พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ขวนขวายในปฐวีกถา [๓๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34815
อ่าน  389

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 4

๔. ปุปผวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ขวนขวายในปฐวีกถา [๓๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 4

๔. ปุปผวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้ขวนขวายในปฐวีกถา [๓๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ขวนขวายในปฐวีกถา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โก อิมํ ปวิํ วิเชสฺสติ" เป็นต้น.

ควรปรารภแผ่นดินภายใน

ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปในชนบทกับพระผู้มีพระภาคเจ้า มาถึงพระเชตวันแล้วนั่งในหอฉันในเวลาเย็น เล่าถึงเรื่องแผ่นดินในสถานที่ตนไปแล้วๆ ว่า "ในสถานเป็นที่ไปสู่บ้านโน้นจากบ้านโน้น พื้นดินเสมอ ไม่เสมอ มีเปือกตมมาก มีกรวดมาก มีดินดำ มีดินแดง".

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องแผ่นดิน ในสถานที่พวกข้าพระองค์เที่ยวไปแล้ว พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย นั่นชื่อว่าแผ่นดินภายนอก การที่พวกเธอทำบริกรรมในแผ่นดินภายใน จึงจะควร" ดังนี้ แล้วได้ทรงภาษิต ๒ พระคาถานี้ว่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 5

๑. โก อิมํ ปวิํ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ. เสโข ปวิํ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ.

"ใครจักรู้ชัดซึ่งแผ่นดินนี้ และยมโลกกับมนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ใครจักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น".

พระเสขะจักรู้ชัดแผ่นดินนี้ และยมโลกกับมนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก พระเสขะจักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น".

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โก อิมํ ความว่า ใครจักรู้ชัดซึ่งแผ่นดินนี้ กล่าวคืออัตภาพ.

บทว่า วิเชสฺสติ ความว่า จักรู้แจ้ง คือแทงตลอด ได้แก่ ทำให้แจ้งด้วยญาณของตน.

บทว่า ยมโลกญฺจ ได้แก่ อบายโลก ๔ อย่างด้วย.

สองบทว่า อิมํ สเทวกํ ความว่า ใครจักรู้ชัด คือจักทราบชัด ได้แก่ แทงตลอด ทำให้แจ้งซึ่งมนุสสโลกนี้กับเทวโลกด้วย พระศาสดาย่อมตรัสถามดังนี้.

บทพระคาถาว่า โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ ความว่า ใครจักเลือก คือคัด ได้แก่ พิจารณาเห็น แทงตลอด ทำให้แจ้งซึ่งบทธรรม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 6

กล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (๑) ที่ชื่อว่า อันเราแสดงดีแล้ว เพราะความเป็นธรรมอันเรากล่าวแล้วตามความเป็นจริง เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้อยู่ ฉะนั้น.

บทว่า เสโข เป็นต้น ความว่า พระอริยบุคคล ๗ จำพวก ตั้งแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค ชื่อว่า พระเสขะ เพราะยังศึกษาสิกขา ๓ เหล่านี้ คืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา คร่าออกอยู่ซึ่งฉันทราคะ (๒) จากอัตภาพนั้น ด้วยอรหัตมรรค ชื่อว่า จักรู้ชัด คือจักทราบชัด ได้แก่ แทงตลอด ทำให้แจ้งซึ่งแผ่นดินนี้ กล่าวคืออัตภาพ.

บทว่า ยมโลกญฺจ เป็นต้น ความว่า พระเสขะนั้นนั่นแหละ จักรู้ชัด คือจักทราบชัด ได้แก่ แทงตลอด ทำให้แจ้งซึ่งยมโลก มีประการอันกล่าวแล้วอย่างนั้น และมนุสสโลกนี้กับทั้งเทวโลกทั้งหลาย ชื่อว่า พร้อมทั้งเทวโลก. พระอริยผู้ยังต้องศึกษา ๗ จำพวกนั้นแหละ ชื่อว่า เสขะ. อธิบายว่า นายมาลาการผู้ฉลาด เข้าไปสู่สวนดอกไม้แล้ว เว้นดอกไม้ที่อ่อนและตูม ที่สัตว์เจาะ ที่เหี่ยว และที่เกิดเป็นปมเสียแล้ว เลือกเอาเฉพาะแต่ดอกไม้ที่งาม ที่เกิดดีแล้ว ยถา นาม ชื่อฉันใด พระเสขะจักเลือก คือคัด ได้แก่ พิจารณาเห็น แทงตลอด ทำให้แจ้ง แม้ซึ่งบทแห่งโพธิปักขิยธรรมนี้ ที่เรากล่าวดีแล้ว คือแสดงดีแล้ว ฉันนั้นนั่นแล.


(๑) คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘.

(๒) ฉันทราคะ แปลว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 7

พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาเองทีเดียว. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูป บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ขวนขวายในปฐวีกถา จบ.