โลภะเป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรมอย่างไร

 
ckitipor
วันที่  21 เม.ย. 2550
หมายเลข  3523
อ่าน  1,221

โลภะ คือ ความต้องการ ความทะยานอยาก ความติดข้อง ซึ่งเป็นสภาพจิตของทุก

คนในขณะนี้ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมอย่างละเอียดจะไม่ทราบเลยว่า การดำเนินชีวิต

ปกติในชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งคัว พูดคุย ดูหนัง ฟัง

เพลง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติในชีวิตประจำวัน ก็เป็นโลภะประเภทที่ไม่ได้ทำให้คนอื่น

เดือดร้อน เสียหาย หรือเสียประโยชน์ แต่เป็นโลภะโดยสภาวะ คือ เป็นความติด

ข้อง ต้องการที่จะกระทำ เป็นโลภะขั้นละเอียด ที่ถ้าพระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงความ

จริงนี้ เราจะไม่ทราบเลยว่าแท้จริงแล้วจิตของเราเป็นไปกับโลภะแทบจะตลอดเวลา

เราจะทราบลักษณะของโลภะต่อเมื่อโลภะมีกำลังแล้วเท่านั้น เช่น อยากได้อะไร

มากๆ ก็จะรู้สึกถึงความรุ่มร้อน ทุรนทุราย อยากได้มาเป็นของตน เพราะมีความเป็นตัว

ตน ทุกคนจึงแสวงหาสิ่งที่ตนพอใจ ถ้ามีความต้องการในสิ่งใดและสิ่งนั้นเกินกำลัง

ของตนที่จะได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ผู้ที่โลภะมีกำลังมากก็จะคิดหาวิธีเพื่อให้ได้มาด้วย

วิธีทุจริต หรือบางคนรวยมากแล้วก็ยังไม่รู้จักพอ ยังต้องการต่อไปอีกเรื่อยๆ ไม่รู้จบความไม่รู้จักพอนี่เอง เป็นเหตุให้ทำทุจริตทางกาย (ลักขโมย ทุจริตคอรัปชั่น ปล้นจี้)

ทุจริตทางวาจา (พูดโกหก) ทุจริตทางใจ (คิดอยากได้วางแผนปล้น วางแผนทุจริต

คอรัปชั่น) มีใครเห็นโลภะของตนเองบ้าง ทุกคนรู้จักโลภะแต่เพียงชื่อ แต่ไม่มีใคร

รู้จักตัวจริงของโลภะ เป็นเพราะเรามีความคุ้นเคยและชอบที่จะมีโลภะ เรามีความอยาก (โลภะ) ที่ไม่รู้จักจบจักสิ้น อยากได้สิ่งนั้น อยากได้สิ่งนี้ อยากเป็นคนรวย อยากมีอำนาจ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ก็จะสะสมเพิ่มพูนแต่ความอยาก (โลภะ) ไว้ในจิต

แม้กำลังจะตายก็ยังอยากจะไปสวรรค์ จึงเป็นการยากเหลือเกินที่จะละโลภะ พระ

พุทธองค์ทรงตรัสรู้ว่า โลภะนี่เองเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัยสัจจ์) โลภะนี่เองเป็นเหตุให้สัตว์โลกทั้งหลายต้องเวียนว่าย ตาย เกิด อยู่ในสังสารวัฏฎ์

จากหนังสือ ..กรรมคำตอบของชีวิต โดย อัญญมณี มัลลิกะมาส


Tag  โลภะ  
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 22 เม.ย. 2550

บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Buppha
วันที่ 22 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา

ในชีวิตประจำวันมีแต่อวิชชา

ไฟแม้จะมีน้อยหรือมากก็ร้อน เช่นเดียวกับกลิ่นแม้น้อยก็เหม็น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 22 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ