พยายามจะตัดนี่เสียเวลา ต้องเป็นปัญญาที่เข้าใจ

 
kchat
วันที่  24 เม.ย. 2550
หมายเลข  3553
อ่าน  1,076

ผู้ฟัง ผมก็ได้พยายามลอกต้วเองออกจาก คำว่า รูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน ผมก็ไม่มีแล้ว ไม่รู้สึกที่ว่า " เราๆ " ก็พยายามที่จะตัดออก มันก็ยังไม่ออกอ. พยายามจะตัดนี่เสียเวลา ต้องเป็นปัญญาที่เข้าใจ ผู้ฟัง สิ่งเหล่านี้ก็พึ่งรู้จากที่นี่ล่ะครับ ซึ่งทำให้ผมยังอยู่ เพื่อที่จะเรียนต่อไปอีก

ทีนี้ที่อธิบายไม่ถูก เห็นคนพูดกันเยอะ ก็เลยกลับมาดู ถ้าอย่างนั้นเวลา

นั่ง นอน ยืน เดิน เราจะพิจารณาอย่างไรก็กลับไปสู่สิ่งที่อาจารย์เคยพูดว่า

เห็นอารมณ์ทางทวารไหน ก็พิจารณาตามทวารนั้น ถ้านั่งอยู่ แม้จะนั่งอยู่

มันแข็งที่พื้น แต่ถ้าตาไปเห็นอย่างอื่น จะเอาทางตาเป็นอารมณ์ ได้หรือ

ถ้าได้กลิ่นอาหารๆ ก็เป็นอารมณ์ได้ แต่ทีนี้มันติดใจตรง ที่ว่าเวลาที่อ่าน

มหาสติปัฏฐานสูตร ตรงนี้ก็ลองมาถามอีกที เพื่อให้ชัดเจนขึ้นแต่เป็นอย่าง

นั้นจริง คือแล้วแต่อารมณ์ไหนจะเกิด ก็ให้ระลึกรู้ไปตามอารมณ์นั้น ไม่ว่า

จะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอน แล้วแต่อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายจะมา

ปรากฎ ก็รู้ไปตามอารมณ์นั้น ใช่ไหมครับ มันยากจริงๆ อ.น. มันแก้ยากนะครับ เราต้องเพ่งทั้ง อรรถและพยัญชนะของศัพท์ด้วย ผมให้

ความหมายของ " ปชานาติ " ไว้แล้ว " ปชานาติ " นี้ " ปัญญา " นะครับ

" รู้ชัด " นี่ปัญญานะครับ แล้วปัญญาไปรู้ชัดอะไร ในอิริยาบถอย่างนั้นน่ะ รู้

ชัดอะไร ก็บอกอยู่แล้วว่า ถ้าสภาพธรรมไม่มี แล้วจะไปรู้ชัดอะไร? สภาพ

ธรรมมี จึงจะรู้ชัดได้ รู้ชัดนี้หมายความว่า " รู้จริงๆ " ไม่ใช่ไปรู้แบบนึกเอา

คือมีสภาพธรรมปรากฎจริงๆ จึงจะรู้ชัดได้ เพราะในตอนสุดท้ายท่านจะบอก ว่า ถ้ารู้อย่างนี้ ก็เหมือน ที่ใครๆ รู้ ที่ชาวบ้านรู้ทั่วๆ ไป เด็กๆ ก็รู้ ใครๆ ก็รู้

"เดิน" มีใครไม่รู้บ้างว่าเขาเดิน ยืน นั่ง นอน มีใครบ้างไม่รู้ ทุกๆ คนรู้

แล้วรู้อย่างนี้ถอน " อัตตา " ตัวตนได้หรือเปล่า? ก็ไม่ได้ เขาไม่ได้รู้

สภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฎตามความเป็นจริง รู้แต่ชื่อ แต่อาการที่ปรากฎ

แก่ตัวเราเท่านั้น การที่จะรู้ชัด จนถึงมีปัญญา สามารถที่จะถอนความเป็นตัว

เป็นตนได้ "จะต้องรู้ ความจริง " เพราะความจริงจะแสดงออกว่า " ผม" น่ะ

ไม่ใช่ใครนะ เป็นธรรมะ เป็นธาตุ แต่ละอย่าง ที่ปรากฎ ไม่มีสัตว์ บุคคล

ตัวตน ถึงแม้ว่าประโยคของท่านจะบอกว่า เรานั่ง เรานอน เรายืน เราเดิน

เราต้องศึกษาอภิธรรม ไม่ใช่เราฟังแต่พระสูตรอย่างเดียว ก็ต้องเกื้อกูลกัน

ความรู้ที่ได้จาก พระอภิธรรม ก็ต้องเกื้อกูลกับพระสูตร จึงจะทำให้พระสูตร

เดินไปได้ ไม่ได้ติดขัด


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 25 เม.ย. 2550

ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานและผู้ที่สติปัฏฐานไม่เกิด ก็ไม่พ้น ๖ ทวาร คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่นลิ้มรส กระทบสัมผัส คิดนึก เป็นปกติธรรมดา แต่ต่างกันที่สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ