จะพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถามเถิด พวกดิฉันจักตอบชี้แจง ดังนี้จึงกล่าวอีกว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงถามเถิด เมื่อพวกดิฉันรู้จักตอบชี้แจง. พระเถระกล่าวว่า ปัญหานี้ต้องให้กุลบุตรบรรพชาให้ศึกษาเป็นครั้งแรกแล้ว จึงถามว่าอะไรชื่อว่าหนึ่ง นางปริพาชิกาเหล่านั้น ไม่เห็นต้น ไม่เห็นปลาย. พระ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 90

เถระกล่าวว่า ตอบซิ.นางปริพาชิกากล่าวว่า พวกดิฉัน ไม่เห็นเจ้าค่ะ พระเถระกล่าวว่า ท่านถามตั้งพันวาทะเราก็ตอบแล้ว ท่านไม่สามารถจะตอบปัญหาข้อเดียวของเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ใครเล่าเป็นฝ่ายชนะใครเล่าเป็นฝ่ายแพ้. นางปริพาชิกากล่าวว่า ท่านเป็นฝ่ายชนะ พวกดิฉันเป็นฝ่ายแพ้เจ้าค่ะพระเถระกล่าวว่า คราวนี้ ท่านจักทําอย่างไร. นางปริพาชิกาบอกคําที่มารดาบิดากล่าวแล้วจึงกล่าวว่า พวกดิฉันจักบวชในสํานักของท่าน. พระเถระกล่าวว่า ท่านเป็นมาตุคาม ไม่ควรจะบวชในสํานักของเรา แต่ท่านถือสาส์นของเราไปยังสํานักภิกษุณีบวชเถิด. นางปริพาชิการับว่า สาธุ ถือสาส์นของพระเถระไปสํานักภิกษุณีสงฆ์บวชแล้ว ก็แลครั้นบวชแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต.

สัจจกนิครนถ์นี้เป็นน้องชายของนางปริพาชิกา ๔ คนนั้น เป็นผู้มีปัญญายิ่งกว่านาง ๔ คนเหล่านั้น ได้เรียนพันวาทะแต่สํานักของมารดาบิดาและต่อจากนั้นได้เรียนลัทธิภายนอกมากกว่า ไม่ไปไหน สอนราชกุมารให้ศึกษาศิลปะอยู่ในกรุงเวสาลีนั้น เขากลัวว่า ท้องของเราน่าจะแตก เพราะเต็มด้วยปัญญาเกินไป เอาแผ่นเหล็กคาดท้องเที่ยวไป. ท่านหมายเอาผู้นี้ จึงกล่าวว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ดังนี้.

บทว่า ภสฺสปฺปวาทิโก ได้แก่ กถามรรคท่านกล่าว ภัสสะ ชื่อว่าเป็นนักโต้ตอบเพราะอรรถว่า พูดคือกล่าวตอบภัสสะนั้น. บทว่า ปณฺฑิตวาโทได้แก่ พูดยกตนว่าเป็นบัณฑิต. บทว่า สาธุ สมฺมโต พหุชนสฺส ความว่าย่อมอ้างสิ่งใดๆ มาด้วยนักขัตตวาร. โดยมากสิ่งนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ชนเป็นอันมากย่อมยกว่า เป็นเจ้าลัทธิดีเจริญ. บทว่าวาเทน วาทํ สมารทฺโธ ได้แก่ ยกความผิดขึ้นด้วยกถามรรค. บทว่าอายสฺมาอสฺสชิ ได้แก่ พระอัสสชิเถระเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตรเถระ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 91

บทว่า ชงฺฆาวิหารํ อนุจงฺกมมาโน ความว่าจงกรมอยู่จากพระตําหนักของเจ้าลิจฉวีนั้นๆ เพื่อไปยังพระตําหนักนั้นๆ. บทว่า เยนายสฺมา อสฺสชิเต ปสงฺกมิ ความว่าถามว่า เข้าไปหาเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพื่อรู้ลัทธิ.ได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวเดินด้วยคิดว่า เราจักยกวาทะของพระสมณโคดม ไม่ยกขึ้นว่า เราไม่รู้ลัทธิของพระสมณโคดม ก็ผู้ที่รู้ลัทธิของผู้อื่น ยกวาทะขึ้น เป็นอันถือว่ายกขึ้นดีแล้ว ส่วนพระอัสสชิเถระนี้ปรากฏเป็นสาวกของพระสมณโคดม ท่านเป็นผู้ฉลาดในลัทธิของศาสดาของตน เราถามลัทธินั้นแล้วยังถ้อยคําให้ตั้งอยู่แล้วจักยกวาทะต่อพระสมณโคดมดังนี้เพราะฉะนั้น จึงเข้าไปหา. บทว่า วิเนติ ความว่า สัจจกนิครนถ์ ถามว่า สมณโคดม แนะนําอย่างไรให้ศึกษาอย่างไรดังนี้.

ก็เพราะเมื่อพระเถระกล่าวว่า เป็นทุกข์ย่อมเป็นโอกาสแห่งการโต้แย้ง ก็มรรคผลมาแล้วโดยปริยายว่า เป็นทุกข์เมื่อพระเถระกล่าวว่า ทุกข์ดังนี้สัจจกนิครนถ์นี้พึงถามพระเถระว่าอัสสชิผู้เจริญ ท่านบวชเพื่ออะไรจากนั้น พระเถระตอบว่า เพื่อมรรคผล พึงยกความผิดขึ้นว่าอัสสชิ นี้ไม่ใช่คําสอนของท่านนั้น ความอาฆาตอย่างแรง ความแออัดในนรกนั้น ไม่มีเพื่อความสุขของท่าน ท่านจะมาลุกลี้ลุกลนเที่ยวทําทุกข์ให้เสื่อมโทรม ฉะนั้น ไม่ควรทําปริยายกถาแก่ผู้เป็นนักโต้ตอบ คิดว่า เขาจะตั้งอยู่ไม่ได้ฉันใดเราจักกล่าวกถาโดยตรงแก่เขาฉันนั้น จึงยกพระดํารัสนี้ว่า รูปํ ภิกฺขเวอนิจฺจํ เป็นต้น ด้วยอํานาจอนิจจังอัน อนัตตา. บทว่า ทุสฺสุตํ คือไม่ควรฟัง. บทว่า สณฺาคาเรได้แก่ศาลาคืออาคารที่ประชุมสอนอรรถแก่ราชตระกูล. บทว่า เยน เต ลิจฺฉวีเตนุปสงฺกมิ ความว่าได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์นั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่ยกวาทะต่อพระสมณโคดม เพราะไม่รู้ลัทธิในกาลก่อน แต่เดี๋ยวนี้เรารู้ลัทธิอันพระมหาสาวกของสมณโคดมนั้นกล่าวแล้วก็แหละลิจฉวี ๕๐๐ เหล่านี้เป็นศิษย์เรา มาประชุมกันแล้ว

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 92

เราจักไปพร้อมกับลิจฉวีเหล่านั้น แล้วจึงยกวาทะขึ้นต่อพระสมณโคดม ดังนี้เพราะฉะนั้น จึงเข้าไปหา. บทว่า าตตเรน ความว่า บรรดาพระปัญจวัคคีย์เถระผู้มีชื่อเสียงเหล่านั้น รูปใดรูปหนึ่ง. บทว่า ปติฏิตํ ความว่าพระอัสสชิเถระนั้นยังดํารงอยู่ฉันใด สมณโคดมจักดํารงอยู่ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจักกล่าวข้ออื่นอีก. บัดนี้ เมื่อจะหันหลังกลับ จึงทูลว่า เราจะทําอะไรก็ได้ในที่นั้น. บทว่าอากฑฺเฒยฺยได้แก่พึงกระชากให้หันหน้ามาหาตน. บทว่า ปริกฑฺเฒยฺยความว่า พึงดึงมาให้หมอบอยู่ข้างหน้า. บทว่า สมฺปริกฑฺเยฺยความว่าฉุดกระชากอยู่ไปมา. บทว่า โสณฺฑิธุตฺโตแปลว่า นักเลงสุรา. บทว่าถาลํ กณฺเณ คเหตฺวาความว่าผู้ใคร่จะล้างกะทะสําหรับกลั่นสุราจับที่หูทั้ง ๒ แล้วสลัดกากทิ้ง. บทว่า โอธุเนยฺยได้แก่เทคว่ําหน้า. บทว่า นิทฺธเมยฺยได้แก่หงายหน้าขึ้น. บทว่า นิปโปเยฺยได้แก่พึงกระแทกบ่อยๆ มนุษย์นําเอาเปลือกป่านมัดเป็นกําๆ แช่น้ำเพื่อทําผ้าป่าน.ในบทว่า สาณโธวิกํ นาม นี้ในวันที่ ๓ เปลือกป่านเหล่านั้น เป็นของเปียกชุ่มดี. ต่อมาพวกมนุษย์นําเอาน้ำส้มข้าวต้มและสุราเป็นต้นไปที่นั้น ถือเอากําป่านไปทุบบนแผ่นกระดาน ๓ หน ข้างขวาข้างซ้ายหรือข้างหน้าคือบนแผ่นกระดานข้างขวาหนหนึ่ง ข้างซ้ายหนหนึ่ง ข้างหน้าหนหนึ่งกินพลางดื่มพลางเคี้ยวกินพลาง น้ำส้มข้าวต้มและสุราเป็นต้น ช่วยกันล้างสุราเป็นต้น เป็นกีฬาใหญ่ช้างของพระราชาเห็นกีฬานั้นแล้วลงน้ำลึกเอางวงดูดน้ำแล้วเล่นพ่นบนกระพองหนหนึ่ง บนหลังหนหนึ่ง ที่สีข้างทั้งสองหนหนึ่ง บนระหว่างหลังหนหนึ่ง เพราะอาศัยเหตุนั้น การเล่นกีฬานั้น เรียกชื่อว่า เล่นซักป่าน สัจจกนิครนถ์หมายเอาการเล่นนั้น จึงกล่าวว่า เล่นกีฬาซักป่าน.

ในบทว่ากึ โส ภวมาโน สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต โย ภควโต วาทํอาโรเปสฺสตินี้มีอธิบายว่า สัจจกนิคันถบุตรจักโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาค

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 93

เจ้า สัจจกนิครนถ์นั้นเป็นอะไรเป็นยักษ์หรือเป็นพระอินทร์หรือเป็นพระพรหมที่จักโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนมนุษย์ตามปกติไม่อาจเพื่อจะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดังนี้. บทว่า เตน โข ปน สนเยน ความว่า ในสมัยที่สัจจกะเข้าไปสู่อาราม. ถามว่า เข้าไปในสมัยไหน? ตอบว่า ในสมัยเที่ยงตรง. ถามว่า เพราะเหตุไร? ภิกษุทั้งหลายจึงจงกรมอยู่ในสมัยนั้น. ตอบว่า เพื่อบรรเทาถีนมิทธะมีโภชนะอันประณีตเป็นปัจจัย. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ประกอบความเพียรในเวลากลางวัน. เมื่อภิกษุผู้เช่นนั้น จงกรมอาบน้ำภายหลังอาหารให้ร่างกายได้รับความสบายแล้ว นั่งบําเพ็ญสมณธรรม จิตก็มีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่ง. บทว่า เยน เต ภิกฺขูความว่าได้ยินว่า สัจจกนิคันถบุตรนั้นคิดว่า พระสมณโคดมอยู่ที่ไหนจึงเที่ยวไปรอบคิดว่า จักถาม แล้วเข้าไป เมื่อมองดูเห็นพวกภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรจงกรมอยู่บนจงกรมใหญ่เหมือนช้างป่า จึงได้ไปยังสํานักของภิกษุเหล่านั้น. คํามีอาทิว่า เยน เต ภิกฺขูสัจจกนิคันถบุตรกล่าวหมายเอาภิกษุนั้น. บทว่า กหํ นุโข โภ ความว่า พระโคดมผู้เจริญนั้นอยู่ในอาวาสในถ้ำหรือมณฑปไหน. บทว่า เอส อคฺคิเวสฺสน ภควาความว่าได้ยินว่า ในกาลนั้นในเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงแผ่ข่ายคือพระสัพพัญุตญาณไปในหมื่นจักรวาลเมื่อทรงตรวจดูสัตว์ที่ควรแนะนําให้ตรัสรู้ทรงเห็นว่า พรุ่งนี้ สัจจกนิคันถบุตรต้องการพาเอาเจ้าลิจฉวีบริษัทเป็นจํานวนมากจักมาโต้วาทะกับเราดังนี้. ฉะนั้น ทรงชําระพระวรกายแต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลีเสด็จกลับจากบิณฑบาตทรงดําริว่า เราจักนั่งในที่สบายเพื่อจะประทับนั่งในบริษัท มีจํานวนมากจึงไม่เสด็จเข้าไปพระคันธกุฏีประทับนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งในป่ามหาวัน. ภิกษุเหล่านั้นมาแสดงวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกสัจจนิครนถ์ถาม เมื่อจะแสดงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 94

นั่งแล้วในที่ไกล จึงกล่าวว่า อัคคิเวสสนะ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้.บทว่า มหติยาลิจฺฉวิปริสาย สทฺธึ มีอธิบายว่า เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐แวดล้อมข้างล่าง. เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น เป็นลูกศิษย์ของสัจจกะนั้น. ส่วนสัจจกะภายในกรุงเวสาลีพาเอาเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ ฟังแล้วว่าผู้ต้องการจะโต้วาทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ โดยมาก พวกมนุษย์พากันออกไปด้วยคิดว่า เราจักฟังการสนทนาของบัณฑิต ๒ คน.บริษัทมีจํานวนมากอย่างนี้ กําหนดนับไม่ได้เลย. คํานั้น สัจจกะกล่าวแล้วหมายถึงบริษัทนั้น. บทว่าอฺชลี ปณาเมตฺวาความว่า ชนเหล่านั้น เป็น ๒ ฝ่าย พวกเขาคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเป็นมิจฉาทิฏฐิจักท้วงพวกเราว่า ท่านไหว้พระสมณโคดมทําไม พวกเราจักบอกแก่เขาเหล่านั้นว่าไหว้อะไรกันเพียงประนมมือเท่านั้น ถ้าพวกเป็นสัมมาทิฏฐิจักท้วงเราว่า ทําไมท่านไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า พวกเราจักบอกว่าทําไมการถวายบังคมจะต้องเอาศีรษะจดพื้นเล่า เพียงอัญชลีกรรม ก็เป็นการถวายบังคมมิใช่หรือ. บทว่า นามโคตฺคํ ความว่า บางพวกทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อทัตตะชื่อมิตตะเป็นบุตรของตนโน้นมาในที่นี้แล้วชื่อว่า ประกาศชื่อ. บางพวกทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าวาสิฏฐะ ชื่อว่ากัจจายนะ มาในที่นี้แล้ว ชื่อว่าประกาศโคตร. ได้ยินว่า ชนยากจนเหล่านั้นได้ประกาศกระทําอย่างนั้นด้วยคิดว่า เราเป็นผู้เป็นบุตรของตระกูลเก่าจักปรากฏ ชื่อและโคตรในท่ามกลางบริษัท. ส่วนพวกเหล่าใด นั่งนิ่ง พวกเหล่านั้น เป็นคนป่าเถื่อน และอันธพาล. บรรดาชนเหล่านั้น คนป่าเถื่อนคิดว่า คนผู้ทําการสนทนากันคําสองคําเป็นผู้คุ้นเคยกัน เมื่อความคุ้นเคยมีอยู่เช่นนั้น จะไม่ถวายภิกษาหนึ่ง สองทัพพีไม่ควรเพื่อจะให้ตนพ้นจากความคุ้นเคยนั้น จึงพากันนั่งนิ่ง. พวกอันธพาลเป็นผู้นั่งนิ่งในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะไม่รู้เหมือนก้อนดินที่ถูกซัดไปข้างล่าง. บทว่ากิฺจิเทวเทสํ ความว่าโอกาสอย่างหนึ่ง เหตุอย่างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 95

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สัจจกนิครนถ์นั้นเกิดความอุตสาหะในการถามปัญหาจึงตรัสว่า อัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใดก็ถามเถิด. บทนั้น มีเพื่อความว่า หากท่านประสงค์จะถามก็ถาม ในการตอบปัญหาไม่เป็นภาระหนักสําหรับเรา. อีกอย่างหนึ่ง ท่านประสงค์สิ่งใด ก็จงถาม เราจักตอบสิ่งนั้นทั้งหมดแก่ท่าน เพราะฉะนั้น พระสมณโคดมปวารณาแล้ว ปวารณาพระสัพพัญุตญาณที่ไม่ทั่วไปกับพระปัจเจกพุทธอัครสาวกและพระมหาสาวก. ก็ท่านเหล่านั้น ไม่กล่าวว่า หากท่านประสงค์จะกล่าวว่า พวกเราฟังแล้วจักทราบดังนี้. ส่วนพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปวารณา ปวารณาสัพพัญุตญาณแก่ยักษ์จอมคน เทพ สมณพราหมณ์และปริพาชกเหล่านั้นๆ ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ หากท่านประสงค์ก็จงถามเถิด หรือว่า ดูก่อนมหาราช หากพระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จงถาม หรือว่า ดูก่อนท้าววาสวะ ท่านสนใจปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งจงถามเราเถิด เราจะตอบปัญหานั้นๆ ให้ถึงที่สุดแก่ท่าน หรือว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอนั่งบนอาสนะของตนแล้วหากประสงค์ก็จงถามเถิด หรือ พวกเธอยังมีใจสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นความสงสัยของพราหมณ์พาวรี และของท่าน หรือของปวงชน เราให้โอกาสแล้วจงถามเถิด หรือว่าดูก่อนสภิยะเธอยังสนใจ ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง จงถามเรา เราจะตอบปัญหานั้นๆ ให้ถึงที่สุดแก่เธอข้อนั้น ไม่อัศจรรย์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพุทธภูมิอันใด ทรงปวารณาพุทธภูมินั้นอย่างนี้ผู้ที่ตั้งอยู่ในประเทศญาณในภูมิพระโพธิสัตว์ผู้อันฤษีทั้งหลายอาราธนาแล้วเพื่อประโยชน์แก่ท้าวสักกะเป็นต้นอย่างนี้ว่า.

โกณฑัญญะ เธอจงตอบปัญหาทั้งหลายพวกฤษีผู้มีความรู้ดี ย่อมขอร้องเธอ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 96

โกณฑัญญะ ธรรมในหมู่มนุษย์นี้ ย่อมถึงความเจริญ นั่นเป็นภาระ.

เที่ยวไปสามครั้ง ในเวลาเป็นสรภังคดาบส ในสัมภวชาดกและในชมพูทวีปอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้โอกาสแล้วจงถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งตั้งใจไว้ ก็เรารู้โลกนี้ โลกหน้าด้วยตนเองจักตอบปัญหาให้ถึงที่สุด แก่พวกท่าน ดังนี้.

ไม่เห็นผู้ทําที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลายถูกสุจิรกพราหมณ์ถามปัญหาเมื่อโอกาสอันพระองค์กระทําแล้วมีพระชนม์๗ พรรษาโดยกําเนิด ทรงเล่นฝุ่นที่ถนน ทรงนั่งขัดสมาธิระหว่างวิถี ทรงปวารณา ปวารณาพระสัพพัญุตญาณว่า

เชิญเถิด เราจักบอกปัญหาแก่ท่านประกาศที่เป็นผู้ฉลาดอนึ่ง พระราชา ทรงทราบข้อนั้นหากจักทรงกระทํา หรือไม่ทรงกระทําดังนี้.

เมื่อปวารณาพระสัพพัญุตญาณอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาอย่างนี้สัจจกนิครนถ์มีใจชื่นชม เมื่อจะทูลถามปัญหาจึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า กถํ ปน โภ โคตม ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่สัจจกนิครนถ์นั้นว่าผู้เจริญท่านเห็นสาวกกล่าวคําอื่น พระศาสดาตรัสคําอื่น เรากล่าวแล้วมิใช่หรือว่า สาวกของพระสมณโคดมตั้งอยู่แล้วฉันใด พระสมณโคดมจักตั้งอยู่ฉันนั้น เราก็ยกวาทะอย่างนั้น เมื่อจะตรัสโดยกําหนดที่พระอัสสชิเถระกล่าวแล้วในหนหลังว่าโอกาสแห่งคําของนิครนถ์จงอย่ามีอย่างนี้ว่าก็นิครนถ์นี้ย่อมกล่าวคําอื่น เราอาจจะทําอะไรก็ได้ในที่นั้นได้จึงตรัสคําเป็นต้นว่า เอวํ โข อห

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 97

อคฺคิเวสฺสน ดังนี้. บทว่า อุปมา มํ โภ โคตม ปฏิภาติ สัจจกนิครนถ์กล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ อุปมาข้อหนึ่งย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ข้าพระองค์จะนําอุปมานั้นมา. บทว่า ปฏิภาตุ ตํ อคฺคิเวสฺสน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่าอัคคิเวสนะอุปมาจงปรากฏแก่เธอคือว่า สัจจกนิครนถ์คุ้นเคยแล้วจงนําอุปมานั้นมา. บทว่า พลกรณียา ความว่าการงานมีกสิกรรมและพาณิชยกรรมต้องทําด้วยกําลังแขน. บทว่า รูปตฺตายํ ปุริสปุคฺคโล ความว่าชื่อว่ารูปัตตาเพราะอรรถว่า เขามีรูปเป็นตน ท่านแสดงบุคคลผู้ถือว่ารูปเป็นตนตั้งอยู่. บทว่ารูเป ปติฏายความว่า ตั้งอยู่ในรูปที่ถือว่าเป็นตนในรูปนั้น. บทว่า ปุฺํ วาอปุฺํ วา ปสวติ คือย่อมได้กุศลหรืออกุศลแม้บทมีเวทนาเป็นตน เป็นต้นก็มีนัยนี้แล.

บทนี้ท่านแสดงไว้อย่างไร? ท่านนําอุปมาพร้อมทั้งเหตุที่น่าฟังว่า ปัญจขันธ์เหล่านี้ เป็นที่อยู่อาศัยเหมือนแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่สัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในปัญจขันธ์เหล่านี้ ย่อมรวบรวมเอากุศลกรรมแลอกุศลกรรมไว้ ท่านเมื่อปฏิเสธตนซึ่งมีอยู่เห็นปานนี้แสดงอยู่ว่า ปัญจขันธ์ไม่ใช่ตนดังนี้. ก็ข้อที่นิครนถ์นํามาเปรียบแน่นอนแล้วไม่มีคนอื่นจากพระสัพพัญูพุทธเจ้าที่ชื่อว่า สามารถ ตัดถ้อยคําของนิครนถ์นั้นแล้วให้โทษในวาทะได้จริงอยู่บุคคลมี๒ จําพวกคือ พุทธเวไนย ๑ สาวกเวไนย ๑.ในสาวกเวไนยพระสาวกแนะนําบ้าง พระพุทธเจ้าทรงแนะนําบ้าง ส่วนในพุทธเวไนย พระสาวกไม่สามารถแนะนํา พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแนะนําได้นิครนถ์ผู้นี้ เป็นผู้พุทธเวไนยเพราะฉะนั้น ไม่มีคนอื่นที่ชื่อว่า สามารถตัดถ้อยคําของนิครนถ์นั้นแล้วให้โทษในวาทะได้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงโทษในวาทะของสัจจกนิครนถ์นั้นด้วยพระองค์เองจึงตรัสว่า นนุ ตฺวํ อคฺคิเวสฺสน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 98

ลําดับนั้น นิครนถ์คิดว่า พระสมณโคดม ย่อมยืนยันวาทะของเรายิ่งนัก ถ้าโทษบางอย่างจักมีในเบื้องบน พระองค์จักข่มแต่เราผู้เดียว เอาเถอะเราจะซัดวาทะนี้ไปบนศีรษะมหาชน เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากล่าวอยู่อย่างนี้ว่ารูปเป็นคนของเรา ฯเปฯ วิญญาณเป็นคนของเรา ประชุมชนเป็นอันมากก็กล่าวอย่างนั้น.

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีวาทะดีกว่านิครนถ์ด้วยคูณตั้งร้อย ตั้งพัน ตั้งแสน เพราะฉะนั้น จึงทรงดําริว่า นิครนถ์นี้จะให้ตนพ้นจึงซัดวาทะไปบนศีรษะมหาชน เราจักไม่ให้ตัวเขาพ้นไปได้เราจักเปลื้องวาทะออกจากมหาชนแล้วข่มแต่เขาคนเดียวลําดับนั้น จึงตรัสกะนิครนถ์ว่ากึหิเต อคฺคิเวสฺสน ดังนี้เป็นต้น. บทนั้นมีอธิบายว่า ประชุมชนนี้ไม่มาโต้วาทะกับเรา ท่านเท่านั้น วนเวียนไปทั่วกรุงเวสาลีมาโต้วาทะกับเรา เพราะฉะนั้น ท่านจงประกาศวาทะของตนให้ทั่วกัน ท่านซัดอะไรไปบนศีรษะมหาชน. นิครนถ์นั้น เมื่อรับความจริงจึงกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นจริงดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยืนยันวาทะของนิครนถ์ทรงปรารภคําถามว่า เตนหิอคฺคิเวสฺสน ด้วยประการฉะนี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหิเป็นนิบาต ลงในอรรถว่า เหตุเพราะท่านย่อมเข้าใจปัญจขันธ์โดยความเป็นคน ฉะนั้น. บทว่า สกสฺมึวิชิเต คือในแว่นแคว้นของพระองค์. บทว่า ฆาเตตายํ วา ฆาเตตุํ ได้แก่เพื่อให้ฆ่าคนที่ควรฆ่า คือผู้สมควรถูกฆ่า. บทว่า ชาเปตายํ วา ชาเปตุํ ความว่าเพื่อริบราชบาตรในที่ควรริบ คือคนที่ควรถูกริบ ได้แก่ เพื่อให้เสื่อมทรัพย์.บทว่า ปพฺพาเชตายํ วา ปพฺพาเชตุํ ความว่า เพื่อเนรเทศ คือนําคนที่ควรเนรเทศออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์. บทว่าวตฺติตุฺจ อรหติท่านแสดง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 99

ว่าย่อมเป็นไป คือควรเพื่อเป็นไป นิครนถ์แสดงเหตุที่นํามาเพื่อทําลายวาทะของตนเองให้พิเศษดุจผู้ทําอาวุธให้คมเพื่อฆ่าคน เหมือนคนพาล. บทว่าเอวํ เม รูปํ โหตุความว่าขอรูปของเราจงมีอย่างนี้คือ มีรูปน่าเลื่อมใสมีรูปสวย เห็นเข้าก็ชอบใจ เหมือนเสาระเนียดทอง ที่ประดับประดาแล้วตกแต่งแล้วและผ้าวิจิตรที่จัดแจงไว้อย่างดี.บทว่า เอวํ เม รูปํ มาอโหสิความว่าขอรูปของเรา จงอย่ามีอย่างนี้คือผิวพรรณทราม ทรวดทรงไม่ดีหนังเหี่ยวผมหงอก ตัวตกกระ. บทว่า ตุณฺหี อโหสิความว่า นิครนถ์รู้ความที่ตนพลาดในวาทะนี้ จึงคิดว่า พระสมณโคดมนําเหตุมาเพื่อต้องการทําลายวาทะของเรา เราแสดงเหตุนั้นพลาดไป เพราะโง่ถ้าจะพูดว่า เป็นไปดังนี้ คราวนี้เราฉิบหายแล้วอัคคิเวสสนะท่านได้ลุกขึ้นกล่าวกับเจ้าเหล่านี้ว่าอํานาจย่อมเป็นไปในรูปของเราถ้าอํานาจเป็นไปในรูปของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่รุ่งเรือง เหมือนเจ้าลิจฉวีเหล่านี้ มีรูปสวยน่าเลื่อมใส ย่อมรุ่งเรืองด้วยอัตตภาพ เช่นเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถ้าเราจะกล่าวว่าเป็นไปไม่ได้พระสมณโคดมเสด็จลุกขึ้นยกวาทะว่าอัคคิเวสสนะในกาลก่อนท่านกล่าวว่าอํานาจเป็นไปในรูปของเรา มาวันนี้ค้านเสียแล้วเมื่อเขากล่าวว่าเป็นไปก็มีโทษอย่างหนึ่ง กล่าวเป็นไปไม่ได้ ก็มีโทษอย่างหนึ่งด้วยประการฉะนี้ก็นิ่งเสียดังแล.พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามครั้งที่สอง สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเสียถึงสองครั้ง. ก็เพราะศีรษะของผู้ไม่ตอบชี้แจง เมื่อปัญหาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามแล้วถึงสามครั้งย่อมแตกโดย ๗ เสี่ยง. ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีความเอ็นดูเป็นกําลัง ในหมู่สัตว์ เพราะบําเพ็ญพระบารมีตลอด ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปปเพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งนั้น ฉะนั้นตรัสถามจนถึงสองครั้งแล้ว จึงได้ตรัสคําเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดํารัสนี้กะสัจจกนิครนถ์บุตรว่า วันนี้ท่านจงตอบชี้แจงดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 100

ในบทนั้น บทว่า สหธมฺมิกํ คือมีเหตุมีผล. ชื่อว่าวชิรปาณีเพราะอรรถว่ามีวชิระในฝ่ามือ บทว่ายกฺโข ความว่า พึงทราบว่าผู้นั้นใช่ยักษ์เป็นท้าวสักกเทวราช. บทว่าอาทิตฺตํ คือมีสีเหมือนไฟ. บทว่า สมฺปชฺชลิตํ คือลุกโพลงด้วยดี. บทว่า สํ โชติภูตํ คือ สว่างทั่วอธิบายว่า เป็นเปลวไฟอย่างเดียวกัน. บทว่า ิโต โหติ ความว่า ยักษ์ยืนนิรมิตรูปน่าเกลียดเห็นปานนี้คือ ศีรษะใหญ่ เขี้ยวเช่นกับหัวปลี ตาและจมูกเป็นต้นน่ากลัว. ถามว่าก็เพราะเหตุอะไร ยักษ์นั้นจึงมา. ตอบว่า มาเพื่อให้นิครนถ์ตอบความเห็น, อีกอย่างหนึ่ง ท้าวสักกะกับท้าวมหาพรหมเสด็จมาแล้วเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความขวนขวายน้อยในการแสดงธรรมอย่างนี้ว่า เราพึงแสดงธรรมคนเหล่าอื่นก็พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเราไม่ได้ ได้ทรงกระทําปฏิญญาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด เมื่ออาณาจักรไม่เป็นไปแด่พระองค์ เป็นไปแก่ข้าพระองค์พวกข้าพระองค์จักให้เป็นไป ธรรมจักรจงเป็นของพระองค์ อาณาจักรเป็นของข้าพระองค์ดังนี้.เพราะฉะนั้นเสด็จมาแล้วด้วยทรงดําริว่า ในวันนี้เราจักให้สัจจกนิครนถ์สะดุ้งกลัวแล้วให้ตอบปัญหาดังนี้. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากับสัจจกนิคันถบุตรเท่านั้นเห็นอยู่ ความว่า ถ้าคนเหล่าอื่นพึงเห็นเหตุนั้น เหตุนั้นก็ไม่พึงหนัก. ชนทั้งหลายพึงพูดว่า พระสมณโคดมทรงรู้แล้ว ซึ่งสัจจกนิครนถ์ไม่หยั่งลงในวาทะของตน ทรงใช้ยักษ์ให้นํามาแสดงแต่นั้น สัจจกนิครนถ์กราบทูลแล้วเพราะกลัวดังนี้. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ากับสัจจกนิครนถ์เท่านั้นเห็นอยู่. เพราะเห็นยักษ์นั้นเหงื่อก็ไหลทั่วตัวของสัจจกนิครนถ์นั้น ภายในท้องป่วนปันร้องดัง เขาคิดว่าคนเหล่าอื่นเห็นอยู่ เมื่อแลดูก็ไม่เห็นใครแม้ขนชัน แต่นั้นความกลัวนี้เกิดแก่เราเท่านั้น จึงคิดว่า ถ้าเราจักกล่าวว่ายักษ์พวกคนพึงพูดว่า มีตาของท่านนั้นหรือ ท่านเท่านั้นเห็นยักษ์ท่านไม่เห็นยักษ์ก่อนถูกพระสมณโคดมซัดไปในการสืบต่อแห่งวาทะ จึงเห็น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 101

ยักษ์สําคัญอยู่ว่า คราวนี้ในที่นี้ เราไม่มีที่พึ่งอื่น นอกจากพระสมณโคดมครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถบุตร ฯเปฯ จึงได้กราบทูลคํานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ตาณํ คเวสี คือแสวงหาอยู่ว่าที่ต้านทาน. บทว่า เลณํ คเวสี คือแสวงหาอยู่ว่าป้องกัน. บทว่า สรณํ คเวสี คือแสวงหาอยู่ว่าที่พึ่ง. ก็ในบทนี้ ชื่อว่า ตาณา เพราะอรรถว่า ต้านทานคือรักษา.ชื่อว่า เลณะเพราะอรรถว่า เป็นที่เร้นลับแห่งชน. ชื่อว่า สรณะเพราะอรรถว่าระลึกได้อธิบายว่าย่อมเบียดเบียน คือกําจัดความกลัว. บทว่า มนฺสิกริตฺวาความว่ากระทําไว้ในใจคือ พิจารณา ใคร่ครวญ. บทว่า เอวํ เม เวทนา โหตุคือขอเวทนาจงเป็นกุศลเป็นสุข. บทว่า เอวํ เม สฺ โหตุคือขอสัญญาจงเป็นกุศลเป็นสุขคือจงประกอบด้วยโสมนัส. แม้ในสังขารและวิญญาณก็มีนัยนี้แล. ส่วนในบทว่า มา อโหสิ นี้ พึงทราบโดยกล่าวตรงกันข้าม. บทว่ากลฺลํ นุ แปลว่า สมควรหรือหนอ. บทว่า สมนุปสฺสิตุํ ความว่า พิจารณาเห็นด้วยตัณหามานะ ทิฏฐิ. อย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตภาพของเรา. บทว่า โน เหตํ โภ โคตม ได้แก่ข้อนั้นไม่ควรแก่พระสมณโคดมผู้เจริญ.

หมองูผู้ฉลาดให้งูนั้นกัดแล้วถอนพิษที่ถูกงูกัด ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สัจจกนิคันถบุตรกล่าวในบริษัทนั้น ด้วยปากนั้นเองว่าขันธ์๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ทุกฺขํอลฺลีโน ความว่า ติดคือเข้าถึงทุกข์ในปัญจขันธ์นี้ ด้วยตัณหาและทิฏฐิ.บทว่า อชฺโฌสิโต ความว่า พึงทราบด้วยอํานาจตัณหาและทิฏฐิเท่านั้น. ในบทเป็นต้นว่า ทุกฺขํ เอตํ มม มีอธิบายว่าย่อมพิจารณาเห็นทุกข์ในปัญจขันธ์ด้วยอํานาจตัณหามานะและทิฏฐิ. บทว่า ปริชาเนยฺยความว่าพึงกําหนดรู้ด้วยตีรณปริญญาว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา บทว่า ปริกฺเขเปตฺวา ความว่า นําความสิ้น ความเสื่อม ไม่ให้เกิด. บทว่า นวํ แปล

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 102

ว่า รุ่น. บทว่า อกุกฺกุฏชาตํ ความว่า ปลีปลีหนึ่ง ประมาณองคุลี ย่อมเกิดในภายในเวลาผลิดอก -อธิบายว่า เว้นปลีนั้นเสีย. บทว่า ริตฺโตคือว่างเปล่าคือเว้นจากแก่ภายใน ชื่อว่า เปล่าเพราะว่างเปล่า. บทว่าอปรทฺโธ คือ พ่ายแพ้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศความที่สัจจกนิคันถบุตรนั้นมีปากกล้า เมื่อจะทรงข่มจึงตรัสพระดํารัสนี้ว่า ภาสิตา โขปน เต ดังนี้. ได้ยินว่า เมื่อก่อนสัจจกนิครนถ์นั้นเข้าไปหาครูทั้ง ๖ มีปูรณะเป็นต้น ย่อมถามปัญหา. พวกครูเหล่านั้น ไม่สามารถจะตอบได้. ครั้งนั้นเขายกวิปการใหญ่ในท่ามกลางบริษัทของครูเหล่านั้นแล้วลุกขึ้นไปประกาศความชนะเข้าไปด้วยความสําคัญว่า เราจักเบียดเบียนแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างนั้น ประกาศว่ายอดแผ่ไปด้วยการประหารครั้งเดียว ในต้นไม้ชื่ออะไร ที่ขาดใบ มีแต่หนาม สัจจกนิครนถบุตรนี้ จรดสาระคือสัพพัญุตญาณ บรรลุประเภทจะงอยคือพระญาณ จึงได้รู้ความที่พระสัพพัญุตญาณแข็ง เหมือนนกมีจะงอยอ่อนเคยเจาะไม้ที่ไม่มีแก่น เจาะไม้ตะเคียนเข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประกาศข้อนั้น ในท่ามกลางบริษัทของสัจจกนิครนถ์นั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ภาสิตา โข ปน เต ดังนี้. ในบทว่า นตถิเอตรหิ นี้ไม่ควรกล่าวว่า ชื่อว่าเหงื่อในอุปาทินนกสังขารจะไม่มีเขาจะกล่าวว่าก็ในบัดนี้ไม่มี. บทว่า สุวณฺณวณฺณํ กายํ วิวริคือ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเปิดพระกายทั้งหมด. ธรรมดาพระพุทธเจ้าสรวมรังดุม ทรงปิดพระกายทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจับ (กด) จีวรที่ตรงหน้าหลุมคอให้หย่อนลงเพียง ๔ องคุลีแล้วเมื่อจีวรนั้น หย่อนลงแล้วรัศมีมีสีดังทองเป็นกลุ่มๆ ซ่านออกเหมือนรสธาราทองแดงไหลออกจากหม้อทอง และเหมือนสายฟ้าแลบออกจากวลาหกสีแดงกระทําจีวรมหาขันธ์เช่นกับกลองทองให้เป็นประทักษิณ แล่นไปในอากาศแล้ว. ถามว่าก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงการทําอย่าง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 103

นี้. ตอบว่า เพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชน. ก็มหาชนพึงสงสัยว่าพระสมณโคดมตรัสว่า เหงื่อของเราไม่มี. เหงื่อของสัจจกนิคันถบุตรไหลอยู่ตลอดเหมือนเหงื่อของคนขึ้นเครื่องยนต์พระสมณโคดมประทับนั่งห่มผ้าจีวรหนา ใครจะรู้ได้อย่างไรว่าเหงื่อภายในจะมีหรือไม่มีดังนี้ จึงทรงกระทําอย่างนั้นเพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชนนั้น. บทว่า มงฺกุภูโต คือหมดอํานาจ. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ คือคอตก. บทว่าอปฺปฏิภาโณ คือไม่พบสิ่งที่ยิ่งกว่า.บทว่า นิสีทิ คือนั่งเอานิ้วเท้าเขี่ยแผ่นดิน. บทว่า ทุมฺมุโข ความว่า มีหน้าไม่น่าเกลียดจริงอยู่ บุตรลิจฉวีนั้น มีรูปสวย น่าเลื่อมใส ก็ชื่อของเขาอย่างนั้น. บทว่าอภพฺโพ ตํ โปกฺขรณึปุน โอตริตุํ ท่านแสดงว่า ปูชื่อว่า เดินไม่ได้เพราะก้ามหักหมดไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้จึงเป็นเหยื่อของกาและเหยี่ยวเป็นต้นในที่นั้นเอง. บทว่าวิสูกายิกานิ คือ ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม. บทว่าวิเสวิตานิคือ ประพฤติด้วยทิฎฐิ. บทว่า วิปฺผนฺทิตานิคือความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ. บทว่ายทิทํ ในบทว่ายทิทํ วาทาธิปฺปาโย นี้เป็นเพียงนิบาต. ท่านแสดงว่า เป็นการชี้แจงวาทะไม่ควรเข้าไปเฝ้าตามอัธยาศัยว่า เราจักโต้วาทะแต่ควรเข้าไปเฝ้าเพื่อฟังธรรม. ถามว่า บทว่า ทุมฺมุขํ ลิจฺฉวิปุตฺตํ เอตทโวจ สัจจกนิคันถบุตรได้กล่าวแล้ว เพราะเหตุไรตอบว่าได้ยินว่า ในเวลาบุตรลิจฉวีชื่อทุมมุขุนั้น นําเอาอุปมามาแม้ลิจฉวีกุมารที่เหลือคิดแล้วว่า นิครนถ์นี้ทําความดูหมิ่นพวกเราในสถานที่เรียนศิลปะของพวกเรามานาน บัดนี้ถึงเวลาที่จะเห็นหลังศัตรูแม้เรานําอุปมาข้อหนึ่งมาคนละข้อจักกระทําสัจจกนิครนถ์นั้น ผู้ตกไปด้วยปรบฝ่ามือ ดุจโบยด้วยค้อน โดยประการที่สัจจกนิครนถ์จักไม่สามารถยกศีรษะขึ้นในท่ามกลางบริษัทได้อีก. ลิจฉวีเหล่านั้นทําอุปมาทั้งหลายแล้ว นั่งคอยทุมมุขพูดจบ. สัจจกนิครนถ์รู้ความประสงค์ของลิจฉวีเหล่านั้น จึงคิดว่าลิจฉวีเหล่านี้ทั้งหมด ชูคอยืนปากสั่น หากพวกลิจฉวีจักได้นําอุปมามาแต่ละอย่าง เราจัก

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 104

ไม่สามารถเงยหัวขึ้นในท่ามกลางบริษัทอีก เอาเถิดเรารุกรานทุมมุขะแล้ว ตัดวาระแห่งถ้อยคําโดยประการที่ผู้อื่นไม่มีโอกาส จักทูลถามปัญหากะพระสมณโคดม เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวคํานั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่าอาคเมหิแปลว่า หยุดก่อน อธิบายว่าอย่าถือเอาอีก. บทว่า ติฏเตสา โภ โคตมความว่า พระโคดมผู้เจริญ วาจานี้ของข้าพระองค์ และของสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น จงยกไว้ก่อน. บทว่า วิลาปํ วิลปิตํ มฺา ความว่าคํานี้นี้เป็นดุจพร่ําเพ้ออธิบายว่า เป็นเพียงพูดพร่ํา. อีกอย่างหนึ่งควรนําบทว่ากถามากล่าวในบทนี้ว่า ติฏเตสา. ส่วนในบทว่า วาจาวิลาปํ วิลปิตํมฺเ นี้ มีอธิบายว่าการเปล่งวาจานี้เห็นจะเป็นเพียงพูดพร่ํา

บัดนี้ สัจจกนิครนถบุตร เมื่อทูลถามปัญหา จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า กิตฺตาวตา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต คือ บรรลุญาณ.บทว่าอปรปฺปจฺจโย คือไม่ต้องเชื่อผู้อื่น. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตอบปัญหาแก่สัจจกนิคันถบุตรนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า อิธ อคฺคิ-เวสฺสน ดังนี้. คํานั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ก็เพราะเสขภูมิทรงแสดงแล้วเพราะตรัสว่า ปสฺสติในบทนี้ฉะนั้น เมื่อทูลเสขภูมิให้ยิ่งขึ้นไปจึงทูลถามปัญหาข้อที่สองแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตอบชี้แจงปัญหาแม้นั้นแก่เขา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าทสฺสนานุตฺตริยํ ในบทเป็นต้นว่า ทสฺสนานุตฺตริยํ ได้แก่ ปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ บทว่า ปฏิปทานุตฺตริยํ ได้แก่ข้อปฎิบัติที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ. บทว่า วิมุตฺตานุตฺตริยํ คือ โลกุตตรวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่งบทว่า ทสฺสนานุตฺตริยํ คือ สัมมาทิฏฐิ. อันเป็นอรหัตตมรรคเพราะมุ่งถึงโลกุตตรธรรมล้วน. บทว่า ปฏิปทานุตฺตริยํ คือองค์มรรคที่เหลือ. บทว่าวิมุติตานุตฺตริยํ คือ วิมุตตฺเป็นมรรคผล. การเห็น

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 105

นิพพานของพระขีณาสพชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. องค์มรรค ๘ เป็นปฏิปทานุตตริยะ. มรรคผล พึงทราบว่าเป็นวิมุตตานุตตริยะ. บทว่า พุทฺโธ โสภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งสัจจะ ๔ด้วยพระองค์เอง. บทว่า โพเธตายความว่า ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์แม้เหล่าอื่น เพื่อให้ตรัสรู้สัจจะ ๔ บทว่า ทนฺโต ในบทเป็นต้นว่า ทนฺโต คือ หมดพยศ. บทว่า ทมถาย คือเพื่อต้องการหมดพยศ. บทว่า สนฺโต คือ ทรงสงบแล้วด้วยความเข้าไปสงบกิเลสทั้งปวง. บทว่า สมถายคือเพื่อความสงบกิเลส. บทว่า ติณฺโณ คือข้ามโอฆะ ๔ บทว่า ตรณายคือเพื่อข้ามโอฆะ๔. บทว่า ปรินิพฺพฺโต ความว่า ทรงดับสนิทแล้วด้วยความดับสนิทแห่งกิเลส บทว่า ปรินิพฺพานายความว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิทแห่งกิเลส. บทว่าธํ สี คือเป็นคนกําจัดคุณ. บทว่า ปคพฺภาคือ ประกอบด้วยความคะนองวาจา. บทว่าอาสาเทตพฺพํ คือ พึงเสียดสี. บทว่าอาสชฺชคือกระทบ. บทว่า น เตฺวว ภวนฺตํ โคตมํ ท่านแสดงว่า หมดกําลังเพื่อจะถือเอาวาทะของตนไปกระทบต่อใครๆ ทั้งสิ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงทําอันตรายชีวิตใครๆ เหมือนช้างเป็นต้น ก็หามิได้. แต่นิครนถ์นี้นําอุปมาสามข้อเหล่านี้มาแล้วเพื่อจะยกพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็หามิได้เลย นํามาเพื่อยกตนเท่านั้น เหมือนอย่างว่า พระราชาทรงปราบปรามข้าศึกบางพวก ลงได้แล้วเมื่อจะทรงชมเชยข้าศึกว่าคนกล้าอย่างนี้จักเป็นคนถึงพร้อมด้วยกําลังอย่างนี้. ก็ชมเชยตนอยู่นั้นเองฉันใด สัจจกนิคันถบุตรแม้นี้ก็ฉันนั้น เมื่อจะยกวาทะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคําเป็นต้นว่า สิยา หิโข โภ โคตม ทตฺถิปภินฺนํ ย่อมยกตนเท่านั้นว่า - เราเป็นคนกล้า เราเป็นบัณฑิต เราเป็นพหูสูตเป็นผู้ต้องการโต้วาทะเข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนช้างซับมัน เหมือนกองไฟลุกโพลงและเหมือนอสรพิษแผ่พังพานดังนี้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 106

ครั้นยกตนอย่างนี้แล้ว เมื่อจะนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกราบทูลคําเป็นต้นว่า อธิวาเสตุ เม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอิธวาเสตุคือขอพระองค์จงทรงรับเถิด. บทว่า สฺวาตนาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่บุญ และปีติปราโมทย์ ซึ่งจักมีในวันพรุ่งนี้แก่ข้าพระองค์ผู้กระทําอยู่ซึ่งสักการะในพระองค์. บทว่าอธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงให้อวัยวะส่วนพระกายและพระวาจาให้หวั่นไหว ทรงยับยั้งอยู่ไว้เฉพาะภายใน ทรงรับแล้วด้วยดุษณีภาพ. คือทรงรับด้วยพระทัยเพื่อทําการอนุเคราะห์แก่สัจจกนิคันถบุตรแลดังนี้.

บทว่า ยมสฺส ปฏิรูปํ มฺเยฺยาถ ความว่าได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นนําถาดสํารับ ๕๐๐ ไปให้แก่สัจจกนิคันถบุตรนั้นเป็นนิตยภัตร สัจจกนิคันถบุตรหมายเอาภัตรนั้นแลจึงกล่าวว่าวันพรุ่งนี้พวกท่านควรสําคัญว่า สิ่งที่สมควรจึงเป็นของควรถวายแต่พระสมณโคดม ควรนําของที่สมควรนั้นมา พวกท่านเป็นคนปรนนิบัติ ย่อมเข้าใจถึงสิ่งที่ควรไม่ควรเหมาะไม่เหมาะสําหรับสมณโคดม. บทว่า ภตฺตาภิหารํ อภิหรึสุความว่า นําภัตรที่ควรนําไป. บทว่า ปณีเตน คือสูงสุด. บทว่า สหตฺถาคือ ด้วยมือของตน.บทว่า สนฺตปฺเปตฺวาความว่า อิ่มดีคืออังคาสให้อิ่มหนําสําราญบริบูรณ์ตามความต้องการ. บทว่า สมฺปวาเรตุวาคือ ปวารณาดี คือ ห้ามด้วยหัตถสัญญาว่า พอ พอดังนี้. บทว่า ภุตฺตาวิคือเสวย. บทว่า โอนีตปตฺตปาณึคือชักพระหัตถ์ออกจากบาตรอธิบายว่าคือนําพระหัตถ์ออกแล้ว.บาลีว่า โอนิตฺตปตฺตปาณึดังนี้ก็มี. บทนั้นมีความว่า ชื่อว่า โอนิตฺตปตฺตปาณึเพราะอรรถว่า มีบาตรต่างนําออกแล้วจากพระหัตถ์อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้มีบาตรอันนําออกแล้วจากพระหัตถ์คือทรงชําระพระหัตถ์และบาตรทรงเก็บบาตรไว้ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วประทับนั่ง. บทว่า เอก-

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 107

มนตํ นิสีทิ ความว่า สัจจกนิครนถ์ รู้แล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยอย่างนี้จึงนั่งในโอกาสแห่งหนึ่ง บทว่า ปุฺฺจ คือ บุญในทานนี้อธิบายว่า เป็นวิบากขันธ์ต่อไป. บทว่า ปฺมหีความว่า เป็นบริวารเฉพาะวิบากขันธ์. บทว่า ตํ ทายกานํ สุขายโหตุความว่าบุญนั้น จงมีเพื่อประโยชน์สุขแก่ลิจฉวีเหล่านี้.

ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น เมื่อจะมอบทานนี้แก่เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเป็นบรรพชิต ไม่ควรให้ทานของตน ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะบุญเจ้าลิจฉวีให้แก่สัจจกนิครนถ์ ไม่ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าส่วนสัจจกนิครนถ์ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่ายํ โข อคฺคิเวสฺสน ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบทักษิณาที่เขาถวายแก่ตนแก่นิครนถ์เพื่อรักษาน้ำใจ ทักษิณานั้น ก็จักเป็นวาสนาในอนาคตด้วยประการฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาจูฬสัจจกสูตร ที่ ๕