พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สังกิจจชาดก ว่าด้วยสังกิจจฤาษีแสดงธรรมและอธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35181
อ่าน  535

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 156

๒. สังกิจจชาดก

ว่าด้วยสังกิจจฤาษีแสดงธรรมและอธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 156

๒. สังกิจจชาดก

ว่าด้วยสังกิจจฤาษีแสดงธรรมและอธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัต

[๙๐] ลำดับนั้น คนเฝ้าสวนเห็นพระเจ้าพรหมทัต จอมทัพ ประทับนั่งอยู่ ได้กราบทูลแด่ ท้าวเธอว่า สังกิจจฤาษีที่พระองค์ทรงพระกรุณา ซึ่งยกย่องกันว่าได้ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งทลายมาถึงแล้ว ขอเชิญพระองค์รีบเสด็จออกไปพบท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่โดยเร็วเถิด ก็ลำดับนั้น พระราชาผู้จอมทัพ อันหมู่มิตรและอำมาตย์ล้อมแล้ว เสด็จขึ้นรถอันเทียมด้วยม้าอาชาไนยรีบเสด็จไป พระราชาผู้ทรงบำรุงแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ทรงเปลื้องเครื่องราช

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 157

กกุธภัณฑ์ ๔ อย่าง คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตรและฉลองพระบาททรงเก็บวางไว้แล้ว เสด็จลงจากรถ ทรงดำเนินเข้าไปหาสังกิจจฤาษี ผู้นั่งอยู่ในพระราชอุทยานอันมีนามว่าทายปัสสะ ครั้นเสด็จเข้าไปหาแล้ว ก็ทรงบันเทิงอยู่กับฤาษ ครั้นทรง สนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น ประทับนั่งแล้ว ลำดับนั้น ได้ทรงสำคัญกาลอยู่ แต่นั้นทรงปฏิบัติเพื่อจะตรัสถาม กรรมอันเป็นบาป. จึงตรัสว่า ข้าพเจ้าขอถามท่าน สังกิจจฤาษีผู้ได้รับยกย่องว่า ได้ดีแล้วในหมู่ฤาษี ทั้งหลาย อันหมู่ฤาษีทั้งหลายห้อมล้อมนั่งอยู่ ในทายปัสสะอุทยานว่า นรชนผู้ประพฤติล่วงธรรม (เหมือน) ข้าพเจ้าประพฤติล่วงธรรมแล้วไปสู่คติอะไรในปรโลก ข้าพเจ้าถามแล้ว ได้โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า เถิด.

[๙๑] สังกิจจฤาษี ได้ทูลตอบพระราชาผู้บำรุง แคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ประทับนั่งอยู่ในทายปัสสะ อุทยานว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรทรงฟัง อาตมภาพ ถ้าเมื่อบุคคลเว้นทางผิด ทำตามคำของบุคคลผู้บอกทางถูกให้ โจรผู้เป็นดุจเสี้ยนหนามก็ไม่พึงพบหน้าของบุคคลนั้น เมื่อบุคคลปฏิบัติอธรรม แต่ถ้ากระทำตามคำของบุคคลผู้พร่ำสอนธรรม บุคคลนั้นไม่พึงไปสู่ทุคติเลย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 158

[๙๒] ขอถวายพระพร ธรรมเป็นทางถูก ส่วนอธรรมเป็นทางผิด อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ นรชนผู้ประพฤติอธรรม มีความเป็นอยู่ไม่สม่ำเสมอ ละโลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่คติใด อาตมภาพจะกล่าวคติ คือ นรกเหล่านั้น ขอพระองค์ ทรงสดับคำของอาตมภาพเถิด นรก ๘ ขุมนี้ คือ สัญชีวนรก ๑ กาฬสุตตนรก ๑ สังฆาฏนรก ๑ โรรุวนรก ๑ มหาโรรุวนรก ๑ ต่อมาถึงมหาอเวจีนรก ๑ ตาปนนรก ๑ ปตาปนนรก ๑ อันบัณฑิตทั้งหลาย กล่าวไว้แล้ว ก้าวล่วงได้ยาก เกลื่อนกล่นไปด้วย เหล่าสัตว์ ผู้มีกรรมหยาบช้าเฉพาะขุมหนึ่งๆ มี อุสสทนรก ๑๖ ขุมเป็นที่ทำบุคคลผู้กระด้างให้เร่าร้อน น่ากลัว มีเปลวเพลิงรุ่งโรจน์ มีภัยใหญ่ขนลุกขนพอง น่าสะพรึงกลัว มีภัยรอบข้าง เป็นทุกข์ มี ๔ มุม ๔ ประตู จัดแบ่งไว้เป็นส่วนๆ มีกำแพงเหล็กกั้นโดย รอบ มีฝาเหล็กครอบ ภาคพื้นของนรกเหล่านั้นล้วน แต่เป็นเหล็กแดงลุกโพลง ประกอบด้วยเปลวไฟลุก แผ่ไปตลอดที่ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.

สัตว์ทั้งหลายมีเท้าในเบื้องบนมีศีรษะในเบื้องต่ำ ตกลงไปในนรกนั้น สัตว์เหล่าใดกล่าวล่วงเกินฤาษีทั้ง หลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะสัตว์เหล่านั้นผู้มีความเจริญ อันขจัดแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรก เหมือนปลาที่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 159

ถูกเฉือนให้เป็นส่วนๆ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปกติ กระทำกรรมอันหยาบช้า มีตัวถูกไฟไหม้ทั้งข้างใน ข้างนอกเป็นนิตย์ แสวงหาประตูออกจากนรก ก็ไม่พบประตูที่จะออกตลอดปีนับไม่ถ้วน สัตว์เหล่านั้นวิ่ง ไปทางประตูข้างหน้า จากประตูด้านหน้าวิ่งกลับมา ทางประตูข้างหลัง วิ่งไปทางประตูด้านซ้าย จากประตู ด้านซ้ายวิ่งกลับมาทางประตูด้านขวา วิ่งไปถึงประตูใดๆ ประตูนั้นๆ ก็ปิดเสีย สัตว์ทั้งหลายผู้ไปสู่นรก ย่อมประคองแขนคร่ำครวญเสวยทุกข์มิใช่น้อย นับได้ แสนปีเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรรุกราน ท่านที่เป็นคนดี ผู้สำรวม มีตบธรรม ซึ่งเป็นดัง อสรพิษมีเดชกำเริบร้ายล่วงได้ยากฉะนั้น.

พระเจ้าอัชชุนะ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นเกตกะ มีพระกายกำยำเป็นนายขมังธนู มีพระหัตถ์ตั้งพัน มีมูลอันขาดแล้วเพราะประทุษร้ายพระฤาษีโคตมโคตร พระเจ้าทัณฑกีได้เอาธุลีโปรยรดกีสวัจฉฤๅษี ผู้หาธุลีมิได้ พระราชานั้นถึงแล้วซึ่งความพินาศ ดุจตน ตาลขาดแล้วจากรากฉะนั้น พระเจ้าเมชฌะคิดประทุษร้ายในมาตังคฤาษีผู้เรืองยศ รัฐมณฑลของพระเจ้า เมชฌะ พร้อมด้วยบริษัทก็สูญสิ้นไปในครั้งนั้น ชาวเมืองอันธกวินทัย ประทุษร้ายกัณหทีปายนฤๅษี โดย ช่วยกันเอาไม้พลองรุมตีจนตาย ก็ไปเกิดในยมสาธน นรก ส่วนพระเจ้าเจติยราชนี้ ได้ประทุษร้ายกปิลดาบส

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 160

แต่ก่อนเคยเหาะเหินเดินอากาศได้ ภายหลังเสื่อมฤทธิ์ ถูกแผ่นดินสูบถึงมรณกาล เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญการลุอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น บุคคลไม่ควรเป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงกล่าววาจาอัน ประกอบด้วยสัจจะ ถ้าว่านรชนผู้ใดดีใจประทุษร้าย เพ่งเล็งท่านผู้รู้ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ นรชน ผู้นั้นก็ไปสู่นรกเบื้องต่ำ ชนเหล่าใดพยายามกล่าววาจา หยาบคาย บริภาษบุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ไม่ใช่เหล่ากอ ไม่ใช่ทายาท เป็นเหมือนต้นตาลมีราก อันขาดแล้ว.

อนึ่ง ผู้ใดฆ่าบรรพชิต ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้แสวง หาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรกตลอดกาลนาน อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ตั้งอยู่ในอธรรม กำจัดชาวแว่นแคว้น ทำชาวชนบทให้เดือดร้อน สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จะต้องหมกไหม้ อยู่ในตาปนนรกในโลกหน้า และพระราชาพระองค์ นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ตลอดแสนปีทิพย์ อันกองเพลิง ห้อมล้อมเสวยทุกขเวทนา เปลวไฟมีรัศมีซ่านออกจากกายของสัตว์นั้น สรรพางค์กายพร้อมทั้งปลายขน และเล็บ ของสัตว์ผู้มีไฟเป็นภักษา มีเปลวไฟเป็นอัน เดียวกัน สัตว์นรกมีตัวถูกไฟไหม้ ทั้งข้างในข้างนอก อยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้อันทุกข์เบียดเบียนร้องไห้คร่ำครวญ อยู่ เหมือนช้างถูกนายหัตถาจารย์แทงด้วยขอ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 161

ผู้ใดเป็นคนต่ำช้า ฆ่าบิดาเพราะความโลภหรือ เพราะความโกรธ ผู้นั้นต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรกสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ฆ่าบิดาเช่นนั้น ต้องหมกไหม้อยู่ในโลกหกุมภีนรก นายนิรยบาลทั้งหลายเอาหอกแทงสัตว์นรกนั้น ผู้ถูกไฟไหม้อยู่จนไม่มีหนัง ทำให้ตาบอด ให้กินมูตรกินคูถ กดสัตว์นรกเช่นนั้นให้ จมลงในน้ำแสบ นายนิรยบาลทั้งหลาย ให้สัตว์นรก กินก้อนคูถที่ร้อนจัด และก้อนเหล็กแดงอันลุกโพลง ให้ถือผาลทั้งยาวทั้งร้อนสิ้นกาลนาน งัดปากให้อ้า แล้วเอาเชือกผูกไว้ ยัดก้อนเหล็กแดงเข้าไปในปาก ฝูงสุนัขแดง ฝูงสนัขด่าง ฝูงแร้ง ฝูงกา และฝูงนก ตระกรุม ล้วนมีปากเป็นเหล็ก มากลุ้มรุมจิกกัดลิ้น ให้ขาด แล้วกินลิ้นอันมีเลือดไหล เหมือนกินของ อันเป็นเดนเต็มไปด้วยเลือด ฉะนั้น นายนิรยบาลเที่ยวเดินทุบตีสัตว์นรกผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งมีร่างกายอันแตกไปทั่ว เหมือนผลตาลที่ถูกไฟไหม้ จริงอยู่ ความยินดีของนายนิรยบาลเหล่านั้น เป็นการเล่นสนุก แต่สัตว์นรกต้องได้รับทุกข์ คนผู้ฆ่าบิดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในโลกนี้ ต้องอยู่ในนรกเช่นนั้น.

ก็บุตรฆ่ามารดาจากโลกนี้แล้ว ต้องไปสู่ที่อยู่แห่งพระยายม ย่อมเข้า ถึงความทุกข์อย่างยิ่ง ด้วยผลแห่งกรรมของตน พวกนายนิรยบาลที่ร้ายกาจ ย่อมบีบคั้นสัตว์ผู้ฆ่ามารดาด้วยผาลเหล็กแดงบ่อยๆ ให้สัตว์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 162

นรกดื่มกินโลหิตที่เกิดแต่ตน อันไหลออกจากกายของตน ร้อนประหนึ่งทองแดงที่ละลายคว้างบนแผ่นดิน สัตว์นรกนั้นลงไปสู่ห้วงน้ำเช่นกับหนองและเลือด น่าเกลียดดังซากศพเน่า มีกลิ่นเหม็นดุจก้อนคูถ หมู่หนอนในห้วงน้ำนั้นมีกายใหญ่ มีปากเป็นเหล็กแหลม ทำลายผิวหนังชอนไชไปในเนื้อและเลือด กัดกินสัตว์นรกนั้น ก็สัตว์นั้นถึงนรกนั้นแล้ว จมลงไปประมาณ ชั่วร้อยบุรุษศพเน่าเหม็นฟุ้งไปตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ จริงอยู่ แม้จักษุของคนผู้มีจักษุย่อมคร่ำคร่าเพราะกลิ่นนั้น ดูก่อนพระเจ้าพรหมทัต บุคคลผู้ฆ่ามารดา ย่อมได้รับทุกข์เห็นปานนี้.

พวกหญิงรีดลูกย่อมก้าวล่วงลำธารนรกอันขรุขระ ที่ก้าวล่วงได้แสนยากดุจคมมีดโกน แล้วตกไปสู่แม่น้ำเวตรณีที่ไปได้ยาก ต้นงิ้วทั้งหลายล้วนแต่เป็นเหล็ก มีหนาม ๑๖ องคุลี มีกิ่งห้อยย้อยปกคลุมแม่น้ำเวตรณี ที่ไปได้ยากทั้งสองฟาก สัตว์นรกเหล่านั้นมีตัวสูง โยชน์หนึ่ง ถูกไฟที่เกิดเองแผดเผามีเปลวรุ่งเรืองยืนอยู่ ดุจกองไฟตั้งอยู่ที่ไกล ฉะนั้น.

หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีก็ดี ชายที่คบหา ภรรยาผู้อื่นก็ดี ต้องตกอยู่ในนรกอันเร่าร้อนมีหนามคม สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธ กลับเอาศีรษะลงตกลงมานอนอยู่ ถูกทิ่มแทงด้วยหลาว

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 163

เป็นอันมาก ตื่นอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ ครั้นพอรุ่งสว่าง นายนิรยบาลก็ให้สัตว์นรกนั้นเข้าไปสู่โลหกุมภีอันใหญ่ เปรียบดังภูเขามีน้ำเสมอ ด้วยไฟอันร้อน บุคคลผู้ทุศีล ถูกโมหะครอบงำ ย่อมเสวยกรรมของตน ที่ตนกระทำชั่วไว้ในปางก่อน ตลอดวันตลอดคืนด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ภริยาใดที่เขาช่วยมาด้วยทรัพย์ ย่อมดูหมิ่น สามีแม่ผัวพ่อผัว หรือพี่ผัวน้องผัว นายนิรยบาลเอาเบ็ด มีสายเกี่ยวปลายลิ้นของหญิงนั้นคร่ามา สัตว์นรกนั้น เห็นลิ้นของตนยาวประมาณ ๑ วา เต็มไปด้วยหมู่หนอน ไม่อาจอ้อนวอนนายนิรยบาล ตายไปหมกไหม้ใน ตาปนนรก.

พวกคนฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลา ดักเนื้อ พวกโจร คนฆ่าโค พวกพราน พวกคนผู้กระทำคุณ ในเหตุมิใช่คุณ (คนส่อเสียด) ถูกนายนิรยบาล เบียดเบียนด้วยหอกเหล็ก ค้อนเหล็ก ดาบและลูกศร มีหัวลง ตกลงสู่แม่น้ำแสบ คนทำคดีโกง ถูกนายนิรยบาลทุบตีด้วยค้อนเหล็ก ทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า แต่นั้นย่อมกินอาเจียนของสัตว์นรกเหล่าอื่นผู้ได้รับความทุกข์ทุกเมื่อ ฝูงกาบ้าน ฝูงสุนัข ฝูงแร้ง ฝูงกาป่า ล้วนมีปากเหล็กต่างพากันรุมกัดกินสัตว์นรก ผู้กระทำกรรมหยาบช้า ดิ้นรนอยู่ ชนเหล่าใดเป็น อสัตบุรุษ อันธุลีปกปิด ให้เนื้อชนกันตายก็ดี ให้นกตีกันตายก็ดี ชนเหล่านั้นต้องไปตกอุสสทนรก.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 164

[๙๓] สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไปสู่เบื้องบน เพราะกรรมที่ตนประพฤติดีแล้วในโลกนี้ ขอเชิญพระองค์ ทอดพระเนตรผลของกรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว เทพเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พระพรหมมีอยู่ ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นอธิบดีแห่งรัฐ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอทูลมหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรงประพฤติธรรม ดูก่อนพระราชา ขอเชิญพระองค์ทรงประพฤติธรรม เหมือนอย่างธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง ฉะนั้น.

จบสังกิจจชาดกที่ ๒

จบสัฏฐินิบาต

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 165

อรรถกถาสังกิจจชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในชีวกัมพวนาราม ทรงพระปรารภ ปิตุฆาตกรรม ของพระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีพระดำรัสเริ่มต้นว่า ทิสฺวา นิสินฺนํ ราชานํ (เห็นพระเจ้าหรหมทัตประทับนั่ง) ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น อาศัยพระเทวทัต ได้ให้ปลงพระชนม์พระบิดาตามคำของพระเทวทัตแล้ว ได้ทรงสดับว่า พระเทวทัตมีบริษัทแตกกัน ในกาลที่สุดแห่งการทำลายสงฆ์ เมื่อมีโรคเกิดขึ้น จึงคิดว่า เราจักยังพระตถาคตเจ้าให้ยกโทษให้แก่เรา ดังนี้แล้ว จึงไปสู่กรุงสาวัตถีด้วย เตียงคานหาม ถูกแผ่นดินสูบที่ใกล้ประตูพระเชตวันมหาวิหาร จึงทรงรำพึงว่า พระเทวทัตเป็นปฏิปักษ์ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าไปสู่แผ่นดินมีอเวจีมหานรกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า แม้ตัวเรา ได้ให้ปลงพระชนม์พระบิดา ผู้เป็น พระธรรมราชาตั้งอยู่ในธรรม ก็เพราะอาศัยพระเทวทัตนั้น ก็ตัวเราจักถูกแผ่นดินสูบหรือไม่หนอ ดังนี้แล้ว จึงกลัว ไม่ได้ความสบายใจในสิริราชสมบัติ ทรงคิดว่า เราจักนอนหลับสักหน่อย พอจะเคลิ้มหลับเท่านั้น ก็ปรากฏคล้ายกับว่า นายนิรยบาล มาผลักให้ตกไปในแผ่นดินเหล็กหนา ๙ โยชน์ แล้วทิ่มแทงด้วยหลาวเหล็ก หรือมีอาการคล้ายกับว่าถูกสุนัขทั้งหลายแทะเนื้อกินอยู่ จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงด้วยสำเนียงอันน่ากลัวแล้ว เสด็จลุกขึ้น.

ครั้นในวันต่อมา เมื่อวันเพ็ญแห่งเดือนที่ ๔ ซึ่งเป็นที่เบ่งบานแห่ง ดอกโกมุท (คือวันเพ็ญกัตติกมาส) พระเจ้าอชาตศัตรูมีหมู่อำมาตย์แวดล้อมแล้ว ทอดพระเนตรเห็นอิสริยยศของพระองค์ จึงทรงดำริว่า อิสริยยศแห่งพระบิดาของเรายิ่งใหญ่กว่านี้ เราสั่งให้ปลงพระชนม์พระองค์ผู้เป็นธรรมราชา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 166

ชื่อเห็นปานนั้นเสีย เพราะอาศัยพระเทวทัต. เมื่อพระองค์ทรงดำริอยู่อย่างนี้ นั่นแหละ ความเร่าร้อนก็บังเกิดขึ้นในพระวรกายแล้ว พระสรีระทุกส่วน ก็ชุ่มไปด้วยเหงื่อ. ในลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงดำริว่า ใครหนอแล จักสามารถ บรรเทาภัยอันนี้ของเราได้ ดังนี้แล้ว ทรงทราบว่า บุคคลอื่นเว้นพระทศพล เสียแล้ว ย่อมไม่มี จึงทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีความผิดอย่างใหญ่หลวงต่อพระตถาคตเจ้า ใครเล่าหนอ จักพาเราไปเฝ้าพระองค์ได้ ทรงกำหนดมั่นหมายว่า ใครอื่นนอกจากหมอชีวก เป็นไม่มีแน่ ทรงถือเอาการตกลงพระทัยนั้น ทรง ทำอุบายที่จะเสด็จไป เปล่งอุทานว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ราตรีค่ำคืนนี้มี ดวงจันทร์แจ่มกระจ่างน่ารื่นรมย์เสียจริงๆ หนอ แล้วตรัสว่า วันนี้เราควร ไปหาสมณะหรือพราหมณ์ที่ไหนดีหนอ เมื่อเสวกามาตย์ผู้เป็นสาวกของท่าน ปูรณกัสสปะเป็นต้น กล่าวพรรณนาคุณของครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปะเป็นต้น ให้สดับ ก็ไม่ทรงเชื่อถ้อยคำของคนเหล่านั้น กลับตรัสถามถึงหมอชีวก ถึงหมอชีวกนั้นก็กล่าวสรรเสริญพระคุณของพระตถาคตเจ้าก่อนแล้ว กราบทูลว่า พระองค์ผู้ประเสริฐ จงเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นเถิด ดังนี้ พระองค์จึงตรัสสั่งให้ตระเตรียมยานพาหนะ คือช้างแล้วเสด็จไปยังชีวกัมพวัน เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ถวายบังคมแล้ว ทรงได้รับการปฏิสันถาร จากพระตถาคตเจ้าแล้ว จึงทูลถามถึงสามัญญผลอันจะพึงเห็นด้วยตนเอง ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาว่าด้วยสามัญญผลอันไพเราะของพระตถาคตเจ้าแล้ว ในเวลาจบการแสดงสามัญญผลสูตร ได้ทรงประกาศพระองค์เป็นอุบาสกให้ พระตถาคตเจ้าทรงอดโทษแล้ว จึงเสด็จกลับไป. จำเดิมแต่นั้นมา ท้าวเธอ ก็ทรงถวายทาน รักษาศีล ทรงทำการสมาคมกับพระตถาคต ทรงสดับธรรมกถาอันไพเราะ เพราะได้คบกับกัลยาณมิตร จึงทรงละความหวาดกลัวเสียได้

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 167

โลมชาติชูชันหวั่นไหวก็หายไป กลับได้แต่ความสบายพระทัย สำเร็จพระอิริยาบถทั้ง ๔ ด้วยความสุขสำราญ.

ครั้นต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพากันสนทนาในโรงธรรมสภาว่า แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทำปิตุฆาตกรรมแล้ว ทรงสะดุ้ง หวาดกลัวต่อภัย ไม่ได้ความสบายพระทัยเพราะอาศัยสิริราชสมบัติ ทรงเสวย แต่ความทุกข์ในทุกๆ อิริยาบถ บัดนี้ท้าวเธอมาอาศัยพระตถาคตเจ้า กลับหาย สะดุ้งกลัวได้ เพราะการสมาคมกับกัลยาณมิตร จึงได้เสวยความสุขในอิสริยสมบัติ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทบแล้ว จึง ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรมแล้ว อยู่เป็นสุขสบาย เพราะอาศัยเราตถาคตแต่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงในกาลก่อน เธอก็ทำปิตุฆาตกรรมแล้ว อยู่อย่างเป็นสุขสบาย เพราะอาศัยเรา เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงชักนำอดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล พระเจ้าพรทมทัตเสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสี มีพระโอรสทรงพระนามว่า พรหมทัตตกุมาร ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ ถือปฏิสนธิในเรือนของปุโรหิต. เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาได้ ตั้งชื่อว่า สังกิจจกุมาร. พรหมทัตตกุมารและสังกิจจกุมารแม้ทั้งสองนั้น เจริญเติบโตด้วยกันมาในราชนิเวศน์. ทั้งสองคนได้เป็นสหายกัน ครั้นเจริญวัย จึงได้พากันไปเรียนศิลปะยังกรุงตักกศิลา เรียนศิลปะทั้งหมดจบแล้วจึงกลับมา. อยู่ต่อมา พระราชาทรงพระราชทานฐานันดรศักดิ์ที่อุปราชแก่พระโอรส. แม้ พระโพธิสัตว์ ก็ได้อยู่ในสำนักท่านอุปราชเหมือนกัน. ภายหลังต่อมา ท่านอุปราช ได้ทอดพระเนตรเห็นอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระบิดา ผู้เสด็จประพาส

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 168

เล่นในพระอุทยาน ก็บังเกิดความโลภในราชสมบัตินั้นขึ้น จึงทรงดำริวางแผนว่า พระบิดาของเราก็เหมือนกับพระภาดาของเรา ถ้าเราจะรออยู่จนพระบิดานี้สวรรคต เราก็จักได้ราชสมบัติ เมื่อเวลาแก่ ราชสมบัติที่เราได้ในเวลาแก่นั้น จะมีประโยชน์อะไร เราจักให้ปลงพระชนม์พระบิดาเสียแล้ว จึงยึดเอาราชสมบัติ ดังนี้แล้วบอกเนื้อความนั้นให้พระโพธิสัตว์ทราบ. พระโพธิสัตว์จึงทูล ห้ามว่า ข้าแต่ท่านสหาย ธรรมดาว่าปิตุฆาตกรรมเป็นกรรมหนัก เป็นทางแห่งนรก ใครๆ ไม่อาจจะทำกรรมอันนี้ได้ ขอพระองค์อย่าได้ทรงกระทำเลย. ท่านอุปราชนั้น ตรัสอุบายวิธีนั้นบ่อยๆ เข้า ก็ถูกพระโพธิสัตว์ทูลทัดทานไว้ถึง ๓ ครั้ง จึงเปลี่ยนไปปรึกษากับพวกคนรับใช้ใกล้ชิด. คนเหล่านั้น ทูลรับรองแล้ว ก็คอยมองหาอุบายที่จะลอบปลงพระชนม์พระราชา. พระโพธิสัตว์ทราบถึงพฤติการณ์นั้นจึงได้แต่คิดว่า เราจักไม่อยู่ร่วมเป็นอันเดียวกับคนพาลนี้เด็ดขาด ดังนี้แล้ว จึงมิได้อำลามารดาบิดาเลย ออกไปทางประตูใหญ่แล้ว เข้าไปยังป่าหิมวันต์ บวชเป็นฤาษี บำเพ็ญฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร เป็นอยู่อย่างผาสุก. ในขณะเดียวกันนั้น ทางฝ่ายพระราชกุมารก็ใช้ให้คนฆ่าพระบิดาแล้ว เสวยอิสริยยศอันยิ่งใหญ่.

พวกกุลบุตรทั้งหลายเป็นอันมาก พอทราบข่าวว่า สังกิจจกุมารบวชเป็นฤาษีแล้ว จึงพากันออกบวชในสำนักแห่งสังกิจจดาบสนั้น. พระสังกิจจฤาษีนั้น มีหมู่ฤๅษีเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว อยู่ในหิมวันตประเทศนั้น. แม้ดาบสทั้งหมดก็พลอยได้สมาบัติด้วยเหมือนกัน. ฝ่ายพระราชา ครั้นให้คนฆ่าพระบิดา แล้วก็เสวยความสุขสบายในราชสมบัติตลอดกาลเวลามีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น ต่อแต่นั้นมาก็สะดุ้งหวาดกลัวไม่ได้ความสบายพระทัย ได้เป็นเหมือนถึงกรรมกรณ์ในนรก. ท้าวเธอทรงระลึกถึงพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงดำริว่า สหายของเราได้ห้ามปรามแล้วว่า ปิตุฆาตกรรมเป็นกรรมอันหนักมาก เมื่อเขาไม่สามารถ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 169

จะให้เราเชื่อถือถ้อยคำของตนได้ จึงแสดงตนให้หมดโทษแล้วหลบไปเสีย ถ้าเขาจักอยู่ในที่นี้ไซร้ คงจักไม่ยอมให้เรากระทำปิตุฆาตกรรมเป็นแน่ พึงนำภัยแม้นี้ของเราไปเสีย เดี๋ยวนี้เขาอยู่ในที่ไหนหนอ ถ้าเรารู้ที่อยู่ของเขาก็จะได้ให้คนไปเรียกมา ใครกันหนอ จะพึงบอกที่อยู่ของเขาให้แก่เราได้. ตั้งแต่บัดนั้นมา ท้าวเธอก็ตรัสสรรเสริญคุณของพระโพธิสัตว์แต่อย่างเดียว ทั้งภายในพระราชวังและในราชสภา. ครั้นกาลล่วงไปนานแล้วอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ นั้นจึงคิดว่า พระราชาทรงระลึกถึงเรา เราควรไปในราชสำนักนั้นแล้วแสดงธรรมแก่ท้าวเธอ ทำท้าวเธอให้หายหวาดกลัว ดังนี้แล้วอยู่ในหิมวันต์ได้ ๕๐ ปี มีพระดาบส ๕๐๐ เป็นบริวาร พากันมาโดยทางอากาศ ลงในอุทยานชื่อ ทายปัสสะ มีหมู่ฤาษีเป็นบริวารนั่งอยู่ ณ แผ่นศิลา. คนเฝ้าสวนเห็นหมู่ฤาษี นั้นจึงถามว่า ท่านผู้เจริญขอรับ ก็ท่านผู้เป็นศาสดาของคณะมีนามว่ากระไร พอเขาได้ฟังว่า ชื่อว่า สังกิจจบัณฑิต ดังนี้ แม้ตัวเขาเองก็จำได้ จึงได้เรียนให้ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรออยู่ในที่นี้จนกว่าข้าพเจ้าจะทูลเชิญพระราชาให้เสด็จมา พระราชาของพวกข้าพเจ้า ทรงมีพระประสงค์จะพบพระคุณเจ้า ดังนี้ ไหว้แล้วจึงรีบเข้าไปยังพระราชวัง กราบทูลแด่พระราชาว่า พระ โพธิสัตว์นั้นมาแล้ว. พระราชาเสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงกระ ทำสักการะบูชาอันเหมาะสมที่พระองค์จะพึงทำถวายแล้ว จึงตรัสถามปัญหา. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้น คนเฝ้าสวนเห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นจอมทัพประทับนั่งอยู่ ได้กราบทูลท้าวเธอว่า พระสังกิจจฤๅษีที่พระองค์ทรงพระกรุณา ซึ่งยกย่อง กันว่า ได้ดีแล้วในหมู่ฤๅษีทั้งหลาย มาถึงแล้ว ขอเชิญ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 170

พระองค์รีบเสด็จออกไปพบท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่โดยเร็วเถิด ก็ลำดับนั้น พระราชาผู้จอมทัพ อัน หมู่มิตรและอำมาตย์แวดล้อมแล้ว เสด็จขึ้นรถอันเทียม ด้วยม้าอาชาไนยรีบเสด็จไป พระราชาผู้ทรงบำรุง แว่นแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ทรงเปลื้องเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างคือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระ ขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาท ทรงเก็บวาง ไว้แล้ว เสด็จลงจากรถ ทรงดำเนินเข้าไปหาท่าน สังกิจจฤาษี ผู้นั่งอยู่ในพระราชอุทยานอันมีนามว่า ทายปัสสะ ครั้นเสด็จเข้าไปหาแล้วก็ทรงบันเทิงอยู่กับ ฤาษี ครั้น ทรงสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นประทับ นั่งแล้ว ลำดับนั้น ได้ทรงสำคัญกาลอยู่ แต่นั้นทรง ปฏิบัติ เพื่อจะตรัสถามถึงกรรมอันเป็นบาป จึงตรัสว่า ข้าพเจ้าขอถามท่านสังกิจจฤาษี ผู้ได้รับยกย่องว่า ได้ ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งหลาย อันหมู่ฤาษีทั้งหลายห้อม ล้อมนั่งอยู่ ในทายปัสสะอุทยานว่า นรชนผู้ประพฤติ ล่วงธรรม (เหมือน) ข้าพเจ้าประพฤติล่วงธรรมแล้ว จะไปสู่คติอะไรในปรโลก ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้ โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ความว่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนเฝ้าสวนนั้นเห็นพระราชาประทับนั่งในราชสภา จึง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 171

กราบทูลให้พระองค์ได้ทรงทราบแล้ว. บทว่า ยสฺสาสิ ความว่า กราบทูล ให้ทรงทราบถึงผู้ที่พระองค์ทรงรำพันถึง. บทว่า ยสฺสาสิ ความว่า ข้าแต่ มหาราชเจ้า พระองค์ทรงเอ็นดู มีพระหฤทัยอ่อนโยนแก่ท่านผู้ใด อธิบายว่า พระองค์ทรงรำพันถึงคุณของท่านผู้ใดอยู่เนืองๆ ท่านผู้นั้น คือ สังกิจจฤาษี นี้ที่ยกย่องกันว่า เป็นผู้ได้ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งหลาย มาถึงแล้วโดยลำดับ มีหมู่ฤาษีห้อมล้อมนั่งอยู่บนแผ่นศิลา ในพระราชอุทยานของพระองค์ ดูงดงาม เปรียบปานรูปทองคำ ฉะนั้น. บทว่า ตรมานรูโป (รีบ) ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลาย เป็นผู้ไม่คลุกคลีในตระกูล หรือว่า ในหมู่คณะ เมื่อพระองค์เสด็จไปยังมิทันได้ถึง ก็เกรงว่าจะหลีกไปเสียก่อน เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงรีบเสด็จออกไปพบท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะท่านแสวงหาคุณมีศีลเป็นต้นอันใหญ่ยิ่ง. บทว่า ตโต (ลำดับนั้น) ความว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น พอได้ทรงสดับถ้อยคำของคนเฝ้าสวน นั้นแล้ว ก็ทรงรีบร้อนเสด็จไปในลำดับแห่งคำกราบทูลของตนเฝ้าสวนนั้นทัน ที. บทว่า นิกฺขิปฺป (ทรงเปลื้อง) ความว่า ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น พอเสด็จ ถึงประตูพระราชอุทยานก็ทรงฉุกคิดขึ้นว่า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลาย เป็น ผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่ควรเคารพ เราไม่ควรไปยังสำนักของท่านสังกิจจดาบส ด้วย ทั้งเพศที่สูงสุด ท้าวเธอจึงได้นำออกเสียซึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง เหล่านั้น คือ พัดวาลวีชนี มีด้ามเป็นทองคำประดับด้วยแก้วมณี ๑ แผ่น อุณหิสที่ทำด้วยทองคำ ๑ พระขรรค์มงคลที่หุ้มห่อไว้ดีแล้ว ๑ เศวตฉัตร ๑ ฉลองพระบาททองคำ ๑ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทรงเปลื้องแล้ว. บทว่า ปฏิจฺฉทํ (ทรงเก็บ) ความว่า ทรงเก็บเครื่องราชกกุธภัณฑ์นั้นนั่นแลเสีย คือ ทรงมอบ ไว้ในมือของผู้รักษาเรือนคลัง. บทว่า ทายปสฺสสฺมึ (ในอุทยานอันมีนามว่าทายปัสสะ) ได้แก่ ในอุทยานอัน มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า อถ กาลํ อมญฺถ (ลำดับนั้น ได้ทรงสำคัญกาลอยู่) ความว่า ลำดับนั้น พระองค์

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 172

ทรงทราบว่า บัดนี้เป็นเวลาที่จะถามปัญหาได้ แต่ในบาลีว่า ยถาถาลํ ดังนี้ อธิบายว่า พระองค์ทรงสำคัญการถามปัญหา โดยสมควรแก่กาลที่พระองค์ เสด็จมาแล้ว. บทว่า ปฏิปชฺชถ คือ ปฏิบัติแล้ว. บทว่า เปจฺจ (ในปรโลก) ความว่า ละไปแล้ว อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ละไปแล้วนั้นเป็นชื่อของปรโลก เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายถึงปรโลก. บทว่า มยา (ข้าพเจ้า) ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ประพฤติล่วงสุจริตธรรมแล้ว คือได้กระทำปิตุฆาตกรรมแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิดว่า บุคคลผู้ฆ่าบิดา ย่อมไปสูคติอะไร คือย่อมไหม้ในนรกขุมไหน. พระโพธิสัตว์ ได้สดับคำนั้นแล้วจึงทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงตั้งพระทัยสดับเถิด แล้วจึงได้ถวายโอวาทเป็นอันดับแรก.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

สังกิจจฤาษี ได้กล่าวตอบพระราชา ผู้ทรงบำรุงแว่นแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ประทับนั่งอยู่ในทายปัสสะอุทยานว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรทรงฟังอาตมภาพ ถ้าเมื่อบุคคลเว้นทางผิด ทำตามคำของบุคคลผู้บอกกทางถูกให้ โจรผู้เป็นดุจเสี้ยนหนาม ก็ไม่พึงพบหน้าของบุคคลนั้น. เมื่อบุคคลปฏิบัติอธรรม แต่ถ้ากระทำตามคำของบุคคลผู้พร่ำสอนธรรม บุคคลนั้นไม่พึงไปสู่ทุคติเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปเถน (ทางผิด) ได้แก่ หนทางที่พวกโจร ซ่องสุมกันอยู่. บทว่า มคฺคมนุสาสติ (ผู้บอกทางถูกให้) ความว่า บอกหนทางอันเกษมให้. บทว่า นาสฺส มคฺเคยฺย กณฺฏโก (โจรผู้เป็นดุจเสี้ยนหนามก็ไม่พึงพบหน้าของบุคคลนั้น) ความว่า หนามคือพวกโจร ไม่พึง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 173

เห็นหน้าของบุรุษผู้ทำตามโอวาทนั้นตามหนทางเลย. บทว่า โย ธมฺมํ (ผู้พร่ำสอนธรรม) คือ ผู้บอกสุจริตธรรมให้. บทว่า น โส (บุคคลนั้นไม่) ความว่า บุรุษนั้นไม่พึงถึงทุคติชนิดต่างๆ มีนรกเป็นต้น ดูก่อนมหาบพิตร จริงอยู่ อธรรมเป็นเช่นกับหนทางที่ผิด สุจริตธรรมเป็นเช่นกับหนทางอันเกษม ก็พระองค์ เมื่อกาลก่อนได้รับสั่งแก่อาตมภาพว่า เราจักปลงพระชนม์พระบิดาแล้ว จักเป็นพระราชาเอง ถึงถูกอาตมภาพคัดค้านห้ามไว้แล้ว ก็มิได้เชื่อถ้อยฟังคำของอาตมภาพเลย ฆ่าพระบิดาแล้ว ทรงเศร้าโศกอยู่ในบัดนี้ ธรรมดาว่า บุคคลผู้ไม่ทำตามโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ก็เหมือนบุคคลผู้ดำเนินไปในหนทางที่มีโจร ย่อมถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวงแล.

พระโพธิสัตว์ ครั้นได้ถวายโอวาทแด่พระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงธรรมชั้นสูงขึ้นไป จึงทูลว่า

ขอถวายพระพร ธรรมเป็นทางถูก ส่วนอธรรมเป็นทางผิด อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมส่งให้ถึงสุคติ นรชนผู้ประพฤติอธรรม มีความเป็นอยู่ไม่สม่ำเสมอ ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่คติใด อาตมภาพ จะกล่าวคติคือนรกเหล่านั้น ขอพระองค์ทรงสดับคำของอาตมภาพเถิด.

นรก ๘ ขุมเหล่านี้ คือ สัญชีวนรก ๑ กาฬสุตตนรก ๑ สังฆาฏนรก ๑ โรรุวนรก ๑ มหาโรรุวนรก ๑ ต่อมาก็ถึงมหาอเวจีนรก ๑ ตาปนนรก ๑ ปตาปนนรก ๑ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้แล้ว ก้าวล่วงได้ยาก เกลื่อนกล่นไปด้วยเหล่าสัตว์ ผู้มีกรรมหยาบช้า ก็เฉพาะนรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 174

๑๖ ขุม เป็นที่ทำบุคคลผู้กระด้างให้เร่าร้อนน่ากลัว มีเปลวเพลิงรุ่งโรจน์ มีภัยใหญ่ ขนลุกขนพองน่าสะพรึงกลัว มีภัยรอบข้าง เป็นทุกข์ มี ๔ มุม ๔ ประตู จัดแบ่งไว้เป็นส่วนๆ มีกำแพงเหล็กกั้น โดยรอบ มีฝาเหล็กครอบ ภาคพื้นของนรกเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นเหล็กแดงลุกโพลง ประกอบด้วยเปลวไฟ ลุกแผ่ไปตลอดที่ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.

สัตว์ทั้งหลายมีเท้าในเบื้องบน มีศีรษะในเบื้องต่ำ ตกลงไปในนรกนั้น สัตว์เหล่าใดกล่าวล่วงเกินฤๅษี ทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ สัตว์เหล่านั้น ผู้มีความ เจริญอันขจัดแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรก เหมือนปลาที่ถูกเฉือนให้เป็นส่วนๆ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีปกติกระทำกรรมอันหยาบช้า มีตัวถูกไฟไหม้ทั้งข้างใน ข้างนอกเป็นนิตย์ แสวงหาประตูออกจากนรก ก็ไม่พบประตูที่จะออก ตลอดปีนับไม่ถ้วน สัตว์เหล่านั้นวิ่งไปทางประตูด้านหน้า จากประตูด้านหน้าวิ่ง กลับมาทางประตูด้านหลัง วิ่งไปทางประตูด้านซ้าย จากประตูด้านซ้าย วิ่งกลับมาทางประตูด้านขวา วิ่งไปถึงประตูใดๆ ประตูนั้นก็ปิดเสีย สัตว์ทั้งหลายผู้ไปสู่นรก ย่อมประคองแขนคร่ำครวญเสวยทุกข์มิใช่น้อย นับเป็นหลายๆ พันปี เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรรุกรานท่านที่เป็นคนดี ผู้สำรวม มีตบธรรม

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 175

ซึ่งเป็นดุจอสรพิษมีเดชกำเริบร้ายล่วงได้ยา ฉะนั้น.

พระเจ้าอัชชุนะ ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้นเกตกถะ มีพระกายกำยำ เป็นนายขมังธนู มีพระหัตถ์ตั้งพัน มีมูลอันขาดแล้ว เพราะประทุษร้ายพระฤๅษีโคตมโคตร ฝ่ายพระเจ้าทัณฑกีได้เอาธุลีโปรยลงรดกีสวัจฉฤาษี ผู้หาธุลีมิได้ พระราชาพระองค์นั้น ถึงแล้วซึ่งความพินาศ ดุจต้นตาลขาดแล้วจากราก ฉะนั้น พระเจ้าเมชฌะคิดประทุษร้าย ในมาตังคฤาษีผู้เรืองยศ รัฐมณฑลของพระเจ้าเมชฌะ พร้อมด้วยบริษัทก็สูญสิ้นไปในครั้งนั้น ชาวเมืองอันธกวินทัย ประทุษร้าย กัณหทีปายนฤาษี โดยช่วยกันเอาไม้พลองรุมตีจนตาย ไปเกิดในยมสาธนนรก ส่วนพระเจ้าเจติยราชนี้ ได้ประทุษร้ายกปิลดาบส แต่ก่อนเคยเหาะเหินเดินอากาศ ได้ ภายหลังเสื่อมสิ้นฤทธ์ ถูกแผ่นดินสูบ ถึงมรณกาล เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญการ ลุอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น บุคคลไม่ควรเป็นผู้มีจิต ประทุษร้าย พึงกล่าววาจาอันประกอบด้วยสัจจะ ถ้าว่า นรชนผู้ใดมีใจประทุษร้าย เพ่งเล็งท่านผู้รู้ ผู้ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ นรชนผู้นั้น ย่อมไปสู่นรกเบื้องต่ำ.

ชนเหล่าใดพยายามกล่าววาจาหยาบคาย บริภาษ บุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ไม่ใช่เหล่ากอ ไม่ใช่ทายาท เป็นเหมือนต้นตาลมีรากอันขาดแล้ว อนึ่ง ผู้ใดฆ่าบรรพชิตผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้แสวงหาคุณ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 176

อันยิ่งใหญ่ ผู้นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรก ตลอดกาลนาน.

อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ตั้งอยู่ในอธรรม กำจัดชาวแว่นแคว้น ทำชาวชนบทให้เดือดร้อนสิ้น พระชนม์ไปแล้ว จะต้องหมกไหม้อยู่ในตาปนนรก ในโลกหน้า และพระราชาพระองค์นั้น จะต้องหมกไหม้อยู่ตลอดแสนปีทิพย์ อันกองเพลิงห้อมล้อมเสวย ทุกขเวทนา เปลวไฟมีรัศมีซ่านออกจากกายของสัตว์ นั้น สรรพางค์กายพร้อมทั้งปลายขนและเล็บของสัตว์ ผู้มีไฟเป็นภักษา มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน สัตว์นรก มีตัวถูกไฟไหม้ ทั้งข้างในและข้างนอกอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้อันทุกข์เบียดเบียน ร้องไห้คร่ำครวญอยู่เหมือน ช้างลูกนายหัตถาจารย์แทงด้วยขอ ฉะนั้น.

ผู้ใดเป็นคนต่ำช้า ฆ่าบิดาเพราะความโลภหรือ เพราะความโกรธผู้นั้นต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรก สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ฆ่าบิดาเช่นนั้น ต้องหมกไหม้อยู่ใน โลหกุมภีนรก นายนิรยบาลทั้งหลายเอาหอกแทงสัตว์ นรกนั้นผู้ถูกไฟไหม้อยู่จนไม่มีหนัง ทำให้ตาบอด ให้ กินมูตรกินคูถ กดสัตว์นรกเช่นนั้น ให้จมลงในน้ำแสบ นายนิรยบาลทั้งหลายให้สัตว์ นรกกินก้อนคูถที่ร้อนจัด และก้อนเหล็กแดงอันลุกโพลง ให้ถือผาลทั้งยาวทั้งร้อนสิ้นกาลนาน งัดปากให้อ้าแล้วเอาเชือกผูกไว้ ยัดก้อนเหล็กแดงเข้าไปในปาก ฝูงสุนัขแดง ฝูงสุนัข

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 177

ด่าง ฝูงแร้ง ฝูงกา และฝูงนกตระกรุม ล้วนมีปาก เป็นเหล็ก ต่างมารุมจิกกัดลิ้นให้ขาดแล้ว กินลิ้นอัน มีเลือดไหล เหมือนก็ของอันเป็นเดนเต็มไปด้วย เลือด ฉะนั้น นายนิรยบาลเที่ยวเดินทุบตีสัตว์นรกผู้ฆ่า บิดานั้น ซึ่งมีร่างกายอันแตกไปทั่ว เหมือนผลตาลที่ ถูกไฟไหม้ จริงอยู่ ความยินดีของนายนิรยบาลเหล่านั้น เป็นการเล่นสนุก แต่สัตว์นรกต้องได้รับทุกข์ คนผู้ ฆ่าบิดาเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ต้องอยู่ในนรก เช่นนั้น.

ก็บุตรฆ่ามารดาจากโลก นี้แล้ว ต้องไปสู่ที่อยู่ แต่งพระยายม ย่อมเข้าถึงความทุกข์อย่างยิ่ง ด้วยผล แห่งกรรมของตน พวกนายนิรยบาลที่ร้ายกาจ ย่อม บีบคั้นสัตว์ผู้ฆ่ามารดา ด้วยผาลเหล็กแดงบ่อยๆ ให้ สัตว์นรกดื่มกินโลหิตที่เกิดแต่ตน อันไหลออกจาก กายของตน ร้อนดุจทองแดงที่ละลายคว้างบนแผ่นดิน สัตว์นรกนั้นลงไปสู่ห้วงน้ำเช่นกับหนองและเลือด น่าเกลียดดังซากศพเน่า มีกลิ่นเหม็นดุจก้อนคูถ หมู่ หนอนในห้วงน้ำนั้น มีกายใหญ่ มีปากเป็นเหล็กแหลม ทำลายผิวหนัง ชอนไชไปในเนื้อและเลือด กัดกิน สัตว์นรกนั้น ก็สัตว์นั้นถึงนรกนั้นแล้ว จมลงไปประ มาณชั่วร้อยบุรุษ ศพเน่าเหม็นฟุ้งไปตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ จริงอยู่ แม้จักษุของตนผู้มีจักษุ ย่อมคร่ำคร่า เพราะกลิ่นนั้น ดูก่อนพระเจ้าพรหมทัต บุคคลผู้ฆ่า มารดา ย่อมได้รับทุกข์เห็นปานนี้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 178

พวกหญิงผู้รีดลูกย่อมก้าวล่วงลำธารนรกอันคม แข็ง ที่ก้าวล่วงได้แสนยาก ดุจคมมีดโกน แล้ว ตกไปสู่แม่น้ำเวตรณีที่ไปได้ยาก ต้นงิ้วทั้งหลาย ล้วน แต่เป็นเหล็กมีหนาน ๑๖ องคุลี มีกิ่งห้อยย้อยปกคลุมแม่น้ำเวตรณี ที่ไปได้ยากทั้ง ๒ ฟาก สัตว์นรก เหล่านั้น มีตัวสูงโยชน์หนึ่งลูกไฟที่เกิดเองแผดเผา มีเปลวรุ่งเรืองยืนอยู่ ดุจกองไฟ ตั้งอยู่ที่ไกล ฉะนั้น.

หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีก็ดี ชายที่คบหาภรรยาผู้อื่นก็ดี ต้องตกอยู่ในนรกอันเร่าร้อนมีหนามคม สัตว์นรกเหล่านั้น ลูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธ กลับเอาศีรษะลง ลงมานอนอยู่ ถูกทิ่มแทงด้วย หลาวเป็นอันมาก ตื่นอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ ครั้นพอ รุ่งสว่าง นายนิรยบาล ก็ให้สัตว์นรกนั้นเข้าไปสู่ โลหกุมภีอันใหญ่ เปรียบดังภูเขามีน้ำเสมอด้วยไฟอัน ร้อน บุคคลผู้ทุศีล ถูกโมหะครอบงำ ย่อมเสวย กรรมของตน ที่ตนเองกระทำชั่วไว้ในปางก่อน ตลอด วันตลอดคืน ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ภรรยาใดที่เขาช่วยมาด้วยทรัพย์ ย่อมดู หมิ่นสามี แม่ผัวพ่อผัว หรือพี่ผัวน้องผัว นายนิรยบาล เอาเบ็ดมีสายเกี่ยวปลายลิ้นของหญิงนั้นฉุดคร่า มา สัตว์นรกนั้นเห็นลิ้นของตนซึ่งยาวประมาณ ๑ วา เต็มไปด้วยหมู่หนอน ไม่อาจอ้อนวอนนายนิรยบาล ย่อมตายไปหมกไหม้ในตาปนนรก.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 179

พวกคนฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลาดักเนื้อ พวกโจร คนฆ่าโค พวกพราน พวกคนผู้กระทำคุณในเหตุมิใช่ คุณ (คนส่อเสียด) ลูกนายนิรยบาลเบียดเบียนด้วย หอกเหล็ก ค้อนเหล็ก ดาบและลูกศร พุ่งหัวให้ตก ลงสู่แม่น้ำแสบ คนทำคดีโกง ถูกนายนิรยบาลทุบตี ด้วยค้อนเหล็ก ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า แต่นั้น ย่อมกิน อาเจียนของสัตว์นรกเหล่าอื่น ผู้ได้รับความทุกข์ทุกๆ เมื่อ ฝูงกาบ้าน ฝูงสุนัข ฝูงแร้ง ฝูงกาป่า ล้วนมีปาก เหล็ก ต่างพากันรุมจิกกัดกินสัตว์นรก ผู้กระทำกรรม อันหยาบช้า ดิ้นรนอยู่ ชนเหล่าใดเป็นอสัตบุรุษ อัน ธุลีปกปิดให้เนื้อชนกันจนตายก็ดี ให้นกตีกันจนตาย ก็ดี ชนเหล่านั้น ต้องไปตกอุสสทนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ปโถ ความว่า ธรรมคือกุศล กรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นทางที่ดำเนินไปสู่สุคติ เป็นทางเกษม ไม่มีภัย เฉพาะหน้า. บทว่า วิสมชีวิใน คือ สำเร็จการเลี้ยงชีพโดยอธรรม. บทว่า นิรเย ความว่า อาตมภาพจะกล่าวนรกที่บังเกิดแก่สัตว์เหล่านี้แด่พระองค์. บทว่า สุโณหิ เม ความว่า พระมหาสัตว์แม้ถูกพระราชาตรัสถามถึงนรกที่ พวกชนผู้ฆ่าบิดาบังเกิดเกล้า ก็มิได้แสดงนรกนั้นก่อนแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจะ แสดงมหานรก ๘ ขุม และอุสสทนรก ๑๖ ขุม. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะเมื่อพระมหาสัตว์แสดงถึงนรกที่ตรัสถามนั้นก่อน พระราชาพึงมีพระหฤทัยแตกสวรรคตเสียในที่นั้นเป็นแน่แท้ ก็พระราชาทอดพระเนตรเห็นสัตว์ ทั้งหลายผู้ไหม้อยู่ในนรกเหล่านี้ ย่อมจะถือเอาไว้เป็นตัวอย่าง ทรงมีอุปัตถัมภกกรรมอันเกิดพร้อมแล้ว ด้วยทรงเข้าพระทัยว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีกรรม

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 180

อันชั่วช้าเลวทรามมากเหมือนกับตัวเรา เราจักต้องหมกไหม้ในระหว่างแห่งนรก เหล่านี้ ดังนี้แล้ว ก็จักเป็นผู้หาพระโรคคือความกลัวมิได้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์ แสดงนรกเหล่านั้น ทำแผ่นดินให้แยกออกเป็น ๒ ภาค ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ก่อนแล้ว จึงแสดงภายหลัง เนื้อความแห่งคำเหล่านั้น มีดังต่อไปนี้ สัตว์นรก ทั้งหลาย อันนายนิรยบาลถืออาวุธต่างๆ อันลุกโพลงแล้ว ตัดให้เป็นท่อนน้อย ท่อนใหญ่ ย่อมมีชีวิตอยู่บ่อยๆ (คือตายแล้วก็เกิดมารับกรรมอีก) ในนรกนี้ เหตุนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า สัญชีวะ. นายนิรยบาลทั้งหลาย พากันบันลือ โห่ร้องติดกันไม่ขาดระยะ ถืออาวุธต่างชนิดที่ไฟลุกโพลง ติดตามไล่ฆ่าสัตว์นรก ทั้งหลาย ผู้กำลังวิ่งหนีไปๆ มาๆ อยู่บนเหนือแผ่นดินโลหะอันลุกโพลงด้วย ไฟ เมื่อสัตว์ล้มลงบนแผ่นดินที่ลุกเป็นไฟแล้ว จึงขึงสายบรรทัดอันลุกโชน ด้วยไฟ แล้วถือขวานที่ไฟกำลังติด พากันโห่ร้องทำสัตว์นรกผู้คร่ำครวญอยู่ ด้วยเสียงอันน่าเวทนาเป็นอย่างมากให้เป็น ๘ ส่วนบ้าง ๑๖ ส่วนบ้าง เป็นไป อยู่ในนรกนี้ เหตุนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า กาฬสุตตะ. ภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟทั้งหลาย ลูกใหญ่ๆ หลายลูก กระทบสัตว์อยู่ในนรกนี้ เหตุนั้น นรกนั้น จึงชื่อว่า สังฆาฏะ ได้ยินว่า นายนิรยบาลทั้งหลาย ให้สัตว์นรกะข้าไปในแผ่นดินเหล็ก ที่ลุกโพลง ได้ ๙ โยชน์เพียงเอว แล้วกระทำไม่ให้หวั่นไหวในนรกนั้น ลำดับนั้น ภูเขาเหล็กอันลุกโพลง ลูกใหญ่ๆ เกิดขึ้นแต่ด้านทิศบูรพา ครางกระหึ่มอยู่ เหมือนเสียงอสนีบาต กลิ้งมาบดสัตว์เหล่านั้น ราวกะว่าบดงากระทำให้เป็นผง แล้วไปตั้งอยู่ในทิศปัจฉิม แม้ภูเขาเหล็กที่ตั้งขึ้นแต่ทิศปัจฉิม ก็กลิ้งไปเหมือน อย่างนั้นนั่นแล แล้ว ตั้งอยู่ในทิศบูรพา อนึ่ง ภูเขาทั้ง ๒ ลูกนั้นได้กลิ้งมา ปะทะกันแล้ว บดขยี้สัตว์นรก ดุจบีบลำอ้อยในเครื่องยนตร์สำหรับบีบอ้อย ฉะนั้น สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเสวยทุกข์ในสังฆาฏนรกนั้น ตลอดหลายแสนปี เป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 181

บทว่า เทฺว จ โรรุวา ความว่า โรรุวนรก ๒ คือ ชาลโรรุวะ ๑ ธูมโรรุวะ ๑. บรรดาโรรุวนรกทั้ง ๒ นั้น ชาลโรรุวะเต็มไปด้วยเปลวไฟอัน แสดงคล้ายเลือด ดำรงอยู่ตลอดกัป. ธูมโรรุวะเต็มไปด้วยควันอันแสบ. ใน โรรุวนรกทั้ง ๒ นั้น เปลวไฟจะแทรกเข้าไปตามปากแผลทั้ง ๙ ของพวก สัตว์นรกผู้หมกไหม้อยู่ในชาลโรรุวะแล้ว จึงเผาสรีระ. ควันแสบแทรกเข้าไป ตามปากแผลทั้ง ๙ ของเหล่าสัตว์นรกผู้ไหม้อยู่ในธูมโรรุวะ แล้วจึงค่อยทำ สรีระให้เป็นผงไหลออกมาคล้ายดังแป้ง ฉะนั้น. สัตว์นรกผู้หมกไหม้อยู่ในนรก แม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมร้องดัง ท่านจึงเรียกนรกแม้ทั้ง ๒ นั้นว่า โรรุวะ. ความ ว่างเปล่า คือระหว่างคั่นของเปลวไฟ สัตว์ผู้หมกไหม้อยู่ และทุกข์ของสัตว์ เหล่านั้น ย่อมไม่มีในนรกนี้ เหตุนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า อวิจิ. อวีจินรกเป็น สถานที่ใหญ่ จึงได้ชื่อว่า มหาอวีจิ. จริงอยู่ ในมหาอวิจินรกนั้น เปลวไฟ ทั้งหลาย ตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศบูรพาเป็นต้นแล้ว กลับมากระทบในฝาด้านทิศ ปัจฉิมเป็นต้น ทะลุฝาก่อนแล้วจับข้างหน้าได้ ๑๐๐ โยชน์ เปลวไฟที่ตั้งขึ้น ในเบื้องต่ำย่อมกระทบเบื้องบน เปลวไฟที่ตั้งขึ้นเบื้องบนย่อมกระทบในเบื้องต่ำ ขึ้นชื่อว่า เปลวไฟทั้งหลาย ในอวีจิมหานรกนี้ ย่อมไม่มีระหว่างอย่างนี้ นั่นแหละ ก็สถานที่มีประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ภายในมหานรกนั้น เต็มไปด้วย สัตว์ทั้งหลายหาระหว่างคั่นไม่ได้เลย ประดุจดังทะนานเต็มไปด้วยน้ำนมและ แป้ง ฉะนั้น ประมาณของเหล่าสัตว์ผู้หมกไหม้อยู่ ย่อมไม่มีด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ และสัตว์เหล่านั้น ย่อมไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ย่อมไหม้อยู่ในที่เฉพาะ ของตนเท่านั้น. ขึ้นชื่อว่า ระหว่างแห่งสัตว์ทั้งหลายในมหานรกนี้ ย่อมไม่มี ด้วยประการฉะนี้. อุเบกขาอันเป็นอกุศลวิบาก ๖ อย่างที่เหลือ ย่อมเป็น อัพโภหาริก เพราะความที่ทุกข์ในมหานรกนั้นมีกำลัง เผาอยู่เนืองๆ เปรียบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 182

เหมือนหยาดแห่งน้ำผึ้ง ๖ หยาดในปลายลิ้น ย่อมเป็นอัพโภหาริก เพราะ ความที่หยาดของทองแดงอันเป็นส่วนที่ ๗ เป็นของมีกำลังเผาอยู่เนืองๆ ฉะนั้น. ทุกข์เท่านั้น ย่อมปรากฏ คือ ย่อมปรากฏหาระหว่างมิได้. ขึ้นชื่อว่าระหว่าง แห่งความทุกข์ในมหานรกนี้ ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้. อวีจิมหานรกนี้นั้น รวมทั้งฝาทั้งหลาย วัดโดยผ่ากลางได้ ๓๑๘ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๕๔ โยชน์ รวมทั้งอุสสทนรกด้วยเป็นหมื่นโยชน์. บัณฑิตพึงทราบความที่อวีจิมหานรกนั้น เป็นสถานที่ใหญ่ถึงเพียงนี้.

นรกใดเผาสัตว์ทั้งหลายไม่ให้กระดิกได้ เพราะฉะนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า ตาปนะ. นรกใดย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนอย่างเหลือเกิน เพราะฉะนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า ปตาปนะ. นายนรยบาลทั้งหลาย ย่อมให้สัตว์นั่งบนหลาว เหล็กที่ลุกโพลง มีประมาณเท่าลำตาล ในตาปนนรกนั้น แผ่นดินภายใต้แต่ ที่นั้น ย่อมลุกโพลง ส่วนหลาวไม่ติดไฟ สัตว์ทั้งหลายย่อมลุกเป็นเปลวเพลิง นรกนั้น ย่อมเผาสัตว์ไม่ให้กระดิกได้ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง นายนิรยบาล ย่อมประหารสัตว์ผู้เกิดในนรกนอกนี้ ด้วยอาวุธทั้งหลายที่กำลังลุกโชนแล้ว ให้ขึ้นสู่ภูเขาเหล็กมีไฟโพลง. ในเวลาที่สัตว์เหล่านั้น ยืนอยู่บนยอดภูเขา ลม อันมีกรรมเป็นปัจจัย ย่อมประหารสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นไม่อาจจะทรงตัว อยู่ได้บนภูเขานั้น ก็มีเท้าในเบื้อง มีศีรษะในเบื้องต่ำตกลงมา. ลำดับนั้น หลาวเหล็กลุกเป็นไฟ ย่อมตั้งขึ้นแต่แผ่นดินเหล็กเบื้องต่ำ. สัตว์นรกเหล่านั้น ก็เอาศีรษะกระแตกหลาวเหล็กเหล่านั้นทีเดียว มีร่างกายทะลุเข้าไปในหลาว เหล็กเหล่านั้นลุกโพลงไหม้อยู่. นรกนั้น ย่อมเผาสัตว์ให้เร่าร้อนเหลือเกิน ด้วยประการฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 183

ก็พระโพธิสัตว์ เมื่อจะแสดงนรกเหล่านั้นให้ปรากฏ จึงแสดงถึงสัญชีวนรกก่อน เพราะได้เห็นสัตว์นรกทั้งหลายผู้หมกไหม้อยู่ในสัญชีวนรกนั้น มหาชนจึงเกิดความหวาดกลัวขึ้นเป็นอย่างมากแล้ว จึงให้สัญชีวนรกนั้น อันตรธานหายไป ทำแผ่นดินให้แยกออกเป็น ๒ ส่วนอีกครั้งหนึ่งแล้ว จึง แสดงกาฬสุตตนรก. พอเมื่อความหวาดกลัวเป็นอย่างมากเกิดขึ้นแก่มหาชน เพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลายหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรกเช่นนั้น จึงบันดาลให้ กาฬสุตตนรกนั้นอันตรธารหายไป. พระโพธิสัตว์แสดงนรกโดยลำดับอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงเชิญเสด็จพระราชามาแล้ว ทูลว่า ขอถวายพระพร พระองค์ควรจะได้ทอดพระเนตรสัตว์ทั้งหลายผู้หมกไหม้อยู่ ในมหานรกทั้ง ๘ ขุมเหล่านี้บ้าง จะได้ทรงบำเพ็ญความไม่ประมาท ดังนี้แล้ว หวังจะกล่าวถึงหน้าที่แห่งมหานรกเหล่านั้น ซ้ำอีกครั้ง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า นรก ๘ ขุม ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขาตา ความว่า นรกทั้ง ๘ ขุมที่ อาตมภาพทูลแล้วแก่พระองค์นี้ บัณฑิตทั้งหลาย ในกาลก่อนก็ได้เคยกล่าวไว้ แล้วเหมือนกันนะ. บทว่า อากิณฺณา คือ บริบูรณ์. บทว่า ปจฺเจกา โสฬสุสฺสทา ความว่า มหานรกทั้ง ๘ ชุมเหล่านี้ แต่ละขุมๆ มีประอยู่ ๔ ประตู แต่ละประตูมีอุสสทนรกประตูละ ๔ มหานรกแห่งหนึ่งๆ จึงได้มี อุสสทนรกแห่งละ ๑๖ ขุม รวมอุสสทนรกทั้งหมดเป็น ๑๒๘ (เป็นนรกย่อย) รวมกับมหานรกอีก ๘ ขุม จึงเรียกว่านรก ๑๓๖ ขุม ด้วยประการฉะนี้ (๘ x ๔=๓๒ x ๔=๑๒๘ + ๘=๑๓๖). บทว่า กทริยตาปนา ความว่า นรกเหล่านี้แม้ทั้งหมด เป็นสถานที่ทำคนผู้แข็งกระด้างให้เร่าร้อน น่ากลัว เพราะมีความทุกข์เป็นกำลัง มีเปลวไฟ เพราะมีเปลวไฟเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 184

ตลอดกัป มีภัยมากมาย เพราะมีความน่ากลัวอยู่อย่างมาก มีรูปร่างน่าขนลุก ขนพอง เพราะพอบุคคลเห็นเข้าก็ขนลุกขนพอง ดูพิลึก เพราะน่าเกลียดน่ากลัว มีภัยรอบด้านเพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภัย มีความลำบาก เพราะหาความสุขไม่ ได้เลย. บทว่า จตุกฺโกณา ได้แก่ นรกแม้ทั้งหมดก็เป็นเช่นกับหีบ ๔ เหลี่ยม. บทว่า วิภตฺตา คือ แบ่งไว้เป็นประตูทั้ง ๔ ด้าน. บทว่า ภาคโส มิตา คือ นับตั้งไว้เป็นส่วนๆ ด้วยสามารถทางประตูทั้งหลาย. บทว่า อยสา ปฏิกชฺชิตา ความว่า นรกแม้ทั้งหมดถูกปิดแล้ว ด้วยกระเบื้องเหล็กประมาณ ๙ โยชน์. บทว่า ผุฏา ติฏฺนฺติ ความว่า นรกแม้ทั้งหมด แผ่ไปตั้งอยู่ตลอด เนื้อที่ประมาณเพียงเท่านี้. บทว่า อุทฺธํปาทา อวํสิรา อธิบายว่า พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้ หมายถึงสัตว์ผู้กลิ้งเกลือกตกไปอยู่ ในนรกนั้นบ่อยๆ. บทว่า อติวตฺตาโร ความว่า สัตว์ที่กล่าวล่วงเกินด้วยวาจาหยาบคายทั้งหลาย. ได้ยินมาว่า สัตว์ทั้งหลายผู้กระทำความผิด ในสมณพราหมณ์ผู้ดำรงอยู่ในธรรม ย่อมหมกไหม้อยู่ในมหานรกโดยมาก็เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า เต ภูนหนา อธิบายว่า สัตว์ผู้กล่าวล่วงเกินพระฤๅษีเหล่านั้น เป็นผู้มีความ เจริญอันถูกกำจัดแล้ว เพราะกำจัดความเจริญของตนเอง ย่อมหมกไหม้อยู่ คล้ายกับปลาที่เขาทำให้เป็นชิ้นๆ. บทว่า อสงฺเขยฺเย ความว่า ใครๆ ไม่ สามารถจะนับได้. บทว่า กิพฺพิสการิโน คือ ผู้มีปกติการทำกรรมอันทารุณ โหดร้าย. บทว่า นิกฺขมเนสิโน ความว่า สัตว์เหล่านั้น แม้จะค้นหา แสวงหาหนทางออกจากนรก ก็มิได้ถึงประตูทางออกเลย. บทว่า ปุรตฺถิเมน ความว่า ในเวลาที่ประตูยังไม่ปิด สัตว์เหล่านั้นก็จะพากันมุ่งหน้าวิ่งไปยังประตู นั้น. อวัยวะมีผิวพรรณเป็นต้นของสัตว์เหล่านั้น ก็จะถูกไหม้ไฟในที่นั้นเอง. พอเมื่อสัตว์เหล่านั้นวิ่งไปใกล้จะถึงประตู ประตูก็ปิดเสีย ประตูข้างหลังก็ปรากฏ คล้ายเหมือนว่าถูกเปิดแล้ว. แม้ในประตูด้านอื่นๆ ทั้งหมดก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 185

บทว่า น สาธุรูเป ความว่า บุคคล (อย่า) พึงเข้าไปเบียดเบียนพระฤาษี ผู้มีรูปดีดุจดังงูมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยที่นั่ง ด้วยคำหยาบ หรือด้วยกายกรรม ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะจะต้องได้เสวยความทุกข์อย่างใหญ่- หลวง ในมหานรกทั้ง ๘ ขุม เหตุกระทบกระทั่งท่านผู้สำรวมแล้ว และมี ตบธรรม.

บัดนี้ พระโพธิสัตว์หวังจะแสดงถึงพระราชา ผู้ทรงกระทบกระเทียบ พระฤๅษีเห็นปานนั้นแล้ว ประสบความทุกข์นั้นๆ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า อติกาโย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกาโย ได้แก่ มีพระวรกาย ใหญ่โต สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า มหิสฺสาโส ได้แก่ ผู้ถือธนู. บทว่า สหสฺสพาหุ ความว่า มีแขนพันหนึ่ง เพราะสามารถยกธนูได้ด้วยแขนพันแขน ที่ต้องใช้บุคคลผู้ถือธนู ๕๐๐ คน ถึงจะยกขึ้นได้. บทว่า เกกกาธิโป คือ ผู้เป็นใหญ่ในเกกกรัฐ. บทว่า วิภวงฺคโต ได้แก่ ถึงความพินาศ. เรื่อง ทั้งหลายมีพิสดารแล้วในสรภังคชาดก. บทว่า อุปหจฺจ มนํ ได้แก่ ทำจิต ของตนให้ประทุษร้าย. บทว่า มาตงฺคสฺมึ คือ ในมาตังคบัณฑิต. เรื่อง ได้เล่าไว้แล้วในมาตังคชาดก. บทว่า กณฺหทีปายนาสชฺช คือ ทำร้าย พระดาบสผู้มีชื่อว่า กัณหทีปายนะ. บทว่า ยมสาธนํ ได้แก่ นรก. เรื่องมี พิสดารแล้วในฆฏชาดก. บทว่า อิสินา ได้แก่ พระดาบสชื่อว่า กปิละ. บทว่า ปาเวกฺขี ได้แก่ เข้าไปแล้ว. บทว่า เจจฺโจ ได้แก่ พระเจ้าเจติยราช. บทว่า หีนตฺโต ได้แก่ มีอัตภาพอันเสื่อมไปรอบแล้ว คือ หมดฤทธิ์. บทว่า กาลปริยายํ ได้แก่ ถึงเวลาตายโดยปริยาย. เรื่องกล่าวไว้แล้วในเจติยชาดก. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจแห่งจิต ผิดใน ฤๅษีทั้งหลายแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในมหานรกทั้ง ๘. บทว่า ตสฺมา หิ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 186

ฉนฺทาคมนํ ความว่า บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญการถึงอคติแม้ทั้ง ๔ อย่างมี ฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า ปทุฏฺเน คือ โกรธแล้ว. บทว่า คนฺตฺวา โส นิรยํ อโธ ความว่า บุคคลผู้นั้น ย่อมไปสู่นรกเบื้องต่ำนั้นแล ด้วยผลกรรม ที่ตนควรไปสู่เบื้องต่ำนั้น. แต่ในพระบาลีท่านเขียนไว้เป็น นิรยุสฺสทํ ดังนี้. ความข้อนั้นหมายถึงว่า ย่อมไปสู่อุสสทนรก. บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ท่าน ผู้เจริญโดยวัย และท่านผู้เจริญโดยคุณ. บทว่า อนปจฺจา ความว่า คน เหล่านั้น ย่อมไม่ได้เหล่ากอหรือทายาท แม้ในระหว่างแห่งภพ. บทว่า ตาลวตฺถุ ความว่า คนเหล่านั้น ย่อมถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง แม้ใน ทิฏฐธรรมคล้ายต้นตาลที่มีรากอันขาดแล้วฉะนั้น แล้วไปบังเกิดในนรกทั้งหลาย. บทว่า หนฺติ ได้แก่ ทำให้ตาย. บทว่า จิรํ รตฺตาย ได้แก่ ตลอดกาล ยาวนาน.

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงนรกที่พวกคนผู้เบียดเบียนฤๅษีทั้งหลายหมก ไหม้อยู่ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงนรกที่พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมหมกไหม้ อยู่ต่อไป จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โย จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รฏฺํ วิทฺธํสโน ได้แก่ เป็นผู้ถึงอคติด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้นแล้ว กำจัด ชาวแว่นแคว้นเสีย. บทว่า อจฺจิสงฺฆปเรโต โส ได้แก่ พระราชาพระองค์ นั้น เป็นผู้อันกลุ่มแห่งเปลวไฟโหมล้อมแล้ว. บทว่า เตโชภกฺขสฺส ได้แก่ เคี้ยวกินไฟอยู่ทีเดียว. บทว่า คตฺตานิ ได้แก่ องค์อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหมด ในสรีระ ในที่ประมาณ ๓ คาวุต คือ เปลวไฟเป็นกลุ่มเดียวกันทั้งหมด มีพร้อมกับอวัยวะเหล่านี้ คือ ปลายขนและเล็บ. บทว่า ตุณฺฑทฺทิโต ความว่า สัตว์นรกนั้น ย่อมคร่ำครวญ คล้ายช้างที่นายหัตถาจารย์แทงแล้ว ด้วยขอ กระทำให้มีอาการไม่หวั่นไหว.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 187

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงนรกที่พวกพระราชา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม หมกไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงนรกที่พวกบุคคลผู้ฆ่าบิดาเป็นต้น หมกไหม้อยู่ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โย โลภา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลภา ได้แก่ เพราะความโลภในยศและในทรัพย์. บทว่า โทสา ได้แก่ เพราะตนมีจิตอันโทสะประทุษร้ายแล้ว. บทว่า นิตฺตจํ ความว่า นายนิรยบาล นำคนผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งหมกไหม้อยู่ในโลหกุมภี ตลอดหลายพัน ปีออกมาแล้ว ทำสรีระซึ่งสูง ๓ คาวุตของสัตว์นั้น ไม่ให้มีหนัง (ลอกหนัง ออก) แล้วผลักให้ล้มลงบนแผ่นดินโลหะอันไฟลุกโพลง ทิ่มแทงด้วยหลาว เหล็กอันคม จนละเอียดเป็นผุยผง. บทว่า อนฺธํ กริตฺวา ความว่า พระ โพธิสัตว์ ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร นายนิรยบาลทั้งหลาย ทรมานคนผู้ฆ่าบิดา นั้น ให้ล้มหงายลงบนแผ่นดินโลหะที่ไฟกำลังลุกโพลง แล้วเอาหลาวเหล็กที่ ติดไฟลุกโพลง ทิ่มแทงนัยน์ตาทั้ง ๒ ข้างให้บอดสนิท แล้วเอามูตร และ กรีสอันร้อนยัดใส่เข้าไปในปาก แล้วหมุนเวียนสัตว์นั้น ไป คล้ายตั่งที่ทำด้วย ฟาง แล้วกดให้จมลงในน้ำโลหะอันแสบ ซึ่งตั้งอยู่โดยตลอดกัป. บทว่า ตตฺตํ ปกฺกุฏฺิตมโยคุฬญฺจ ความว่า นายนิรยบาลทั้งหลายให้สัตว์นรก นั้นเคี้ยวกินเปือกตม คือคูถอันเดือดพล่านแล้ว และก้อนเหล็กอันลุกโชนอีก ด้วย ก็สัตว์นรกนั้น พอเห็นคูถและก้อนเหล็กที่นายนิรยบาล นำนาอยู่นั้นแล้ว ก็ปิดปากเสีย ลำดับนั้น นายนิรยบาล จึงเอาผาลไถยาวมีปลายร้อนยิ่งนัก ลุก เป็นเปลวไฟ งัดปากของสัตว์นรกนั้นให้อ้าออกแล้ว ใส่เบ็ดเหล็กที่ผูกสายเชือก เข้าไปเกี่ยวเอาลิ้นออกมา แล้วยัดใส่ก้อนเหล็กนั้นลงไปในปากที่อ้าอยู่นั้น. บทว่า รกฺขสา ได้แก่ นายนิรยบาล. บทว่า สามา จ ความว่า พระ โพธิสัตว์ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร ฝูงสุนัขแดง ฝูงสุนัขมีสีด่าง ฝูงแร้งมีปาก เป็นโลหะ ฝูงกาป่าและฝูงนกนานาชนิด เหล่าอื่น ก็พากันมาชุมนุมฉุดกระชาก

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 188

ลากเอาลิ้นของบุคคลผู้ฆ่าบิดานั้นออกมาด้วยเบ็ด แล้วกัดลิ้นที่นำออกไว้บน แผ่นดิน ด้วยขอเหล็กหลายอัน คล้ายกะเอาอาวุธมาตัดทำให้เป็นส่วนๆ โดย อาการเหมือนกากบาท. บทว่า วิปฺผนฺทมานํ ความว่า ฝูงสัตว์เหล่านั้น ย่อมพากันเคี้ยวกินสัตว์นรกทั้งหลาย เหมือนเคี้ยวกินของอันเป็นเดนที่มีเลือด ออก ฉะนั้น. บทว่า ตํ ทฑฺฒกาฬํ ความว่า นายนิรยบาลเที่ยวเดินทุบ ตีสัตว์นรกผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งมีสรีระอัน ไฟไหม้แล้วลุกโพลงอยู่ ประดุจดังผล กะเบาอันไฟไหม้อยู่ ฉะนั้น. บทว่า ปริภินฺนคตฺตํ ได้แก่ มีตัวอันแตก แล้วในที่นั้นๆ. บทว่า นิปิโปถยนฺตา ได้แก่ เอาค้อนเหล็กที่ไฟลุกโพลง ทุบตี. บทว่า รตี หิ เตสํ ความว่า ความยินดีนั้น ย่อมเป็นความสนุก สนานของพวกนายนิรยบาลเหล่านั้น. บทว่า ทุกฺขิโน ปนีตเร ความว่า ส่วนสัตว์นรกนอกนี้ ย่อมเป็นผู้ได้รับความทุกข์. บทว่า เปตฺติฆาฏิโน คือ ผู้ฆ่าบิดา พระราชา ครั้นทอดพระเนตรเห็นนรกที่บุคคลผู้ฆ่าบิดาทั้งหลาย หมกไหม้อยู่นี้ ได้เป็นผู้สะดุ้งกลัวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ครั้นได้ปลอบพระราชาพระองค์นั้นแล้ว จึงแสดงนรกที่บุคคลผู้ฆ่ามารดาทั้งหลายหมกไหม้อยู่. บทว่า ยมกฺขยํ คือ ที่อยู่ของพระยายม ได้แก่ นรก. บทว่า อตฺตกมฺมผลูปโค ได้แก่ เข้า ถึงแล้วด้วยผลกรรมของตน. บทว่า อมนุสฺสา ได้แก่ พวกนายนิรยบาล. บทว่า หนฺตารํ ชนยนฺติยา คือ ผู้ฆ่ามารดา. บทว่า พาเลหิ ความว่า นายนิรยบาลพันด้วยผาลผูกด้วยขอเหล็ก และบีบคั้นอยู่ด้วยยนต์เหล็ก. บทว่า ตํ คือบุคคลผู้ฆ่ามารดานั้น. บทว่า ปาเยนฺตี ความว่า ก็เมื่อสัตว์นรกนั้น ถูกบีบคั้นอยู่ โลหิตย่อมไหลออกจนเต็มกระเบื้องเหล็ก ลำดับนั้น พวกนาย นิรยบาล ย่อมนำสัตว์นรกนั้นออกมาจากเครื่องยนต์ สรีระของสัตว์นรกนั้น

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 189

ย่อมกลับเป็นปกติตามเดิม ในขณะนั้นทีเดียว พวกนายนิรยบาล จึงให้สัตว์ นรกนั้น นอนหงายบนแผ่นดิน แล้วให้ดื่มโลหิตที่กำลังเดือดพล่าน ดุจทอง แดงที่กำลังละลายอยู่ ฉะนั้น. บทว่า โอคฺคยฺห ติฏฺติ ความว่า นาย นิรยบาลทั้งหลาย บีบสัตว์นรกนั้นด้วยยนต์เหล็ก แล้วโยนลงไปในบ่อตม คือ คูถอันมากมายน่าเกลียด และปฏิกูลด้วยกลิ่นเหม็นฟุ้งตลอดหลายพันปี. สัตว์ นรกนั้น ดิ่งลงสู่ห้วงน้ำนั้นอยู่. บทว่า อติกายา คือ มีสรีรูประมาณเท่า เรือโกลนลำหนึ่ง. บทว่า อโยมุขา คือมีปากเป็นเหล็กแหลม. บทว่า ฉวึ เภตฺวาน ความว่า ทำลายตั้งแต่ผิวหนังไปจนกระทั่งกระดูก บางทีก็กินเข้า ไปถึงเหยื่อในกระดูก. บทว่า ปคิทฺธา คือ เลื้อยไต่ไป. ก็หมู่หนอนเหล่า นั้น ย่อมกัดกินอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ยังจะได้เข้าไปทางปากล่างเป็นต้น ออกทางปากบนเป็นต้น เข้าไปทางข้างเบื้องซ้ายเป็นต้นแล้ว ออกจากทางข้าง เบื้องขวาเป็นต้น ย่อมทำสรีระทุกส่วนให้เป็นช่องน้อยช่องใหญ่ สัตว์นรกนั้น ได้รับความลำบากเป็นอย่างยิ่งร้องไห้คร่ำครวญหมกไหม้อยู่ในนรกนั้น. บทว่า โส จ ความว่า บุคคลผู้ฆ่ามารดานั้น ตกสู่นรกมีประมาณลึกได้ร้อยชั่วบุรุษ นั้นแล้ว ย่อมจมลงไปจนมิดศีรษะทีเดียว ก็ซากศพนั้น ย่อมเน่าเปื่อยส่งกลิ่น ฟุ้งตลบไปจนตลอดที่ร้อยโยชน์โดยรอบ. บทว่า มาตุฆาฏี คือผู้ฆ่ามารดา.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงนรกที่บุคคลผู้ฆ่ามารดาหมกไหม้อยู่อย่าง นี้แล้ว เมื่อจะแสดงถึงนรกที่พวกหญิงผู้ทำสัตว์เกิดในครรภ์ ให้ตกไปไหม้อยู่ จึงกล่าวคาถาต่อไปอีก. บทว่า ขุรธารมนุกฺกมฺมา ได้แก่ ก้าวล่วงนรกที่ มีคมประดุจมีดโกน ได้ยินว่า. นายนิรยบาลทั้งหลายในนรกนั้น ย่อมถือเอา มีดโกนที่คมเล่นใหญ่ๆ แล้ววางไว้เบื้องบน แต่นั้น หญิงเหล่าใด ดื่มกิน ยาร้อนที่ทำครรภ์ตกไปเป็นต้นแล้ว ทำครรภ์ให้ตกไป นายนิรยบาลก็ติด

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 190

ตามโบยตีหญิงผู้ที่ทำครรภ์ให้ตกไปเหล่านั้น ด้วยอาวุธทั้งหลายที่มีไฟลุกโพลง หญิงเหล่านั้น ก็ขาดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย บนคมแห่งมีดโกนที่คมกริบ ลุก ขึ้นบ่อยๆ ก้าวล่วงซึ่งนรกมีคมแห่งมีดโกนอันก้าวล่วงได้ยากอย่างยิ่งนั้น ครั้น ล่วงพ้นไปแล้ว ก็ยังถูกนายนิรยบาลไล่ติดตาม ย่อมตกลงไปสู่แม่น้ำเวตรณี อันไม่เสมอข้ามไปได้ยาก เหตุแห่งกรรมในนรกนั้นๆ จักมีแจ้งในเนมิชาดก.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงนรกแห่งพวกหญิงผู้ทำครรภ์ให้ตกไป อย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงถึงนรกไม้งิ้วมีหนามแหลม ที่พวกบุรุษผู้ผิดในภริยา ของคนอื่น และพวกหญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีหมกไหม้อยู่นั้น จึงกล่าวคำ เป็นต้นว่า อโยมยา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภโต มภิลมฺพนฺติ ความว่า กิ่งของไม้งิ้วเหล่านั้น ห้อยลงมาริมฝั่งแห่งแม่น้ำเวตรณีทั้ง ๒ ฟาก. สัตว์ทั้งหลายผู้มีสรีระที่ไฟลุกโพลงอยู่เหล่านั้น เป็นผู้มีเปลวไฟตั้งอยู่. บทว่า โยชนํ ความว่า สัตว์เหล่านั้นมีสรีระสูง ๓ คาวุต แต่ย่อมเป็นผู้สูงถึงโยชน์หนึ่ง กับเปลวไฟที่ตั้งขึ้นแต่สรีระ. บทว่า เอเต สชนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้ผิดในภริยาของตนเหล่าอื่นนั้น ถูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธนานาชนิด ต้องขึ้นอยู่ในนรกไม้งิ้วเหล่านั้น. บทว่า เต ปตนฺติ ความว่า สัตว์นรก เหล่านั้น ติดอยู่ที่ค่าคบแห่งต้นไม้ ไหม้อยู่หลายพันปี ถูกนายนิรยบาลเอา อาวุธทิ่มแทงเข้าอีก ก็กลิ้งเอาศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกลงมา. บทว่า ปุถู คือ มากมาย. บทว่า วินิวทฺธงฺคา ความว่า ในเวลาที่สัตว์นรกเหล่านั้น ตกลง จาต้นงิ้วนั้น หลาวทั้งหลายแทงขึ้นแต่แผ่นดินเหล็กในภายใต้ คอยรับศีรษะ ของสัตว์เหล่านั้นพอดี หลาวเหล่านั้น ย่อมแทงทะลุออกทางเบื้องต่ำของ สัตว์เหล่านั้น. สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกหลาวอันเป็นอาวุธทีมแทงเอาแล้วอย่างนี้ ย่อมนอนอยู่ตลอดกาลนาน. บทว่า ทีฆํ ความว่า เมื่อไม่ได้การนอนหลับ จึงตื่นอยู่ตลอดกาลยืดยาว. บทว่า ตโต รตฺยา วิวสเน ความว่า โดยล่วง

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 191

กาลนานในเวลาที่ล่วงไปแห่งราตรีทั้งหลาย. บทว่า ปวชฺชนฺติ ความว่า สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกนายนิรยบาลจับโยนเข้าไปยังโลหกุมภี อันไฟลุกโพลง มีเนื้อที่ประมาณ ๖๐ โยชน์ คือโลหกุมภีที่เต็มไปด้วยน้ำทองแดงอันไฟลุกโพลง อยู่ ตั้งอยู่ตลอดกัปแล้ว ไหม้อยู่ในโลหกุมภีนั้น. บทว่า ทุสฺสีลา ได้แก่ ผู้ประพฤติผิดในภริยาของคนอื่น.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงนรกไม้งิ้วที่พวกบุรุษผู้ปรารถนาผิดใน ภริยาของคนอื่น และพวกหญิงผู้ประพฤตินอกใจสามี หมกไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่นี้ไป เมื่อจะประกาศถึงสถานที่ของพวกหญิงผู้ไม่บำเพ็ญวัตรใน สามี และวัตรในพ่อผัวเป็นต้น พากันหมกไหม้อยู่ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ยา จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติมญฺติ ความว่า หญิงผู้ทำ ซึ่งสามิกวัตรดังที่กล่าวไว้แล้วในภิงสชาดก ล่วงละเมิดดูหมิ่นสามี. บทว่า เชฏฺํ วา ได้แก่ พี่ชายของสามี. บทว่า นนนฺทนํ ได้แก่ น้องสาวของ สามี. จริงอยู่ ภริยาไม่บำเพ็ญวัตรต่างๆ ชนิดเป็นต้นว่า การนิ้วมือนวดเท้า นวดหลัง ให้อาบน้ำ ให้บริโภคอาหาร แก่ชนเหล่านี้แม้แต่คนใดคนหนึ่งให้ บริบูรณ์ ไม่ตั้งหิริและโอตตัปปะในชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นชนเหล่านั้น แม้หญิงนั้น ก็ไปบังเกิดในนรก. บทว่า วงฺเกน ความว่า ก็เมื่อหญิงนั้น ไม่บำเพ็ญสามิกวัตรเป็นต้นให้บริบูรณ์ ด่าบริภาษสามีเป็นต้น บังเกิดในนรก นายนิรยบาลทั้งหลายจับหญิงนั้น ให้นอนลงบนแผ่นดินโลหะแล้ว เอาขอเหล็ก งัดปากให้อ้าแล้ว เอาเบ็ดเกี่ยวปลายลิ้น ฉุดกระชากลากออกมาพร้อมทั้งสาย เชือกที่ผูกไว้. บทว่า กิมินํ คือเต็มไปด้วยหมู่หนอน ท่านกล่าวคำอธิบาย ไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร สัตว์นรกนั้น ถูกกระชากมาแล้วอย่างนี้ ย่อมมอง เห็นปลายลิ้นยาวประมาณวาหนึ่ง โดยวาของตนนั้น เต็มไปด้วยหนอนทั้งหลาย ตัวโตประมาณเท่าเรือโกลนลำใหญ่ อันเกิดขึ้นในที่ที่ถูกทุบด้วยอาวุธ. บทว่า

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 192

วิญฺาเปตํ. น สกฺโกติ ความว่า แม้ต้องการจะอ้อนวอนนายนิรยบาล ก็ไม่อาจจะกล่าวถ้อยคำอะไรๆ ได้. บทว่า ตาปเน ความว่า หญิงนั้น ไหม้อยู่ในตาปนนรกนั้นตั้งหลายพันปีอย่างนี้แล้ว ยังจะต้องถูกหมกไหม้อยู่ใน มหานรกชื่อตาปนะอีก.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงถึงมหานรกที่พวกหญิงผู้ไม่บำเพ็ญวัตรใน สามี และวัตรในแม่ผัวพ่อผัวเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงถึงนรกที่พวกคน ผู้ฆ่าสุกรเป็นต้น หมกไหม้อยู่ในบัดนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โอรพฺภิกา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวณฺเณ วณฺณการกา ได้แก่ ผู้ทำการ ส่อเสียด. บทว่า ขารนทึ ความว่า บุคคลผู้ฆ่าแกะเป็นต้นเหล่านี้ ถูกเบียด เบียนด้วยอาวุธทั้งหลายเหล่านี้มีหอกเป็นต้น ย่อมตกลงไปสู่แม่น้ำเวตรณี. สถานที่ที่พวกฆ่าแกะเป็นต้นหมกไหม้ที่เหลือ จักมีแจ้งในเนมิชาดก. บทว่า กูฏการี ท่านกล่าวหมายถึงบุคคลผู้ทำการตัดสินคดีโกง และผู้ทำการโกงด้วย ตราชั่งเป็นต้น ในข้อนั้น นรกที่พวกผู้ตัดสินคดีโกง พิจารณาคดีโกง และ โกงด้วยราคา หมกไหม้อยู่ จักมีแจ้งในเนมิชาดก. บทว่า วนฺตํ คือ สิ่งที่ สำรอกออกมา. บทว่า ทุรตฺตานํ ได้แก่ มีอัตภาพอันเป็นไปได้ยาก. ข้อนี้ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร สัตว์ผู้มีอัตภาพอันถึงความ ลำบากเหล่านั้น เมื่อศีรษะถูกทุบด้วยค้อนเหล็ก ก็ย่อมอาเจียนออกมา แต่นั้น ย่อมใส่สิ่งอาเจียนออกมานั้นเข้าไปในปาก ของสัตว์บางพวก ในบรรดาสัตว์ เหล่านั้น ด้วยกระเบื้องเหล็กอันไฟลุกโพลง. สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภค สิ่งที่สัตว์เหล่าอื่นอาเจียนออกมา ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เภรณฺฑกา ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. บทว่า วิปฺผนฺทมานํ ความว่า ถูกจับให้นอนคว่ำหน้า และดึงเอาลิ้นออกมา ดิ้นรนไปมาข้างโน้นข้างนี้. บทว่า มิเคน คือ เนื้อที่

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 193

เที่ยวหากินน้ำ. บทว่า ปกฺขินา คือนกชนิดนั้นนั่นเอง. บทว่า คนฺตฺวา เต ได้แก่ คนเหล่านั้นไปแล้ว. บทว่า นิรยุสฺสทํ ได้แก่ อุสสทนรก แต่ใน บาลีท่านเขียนไว้ว่า นรกเบื้องต่ำ. ก็นรกนั้น จักมีแจ้งในเนมิชาดกแล.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงถึงนรกมีประมาณเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้ แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทำการเปิดเทวโลกแด่พระราชาแล้ว แสดงเทวโลกแด่ พระราชา จึงทูลว่า

สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไปสู่เบื้องบน เพราะ กรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว ในโลกนี้ ขอเชิญพระองค์ ทอดพระเนตรผลของกรรม ที่บุคคลประพฤติดีแล้ว เทพเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พระพรหมมีอยู่ ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นอธิบดีแห่งรัฐ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอทูลมหาบพิตร ขอมหาบพิตร จงทรง ประพฤติธรรม ดูก่อนพระราชา ขอเชิญพระองค์ทรง ประพฤติธรรม เหมือนอย่างธรรมที่บุคคลประพฤติ ดีแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺโต ได้แก่ ผู้เข้าไปสงบระงับทวาร ๓ มีกายทวารเป็นต้น. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ เทวโลก. บทว่า สหินฺทา ได้แก่ พร้อมด้วยพระอินทร์ทั้งหลายในเทวโลกนั้นๆ. จริงอยู่ พระมหาสัตว์ เมื่อจะแสดงถึงหมู่เทวดาทั้งหลาย อันประกอบด้วยเทวดาชั้นจาตุมหาราชแด่ พระราชาพระองค์นั้น จึงทูลว่า ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงทอดพระเนตร เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งหลาย จงทอดพระเนตรท้าวมหาราชทั้ง ๔ จงทอด พระเนตรเทวดาชั้นดาวดึงส์ จงทอดพระเนตรท้าวสักกะเถิด ดังนี้ เมื่อจะ แสดงเทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหม แม้ทั้งหมดเหล่านั้น อย่างนี้ จึงแสดงต่อไปว่า นี้เป็นผลของกรรมที่ประพฤติดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นผล

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 194

ของกรรมที่ประพฤติดีแล้วเช่นเดียวกัน. บทว่า ตนฺตํ พฺรูมิ ความว่า เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจะขอทูลกะพระองค์. บทว่า ธมฺมํ ความว่า ตั้งแต่ วันนี้ไป ขอพระองค์จงงดเว้นเวรทั้ง ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น แล้วจงบำเพ็ญ บุญทั้งหลายมีทานเป็นต้นเถิด. บทว่า ยถา ตํ สุจิณฺณํ นานุตปฺเปยฺย ความว่า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นอันประพฤติดีแล้ว คือ จงทำบุญให้มาก โดยประการที่บุญกรรมมีทานเป็นต้นนั้น อันบุคคลประพฤติดีแล้ว กรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนั้น ย่อมไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง เพราะสามารถปกปิดเสียได้ซึ่งความเดือดร้อนมีปิตุฆาตกรรมเป็นต้นเหตุ.

พระราชาพระองค์นั้น ครั้นได้ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้ว ตั้งแต่นั้นมา ก็ทรงได้รับความปลอดโปร่งพระหฤทัย ฝ่ายพระโพธิสัตว์อาศัย อยู่ในพระราชอุทยานนั้นสิ้นกาลเล็กน้อยแล้ว ก็กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน ตามเดิมแล.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จะใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อนพระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์นี้ ก็ได้เราตถาคตทำให้ทรงสบายพระหฤทัยแล้ว เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลครั้งนั้น ได้เป็น พระเจ้าอชาตศัตรู หมู่ฤาษีได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนสังกิจจบัณฑิตก็คือเราตถาคต นั่นแล.

จบอรรถกถาสังกิจจชาดก

จบอรรถกถาสัฏฐินิบาต ด้วยประการฉะนี้แล

รวมชาดกในสัฏฐินิบาต

เชิญท่านทั้งหลายพึงภาษิตของข้าพเจ้าในสัฏฐินิบาต (ในนิบาตนี้) มี ๒ ชาดก คือ โสณกชาดก ๑ สังกิจชาดก ๑ และอรรถกถา.