วิบากกรรม-อนัตตา

 
chackapong
วันที่  19 เม.ย. 2550
หมายเลข  3486
อ่าน  1,800

ผลของกรรม ที่เรียกว่า วิบากกรรม ทำไมถึงให้ผลต่อมาได้ ฟังดูคล้ายกับว่า ไม่ได้ดับไปจริง มีการสะสมของกรรมอยู่ ยังเป็นเหตุให้เกิดผลตามต่อมาในภายหลัง เหมือนไฟลามทุ่ง คือ ไหม้จากจุดหนึ่งแล้วขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ขอคำอธิบายเป็นเพราะเหตุใดยังคงสอดคล้องกับหลักอนัตตา ที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 เม.ย. 2550

ผลของกรรม ที่เรียกว่าวิบาก เมื่อมีปัจจัยพร้อมวิบากประเภทนั้นๆ ย่อมเกิดขึ้นอีกวิบากที่เคยเกิดแล้วก็ดับไปแล้ว วิบากที่เกิดขึ้นเพราะมีกรรมเป็นปัจจัย วิบากเกิดขึ้น

เพราะมีปัจจัย วิบากไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chackapong
วันที่ 19 เม.ย. 2550

ตามที่ท่านกรุณาตอบมา ผมขอทบทวนความเข้าใจ โดยการยกตัวอย่างเทียบ

เพื่อสอบทาน สมมติว่า มีผู้ทำผิด ศาลพิพากษาให้จำคุก 1 ปี ผู้นั้นได้รับโทษนั้นและ

พ้นออกมาแล้ว ในระยะเวลา 1 ปี ก็หมายความว่า จะไม่ต้องรับโทษนั้นอีกในข้อหาเดิม

ก็เป็นอันว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามหลักอนัตตา แต่โทษอื่นที่จะถูกพิจารณาอีก

ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่ ก็ขึ้นกับการกระทำของผู้นั้น และไม่ทราบว่าโทษจะเป็นอย่างไร

ศาลจะพิพากษาอีกเมื่อไหร่ ไม่มีใครทราบได้ อย่างนี้ก็หมายความว่าสอดคล้องกับหลัก

อนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะไม่ทำผิดอะไรอีกเลย ไม่มีศาลแห่ง

ไหนมาพิพากษาอีกนั้น ก็หมายความว่า ผู้นั้น เป็นอรหันต์แล้วพ้นไปจากวิบากกรรมแล้ว

ถ้าหากผมพิจารณาเองแล้ว อาจห่างไปจากหลักธรรมที่แท้จริงได้ ท่านผู้ใดจะ

กรุณายกตัวอย่างเทียบเคียง เพื่อแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่าง วิบาก-อนัตตา

จะเป็นพระคุณยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 เม.ย. 2550

เวลาที่เราทำอกุศลกรรม เช่น การฆ่าสัตว์

ชวนะดวงที่ 1 ให้ผลชาตินี้

ชวนะดวงที่ 2 - 6 ให้ผลนับชาติไม่ถ้วนเลย

ชวนะดวงที่ 7 ให้ผลชาติหน้า

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 เม.ย. 2550


จากความเห็นที่ 2 ที่เปรียบเทียบนะครับ การทำผิด ก็หมายถึงทำอกุศล การ

ถูกศาลตัดสิน แล้วถูกลงโทษจำคุก การถูกจำคุก หมายถึงวิบาก (ผลของกรรม) และ

พ้นโทษก็คือจะไม่ถูกลงโทษจากความผิดนั้นอีก เหมือนทำอกุศลแล้วก็ได้รับวิบากแล้ว

จะไม่ได้รับวิบากอีก ซึ่งขออธิบายว่า วิบาก กับ อนัตตา

วิบาก คือ ผลของกรรม ขณะไหนเป็นวิบาก ขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน ได้กลิ่น

ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส เป็นต้น วิบาก เป็นอนัตตาอย่างไร เห็น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้น

เป็นทุกข์ อนัตตา อย่างไร ถ้าเป็นอัตตา ตัวตน ก็สามารถบังคับได้ให้เป็นดั่งใจเรา ให้เห็น

ดี ได้ยินดี แต่บังคับไม่ได้ จึงเป็นอนัตตา ต่อไปก็ไม่รู้จะเห็นอะไร ก็เป็นอนัตตา ถ้า

เป็นอัตตา ก็ต้องสามารถบังคับให้การเห็นสิ่งที่ดีๆ ไม่ดับไป แต่ก็ต้องเกิดและดับไป

จึงเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chackapong
วันที่ 20 เม.ย. 2550

หลักใหญ่ใจความของศาสนาพุทธ เป็นเรื่องของกรรม-วิบากกรรม และอนัตตา

ใช่หรือไม่ครับ แล้วมีความวิจิตรพิศดาร ความลึกซึ้งภายในหลักอันนี้ เป็นอย่างนี้

ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 เม.ย. 2550

ศาสนาพุทธ พุทธ คือ ผู้รู้ รู้ความเป็นจริงด้วยปัญญา ว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ กรรมก็เป็น

ธัมมะ วิบากก็เป็นธัมมะ ธัมมะทุกอย่างที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ

อนัตตา เมื่อรู้ความจริงย่อมดับกิเลสได้ครับ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chackapong
วันที่ 28 เม.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ