พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ยมกวรรคที่ ๑ ว่าด้วยคู่แห่งความดีและความชั่ว (เริ่มเล่ม 40)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ก.ค. 2564
หมายเลข  34775
อ่าน  715

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 1

ยมกวรรคที่ ๑

ว่าด้วยคู่แห่งความดีและความชั่ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 40]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๑

คาถาธรรมบท

ยมกวรรคที่ ๑

ว่าด้วยคู่แห่งความดีและความชั่ว

[๑๑] (๑)

๑. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น.

๒. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว


(๑) เลขในวงเล็บเป็นเลขข้อในพระบาลี เลขหลังวงเล็บ เป็นเลขลำดับคาถา ที่จัดไว้ตามลำดับเรื่องในอรรถกถา วรรคที่ ๑ มีอรรถกถา ๑๔ เรื่อง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 2

พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น.

๓. ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นว่า ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่ระงับได้ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ

๔. ในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

๕. ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้ตัวว่า พวกเราพากันย่อยยับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นี้ ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่นั้นย่อมรู้ชัด ความหมายมั่นกันและกันย่อมสงบเพราะการปฏิบัติของชนพวกนั้น.

๖. ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้านมีความเพียรเลวทรามอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควานได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลมรังควานได้ ฉะนั้น (ส่วน) ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 3

โภชนะ มีศรัทธาและปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแลมารย่อมรังควานไม่ได้ เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลมรังควานไม่ได้ ฉะนั้น.

๗. ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจากทมะและสัจจะ จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ. ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดพึงเป็นผู้มีกิเลสดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.

๘. ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ ชนเหล่าใดรู้สิ่งอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นสาระโดยความไม่เห็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ.

๙. ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น. ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด ราคะก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น.

๑๐. ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 4

เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศกเขาย่อมเดือดร้อน.

๑๑. ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง เขาเห็นความหมดจดแห่งกรรมของตน ย่อมบันเทิงเขาย่อมรื่นเริง.

๑๒. ผู้มีปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง เขาย่อมเดือดร้อนว่า กรรมชั่วเราทำแล้วไปสู่ทุคติย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น.

๑๓. ผู้มีบุญอันตนทำไว้แล้ว ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง เขาย่อมเพลิดเพลินว่า เราทำบุญไว้แล้ว สู่สุคติย่อมเพลิดเพลินยิ่งขึ้น.

๑๔. หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้วไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้ เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโคนับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้น้อย (แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ เขาละราคะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 5

โทสะและโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล.

จบยมกวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 6

ธัมมปทัฏฐกถา

อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

คำนมัสการ

ข้าพเจ้า (๑) อันพระกุมารกัสสปเถระ (๒) ผู้ฝึกตนเรียบร้อยแล้ว ประพฤติสม่ำเสมอโดยปกติ มีจิตมั่นคง ใคร่ความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม หวังอยู่ว่า"พระอรรถกถา อันพรรณนาอรรถแห่งพระธรรมบทอันงาม ที่พระศาสดาผู้ฉลาดในสภาพที่เป็นธรรมและมิใช่ธรรม มีบทคือพระสัทธรรมถึงพร้อมแล้ว มีพระอัธยาศัยอันกำลังแห่งพระกรุณาให้อุตสาหะด้วยดีแล้ว ทรงอาศัยเหตุนั้นๆ แสดงแล้ว เป็นเครื่องเจริญปีติปราโมทย์ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นคำที่สุขุมละเอียด นำสืบๆ กันมา ตั้งอยู่แล้วในตามพปัณณิทวีป (๓) โดยภาษาของชาวเกาะ ยังไม่ทำความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ ให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายที่เหลือได้. ไฉนพระอรรถกถาแห่งพระ-


(๑) พระพุทธโฆษาจารย์.

(๒) เป็นนามพระสังฆเถระองค์หนึ่ง ในสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ไม่ใช่พระกุมารกัสสปะ ในสมัยพุทธกาล.

(๓) เกาะเป็นที่อยู่ของชาวชนที่มีฝ่ามือแดง คือ เกาะลังกา [Ceylon].

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 7

ธรรมบทนั้น จะทำประโยชน์ให้สำเร็จแก่โลกทั้งปวงได้" ดังนี้ อาราธนาโดยเคารพแล้ว จึงขอนมัสการพระบาทแห่งพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสิริ ทรงแลเห็นที่สุดโลกได้ มีพระฤทธิ์รุ่งโรจน์ ทรงยังประทีป คือพระสัทธรรมให้รุ่งโรจน์ ในเมื่อโลกอันมืด คือโมหะใหญ่ปกคลุมแล้ว, บูชาพระสัทธรรมแห่งพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นและทำอัญชลีแด่พระสงฆ์แห่งพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว จักกล่าวอรรถกถาอันพรรณนาอรรถแห่งพระธรรมบทนั้น ด้วยภาษาอื่นโดยอรรถไม่ให้เหลือเลย ละภาษานั้นและลำดับคำอันถึงพิสดารเกินเสีย ยกขึ้นสู่ภาษาอันเป็นแบบที่ไพเราะ (๑) อธิบายบทพยัญชนะแห่งคาถาทั้งหลายที่ท่านยังมิได้อธิบายไว้แล้วในอรรถกถานั้นให้สิ้นเชิงนำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งใจ อิงอาศัยอรรถและธรรมแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.


(๑) มโนรมํ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ.