พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถา ทสุตตรสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34653
อ่าน  498

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 456

ทสุตตรสูตร

อรรถกถา ทสุตตรสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 16]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 456

อรรถกถา ทสุตตรสูตร

ทสุตตรสูตรว่า เอวมฺเม สุตเป็นต้น

พรรณนาบทอันไม่เคยมี ในทสุตตรสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. คําว่า อาวุโส ภิกฺขเว นั้นเป็นคําร้องเรียกพระสาวกทั้งหลาย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะตรัสเรียกบริษัท ย่อมตรัสว่า ภิกฺขเว ดังนี้. พวกพระสาวกคิดว่า เราจักตั้งพระศาสดาไว้ในที่อันสูง ดังนี้แล้ว ไม่ร้องเรียกด้วยการร้องเรียกพระศาสดา ย่อมร้องเรียกว่า อาวุโส ดังนี้. สองบทว่า เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุผู้นั่งแวดล้อมพระธรรมเสนาบดีเหล่านั้น. ถามว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น คือเหล่าไหน. แก้ว่า ภิกษุผู้อยู่ไม่ประจําที่คือ ผู้ไปสู่ทิศ.

จริงอยู่ ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุย่อมประชุมกัน ๒ วาระ คือ ในกาลจวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้าแล้ว ๑ ในกาลปวารณา ๑. ครั้นเมื่อดิถี จวนเข้าพรรษาใกล้เข้ามา พวกภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง เป็นพวกๆ ย่อมมาเพื่อต้องการกรรมฐาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันเทิงกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษา ใกล้เข้าแล้ว พวกเธอจึงเที่ยวกันอยู่. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มาเพื่อพระกรรมฐาน ขอพระองค์จงให้พระกรรมฐานแก่ข้า พระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้. ด้วยสามารถแห่งความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น พระศาสดาจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต ให้เมตตากัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้โทสจริต ให้อุทเทส ปริปุจฺฉา การฟังธรรมตามกาล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 457

การสนทนาธรรมตามกาล แก่ภิกษุผู้โมหะจริต ตรัสบอกว่า กัมมัฏฐานนี้เป็นที่สบายของพวกเธอ ดังนี้ ทรงให้อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้วิตกจริต ทรงประกาศ ความเป็นผู้ตรัสรู้ดี แห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม และความเป็นผู้ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ในปสาทนียสูตรแก่ภิกษุผู้สัทธาจริต ทรงตรัสพระสูตรทั้งหลายอันลึกซึ้ง อันปฏิสังยุตต์ด้วย อนิจจตา เป็นต้น แก่ภิกษุผู้ญาณจริต. พวกภิกษุเหล่านั้น เรียนเอาพระกัมมัฏฐานแล้ว ถ้าที่ใดเป็นที่สบาย ก็อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ถ้าว่าไม่มีที่สบาย ถามถึงเสนาสนะ เป็นที่สบายแล้ว จึงไป. พวกภิกษุเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เรียนข้อปฏิบัติตลอด ๓ เดือน พากเพียรพยายามอยู่ เป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระสกทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง ออกพรรษา ปวารณาแล้ว จากที่นั้นจึงไปยังสํานักพระศาสดา บอกแจ้งคุณที่ตนได้เฉพาะว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เรียนเอาพระกัมมัฏฐาน ในสํานักของพระองค์ บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว ฯลฯ ข้าพระองค์ บรรลุพระอรหัตต์อันเป็นผลอันเลิศแล้ว ดังนี้. พวกภิกษุเหล่านี้ มาในที่นั้น ในดิถีเป็นที่จวนเข้าพรรษา อันใกล้เข้ามาแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่งเหล่าภิกษุผู้มาแล้วไปอยู่อย่างนั้น สู่สํานักของพระอัครสาวกทั้งหลาย. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า. ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงอําลาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด. พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ยังมิได้อําลาพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเลย ดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงส่งภิกษุเหล่านั้นไปในเพราะการเห็นพระอัครสาวกเหล่านั้น ด้วยพระดํารัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 458

พวกเธอจงเสพ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงคบพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตอนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร เปรียบเหมือนมารดาผู้ยังทารกให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกซึ่งเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร ย่อมแนะนําในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนําในประโยชน์อันสูงสุดดังนี้. อนึ่งแม้ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทําปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านี้แล้ว ใคร่ครวญอาสยะของภิกษุเหล่านั้น ได้ทรงเห็นว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นสาวกเวไนย ดังนี้. ธรรมดาว่าพระสาวกเวไนย ย่อมตรัสรู้ด้วยพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง ของพระสาวกทั้งหลายบ้าง. แต่ว่า พวกพระสาวก ไม่อาจเพื่อจะยังพุทธเวไนยให้ตรัสรู้ได้. ก็พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเป็นสาวกเวไนย ตรวจดูอยู่ว่า จักตรัสรู้ด้วยเทศนาของภิกษุรูปไหน ก็ทรงเห็นว่า ของพระสารีบุตร ดังนี้แล้ว จึงทรงส่งไปสู่สํานักของพระเถระ. พระเถระถามภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านไปสํานักพระศาสดามาแล้วหรือ. ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ขอรับ พวกกระผมไปมาแล้ว ก็พระศาสดาทรงส่งพวกกระผมมายังสํานักของท่าน. ลําดับนั้น พระเถระคิดอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้จักตรัสรู้ด้วยเทศนาของเรา เทศนาเช่นไรหนอแล จึงจะเหมาะแก่ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงกระทําความตกลงใจว่า ภิกษุเหล่านี้ ผู้มีความสามัคคีเป็นที่มายินดี ผู้แสดงสามัคคีรส พระเทศนา (นี้แหละ) เหมาะแก่เธอเหล่านั้น ดังนี้แล้ว ผู้ใคร่เพื่อจะแสดงพระเทศนาเช่นนั้น จึงกล่าวคํามีว่าเราจักกล่าวทสุตตรสูตร ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ที่ชื่อว่า ทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 459

อันท่านจําแนกตั้งมาติกาไว้อย่างละสิบๆ. ที่ชื่อว่า ทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์แม้ว่า ตั้งแต่มาติกาหนึ่งๆ ไป จนกระทั่งถึงหมวดสิบ. ที่ชื่อว่า ทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์แม้ว่า อันท่านให้พิเศษ ปัญหาอย่างละสิบ. ในบัพพะหนึ่งๆ. ซึ่งทสุตตรสูตรนั้น. บทว่า ปวกฺขามิ ได้แก่ จักกล่าว. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระสูตร. บทว่า นิพฺพานปฺปตฺติยา ความว่า เพื่อประโยชน์แห่งการได้เฉพาะซึ่งพระนิพพาน. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย ความว่า เพื่อกระทําที่สุดรอบแห่งวัฏฏะทุกข์ทั้งสิ้น. บทว่า สพฺพคนฺถปฺปโมจนํ ความว่า การเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง มีอภิชฌากายคันถะเป็นต้น. พระเถระเมื่อจะกระทําพระเทศนาให้สูง ยังความรักในพระเทศนานั้นให้เกิดแก่เหล่าภิกษุ จึงกล่าวพรรณนา ด้วย ๔ บทว่า เหล่าภิกษุจักสําคัญทสุตตรสูตรนั้น อันตนพึงเรียน พึงศึกษา พึงทรงจํา พึงบอก ด้วยประการฉะนี้ เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพรรณนา พระสูตรนั้นๆ โดยนัยเป็นต้นว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค.

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า พหูกาโร ความว่า มีอุปการะมาก. บทว่า ภาเวตพฺโพ ความว่า ควรให้เจริญ. บทว่า ปริเยฺโย ความว่า ควรกําหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. บทว่า ปหาตพฺโพ ความว่า ควรละ ด้วยปหานานุปัสสนา. บทว่า หานภาคิโย ความว่า มีปกติให้ไปสู่อบาย เป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมรอบ. บทว่า วิเสสภาคิโย ความว่า มีปกติให้ถึงซึ่งคุณวิเศษ เป็นไปพร้อมเพื่อความวิเศษ. บทว่า ทุปฺปฏิวิชฺโฌ ความว่า กระทําให้ประจักษ์ได้ยาก. บทว่า อุปฺปาเทตพฺโพ ความว่า ควรให้สําเร็จ. บทว่า อภิฺเยฺโย ความว่า ควรรู้ยิ่งด้วยญาตปริญญา. บทว่า สจฺฉิกาตพฺโพ ความว่า ด้วยกระทําให้ประจักษ์. ในมาติกาทั้งปวง บัณฑิต

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 460

พึงทราบเนื้อความ ด้วยประการฉะนี้. ท่านพระสารีบุตร ใคร่ครวญถึงพระเทศนาอันเป็นที่สบายของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงตั้งมาติกา โดยส่วน ๑๐ โดยส่วน ๑๐ จําแนกบทหนึ่งๆ ในส่วนหนึ่งๆ ปรารภเพื่อจะยังพระเทศนาให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมากเป็นไฉน คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เหมือนอย่างช่างจักสานผู้ฉลาดตัดไม้ไผ่อันอยู่ตรงหน้าแล้ว กระทําให้เป็นมัดแล้ว เจียกออกโดยส่วน ๑๐ กระทําท่อนหนึ่งๆ ให้เป็นชิ้นๆ ผ่าออกฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อปฺปมาโท กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า พระเถระกล่าวความไม่ประมาท อันเป็นอุปการะในประโยชน์ทั้งปวง. จริงอยู่ ธรรมดาว่า ความไม่ประมาทนี้ มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง โดยอรรถว่า ไม่มีโทษ คือในการยังศีลให้บริบูรณ์ ในอินทรีย์สังวร ในความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในชาคริยานุโยค ในสัทธรรม ๗ ในการให้ถือเอาซึ่งห้องแห่งวิปัสสนา ในปฏิสัมภิทาทั้งหลาย มีอัตถะปฏิสัมภิทาเป็นต้น ในธัมมขันธ์ ๕ มี ศีลขันธ์เป็นต้น ในฐานะและอฐานะ ในมหาวิหารสมาบัติ ในอริยสัจจ์ ในโพธิปักขิยธรรม มีสติปัฏฐานเป็นต้น ในวิชชา ๘ ประการ มีวิปัสสนาญาณเป็นต้น.

เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงเปรียบด้วยเครื่องเปรียบทั้งหลาย มีรอยเท้าช้างเป็นต้น ทรงชมเชยพระเถระนั้นมีประการต่างๆ ในอัปปมาทวรรค ในสังยุตตนิกาย โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ มีประมาณเพียงใด พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 461

ไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ความไม่ประมาท อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมเหล่านั้น ดังนี้. พระเถระสงเคราะห์ ความไม่ประมาทนั้นทั้งหมดด้วยบทหนึ่งนั่นเทียวแล้วกล่าวว่า ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้. อนึ่ง ความที่ความไม่ประมาทนั้นมีอุปการะมาก อันบัณฑิตพึงแสดง แม้ด้วยอัปปมาทวรรคในธรรมบทเถิด. พึงแสดงแม้ด้วยเรื่องของพระเจ้าอโศก. จริงอยู่ พระเจ้าอโศก ทรงสดับคาถาของนิโครธสามเณรว่าความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ดังนี้เท่านั้น ทรงเลื่อมใสสามเณรด้วยตรัสว่า หยุดก่อน พ่อ ท่านกล่าวพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฏกแก่โยมแล้ว ดังนี้ จึงรับสั่งให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังแล้ว. ความที่ความไม่ประมาทมีอุปการะมาก อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยเรี่ยวแรง พึงแสดงด้วยปิฎกทั้ง ๓ ดังกล่าวเถิด ด้วยประการฉะนี้. บุคคลผู้นํามาซึ่งพระหรือคาถา อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงความไม่ประมาท อันใครๆ ไม่กล่าวว่า ท่านดํารงในที่มิใช่ฐานะนํามาแล้ว ดังนี้. เรี่ยวแรงและกําลังของพระธรรมกถึกเท่านั้น เป็นประมาณในที่นี้. คําว่า กายคตาสติ นั่นเป็นชื่อของสติอันบังเกิดขึ้นในกรรมฐานเหล่านี้คือ ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถ ๔ สติสัมปชัญญะ อาการ ๓๒ การกําหนดธาตุ ๔ อสุภะ ๑๐ สิวัฏฐิกสัญญา ๙ การกระทําไว้ในใจ ในผมเป็นต้นว่า เป็นของละเอียด รูปฌาน ๔. บทว่า สาตสหคตา ความว่า เว้น จตุตถฌานเสีย กายคตาสติ ย่อมสหรคตด้วยความยินดีในอารมณ์อื่น ประกอบด้วยความสุข. คําว่า สาตสหคตา นั่นท่านกล่าวหมายเอา กายคตาสตินั่น. สองบทว่า สาสโวอุปาทานิโย ความว่า เป็นปัจจัยแห่งอาสวะ และอุปาทานทั้งหลาย. พระเถระกําหนดธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อสฺมิมาโน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 462

ความว่า มานะว่า เรามีในรูปเป็นต้น. บทว่า อโยนิโสมนสิกาโร ความว่ามนสิการนอกทางที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เที่ยง ในสิ่งที่ไม่เที่ยง บัณฑิตพึงทราบ โยนิโสมนสิการ โดยปริยาย ตรงกันข้าม. สองบทว่า อานนฺตริโก เจโตสมาธิ ความว่า ผลในลําดับแห่งมรรคในที่อื่น ชื่อว่า อานันตริกะ เจโตสมาธิ (เจโตสมาธิ อันไม่มีระหว่าง) แต่ในที่นี้ มรรคในลําดับแห่งวิปัสสนา ท่านประสงค์เอาว่า อานันตริกะ เจโตสมาธิ เพราะมีในลําดับแห่งวิปัสสนา หรือเพราะให้ผลในลําดับแห่งตน. สองบทว่า อกุปฺปํ าณํ ความว่า ผลปัญญาในที่อื่น ชื่อว่า ญาณอันไม่กําเริบ ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปัญญาที่เป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า อาหารฏฺิติกา ความว่า ดํารงอยู่เพราะปัจจัย. หลายบทว่า อยํ เอโก ธมฺโม ความว่าสัตว์เหล่านั้น ดํารงอยู่เพราะปัจจัยใด ปัจจัยนี้ก็คือ ธรรมอย่างหนึ่ง. ควรรู้ยิ่งด้วยญาตปริญญา คือ ด้วยอภิญญา. ความหลุดพ้นแห่งพระอรหัตตผลชื่อว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ. ในวาระนี้ ท่านกล่าวญาตปริญญา ด้วยอภิญญา กล่าว ตีรณปริญญา ด้วยปริญญา. การกําหนดรู้ในการละ ด้วยกิจที่ควรละและควรทําให้แจ้ง. ก็ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทนี้ว่า ทุปฺปฏิวิชฺโฌ. ท่านกล่าวผลไว้ในบทว่า สจฺฉิกาตพฺโพ นี้. บัณฑิตย่อมได้มรรคในบทหนึ่งเท่านั้น. แต่ย่อมได้ผลแม้ในหลายบททีเดียว.

บทว่า ภูตา ความว่า มีอยู่โดยสภาวะ. บทว่า ตจฺฉา ความว่าแน่นอน. บทว่า ตถา ความว่ามีสภาวะเหมือนดังที่กล่าวแล้ว. บทว่า อวิตถา ความว่าไม่มีสภาวะเหมือนดังที่กล่าวแล้วหามิได้. บทว่า อนฺถา ความว่าไม่เป็นโดยประการอื่นจากประการที่กล่าวแล้ว. หลายบทว่า สมฺมา ตถาค-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 463

เตน อภิสมฺพุทฺธา ความว่า ธรรมทั้งหลายอันพระตถาคต ประทับนั่งที่โพธิบัลลังก์ ตรัสรู้แล้ว คือ ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ได้แก่กระทําให้แจ้งแล้ว ด้วยพระองค์เองทีเดียวโดยเหตุคือ โดยการณ์. ด้วยเหตุนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงชินสูตร ยังความปลงใจเชื่อให้เกิดว่า ธรรมเหล่านี้ อันพระตถาคตตรัสรู้แล้ว ส่วนเราเป็นเหมือนกับผู้บอกแนวของพระราชาแห่งพวกท่านดังนี้.

หลายบทว่า อิเม เทฺว ธมฺมา พหูการา ความว่า ธรรมคือสติและสัมปชัญญะ ๒ เหล่านี้ มีอุปการะ คือ นําประโยชน์เกื้อกูลมาให้ในที่ทั้งปวง เหมือนความไม่ประมาท มีอุปการะในกิจทั้งหลาย มีการบําเพ็ญศีลเป็นต้น ฉะนั้น. หลายบทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ ความว่าธรรมอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ทั้ง ๒ เหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ในสังคีติสูตร. ส่วนเบื้องต้น ท่านกล่าวไว้ในทสุตตรสูตรนี้. หลายบทว่า สตฺตานํ สงฺกิเลสาย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ความว่า อโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุและเป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย โยนิโสมนสิการเป็นเหตุและเป็นปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย. เหมือนอย่างนั้น ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกัน. อกุศลมูล ๓ กุศลมูล ๓ โยคะ ๔ วิสังโยคะ ๔ เจโตขีละ ๕ อินทรีย์ ๕ อคารวะ ๖ คารวะ ๖ อสัทธรรม ๗ สัทธรรม ๗ กุสีตวัตถุ ๘ อารัพภวัตถุ ๘ อาฆาตวัตถุ ๙ อาฆาตปฏิวินัย ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ กุศลกรรมบถ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 464

๑๐ ตกเป็นธรรม อย่างละ ๒ มีประเภทดังที่กล่าวมาน เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า แทงตลอดได้ยาก. สองบทว่า สงฺขตา ธาตุ ความว่า ขันธ์ห้าอันปัจจัยทั้งหลายกระทําแล้ว. สองบทว่า อสงฺขตา ธาตุ ความว่า พระนิพพาน อันปัจจัยทั้งหลายมิได้กระทํา. พึงทราบวินิจฉัยในสองบทนี้ว่า วิชฺชา จ วิมุตฺติ จ ดังต่อไปนี้ วิชชา ๓ ชื่อว่า วิชชา อรหัตตผล ชื่อว่าวิมุตติ. ในวาระนี้ คุณพิเศษทั้งหลายมีอภิญญาเป็นต้น ก็เป็นเหมือนกับคุณพิเศษอย่างหนึ่งๆ. ส่วนมรรคท่านกล่าวไว้ในบทที่ควรให้บังเกิดขึ้น. ผล ท่านกล่าวไว้ในบทที่ควรกระทําให้แจ้ง.

อนาคามิมรรค ท่านประสงค์เอาว่า เนกขัมมะ ในคํานี้ว่า คุณชาต คือเนกขัมมะนั่นเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายดังนี้. จริงอยู่ อนาคามิมรรคนั้น เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง. อรหัตตมรรค ย่อมมีแม้ในอรูป ในคํานี้ว่า คุณชาตคืออรูปนั้น เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ดังนี้. อรหัตตมรรค ชื่อว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูปทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เพราะห้ามความบังเกิดขึ้นอีก. หลายบทว่า นิโรโธ ตสฺส นิสฺสรณํ ความว่า อรหัตตผล ท่านประสงค์เอาว่า เป็นนิโรธ ในพระศาสนานี้. จริงอยู่ ครั้นเมื่อพระนิพพานอันพระอรหัตตผลเห็นแล้ว สังขารทั้งปวงก็ย่อมไม่มีอีกต่อไป เพราะเหตุนั้น พระอรหัตต์ท่านจึงกล่าวว่า เป็นนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแห่งสังขตะนิโรธ. บทว่า อตีตํ สาณํ ความว่า ญาณอันมีอดีตเป็นอารมณ์. แม้ในญาณนอกนี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้ในวาระนี้ อภิญญาเป็นต้น ก็เป็นเหมือนกับคุณวิเสสอย่างหนึ่งๆ. ก็ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่แทงตลอดได้โดยยาก. กล่าวผลไว้ในบทที่ควรกระทําให้แจ้ง.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 465

พึงทราบวินิจฉัยในสองนี้ว่า จตฺตาริ จกฺกานิ ดังนี้ต่อไป ธรรมดาว่า จักรมี ๕ อย่างคือ จักรคือไม้ ๑ จักรคือแก้ว ๑ จักรคือธรรม ๑ จักรคืออิริยาบถ ๑ จักรคือสมบัติ ๑ บรรดาจักรเหล่านั้น จักรนี้คือ แนะนายช่างรถผู้สหาย ก็ล้อนี้สําเร็จแล้วโดย ๖ เดือน หย่อน ๖ ราตรี ชื่อว่าจักรคือไม้ฯ จักรนี้คือ บุคคลให้เป็นไปตามจักร อันบิดาให้เป็นไปทั่วแล้วชื่อว่า จักรคือแก้ว. จักรนี้คือ จักรอันเราให้เป็นไปทั่วแล้ว ชื่อว่า จักรคือธรรม. จักรนี้คือ อวัยวะ อันมีจักร ๔ มีทวาร ๙ ชื่อว่า จักรคืออิริยาบถ. จักรนี้คือ ภิกษุทั้งหลายจักร ๔ ย่อมเป็นไปทั่งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยจักร ๔ เหล่าใด จักร ๔ เหล่านี้ ชื่อว่าจักรคือสมบัติ. จักรคือสมบัตินั้นนั่นแหละ ท่านประสงค์เอาแม้ในที่นี้. บทว่า ปฏิรูปเทสวาโส ความว่า บริษัท ๔ ย่อมปรากฏในที่ใด การอยู่ในประเทศอันสมควรเห็นปานนั้น ในที่นั้น. บทว่า สปฺปุริสูปนิสฺสโย ความว่า การพึ่ง คือ การเสพ การคบ ได้แก่การเข้าไปนั่งใกล้ สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ความว่า การตั้งตนไว้ชอบ. ก็ถ้าว่า บุคคล เป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยโทษทั้งหลายมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ในกาลก่อน การละซึ่งโทษมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้นแล้ว ดํารงอยู่ในคุณมีศรัทธาเป็นต้น. สองบทว่า ปุพฺเพ จกตปุฺาตา ความว่า ความเป็นผู้มีกุศลอันตนสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน. คุณชาตคือความเป็นผู้มีกุศลอันตนสั่งสมไว้แล้ว ในกาลก่อนนี้นั่นแหละเป็นประมาณในที่นี้. จริงอยู่ กุศลกรรม ย่อมเป็นกรรมอันบุรุษ กระทําด้วยญาณสัมปยุตตจิตใด ญาณสัมปยุตตจิตนั้น นั่นแหละ อันเป็นกุศลย่อมนําบุรุษนั้นไปในประเทศ อันสมควรคือ ให้คบสัตบุรุษทั้งหลาย. อนึ่ง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 466

บุคคลนั้นนั่นแลชื่อว่าตั้งตนไว้โดยชอบแล้ว. โลกิยะที่หนึ่งเที่ยวท่านกล่าวไว้ในอาหาร ๔. ส่วนที่เหลือท่านกล่าวไว้ในสังคีติสูตร ว่าเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. ท่านกล่าว โลกิยะทั้งหลายเทียวไว้ในส่วนเบื้องต้น ในที่นี้. บัณฑิตพึงทราบธรรมทั้งหลายมีกามโยคะ และกามวิสังโยคะเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งอนาคามิมรรคเป็นต้น. สัญญาและมนสิการ อันสหรคตด้วยกาม ย่อมกลุ้มรุมบุคคลผู้ได้ปฐมฌานในธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นต้น สมาธิก็เป็นหานภาคิยะ (เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม) สติ อันคล้อยตามสมาธินั้น ย่อมตั้งมั่น สมาธิ จึงเป็นฐิติภาคิยะ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยอวิตก ย่อมปรากฏ สมาธิ ก็เป็นวิเสสภาคิยะ สัญญาและมนสิการ อันสหรคตด้วยนิพพิทาย่อมปรากฏ สมาธิก็เป็นนิพเพธภาคิยะอันวิราคะเข้าปรุงแล้ว เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงยังสมบัติทั้งปวงให้พิสดาร แล้วทราบเนื้อความโดยนัยนี้. ส่วนในวิสุทธิมรรค ท่านกล่าววินิจฉัยกถาเนื้อความนั้นไว้แล้ว. แม้ในวาระนี้ อภิญญาเป็นต้น ก็เป็นเหมือนกับคุณวิเสสอย่างหนึ่งๆ. ก็มรรคท่านกล่าวไว้ในที่นี้ในอภิญญาบท. กล่าวผลไว้ในบทที่ควรกระทําให้แจ้ง.

พึงทราบวินิจฉัยในปีติแผ่ไปเป็นต้นต่อไป. ปีติ เมื่อแผ่ไปย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปีติแผ่ไป. สุข เมื่อแผ่ไปย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า สุขแผ่ไป. ปัญญาเมื่อแผ่ไปสู่ใจของชนเหล่าอื่น บังเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาที่กําหนดรู้ใจ ชื่อว่าใจแผ่ไป. ปัญญา บังเกิดขึ้นในแสงสว่างแผ่ไป เพราะเหตุนั้น ปัญญา ในทิพยจักษุ ชื่อว่า แสงสว่างแผ่ไป. ญาณเป็นเครื่อง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 467

พิจารณา ชื่อว่า นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา. สมจริง ดังคําที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปีติแผ่ไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่าสุขแผ่ไป ปัญญา ในจิตของผู้อื่น (รู้ใจของผู้อื่น) ชื่อว่า ใจแผ่ไปทิพยจักษุ ชื่อว่า แสงสว่างแผ่ไป ญาณเป็นเครื่องพิจารณาของท่านผู้ออกจากสมาธินั้นๆ ชื่อว่า นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา. บรรดาบทเหล่านั้นปีติแผ่ไป สุขแผ่ไป เปรียบเหมือนเท้าทั้ง ๒. ใจแผ่ไป แสงสว่างแผ่ไปเปรียบเหมือนมือทั้ง ๒. ฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา เปรียบเหมือนกายท่อนกลาง นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา เปรียบเหมือนศีรษะ. ท่านพระสารีบุตรเถระ แสดงสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ กระทําให้เป็นเหมือนบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. สมาธิในอรหัตตผลท่านประสงค์เอาในคําเป็นต้นว่า สมาธิ นี้เป็นสุขในปัจจุบัน ด้วยนั่นเทียว. จริงอยู่ สมาธิในอรหัตตผลนั้น ชื่อว่า สุขในปัจจุบัน. เพราะเป็นสุขในขณะที่บรรลุแล้วๆ. สมาธิ ต้นๆ เป็นวิบากแห่งสุขต่อไป เพราะเป็นปัจจัยแห่งสุขในสมาธิหลังๆ ที่ชื่อว่า อริยะ เพราะความเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า นิรามิส เพราะความไม่มีแห่งอามิสคือ กามอามิส คือ วัฏฏะและอามิสคือโลก. ที่ชื่อว่า ไม่เสพคนชั่ว เพราะความเป็นผู้เสพมหาบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ที่ชื่อว่า สัตบุรุษเพราะอวัยวะสงบ เพราะอารมณ์สงบ และเพราะความกระวนกระวาย คือกิเลสทั้งปวงสงบ. ที่ชื่อว่าประณีต เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ที่ชื่อว่าได้ความสงบระงับ เพราะได้ความสงบระงับกิเลส หรือเพราะได้ซึ่งความเป็นคือสงบระงับกิเลส. จริงอยู่ สองบทนี้คือ ปฏิปฺปสฺสทฺธํ ปฏิปฺปสฺสทฺธิ โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 468

เพราะความที่พระอรหันต์ผู้มีกิเลสสงบระงับได้แล้ว. ที่ชื่อว่า บรรลุความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น (การเข้าสมาธิที่มีจุดหมายเป็นหนึ่ง) เพราะบรรลุโดยเอโกทิภาวะ หรือเพราะบรรลุซึ่งเอโกทิภาวะ. ชื่อว่า บรรลุเอโกทิภาวะเพราะอันพระโยคาวจร ข่มปัจจนีกธรรมห้ามกิเลส แล้วไม่บรรลุด้วยสัมปโยคจิต อันเป็นสสังขาร เหมือนสาสวะสมาธิ อันมีคุณน้อย ฉะนั้น และเพราะไม่ข่มสัมปโยคจิต อันเป็นสสังขาร ห้ามไว้. อนึ่ง พระโยคาวจรเมื่อเข้าสมาธินั้น หรือ เมื่อออกจากสมาธินั้น ย่อมมีสติเข้าเทียว ย่อมมีสติออกเทียว เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ. อีกอย่างหนึ่งพระโยคาวจร ชื่อว่า มีสติเข้า มีสติออก ด้วยสามารถแห่งกาลตามที่ตนกําหนดไว้. เพราะเหตุนั้นในที่นี้ เมื่อพระโยคาวจรพิจารณาอย่างนี้ว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ดังนี้ อปรปัจจยญาณ อันเป็นของเฉพาะตนนั่นเอง ย่อมเกิดขึ้น อปรปัจจยญาณนั้นเป็นองค์อย่างหนึ่ง. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. สมาธินี้ ท่านเรียกว่า สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยญาณ ๕ ด้วยปัจจเวกขณญาณ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. ในวาระนี้ ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเสส. กล่าวผลไว้ในบทที่ควรกระทําให้แจ้ง. คําที่เหลือ เหมือนกับคําต้นนั่นแล. คําทั้งปวงในหมวด ๖ มีเนื้อความชัดทั้งนั้น. ก็ท่านกล่าวมรรคไว้ในที่นี้ ในบทว่าแทงตลอดได้ยาก. คําที่เหลือเหมือนกับคําต้น.

หลายบทว่า สมฺมปฺปฺาย สุทิฏฺา โหนฺติ ความว่า ย่อมเป็นผู้เห็นดี ด้วยวิปัสสนาญาณ โดยเหตุทั้ง ๒. บทว่า กามา คือ วัตถุกามและกิเลสกาม. กามแม้ทั้งสองเป็นสภาพอันพระโยคาวจรเห็นด้วยดี เหมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า มีความเร่าร้อน. บทว่า วิเวกนินฺนํ ความว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 469

น้อมไปพระนิพพาน. คําว่า โน้มไป เงื้อมไป นั่น เป็นไวพจน์ของการน้อมไป. บทว่า พฺยนฺตีภูตํ ความว่า ผู้มีที่สุดอันควรนําไปไปปราศแล้ว อธิบายว่า ผู้มีตัณหาออกแล้ว. ด้วยธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แต่ไหน อธิบายว่า ด้วยธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓. ในที่นี้ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรเจริญ. คําที่เหลือ เหมือนกับคําต้นนั่นแล.

สองบทว่า อาทิพรหมจริยกาย ปฺาย ความว่า แห่งสมถ และวิปัสสนาปัญญา อย่างอ่อนในส่วนเบื้องต้น เพราะเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ สงเคราะห์ด้วยไตรสิกขา. อีกอย่างหนึ่ง แห่งปัญญาในสัมมาทิฏฐิ อันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคมีองค์ ๘. บทว่า ติพฺพํ คือ มีกําลัง. บทว่า หิโรตฺตปฺปํ ได้แก่ หิริและโอตตัปปะ. บทว่า เปมํ ได้แก่ ความรักอาศัยเรือน. บทว่า คารโว ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิตหนัก. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเข้าไปอาศัย บุคคลผู้ควรแก่การเคารพ กิเลสทั้งหลาย่อมไม่บังเกิดขึ้น เขาผู้นั้น ย่อมได้โอวาทและคําพร่ําสอน เพราะเหตุนั้น การอาศัยบุคคลผู้นั้นอยู่ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการได้ปัญญา. พึงทราบวินิจฉัยในอขณะต่อไป. เพราะเหตุที่พวกเปรตถึงอาวาหะ ถึงวิวาหะ กับพวกอสูร ฉะนั้นอสุรกาย บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วยปิตติวิสัยนั่นเอง (วิสัยแห่งเปรต). พึงทราบวินิจฉัยในคํานี้ว่า อปฺปิจฺฉสฺส ต่อไป ความปรารถนาน้อย ๔ อย่าง คือ ความปรารถนาน้อยในปัจจัย ๑ ความปรารถนาน้อยในคุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุ ๑ ความปรารถนาน้อยในปริยัติ ๑ ความปรารถนาน้อยในธุดงค์ ๑. บรรดาความปรารถนาน้อยเหล่านั้น บุคคลผู้ปรารถนาน้อยด้วยปัจจัย เมื่อเขาให้มากก็รับเอาแต่น้อย เมื่อเขาให้น้อยก็รับเอาน้อย

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 470

กว่า หรือว่า ไม่รับเอาเลย ย่อมเป็นผู้ไม่รับเอาโดยไม่เหลือไว้. บุคคลผู้ปรารถนาน้อยในคุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุ ย่อมไม่ให้ชนเหล่าอื่นรู้คุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุของตน เหมือนพระมัชฌันติกเถระ ฉะนั้น. บุคคลผู้ปรารถนาน้อยในปริยัติ แม้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ปรารถนาที่จะให้คนอื่นรู้ว่าตนเป็นพหูสูตร เหมือนพระสาเกตติสสะเถระฉะนั้น. บุคคลผู้ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ย่อมไม่ให้ชนเหล่าอื่นรู้ถึงการบริหารธุดงค์ เหมือนพระเชฏฐกะเถระ ในพระเถระผู้พี่น้องชายกัน ๒ องค์ ฉะนั้น. ท่านกล่าวเรื่องไว้ในวิสุทธิมรรคแล้ว. สองบทว่า อยํ ธมฺโม ความว่า โลกุตตรธรรม ๙ นี้ ย่อมสําเร็จแก่บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย เพราะซ่อนเร้นคุณที่มีอยู่อย่างนี้ และเพราะความเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ หาสําเร็จแก่บุคคลผู้อยากใหญ่ไม่. บัณฑิตพึงประกอบคําในที่ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส ความว่า ผู้สันโดษ ด้วยความสันโดษ ๓ อย่างในปัจจัย ๔. ปวิวิตฺตสฺส ความว่า ผู้สงัดแล้วด้วยกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บรรดาวิเวกเหล่านั้น ความเป็นผู้บรรเทาการระคนด้วยหมู่เป็นอยู่ผู้เดียว ด้วยสามารถแห่งอารัพภวัตถุ ๘ ชื่อว่ากายวิเวก. ก็กรรมย่อมไม่สําเร็จด้วยเหตุสักว่าความเป็นอยู่ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรกระทําการบริกรรมกสิณแล้ว ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด อันนี้ชื่อว่า จิตตวิเวก. กรรม ย่อมไม่สําเร็จ ด้วยเหตุสักว่าสมาบัติเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรกระทําฌานให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว บรรลุอรหัตต์พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย อันนี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายอันตั้งอยู่ในความสงัด ผู้ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิต

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 471

บริสุทธิ์ ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ผู้ถึงความเป็นวิสังขาร ดังนี้.

บทว่า สงฺคณิการามสฺส ความว่า ผู้ยินดีอยู่ ด้วยการระคนด้วยหมู่ และด้วยการระคนด้วยกิเลส. บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ความว่า ผู้ปรารภความเพียร ด้วยสามารถแห่งความเพียร ที่เป็นไปทางกาย และเป็นไปทางจิต. บทว่า อุปฏฺิตสฺสติสฺส ความว่าผู้มีสติตั้งมั่นด้วย อํานาจแห่งสติปัฏฐาน ๔. บทว่า สมาหิตสฺส ความว่าผู้มีจิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง. บทว่า ปฺวโต ความว่า ผู้มีปัญญา ด้วยกัมมัสสกตาปัญญา. บทว่า นิปฺปปฺจสฺส ความว่า ผู้มีความเนิ่นช้า คือ มานะ ตัณหาและทิฏฐิไปปราศแล้ว. ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรเจริญในที่นี้. คําที่เหลือเหมือนกับคําต้นนั่นแล.

บทว่า สีลวิสุทฺธิ ความว่า ปาริสุทธิศีล ๔ สามารถที่จะให้สัตว์ถึงความหมดจดได้. บทว่า ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ ความว่า องค์อันเป็นประธานแห่งภาวะความบริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ความว่า สมาบัติอันช่ําชอง ๘ อย่าง เป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา. บทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ ความว่า การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย. บทว่า กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ ได้แก่ความรู้ในปัจจยาการ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเห็นว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปด้วยอํานาจแห่งปัจจัย แม้ในกาลทั้ง ๓ นั่นเอง ดังนี้ ย่อมข้ามความสงสัยเสียได้. บทว่า มคฺคามคฺคาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ความรู้ว่า ทางมิใช่ทางอย่างนี้ว่า อุปกิเลสมีแสงสว่างเป็นต้น มิใช่ทาง อุทยัพยญาณ อันดําเนินไปสู่วิถี เป็นหนทาง (บรรลุ) ดังนี้.

บทว่า ปฏิปทาาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า วิปัสสนาอันเป็น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 472

วุฏฐานคามินี ท่านกล่าวไว้ในรถวินีตวัตถุ วิปัสสนาอย่างอ่อนท่านกล่าวไว้ในที่นี้. บทว่า าณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า ท่านกล่าวมรรคไว้ในรถวินีตวัตถุ กล่าววุฏฐานคามินีวิปัสสนาไว้ในที่นี้. ก็วิสุทธิแม้ทั้ง ๗ เหล่านั้นท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค โดยพิสดารแล้ว. บทว่า ปฺาได้แก่ปัญญาของพระอรหัตตผล. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ความหลุดพ้นของพระอรหัตตผลนั่นเอง. หลายบทว่า ธาตุนานตฺตํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ผสฺสนานตฺตํ ความว่า เพราะอาศัยความเป็นต่างกันแห่งธาตุมีจักขุธาตุ เป็นต้น ความเป็นต่างกันแห่งจักขุสัมผัสเป็นต้นจึงบังเกิดขึ้น ดังนี้. สองบทว่า ผสฺสนานตฺตํ ปฏิจฺจ ความว่า เพราะอาศัยความเป็นต่างกัน แห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น. บทว่า เวทนานานตฺตํ ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งเวทนา มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น. สองบทว่า สฺานานตฺตํ ปฏิจฺจ ความว่า เพราะอาศัยความเป็นต่างกันแห่งสัญญา มีกามสัญญาเป็นต้น. บทว่า สงฺกปฺปนานตฺตํ ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งความดําริมีความดําริในกามเป็นต้น หลายบทว่า สงฺกปฺปนานตฺตํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ฉนฺทนานตฺตํ ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งความพอใจ ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างนี้ว่าความพอใจในรูป ความพอใจในเสียง เพราะความเป็นต่างกันแห่งความดําริ. บทว่า ปริฬาหนานตฺตํ ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งความเร่าร้อน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ความเร่าร้อนในรูป ความเร่าร้อนในเสียง ย่อมมีเพราะความเป็นต่างกันแห่งความพอใจ. บทว่า ปริเยสนานานตฺตํ ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งการแสวงหารูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเป็นต่างกันแห่งความเร่าร้อน. บทว่า ลาภนานตฺตํ ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งการได้เฉพาะซึ่งรูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเป็นต่างกันแห่งการแสวงหา. พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาทั้งหลายต่อไป. ที่ชื่อว่า มรณสฺา

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 473

ได้แก่ สัญญา ด้วยมรณานุปัสสนาญาณ. ที่ชื่อว่า อาหาเร ปฏิกูลสฺาได้แก่ สัญญา อันบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้กําหนดอาหาร. ที่ชื่อว่า สพฺพโลเก อนภิรตสฺา ได้แก่สัญญาอันบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่พอใจในวัฏฏะทั้งปวง. สัญญาที่เหลือ ท่านกล่าวไว้ในวิปัสสนา ในหนหลังนั่นแล. ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่มีอุปการะมาก ในที่นี้. คําที่เหลือ เหมือนกับคําต้นนั่นแล.

บทว่า นิชฺชิณฺณเวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุที่หมดแรง. หลายบทว่า มิจฺฉาทิฏิ นิชฺชิณฺณา โหติ ความว่า มิจฉาทิฏฐิ นี้หมดแรง คืออันบุคคลผู้เห็นชอบ ละได้แล้วด้วยวิปัสสนาในหนหลัง เพราะเหตุไร ท่านจึงจัดไว้อีก. แก้ว่า เพราะยังตัดไม่ได้. จริงอยู่ มิจฉาทิฏฐิ ย่อมหมดแรงด้วยวิปัสสนา แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น อันพระโยคาวจรก็ยังตัดไม่ได้. ก็มรรคบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตัดมิจฉาทิฏฐินั้น ไม่ให้ออกไปอีก เพราะเหตุนั้นท่านจึงจัดไว้อีก. บัณฑิตพึงนํานัยในบททั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. อนึ่งในที่นี้ ธรรม ๖๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นโดยชอบเป็นปัจจัย. ธรรม ๖๔ เป็นไฉน. ธรรม ๖๔ เป็นอย่างละ ๘ๆ ในมรรค ๔ ผล ๔ ถึงความบริบูรณ์ อย่างนี้คือในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค สัทธินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือ อธิโมกข์ วิริยินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคือการยกย่อง สตินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคือการระลึกถึง สมาธินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือ ความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือการเห็น มนินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคือ การรู้แจ้งโสมนัสสินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือความเพลิดเพลินยิ่ง ชีวิตินทรีย์

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 474

ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งการสืบต่อยังเป็นไป ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล สัทธินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคืออธิโมกข์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งการสืบอยู่เป็นไป. ในที่นี้ ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรรู้ยิ่ง. คําที่เหลือเหมือนกับคําต้นนั่นแล. ภิกษุดํารงในพระศาสนานี้แล้ว พึงประชุมปัญหา ดังนี้. ย่อมเป็นอันท่านกล่าวปัญหา ๕๕๐ ปัญหา คือ กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวด ๑๐ กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวดหนึ่ง และหมวดเก้า กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวดสอง และหมวดแปด กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวดสาม และหมวดเจ็ด กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวดสี่ และหมวดหก กล่าว ๕๐ ปัญหาในหมวดห้า.

ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวคํานี้แล้ว พวกภิกษุเหล่านั้น แช่มชื่นใจ เพลิดเพลินภาษิต ของท่านพระสารีบุตร เพลิดเพลินอยู่ด้วยกล่าวว่า ดีละ ดีละ ดังนี้แล้ว รับไว้ด้วยเศียรเกล้า. ก็แล พวกภิกษุแม้ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นนึกถึงอยู่ซึ่งพระสูตรนี้นั่นเอง ก็ดํารงอยู่ในพระอรหัตต์พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ก็เพราะความที่ตนมีใจแช่มชื่นนั้น ดังนี้แล.

พรรณนาความในทสุตตรสูตรแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี จบแล้วด้วยประการฉะนี้

หมวด ๑๑ จบ

การพรรณนาปาฏิกวรรคก็จบแล้วดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 475

อนึ่ง ข้าพเจ้าผู้อันพระทาฐานาคสังฆเถระ ผู้อยู่ในบริเวณอันเป็นมงคลดี ผู้มีคุณอันมั่นคง ผู้ชื่อว่าเถระวงศ์ อ้อนวอนแล้วด้วยคํามีประมาณเท่านี้ ปรารภอรรถกถาใด ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี โดยชื่อ แห่งคัมภีร์ยาวอันประเสริฐ อันแสดงซึ่งหมู่แห่งคุณของพระทศพล ก็อรรถกถานั้น อันข้าพเจ้าถือเอาสาระ ในมหาอรรถกถาให้จบลงแล้ว. อรรถกถานั้น จบลงแล้วด้วยภาณวารทั้งหลาย แห่งบาลีประมาณ ๘๑. แม้วิสุทธิมรรคอันมีประมาณ ๕๙ อันข้าพเจ้ารจนา คัมภีร์ไว้ ก็เพื่อประโยชน์แก่การประกาศเนื้อความ โดยภาณวารทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น อรรถกถานี้ พร้อมทั้งวิสุทธิมรรคนั้น อันข้าพเจ้านับกําหนดดีแล้ว ด้วยการนับภาณวารจึงเป็น ๑๔๐. ว่าโดยภาณวาร คําทั้งปวงประมาณ ๑๔๐ หมวด ด้วยประการฉะนี้.

ข้าพเจ้าผู้ถือเอาสาระในมูลอรรถกถา อันประกาศลัทธิ แห่งพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหารกระทํากรรมนี้ เข้าไปก่อบุญใดไว้ ด้วยบุญนั้น ขอชาวโลกทั้งมวลจงมีสุขเถิด ดังนี้แล.

อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินีนี้ อันพระเถระผู้มีนามไธย อันครูทั้งหลาย ขนานว่า พุทธโฆษะ ผู้ประดับด้วยศรัทธา ความรู้และความเพียรอันหมดจดยิ่ง ผู้อันคุณสมุทัย มีศีล อาจาระ ความซื่อตรงและความเป็นคนอ่อนเป็นต้น ตั้งขึ้นแล้ว ผู้สามารถในการศึกษาเล่าเรียนลัทธิของตนและลัทธิอื่น ผู้ประกอบด้วยความฉลาดด้วยปัญญา ผู้มีอํานาจแห่งญาณอันอะไรๆ ไม่ขจัดแล้วในพระศาสนาของพระศาสดาพร้อมด้วย

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 476

อรรถกถาอันต่างโดยการศึกษาพระไตรปิฎก ผู้เป็นนักไวยากรณ์ใหญ่ ผู้ประกอบด้วยความสุขอันกรณสมบัติให้เกิดแล้วและความงามแห่งถ้อยคํา อันคล่องแคล่ว อ่อนหวานไพเราะ ผู้พูดคําที่ควร และพ้น (จากโทษ) ผู้เป็นนักพูดประเสริฐ ผู้เป็นมหากวี ผู้มีความรู้อันไพบูลย์ หมดจด อันเป็นเครื่องประดับวงศ์ แห่งพระเถระทั้งหลาย ผู้แสดงเถระวงศ์ ผู้มีปกติอยู่ในมหาวิหาร ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้ว ในอุตตริมนุสสธรรม อันประดับแล้วด้วยคุณ มีอภิญญา ๖ เป็นต้น เป็นประเภท อันมีปฏิสัมภิทา อันตนแตกฉานแล้วเป็นบริวาร รจนาแล้ว

แม้พระนามว่า พุทฺโธ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจิตหมดจด ผู้คงที่ ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นไปอยู่ในโลกเพียงใด ขออรรถกถาชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี นี้ อันแสดงอยู่ซึ่งนัย เพื่อความหมดจดแห่งทิฏฐิ ของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาเครื่องสลัดออกจากโลก จงดํารงอยู่ในโลกเพียงนั้นเทอญ

อนึ่ง การพรรณนาเนื้อความแห่งอรรถกถา ทีฆนิกาย ก็จบลงแล้ว