พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สังขพราหมณจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของสังพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34730
อ่าน  534

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 56

๒. สังขพราหมณจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสังขพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 56

๒. สังขพราหมณจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสังขพราหมณ์

[๒] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราเป็นพราหมณ์มีนามว่า สังขะ ต้องการจะข้ามมหาสมุทรไปอาศัยปัฏฏนคามอยู่ ในกาลนั้น เราได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้รู้เอง ใครๆ ชนะไม่ได้ ซึ่งเดินสวนทางมาตามทางกันดาร บนภาคพื้นอันแข็ง ร้อนจัด ครั้นเราเห็นท่านเดินสวนทางมา จึงคิดเนื้อความนี้ว่า บุญเขตนี้มาถึงแก่เราผู้เป็นสัตว์ที่ต้องการบุญ เปรียบเหมือนบุรุษชาวนา เห็นนาอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ (เป็นที่น่ายินดีมาก) ไม่ปลูกพืชลงในนานั้น เขาชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการด้วยข้าวเปลือกฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นเขตบุญอันประเสริฐสุดแล้ว ถ้าไม่ทำบุญ คือสักการะ เราก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ เปรียบเหมือนอำมาตย์ต้องการจะให้ชนชาวเมืองของพระราชายินดี แต่ไม่ให้ทรัพย์และข้าวเปลือกแก่เขา ก็ย่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 57

เสื่อมจากความยินดี ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นทักขิไณยบุคคลอันไพบูลย์แล้ว ถ้าไม่ให้ทานในทักขิไณยบุคคลนั้นก็จักเสื่อมจากบุญ ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้วจึงถอดรองเท้า ไหว้เท้าของท่านแล้ว ได้ถวายร่มและรองเท้า เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้ละเอียดอ่อนเจริญสุขได้ร้อยเท่าพันทวี อนึ่ง เมื่อเราบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์ ได้ถวายแก่ท่านนั้น อย่างนี้แล.

จบ สังขพราหมณจริยาที่ ๒

อรรถกถาสังขพราหมณจริยาที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสังขพราหมณจริยาที่ ๒ ดังต่อไปนี้

บทว่า ปุนาปรํ ตัดบทเป็น ปุน อปรํ อีกเรื่องหนึ่งอธิบายว่า บทนี้มิใช่อกิตติจริยาอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้เราจักกล่าวแม้สังขจริยาอื่นอีก ท่านจงฟัง. แม้ในบทอื่นจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สงฺขสวฺหโย เป็นชื่อของสังขพราหมณ์.

บทว่า มหาสมุทฺทํ ตริตุกาโม คือประสงค์จะข้ามมหาสมุทรด้วยเรือเพื่อไปยังสุวรรณภูมิ.

บทว่า อุปคจฺฉามิ ปฏฺฏนํ คือจะไปอาศัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 58

เมืองท่าชื่อว่าตามลิตติอยู่. พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สยัมภู เพราะเป็นผู้เห็นเอง เพราะบรรลุปัจเจกโพธิญาณด้วยพระสยัมภูญาณ. ชื่อว่า อปราชิตะ เพราะบรรดามารทั้งหลายมีกิเลสมารเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งชนะไม่ได้. อธิบายว่า ย่ำยีที่สุดแห่งมารทั้งหลาย ๓.

บทว่า ตตฺตาย กินภูมิยา บนภาคพื้นอันแข็ง ร้อนจัด คือบนภาคพื้นอันแข็งหยาบ เต็มไปด้วยกรวดและทรายอันร้อนระอุในฤดูร้อน.

บทว่า ตํ คือพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น. อิมมตฺถํ เนื้อความนี้คือเนื้อความมีอาทิว่า บุญเขตนี้อันจะกล่าวถึงเดี๋ยวนี้.

บทว่า วิจินฺตยึ คิดแล้ว คือพระศาสดาตรัสว่า ครั้งนั้นเราเป็นสังขพราหมณ์คิดแล้ว พึงทราบกถาตามลำดับในบทนั้นดังต่อไปนี้.

ในอดีต กรุงพาราณสีนี้ชื่อว่าโมฬินีนคร. เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ ณ โมฬินีนคร พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า สังขะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ให้ตั้งโรงทาน ๖ แห่ง ในที่ทั้ง ๖ คือที่ประตูนคร ๔ ที่กลางนคร ๑ ที่ประตูบ้านของตน ๑ สละทรัพย์ทุกวัน วันละ ๖๐๐,๐๐๐ ยังมหาทานให้เป็นไปในบรรดาคนยากจนและคนเดินทางเป็นต้น วันหนึ่ง สังขพราหมณ์คิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนหมดเราก็จักไม่สามารถจะให้ทานได้ เมื่อทรัพย์ยังไม่หมดทีเดียว เราจักไปยังสุวรรณภูมิด้วยเรือแล้วนำทรัพย์มา. สังขพราหมณ์บรรทุกสินค้าเต็มเรือเรียกบุตรภรรยามากล่าวว่า พวกท่านอย่าเลิกละทานของเรา พึงทำอย่าให้ขาดจนกว่าเราจะกลับมาแล้ว แวดล้อมด้วยทาสและกรรมกร สวมรองเท้ากางร่มบ่ายหน้าไปยังปัฏฏนคาม.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 59

ในขณะนั้น ณ ภูเขาคันธมาทน์มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ตลอด ๗ วัน ครั้นออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว จึงตรวจดูสัตวโลกเห็นสังขพราหมณ์กำลังนำทรัพย์มา รำพึงอยู่ว่า มหาบุรุษจะไปนำทรัพย์มา อันตรายในมหาสมุทรจักมีแก่เขาหรือไม่มีหนอ รู้ว่า จักมีอันตราย คิดว่ามหาบุรุษผู้นี้เห็นเราจักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา ด้วยอานิสงส์ถวายรองเท้า เมื่อเรือแตกในมหาสมุทรจักได้ที่พึ่ง เราจักอนุเคราะห์เขา จึงเหาะไปทางอากาศ แล้วลงไม่ไกลสังขพราหมณ์นั้น ครั้นเวลาเที่ยง ด้วยลมและแดดอันร้อนแรง เหยียบทรายร้อนคล้ายกับลาดไว้ด้วยถ่านไฟ เดินมาถึงข้างหน้าสังขพราหมณ์นั้น. สังขพราหมณ์เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มีความยินดีร่าเริงคิดว่า บุญเขตมาหาเราแล้ววันนี้ เราควรจะหว่านพืชในเขตนี้. ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า เราเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเดินสวนทางมา จึงคิดเนื้อความนี้ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ เขตฺตํ เป็นต้น แสดงอาการคิด.

บทว่า เขตฺตํ ชื่อว่า เขต เพราะป้องกันพืชที่หว่านไปโดยทำให้มีผลมาก คือพื้นที่ปลูกปุพพัณณชาติ (เช่นข้าว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย เป็นต้น) และอปรัณณชาติ (เช่นถั่ว งา เป็นต้น นอกจากข้าว) ให้งอกงาม. ในที่นี้พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ชื่อว่าเป็นบุญเขตเพราะเป็นดุจเขต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปุญฺกามสฺส ชนฺตุโน ผู้เป็นสัตว์ต้องการบุญ.

บทว่า มหาคมํ คือเป็นที่มาแห่งผลอันไพบูลย์ อธิบายว่า ให้ความสมบูรณ์แห่งข้าวกล้า.

บทว่า พีชํ น โรเปติ คือไม่ปลูกพืช.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 60

บทว่า เขตฺตวรุตฺตมํ คืออุดมแม้ในเขตบุญอันประเสริฐ. จริงอยู่ ว่าโดยความต่างกันแล้ว พระอริยสาวกทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเป็นบุญเขตอันประเสริฐ. พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศกว่านั้น จึงชื่อว่า เป็นบุญเขตอันประเสริฐสูงสุด.

บทว่า การํ คือ สักการะ. พึงเชื่อมความว่า ยทิ น กโรมิ ผิว่าไม่ทำบุญ. บทนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ผิว่าเราได้บุญเขตอันยอดเยี่ยม แล้วไม่ทำการบูชาสักการะในบุญเขตนั้น เราก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ.

พึงทราบความสังเขปแห่งคาถาสองคาถามีอาทิว่า ยถา อมจฺโจ ดังต่อไปนี้ เหมือนบุรุษอำมาตย์ หรือเสนาบดี พระราชาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเสริมสร้างความยินดี ได้รับตราตั้งแล้ว เขาไม่ปฏิบัติตามพระราชโองการในชนภายในเมืองและในหมู่พลเป็นต้นภายนอก ไม่ให้ทรัพย์สมบัติแก่พวกเขา ทำให้การปฏิบัติที่ควรทำเสื่อม เขาย่อมเสื่อมจากความยินดี ย่อมเสื่อมจากสมบัติที่ได้จากตำแหน่งเสริมสร้างความยินดี ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยินดีในการทำบุญ เป็นผู้ใคร่บุญ กล่าวคือผลบุญที่ควรได้ เห็นทักขิไณยบุคคลอันไพบูลย์นั้น คือได้ทักขิไณยบุคคลผู้เลอเลิศ ด้วยการทำทักษิณาให้มีผลไพบูลย์ ผิว่าไม่ให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลนั้น จักเสื่อมจากบุญและจากผลบุญต่อไป. เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำบุญ ณ ที่นี้แล.

มหาบุรุษครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ถอดรองเท้าแต่ไกล รีบเข้าไปไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ นิมนต์เข้าไปยังโคนไม้นี้ เพื่ออนุเคราะห์กระผมด้วยเถิด. เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปยังโคนไม้นั้น จึงขนทรายมาแล้วปูผ้าห่ม เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั่ง ณ ที่นั้นไหว้แล้วเอาน้ำ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 61

ที่กรองไว้ล้างเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า เอาน้ำมันหอมทา เช็ดรองเท้าของตน ขัดด้วยน้ำมันหอมแล้ว สวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ นิมนต์สวมรองเท้านี้ แล้วกางร่มนี้ไปเถิดขอรับ แล้วได้ถวายร่มและรองเท้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อมหาบุรุษแลดูเพื่อเจริญความเลื่อมใส ก็รับร่มและรองเท้าเหาะไปยังเวหาถึงภูเขาคันธมาทน์. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงถอดรองเท้า ไหว้เท้าของท่าน แล้วได้ถวายร่มและรองเท้า.

พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นมีใจเลื่อมใสยิ่งนัก จึงขึ้นเรือไปยังปัฏฏนคาม. ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ข้ามมหาสมุทรไป ในวันที่ ๗ เรือก็ทะลุ. พวกทาสและกรรมกรไม่สามารถจะวิดน้ำออกได้. ผู้คนต่างกลัวมรณภัย จึงไหว้เทวดาของตนๆ ร้องเสียงระงม. พระโพธิสัตว์พาคนรับใช้คนหนึ่งไป แล้วเอาน้ำมันทาทั่วตัว บริโภคน้ำตาลกรวดกับเนยใสตามความต้องการ ให้คนรับใช้บริโภคบ้าง แล้วขึ้นยอดเสากระโดงเรือกับคนรับใช้กำหนดทิศทางว่า เมืองของเราอยู่ทางทิศนี้ ตั้งสัจจาธิษฐาน เพื่อให้พ้นจากอันตรายคือปลาและเต่า จึงก้าวลงยังที่ประมาณอุสภะหนึ่งกับคนรับใช้ พยายามจะว่ายข้ามมหาสมุทร. ส่วนมหาชนได้ถึงความพินาศในมหาสมุทรนั่นเอง. เมื่อพระโพธิสัตว์ข้ามอยู่นั้นล่วงไป ๗ วัน. ในเวลานั้นพระโพธิสัตว์เอาน้ำเค็มบ้วนปากแล้วรักษาอุโบสถ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 62

ในครั้งนั้น นางเทพธิดามณีเมขลาซึ่งท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ตั้งไว้คอยดูแลบุรุษผู้วิเศษเช่นนี้ เผลอไป ๗ วัน ด้วยความเป็นใหญ่ของตนในวันที่ ๗ ได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้วสังเวชใจว่า หากบุรุษนี้ตายในมหาสมุทรนี้ เราต้องได้รับคำติเตียนมากมาย จึงเอาอาหารทิพย์บรรจุลงในภาชนะทองคำ รีบมาแล้วกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ บริโภคอาหารทิพย์นี้เถิด. พระโพธิสัตว์มองดูเทพธิดานั้นจึงปฏิเสธว่า เราไม่บริโภค เรารักษาอุโบสถ เมื่อจะถามเทพธิดานั้นจึงกล่าวว่า :-

ท่านเชื้อเชิญเราเป็นอย่างดี ท่านกล่าวกะเราว่า เชิญบริโภคอาหาร ดูก่อนนารีผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน ท่านเป็นเทพธิดาหรือเป็นมนุษย์.

เทพธิดามณีเมขลา เมื่อจะให้คำตอบแก่พระโพธิสัตว์ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทพธิดา มีอานุภาพมาก มาในท่ามกลางมหาสมุทรนี้ มีความสงสาร มิได้มีจิตประทุษร้าย มาในที่นี้เพื่อประโยชน์แก่ท่าน ข้าพเจ้าขอมอบข้าว น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานหลายชนิดแก่ท่านทั้งหมด ขอท่านนำไปใช้ตามความปรารถนาเถิด.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 63

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า เทพธิดานี้กล่าวว่า ข้าพเจ้าให้สิ่งนี้ๆ แก่ท่านบนหลังมหาสมุทร. ก็เทพธิดานี้กล่าวคำใดแก่เรา แม้คำนั้นก็สำเร็จด้วยบุญของเรา อนึ่ง เทพธิดานี้จะรู้จักบุญของเราหรือ หรือไม่รู้จัก เราจักถามนางดูก่อน เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ท่านผู้มีร่างงาม มีตะโพกงาม มีคิ้วและขาอ่อนงาม มีสะเอวงาม เป็นอิสระแห่งบุญ กรรมทั้งหมดของเรา ท่านทำการบูชาเซ่นสรวงเรา นี้เป็นผลของกรรมอะไรของเรา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยิฏฺํ คือบูชาแล้วด้วยการให้.

บทว่า หุตํ คือให้แล้วด้วยการบูชาและต้อนรับ.

บทว่า สพฺพสฺส โน อิสฺสรา ตฺวํ คือ ท่านเป็นอิสระแห่งบุญกรรมทั้งหลายของเรา คือ สามารถพยากรณ์ได้ว่า นี้เป็นผลของกรรมนี้ นี่เป็นผลของกรรมนี้ ดังนี้.

บทว่า สุสฺโสณิ คือมีตะโพกงาม.

บทว่า สุพฺภูรุ คือมีคิ้วและขาอ่อนงาม.

บทว่า วิลคฺคมชฺเฌ ท่ามกลางตัวคือสะเอว.

บทว่า กิสฺส เม คือนี่เป็นผลแห่งกรรมอะไรในกรรมที่เราทำแล้ว เราได้ที่พึ่งในวันนี้ ในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้ด้วยกรรมใด.

เทพธิดาได้ฟังดังนั้นคิดว่า พราหมณ์นี้ไม่รู้กุศลกรรมที่ตนทำไว้ เพราะเหตุนั้นคงจะถามเพื่อรู้ เราจักบอกกะเขา เมื่อจะบอกถึงเหตุอันเป็นบุญที่พราหมณ์ได้ถวายร่มและรองเท้าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าในวันขึ้นเรือ จึงกล่าวคาถาว่า :-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 64

ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวายรองเท้ากะภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเหยียบลงไปบนทรายร้อน เดือดร้อนลำบากในทางอันร้อนระอุ ทักษิณานั้นเป็นผลให้ความปรารถนาแก่ท่านในวันนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกภิกฺขุํ ท่านกล่าวหมายถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง.

บทว่า อุคฺฆฏฺฏปาทํ คือเหยียบลงไปบนทรายร้อน อธิบายว่า มีเท้าถูกเบียดเบียน.

บทว่า ตสิตํ คือหวาดสะดุ้ง.

บทว่า ปฏิปาทยิ คือมอบให้.

บทว่า กามทุหา คือให้ความใคร่ทั้งปวง.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้น มีความยินดีว่า เราถวายร่มและรองเท้า เป็นผลให้สำเร็จความปรารถนาทั้งปวงในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้เห็นปานนี้. น่าปลื้มใจเราได้ถวายดีแล้ว จึงกล่าวคาถาว่า :-

เรือลำนั้น มีแผ่นกระดานมากไม่ต้องขวนขวายหา ประกอบด้วยลมพัดเฉื่อยๆ ในมหาสมุทรนี้ไม่มีพื้นที่ของยานอื่น เราต้องไปถึงโมฬินีนครได้ในวันนี้แหละ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผลกูปปนฺนา คือประกอบด้วยแผ่นกระดาน เพราะมีแผ่นกระดานมากเพราะเป็นเรือใหญ่. ชื่อว่าไม่ต้องขวนขวายเพราะน้ำไม่ไหลเข้า. ชื่อว่าประกอบด้วยลมพัดเฉื่อยๆ เพราะลมพาไปเรียบร้อย.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 65

เทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์มีความยินดีร่าเริง จึงเนรมิตเรือสำเร็จด้วยแก้วทุกชนิด ยาว ๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๑ อุสภะแล้ว เนรมิตเรือสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล เงินและทองเป็นต้นประกอบด้วยเสากระโดง พายและหางเสือ เต็มไปด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วจูงพราหมณ์ให้ขึ้นเรือ แต่เทพธิดาไม่เห็นคนรับใช้ของพราหมณ์. พราหมณ์ได้แผ่ส่วนบุญจากความดีที่ตนทำไว้ให้แก่คนรับใช้นั้น. เขาอนุโมทนา. เทพธิดาจึงจูงคนรับใช้นั้นให้ขึ้นเรือ นำเรือไปถึงโมฬินีนคร เอาทรัพย์ไปตั้งไว้ในเรือนของพราหมณ์แล้วจึงกลับที่อยู่ของตน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เทพธิดานั้นปลื้มใจ ดีใจ อิ่มเอิบใจ เนรมิตเรือสวยงาม พาสังขพราหมณ์พร้อมด้วยคนรับใช้ ส่งถึงนครเรียบร้อย.

จริงอยู่ ในเจตนา ๗ อย่าง เจตนาต้นด้วยความสมบูรณ์แห่งจิตของพระโพธิสัตว์ และด้วยความที่พระปัจเจกพุทธเจ้าออกจากนิโรธ จึงเป็นเจตนาที่ให้ได้เสวยผลในปัจจุบันและมีผลมากมายยิ่ง. แม้ผลนี้พึงเห็นว่าเป็นผลของความไม่ประมาทต่อทานนั้น. จริงอยู่ ทานนั้นมีผลประมาณไม่ได้ เป็นโพธิสมภาร. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เพราะเหตุนั้นเราจึงเป็นผู้ละเอียดอ่อน เจริญสุขได้ร้อยเท่า อนึ่ง เมื่อเราบำเพ็ญทาน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 66

ให้บริบูรณ์ ได้ถวายทานแก่ท่านนั้นอย่างนี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เตน คือจากพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น.

บทว่า สตคุณโต คือ ร้อยเท่า. ในครั้งนั้นเราเป็นสังขพราหมณ์ เป็นผู้ละเอียดอ่อน. เพราะฉะนั้นเราจึงได้รับความสุข คือเจริญสุข. อนึ่ง เมื่อเป็นอย่างนี้เราจึงบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์. พระศาสดาทรงประกาศความที่อัธยาศัยในทานของพระองค์กว้างขวางมากว่า ขอทานบารมีของเราจงบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงได้ถวายร่มและรองเท้าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น ไม่คำนึงถึงทุกข์ในร่างกายของตนเลย.

แม้พระโพธิสัตว์อยู่ครองเรือนซึ่งมีทรัพย์นับไม่ถ้วนตลอดชีวิต ได้ให้ทานมากมาย รักษาศีล เมื่อสิ้นอายุก็ยังเทพนครให้เต็มพร้อมด้วยบริษัท.

เทพธิดาในครั้งนั้น ได้เป็นอุบลวรรณาเถรีในครั้งนี้ บุรุษรับใช้ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้ สังขพราหมณ์คือพระโลกนาถ.

สังขพราหมณ์นั้นย่อมได้รับบารมีแม้เหล่านี้ คือ ศีลบารมี ด้วยอำนาจแห่งนิจศีลและอุโบสถศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี. เนกขัมมบารมี ด้วยอำนาจแห่งกุศลธรรม เพราะออกจากธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทานและศีลเป็นต้น. วิริยบารมี ด้วยอำนาจแห่งความอุตสาหะยิ่งเพื่อให้สำเร็จทานบารมีเป็นต้น และด้วยอำนาจแห่งความพยายามข้ามมหาสมุทร. ขันติบารมี ด้วยอำนาจแห่งความอดกลั้นเพื่อประโยชน์อันนั้น. สัจจบารมี ด้วยการปฏิบัติสมควร

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 67

แก่ปฏิญญา. อธิษฐานบารมี ด้วยอำนาจแห่งการสมาทานและความตั้งใจไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง. เมตตาบารมี ด้วยอำนาจแห่งอัธยาศัยเกื้อกูลในสรรพสัตว์ทั้งหลาย. อุเบกขาบารมี ด้วยการถึงความเป็นกลางในความผิดปกติอันสัตว์และสังขารทำไว้. ปัญญาบารมี คือปัญญาอันเกิดขึ้นเอง และปัญญาอันเป็นอุบายโกศล เพราะรู้ธรรมเป็นอุปการะและไม่เป็นอุปการะแห่งบารมีทั้งปวง แล้วละธรรมไม่เป็นอุปการะเสีย มุ่งปฏิบัติในธรรมเป็นอุปการะ.

เทศนาเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งทานบารมี อันเป็นความกว้างขวางยิ่งแห่งผู้มีอัธยาศัยในการให้. อนึ่ง เพราะในที่นี้ได้บารมีครบ ๑๐ ประการ ฉะนั้น ในที่นี้ควรเจาะจงกล่าวถึงคุณของพระโพธิสัตว์ มีมหากรุณาเป็นต้น ในภายหลังตามสมควร. อนึ่ง พึงทราบคุณของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ว่า การไม่คำนึงถึงโภคสุขของตนด้วยมหากรุณาคิดว่า เราจักบำเพ็ญทานบารมี ดังนี้ แล้วเตรียมการเดินทางทางมหาสมุทร เพื่อนำสัมภาระในการให้ไป แม้เมื่อตกลงไปในมหาสมุทรก็อธิษฐานอุโบสถในมหาสมุทรนั้น และการไม่ให้เทพธิดานำอาหารมาเข้าไปใกล้เพราะกลัวจะทำลายศีล. บัดนี้ เมื่อจะกล่าวถึงความประพฤติที่เหลือ พึงทราบถึงการเจาะจงคุณสมบัติโดยนัยนี้แล. เราจักกล่าวเพียงความที่แปลกกันไปในที่นั้นๆ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-

น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว พระมหาสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาคุณใหญ่หลวง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 68

ฯลฯ

จะพูดไปทำไมถึงการทำตามท่านเหล่านั้น โดยธรรมสมควรแก่ธรรม.

จบ อรรถกถาสังขพราหมณจริยาที่ ๒