ปัจจัยใดในปัจจัย24เป็นเหตุให้เกิดสติปัฏฐาน

 
lokiya
วันที่  31 ก.ค. 2564
หมายเลข  35139
อ่าน  415

?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม ไม่ใช่การไปหาคำ ตรงนั้นตรงนี้ คืออะไร เกี่ยวข้องในธรรมไหน สัมพันธ์กันยังไง รู้แล้วได้อะไร แล้วประโยชน์ที่ได้คืออะไร เพราะประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม คือ เพื่อปัญญาเข้าใจถูก เข้าใจถูกในอะไร เข้าใจถูกในธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพื่อละคลายกิเลส ที่ต้องละก่อน คือ ความยึดถือว่าเป็นเรา ทิฏฐิเจตสิก ความเห็นผิดนั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาด้วยความไม่แยบคาย ก็ย่อมไม่ได้สาระ ไม่ได้ประโยชน์จากพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นไปเพื่อรู้แล้วละ ด้วยจุดประสงค์ของการศึกษาที่ถูกต้องเพื่อเข้าใจความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ครับ

ความจำ (สัญญา) ที่มั่นคง หรือ ถิรสัญญาเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด?

ความจำ หรือ สัญญาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศล สัญญา ความจำ ต้องเกิดด้วยเสมอ ดังนั้นตามปกติ ในชีวิตประจำวัน กุศลหรืออกุศลเกิดขึ้นมาก ก็ต้องเป็นอกุศล ดังนั้น สัญญาความจำตามปกติในวันๆ หนึ่ง ก็จำผิด จำด้วยความเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นความจำที่มั่นคงในทางที่ผิด ซึ่งไม่ใช่เหตุให้เกิดสติปัฏฐานแน่นอน ครับ แต่การจำที่มั่นคงที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดนั้น คือขณะที่ฟังเข้าใจในเรื่องสภาพธัมมะ ว่า ธรรมคืออะไร อยู่ในขณะไหน ขณะที่เข้าใจ ขณะที่ฟัง ก็มีสัญญาความจำเกิดด้วย ขณะที่เข้าใจในเรื่องสภาพธัมมะที่กำลังฟังขณะนั้นก็เริ่มสะสม การจำถูก (เพราะมีปัญญาเกิดร่วมด้วย) จำว่าเป็นธรรมเท่านั้นในขณะนี้ (แม้ขั้นการฟัง) ไม่ต้องไปหาธรรมที่อื่น ฟังจนเข้าใจ จนเหตุปัจจัยพร้อม ความจำที่มั่นคง อันเนื่องมาจากการฟังพระธรรมในเรื่องสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ก็เป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้น (สติขั้นสติปัฏฐาน) ระลึกสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ตรงตามสภาพธัมมะที่กำลังปรากฏโดยไม่ใช่ขั้นคิดนึกและขั้นการฟัง แต่ที่สำคัญ ความจำหรือสัญญาที่มั่นคง ที่จะเป็นปัจจัยให้สติเกิด ต้องจำถูกในเรื่องสภาพธัมมะ โดยมีปัญญาเกิดร่วมด้วยกับสํญญานั้น จึงจะเป็นปัจจัยให้สติเกิด ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 3 ส.ค. 2564

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Witt
วันที่ 14 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 16 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ