พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รตนสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความสวัสดีมีด้วยพระไตรรัตน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ก.ค. 2564
หมายเลข  34580
อ่าน  1,137

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 1

สุตตนิบาต

จูฬวรรคที่ ๒

รตนสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความสวัสดีมีด้วยพระไตรรัตน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย สุตตนิบาต (๑)

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๖

สุตตนิบาต จูฬวรรคที่ ๒

รตนสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความสวัสดีมีด้วยพระไตรรัตน์

[๓๑๔] ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด ประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวง จงเป็นผู้มีใจดี และขอจงฟังภาษิต โดยเคารพ ดูก่อนภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตา จิตในหมู่มนุษย์

มนุษย์เหล่าใดนำพลีกรรมไปทั้งกลางคืนกลางวัน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์เหล่านั้น


๑. บาลีเล่มที่ ๒๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 2

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใด อันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระศากยมุนีผู้มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมตธรรม เป็นธรรมประณีต ธรรมชาติอะไรๆ อันเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 3

บุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษ ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้น ควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใดในศาสนาของพระโคดม ประกอบด้วยดีแล้ว มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุ หยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดยเปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน ไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม มีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 4

พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึงกระนั้นท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้นอันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อม แห่งการเห็น (นิพพาน) ทีเดียว อนึ่ง อริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อทำอภิฐานทั้ง ๖ สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลนั้น ยังทำบาปกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็จริง ถึงกระนั้น ท่านก็ไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพานอันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว สังฆ-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 5

รัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูล มีอุปมาฉันนั้น พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ พระอริยบุคคลเหล่านั้นมีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไปฉะนั้น สังฆรัตนะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 6

แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการ พระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศ นี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ เหล่านี้.

จบรตนสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 7

ปรมัตถโชติกา

อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต (๑)

จูฬวรรคที่ ๒

อรรถกถารตนสูตรที่ (๑)

รตนสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยานีธ ภูตานิ ดังนี้.

พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล อุปัทวะทั้งหลาย มีทุพภิกขภัยเป็นต้น เกิดขึ้นแล้วในเมืองเวสาลี เจ้าลิจฉวีทั้งหลายได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ ทูลขอนำพระผู้มีพระภาคเจ้ามายังเมืองเวสาลี เพื่อให้ภัยเหล่านั้นสงบ พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเจ้าลิจฉวีทรงนิมนต์มาแล้วอย่างนี้ ได้ตรัสพระสูตรนี้ (รตนสูตร) เพื่อให้อุปัทวะทั้งหลายเหล่านั้นสงบ นี้คือใจความสังเขปในรตนสูตรนั้น.

แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนาถึงการเกิดขึ้นแห่งพระสูตรนั้น จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี พึงทราบเหตุเกิดขึ้นแห่งรตนสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-

ดังได้สดับมา ครรภ์ตั้งขึ้นแล้วในท้องแห่งอัครมเหสีของพระราชาในเมืองพาราณสี พระนางทรงทราบการที่พระครรภ์ตั้งขึ้นนั้นแล้ว จึงได้กราบทูล


๑. อรรถกถาสุตตนิบาต ภาค ๒

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 8

แด่พระราชา พระราชาก็ได้ทรงพระราชทานการบริหารพระครรภ์ พระนางซึ่งมีพระครรภ์อันชนทั้งหลายบริหารอยู่โดยชอบ ในเวลาที่พระครรภ์แก่ ก็ได้เสด็จไปยังเรือนประสูติ หญิงผู้มีบุญทั้งหลายย่อมคลอดบุตรในเวลาใกล้รุ่ง ก็พระนางเป็นหญิงผู้หนึ่งในบรรดาหญิงผู้มีบุตรเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นในเวลาใกล้รุ่งพระนางจึงประสูติชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งเช่นกับครั่งสดและดอกชบา ต่อจากนั้น พระอัครมเหสีทรงดำริว่า ความเสื่อมเกียรติพึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา ด้วยเหตุที่ว่าพระเทวีเหล่าอื่นประสูติพระโอรสทั้งหลายเช่นกับด้วยแท่งทอง (แต่) พระอัครมเหสีประสูติชิ้นเนื้อ ดังนี้. เพราะกลัวความเสื่อมเกียรตินั่น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นลงในภาชนะใบหนึ่ง ครอบด้วยภาชนะอีกใบหนึ่ง แล้วทรงประทับตราด้วยพระราชลัญจกรแล้วทรงให้ปล่อยไปในกระแสแห่งแม่น้ำคงคา พอมนุษย์ทั้งหลายลอยภาชนะนั้นเท่านั้น เทวดาทั้งหลายก็จัดการอารักขา และเทวดาทั้งหลายได้เขียนแผ่นทองคำด้วยชาด ผูกไว้ที่ภาชนะนั้น ว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ต่อแต่นั้น ภาชนะนั้นไม่ได้ถูกอันตรายทั้งหลาย มีภัยเกิดแต่คลื่นเป็นต้นประทุษร้าย ได้ลอยไปตามกระแสแห่งแม่น้ำคงคา.

ก็โดยสมัยนั้น ดาบสตนหนึ่งอาศัยสกุลนายโคบาลอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ดาบสนั้นก้าวลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่ ได้เห็นภาชนะนั้นกำลังลอยมา ได้ถือเอาแล้วด้วยสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ต่อจากนั้น ฤาษีนั้นก็ได้เห็นแผ่นอักขระนั้น และรอยประทับตราด้วยพระราชลัญจกรที่ภาชนะนั้น แก้ออกแล้วได้เห็นชิ้นเนื้อนั้น ครั้นเห็นแล้ว ฤาษีนั้นก็คิดว่า จะต้องเป็นครรภ์ เพราะว่าเนื้อเช่นนั้นไม่มีกลิ่นและไม่เน่า ฤาษีนั้นจึงได้นำชิ้นเนื้อนั้นไปสู่อาศรม วางไว้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 9

ในที่บริสุทธิ์ ต่อมาโดยกาลล่วงไปได้กึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เกิดเป็น ๒ ชิ้น ดาบสเห็นชิ้นเนื้อนั้นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดีขึ้นอีกกว่าเดิม ต่อจากนั้นโดยกาลล่วงไปได้ครึ่งเดือนอีก ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งๆ ก็เกิดมีปุ่มขึ้นชิ้นละ ๕ ปุ่ม เพื่อประโยชน์แก่ มือ เท้า และศีรษะ ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดียิ่งขึ้นอีก ต่อแต่นั้นโดยกาลล่วงไปได้ครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทารก เช่นกับด้วยแท่งทอง ชิ้นเนื้ออีกชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทาริกา เช่นกับแท่งทอง พระฤาษีเกิดความสิเน่หา เพียงดังบุตรในเด็กทั้งสองนั้น ก็น้ำนมได้เกิดขึ้นจากหัวแม่มือของดาบส จำเดิมแต่นั้นมา เมื่อใดดาบสได้น้ำนมและภัต เมื่อนั้นท่านก็ฉันภัตนั้น แล้วใส่น้ำนมลงในปากของทารกทั้งสอง สิ่งใดๆ เข้าไปในท้องของเด็กทั้งสองนั้น สิ่งนั้ ทั้งหมดย่อมปรากฏราวกะว่า วางอยู่ในภาชนะแก้วมณีฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้น เป็นผู้ไม่มีผิว ได้มีด้วยอาการอย่างนี้ อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ผิวของเด็กทั้งสองนั้นแนบสนิทกันและกัน ประดุจเย็บตั้งไว้ฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้นจึงปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะเหตุที่เป็นผู้ไม่มีผิว หรือเพราะเหตุที่ว่ามีผิวแนบสนิท ด้วยประการฉะนี้. พระดาบสเลี้ยงทารกทั้งสองอยู่ เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตในเวลาสาย กลับมาในเวลาสายยิ่ง พวกนายโคบาลทราบถึงความขวนขวายนั้นของดาบสนั้นแล้ว จึงเรียนว่า ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงเด็ก เป็นความกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้เด็กทั้งสองแก่พวกกระผม พวกกระผมจักเลี้ยงเสียเอง ท่านจงได้กระทำสมณธรรมของตนเถิด ดาบสรับว่า ดีละ.

นายโคบาลทั้งหลาย ได้ทำทางให้สม่ำเสมอในวันที่สอง โปรยดอกไม้ ให้ยกธงชัยและธงปฏาก ไปยังอาศรมด้วยทั้งดนตรีทั้งหลายที่ประโคมอยู่ ดาบส

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 10

กล่าวว่า เด็กทั้งสองเป็นผู้มีบุญมาก ขอให้พวกท่านจงเลี้ยงให้เจริญ ด้วยการเอาใจใส่จริงๆ ก็ครั้นเลี้ยงให้เจริญแล้ว จงทำอาวาหะและวิวาหะกะกันและกัน พวกท่านทำให้พระราชาทรงพอพระทัย (ด้วยการถวาย) ปัญจโครส แล้วจงถือเอาภูมิภาค พากันสร้างนคร จงอภิเษกพระกุมารไว้ในพระนคร ดังนี้แล้ว จึงได้มอบทารกทั้งสอง (แก่พวกโคบาล) พวกโคบาลเหล่านั้น รับคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นำทารกทั้งสองไปเลี้ยงไว้ เด็กทั้งสองเจริญวัยขึ้น แล้วเล่นอยู่ ได้ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ประหารพวกเด็กของนายโคบาลเหล่าอื่น ในที่ทะเลาะกันทั้งหลาย พวกเด็กเหล่านั้นก็ร้องไห้ ครั้นถูกมารดาและบิดาถาม ว่าร้องไห้ทำไม ก็ตอบว่า เด็กสองคนที่ไม่มีพ่อไม่มีแม่ ที่ดาบสเลี้ยงไว้ ตีพวกข้าพเจ้า.

ลำดับนั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นจึงกล่าวว่า เด็ก ๒ คนนี้ เบียดเบียนเด็กเหล่าอื่น ทำให้เด็กเหล่าอื่นได้รับความทุกข์ พวกเราไม่ควรสงเคราะห์ เด็ก ๒ คนนี้ๆ พวกเราควรเว้นเสีย เล่ากันมาว่านับตั้งแต่นั้นมา ดินแดนแห่งนี้จึงเรียกกันว่า "วัชชี" ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์. ต่อแต่นั้นนายโคบาลทั้งหลาย ทำให้พระราชาทรงโปรดปรานแล้ว ก็ได้ถือเอาพื้นที่แห่งนั้น พวกนายโคบาลสร้างนครขึ้น ณ สถานที่นั้นนั่นเอง แล้วอภิเษกพระกุมารซึ่งมีชันษา ๑๖ ยกให้เป็นพระราชา และพวกนายโคบาล ได้ทำกติกาข้อห้ามเกี่ยวกับทาริกาและพระราชานั้นไว้ว่า จะไม่พึงนำทาริกามาแต่ภายนอก ไม่พึงให้ทาริกาจากที่นี้แก่ใครๆ. เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นครั้งแรกของพระราชาและพระราชินีนั้น ก็เกิดทารกขึ้น ๒ คนเป็นหญิง ๑ ชาย ๑ ทารกเกิดครั้งละ ๒ คน อย่างนี้ถึง ๑๖ ครั้ง. ต่อจากนั้น ชนทั้งหลายได้ล้อมพระนครแห่งนั้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 11

เพื่อให้เด็กเหล่านั้น ซึ่งเจริญขึ้นเป็นลำดับ ถือเอาสวนอุทยาน เป็นที่รื่นรมย์ที่อยู่ บริวารและสมบัติด้วยกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งห่างกันชั้นละ ๓ คาวุต เพราะเหตุที่นครแห่งนั้นต้องทำให้ขยายออกบ่อยๆ จึงได้ชื่อว่า เวสาลี นี้คือเรื่อง เมืองเวสาลี.

แต่เมืองเวสาลีนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว เป็นเมืองที่มั่งคั่งไพบูลย์ ก็ในเมืองเวสาลีนั้นมีพระราชาถึง ๗,๗๐๗ พระองค์ ถึงแม้พระยุพราช เสนาบดีและขุนคลังเป็นต้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน สมดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวสาลีเป็น เมืองมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น มีภิกษาหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวน ๗,๗๐๗ แห่ง สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ. (๑)

โดยสมัยอื่นมีภิกษาหาได้ยาก ฝนแล้ง ข้าวกล้าเสียหาย ครั้งแรกคนยากจนตายก่อน คนทั้งหลายทิ้งซากศพของตนเข็ญใจเหล่านั้นไว้นอกเมือง เพราะกลิ่นซากศพของคนที่ตายทั้งหลาย พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง ต่อแต่นั้นคนก็ตายมากต่อมาก เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเมืองเวสาลีถูกทุพภิกขภัย อมนุษยภัย และโรคภัย ๓ ประการ ประทุษร้ายแล้ว ดังกล่าวมานี้ ชาวเมืองทั้งหลายก็เข้าไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ภัย ๓ ประการ เกิดขึ้นแล้วในพระนคร ในสมัยก่อน นับจากนี้ไป จนถึง ๗ ชั่วราชสกุล ภัยเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้น แต่ได้บังเกิดขึ้นแล้ว ณ บัดนี้ เห็นจะเป็นเพราะพระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม.


๑. พระวินัยมหาวรรค ๕/ข้อ ๑๒๘ จีวรขันธกะ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 12

พระราชารับสั่งให้ประชุมชนทั้งปวงประชุมกันที่สัณฐาคาร แล้วจึงตรัสว่า ขอให้พวกท่านจงตรวจดูว่าเราไม่ตั้งอยู่ในธรรมในข้อใด ชนทั้งปวงพิจารณาประเพณีทุกอย่างอยู่ ก็ไม่ได้พบข้อบกพร่องอะไร (ของพระราชา) ต่อแต่นั้นประชาชนเมื่อไม่เห็นความผิดของพระราชา จึงพากันคิดว่า ภัยนี้จะพึงสงบได้อย่างไร ในบรรดาคนเหล่านั้น คนบางพวกเสนอว่า ถ้าว่าครูทั้ง ๖ ได้ปรากฏแล้ว ภัยก็จักสงบ ในเมื่อครูทั้ง ๖ เหล่านี้ พอสักว่าก้าวลง (ยังเมืองเวสาลีเท่านั้น). คนบางพวกเสนอว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง พระองค์มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในเมื่อพระองค์สักว่า ทรงก้าวลง (ยังเมืองเวสาสี) ภัยทั้งปวงก็พึงสงบลงได้ เพราะเหตุนั้นคนเหล่านั้นจึงพอใจ กล่าวว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่ไหน เมื่อพวกเราส่งข่าวสารเชิญเสด็จแล้ว พระองค์จะพึงเสด็จมาหรือ. ลำดับนั้นคนอีกพวกหนึ่งพูดขึ้นว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้เอ็นดู (ต่อสัตวโลก) เพราะเหตุไรพระองค์จะไม่เสด็จมา ก็บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ในเมืองราชคฤห์ และพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงอุปัฏฐากพระองค์อยู่ บางทีพระเจ้าพิมพิสารนั้น จะไม่ยอมให้พระองค์เสด็จมา คนเหล่านั้นจึงพูดกันว่า ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงให้พระราชาทรงยินยอม แล้วจงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา.

เจ้าลิจฉวี ๒ พระองค์ ได้ถวายเครื่องบรรณาการเป็นอันมาก พร้อมด้วยพลนิกายหมู่ใหญ่ ส่งไปยังสำนักพระราชาว่า ขอพวกท่านจงให้พระเจ้า-

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 13

พิมพิสารอนุญาตแล้ว จงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา. ชนเหล่านั้นไปแล้ว ถวายเครื่องบรรณาการแด่พระราชาแล้ว ชี้แจงให้พระองค์ทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงส่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปยังนครของพวกข้าพระองค์ พระราชาไม่ทรงรับแต่ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงรู้เอาเอง ชนเหล่านั้นกราบทูลว่า ดีละ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ ประการเกิดขึ้นแล้วในนครของพวกข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาไซร้ ความสวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณาแล้ว จึงทรงรับด้วยทรงทราบชัดว่า เมื่อเราแสดงรัตนสูตรในเมืองเวสาลีแล้ว อารักขาจะแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล ในเวลาจบพระสูตร ธรรมาภิสมัยจักมีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐.

ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว ก็รับสั่งให้ป่าวประกาศไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการนิมนต์เสด็จไปยังเมืองเวสาลีแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรับการเสด็จไปเมืองเวสาลีหรือ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงประทับรอ จนกว่าหม่อมฉันจะตระเตรียมหนทางเสด็จเรียบร้อย.

ครั้งนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร ทรงกระทำพื้นที่ประมาณ ๕ โยชน์ ในระหว่างเมืองราชคฤห์และแม่น้ำคงคา ให้สม่ำเสมอ แล้วให้สร้างวิหารไว้ใน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 14

สถานที่โยชน์ละ ๑ แห่ง แล้วให้กราบทูลเวลาเสด็จแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปแวดล้อม เสด็จไปแล้ว พระราชารับสั่งให้โปรยดอกไม้ ๕ สี ตลอดหนทาง ๕ โยชน์ถึงแค่เข่า รับสั่งให้ยกธงชัย ธงแผ่นผ้า ตั้งหม้อน้ำที่เต็มเอาไว้ และต้นกล้วยเป็นต้น ทรงให้ยกเศวตฉัตร ๒ ชั้น เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุรูปหนึ่งๆ กระทำอยู่ซึ่งการบูชา ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น พร้อมด้วยบริวารของพระองค์ ทรงนิมนต์ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าประทับอยู่ในวิหารแห่งหนึ่งๆ แล้วทรงถวายมหาทาน แล้วนำเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาโดยใช้เวลา ๕ วัน.

พระเจ้าพิมพิสารทรงประดับเรือด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น แล้วส่งพระราชาสารไปทูลพระราชาเมืองเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว ขอพวกท่านทั้งปวงจงตระเตรียมทางเสด็จ จงกระทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้นทรงดำริว่า พวกเราจักทำการบูชาให้เป็นสองเท่า แล้วทรงให้กระทำพื้นที่ประมาณ ๓ โยชน์ ในระหว่าง เมืองเวสาสีและแม่น้ำคงคาให้สม่ำเสมอ แล้วทรงตระเตรียมเศวตฉัตร ๔ ชั้น เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับภิกษุรูปหนึ่งๆ เมื่อจะกระทำการบูชาจึงได้มาประทับยืนอยู่ ณ ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคา พระเจ้าพิมพิสารทรงให้สร้างเรือ ๒ ลำ กระทำมณฑป ประดับด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น ให้ปูพุทธอาสน์ซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง บนเรือลำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ขึ้นเรือ แล้วก็นั่ง ณ ที่อันสมควร พระราชาเมื่อตามส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จสงไปในน้ำ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 15

ประมาณแค่พระศอ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จมาแล้วเสด็จกลับ (ขึ้นฝั่ง)

เทวดาทั้งหลายในเบื้องบนจนถึงอกนิษพรหม ได้กระทำการบูชา. นาคทั้งหลายมีนาคพวกกัมพลัสสตระเป็นต้น ผู้อาศัยอยู่ที่ภายใต้เแม่น้ำคงคา กระทำแล้วซึ่งการบูชา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในแม่น้ำคงคาระยะทางประมาณ ๑ โยชน์ แล้วเข้าสู่เขตแดนของชาวเมืองเวสาลี ด้วยการบูชาที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้. ต่อจากนั้น กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย เมื่อกระทำการบูชาเป็น ๒ เท่า แห่งการบูชาที่พระเจ้าพิมพิสารนั้นทรงกระทำแล้ว ทรงต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าในน้ำประมาณแค่พระศอ โดยขณะนั้นนั่นเอง โดยครู่นั้น มหาเมฆซึ่งมียอดแผ่ออกไปด้วยความมืดมน มีสายฟ้าปลาบแปลบ คำรามอยู่ตกแล้วทั้ง ๔ ทิศ ต่อจากนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงก้าวพระบาทแรก พอเหยียบที่ฝั่งแม่น้ำคงคา (เท่านั้น) ฝนโบกขรพรรษก็ตก คนเหล่าใดต้องการจะเปียก คนเหล่านั้นเท่านั้น จึงเปียก คนที่ไม่ต้องการเปียก ก็ไม่เปียก น้ำประมาณแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดพาไปในแม่น้ำคงคา ภาคพื้นก็บริสุทธิ์ กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในทุกๆ กึ่งโยชน์ ถวายมหาทาน กระทำการบูชา ๒ เท่า โดยใช้เวลา ๓ วัน นำเสด็จสู่กรุงเวสาลี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ มีหมู่เทพยดาอยู่ข้างหน้าเสด็จมา เพราะเทพยดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน พวกอมนุษย์ก็หนีไปโดยมาก พระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 16

พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ประตูพระนคร ตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรตนสูตรนี้ แล้วถืออุปกรณ์แห่งพลีกรรม พร้อมด้วยลิจฉวีกุมารทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น แห่งเมืองเวสาลี จงกระทำพระปริตร (ป้องกัน) ดังนี้แล้วได้ตรัสรตนสูตร.

มีคำถามว่า ก็พระสูตรนี้ใครกล่าวไว้อย่างนี้ กล่าวไว้เมื่อใด ที่ไหน และเพราะเหตุไร การวิสัชนาปัญหา พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนาไว้โดยพิสดาร จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี.

ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังเสด็จไม่ถึงเมืองเวสาลีนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนรัตนสูตรนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำ เที่ยวประพรมอยู่ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศัยกองหยากเยื่อ และประเทศแห่งฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในกาลก่อน ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔. ประตู (ทั้ง ๔) ไม่มีที่ว่าง ต่อจากนั้นอมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่าง (โอกาส) เพื่อออกไปที่ประตูทั้งหลาย ก็ทำลายกำแพงหนีไป เมื่อพวกอมนุษย์ไปกันแล้ว โรคของมนุษย์ทั้งหลายก็สงบ มนุษย์เหล่านั้นออก (จากเรือนของตน) บูชาพระเถระด้วยของหอมและดอกไม้ทุกชนิดเป็นต้น มหาชนได้ใช้ของหอมทั้งปวงทาสัณฐาคารในท่ามกลางนคร กระทำเพดานซึ่งประดับประดาด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ให้ปูพุทธอาสน์ไว้ ณ สัณฐาคารนั้น แล้วได้นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 17

เข้าไปยังสัณฐาคาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ซึ่งเขาปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายภิกษุสงฆ์แล รวมทั้งพระราชาทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลาย ก็ได้นั่ง ณ โอกาสสมควร แม้ท้าวสักกะจอมเทพ ก็นั่งกับเทวบริษัทในเทวโลกทั้งสอง เทวดาเหล่าอื่นก็ได้นั่งด้วยเทวบริษัทเช่นกัน ฝ่ายพระอานนทเถระ เที่ยวไปยังนครเวสาลีจนทั่ว กระทำอารักขา แล้วมาพร้อมกับชาวนครเวสาลี นั่งลงแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่ง ณ สัณฐาคารนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรตนสูตรนั้นนั่นแล แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ ว่า ยานีธ ภูตานิ ดังต่อไปนี้ :-

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยานิ ความว่า ภูตเหล่าใดมีศักดิ์น้อยก็ตาม มีศักดิ์มากก็ตาม.

บทว่า อิธ ได้แก่ในประเทศนี้ ท่านกล่าวหมายถึงสถานที่ประชุมกันในขณะนั้น.

บทว่า ภูตานิ คำอธิบายว่า ถึงแม้ ภูต ศัพท์จะใช้ในความหมายเหล่านี้ คือ

๑. หมายถึงสิ่งที่เป็นจริง ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น อย่างนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะบอกอุตตริมนุษย์ธรรมที่มีจริงแต่อนุปสัมบัน

๒. หมายถึงเบญจขันธ์ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่าง นี้ว่า ภูตมิทํ ภิกฺขเว สมนุปสฺสถ ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาเบญจขันธ์นี้.

๓. หมายถึงรูปมีปฐวีธาตุเป็นต้น ในธาตุทั้ง ๔ ดังในประโยคทั้งหลาย เป็นต้นอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตู ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แลเป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 18

๔. หมายถึงพระขีณาสพ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น อย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส ภูโต บุคคลใดเป็นผู้กลืนกินกาล.

๕. หมายถึงสัตว์ทั้งปวง ดังในประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้น อย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ สัตว์ทั้งปวงแล ย่อมทิ้งร่างกายไว้ในโลก.

๖. หมายถึงต้นไม้เป็นต้น ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น อย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะพรากภูตคาม.

๗. หมายถึงหมู่สัตว์ ซึ่งอยู่ภายใต้ชั้นจาตุมมหาราชิกาลงมา ดังในประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ ย่อมรู้สัตตนิกายทั้งหลาย โดยความเป็นสัตตนิกาย ดังนี้ก็จริง ถึงกระนั้นในรตนสูตรนี้ บัณฑิตก็พึงเห็นว่า ภูต ศัพท์ ใช้ในอมนุษย์ทั้งหลายโดยไม่แปลกกัน.

บทว่า สมาคตานิ ได้แก่ประชุมกันแล้ว เทวดาทั้งหลายที่เกิดแล้ว ณ ภาคพื้น ชื่อว่า ภุมฺมานิ (ภุมเทวดา)

วา ศัพท์ ใช้ในวิกัปปัตถะ (แปลว่า หรือ) เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำวิกัปอันหนึ่งนี้ว่า ภุมเทวดาทั้งหลาย เหล่าใด หรือภูตทั้งหลายเหล่าใดที่ประชุมกันแล้วในที่นี้ แล้วตรัสว่า ยานิว อนฺตลิกฺเข หรือเทพเหล่าใดซึ่งประชุมกันแล้วในอากาศ ดังนี้ เพื่อกระทำวิกัปที่สอง อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใดเกิดแล้วในอากาศ ประชุมกันแล้วในที่นี้.

ก็ในคำว่า ภูตานิ นี้ ภูตสัตว์เหล่าใด ตั้งแต่ชั้นยามาจนถึงชั้นอกนิฏฐภพซึ่งบังเกิดแล้วในอากาศ พึงทราบว่า เป็นภูตในอากาศ ก็เพราะเหตุที่

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 19

เกิดในวิมานที่ปรากฏอยู่ในอากาศ ภูตทั้งหลายที่เกิดในภายใต้แต่อากาศนั้น ภูต นับจำเดิมแต่ภูเขาสิเนรุจนถึงภูตสัตว์ที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้และเครือเถาเป็นต้นบนพื้นดิน และที่เกิดแล้วบนพื้นดิน ภูตสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่าเป็น ภุมฺมานิ ภูตานิ เพราะเหตุที่เกิดแล้วในที่ๆ เกี่ยวเนื่องกับพื้นดิน และในที่ทั้งหลายมีต้นไม้ เครือเถา และภูเขาเป็นต้น บนพื้นดิน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิกัป (กำหนด) อมนุษย์ภูตแม้ทั้งหมด ด้วยสองบท ว่า ภุมฺมานิ วา ยานิ วา อนฺตลิกฺเข แล้วกำหนดด้วยบทเดียวอีก ตรัสว่า สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ ขอภูตสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี.

บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ ศัพท์ว่า เอว ใช้ในอรรถแห่งอวธารณะ อธิบายว่า ไม่ยกเว้นแม้สักผู้หนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายชื่อว่า ภูต.

สองบทว่า สุมนา ภวนฺตุ ได้แก่ เป็นผู้มีใจถึงความสุข คือว่า เป็นผู้มีปีติและโสมนัสเกิดแล้ว.

สองศัพท์ว่า อโถปิ เป็นนิบาตทั้งสองคำ ใช้ในอรรถแห่งวากยปทวิกัปปัตถะ เพื่อใช้ประกอบในกิจอื่น.

๓ บทว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ความว่า ขอให้ภูตทั้งปวง จงตั้งใจ คือทำไว้ในใจ ได้แก่ประมวลมาด้วยใจทั้งหมด จงฟังเทศนาของเรา ซึ่งจะนำสมบัติอันเป็นทิพย์ และโลกุตตรสุขมาให้ ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดภูตสัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำที่กำหนดไว้ไม่แน่นอนว่า ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ ภูตเหล่าใดมาประชุมกันแล้วในที่นี้ ดังนี้ อย่างนี้แล้ว จึงทรงกำหนดด้วยสองบทอีกว่า ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข ภุมเทวดา

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 20

ทั้งหลาย หรือเทวดาทั้งหลายเหล่าใดในอากาศ แล้วทรงกระทำให้เป็นอันเดียวกันอีกว่า สพฺเพว ภูตา ภูตทั้งปวง แล้วทรงประกอบไว้ในอาสยสมบัติ ด้วยคำนี้ว่า สุมนา ภวนฺตุ จงเป็นผู้มีใจดี แล้วทรงประกอบในปโยคสมบัติ ด้วยคำนี้ว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ขอจงตั้งใจฟังโดยเคารพ อนึ่ง ทรงประกอบในโยนิโสมนสิการสมบัติ และในโฆสสมบัติ ด้วยคำว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ทรงประกอบในอัตตสัมมาปณิธิสมบัติ และสัปปุริสูปนิสสยสมบัติ และทรงประกอบในสมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ และเหตุสมบัติ ด้วยคำว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ จึงได้ตรัสพระคาถานี้.

คำที่ว่า ตสฺมาหิ ภูตา เป็นต้น เป็นคาถาที่สอง ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ตสฺมา เป็นคำบอกเหตุ คำว่า ภูตา เป็นคำเชื้อเชิญภูต.

คำว่า นิสาเมถ แปลว่า จงฟัง.

คำว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ ท่านได้อธิบายไว้อย่างไร ท่านได้อธิบายไว้ว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย (เทวดา) ได้ละทิพยสถาน และอุปโภคสมบัติ บริโภคสมบัติ ได้มาประชุมกันในที่นี้เพื่อฟังธรรม หาได้มาเพื่อจะดูนักฟ้อนแสดงการฟ้อนรำไม่ เพราะฉะนั้นแล ขอภูตทั้งปวงจงฟัง

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่าเทพเหล่านั้นเป็นผู้มีใจดี และเห็นว่าเทพเหล่านั้นต้องการที่จะฟังโดยเคารพ จึงได้ตรัสด้วยพระดำรัสว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ จงฟังโดยเคารพ ก็เพราะที่ท่านทั้งหลายประกอบด้วย อัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการ และอาสยสุทธิ โดยความเป็นผู้มีใจดี ทั้งประกอบด้วยปโยคสุทธิทั้งหลาย โดยมีสัปปุริสูปนิสสยะ และปรโตโฆสะ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 21

เป็นปทัฏฐาน เพราะต้องการจะฟังโดยเคารพ ฉะนั้นแล ขอให้ภูตทั้งปวงจง ตั้งใจฟัง.

อีกประการหนึ่ง คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่สุดแห่งคาถาแรกว่า ภาสิตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอ้างถึงคำนั้นโดยความเป็นเหตุ จึงตรัสว่า ธรรมดาว่าภาษิตของเรา บุคคลได้โดยยากอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ขณะ ซึ่งเว้นจากขณะทั้งปวงเป็นขณะที่หาได้ยาก ทั้งเป็นคำมีอานิสงส์เป็นอเนก เพราะเป็นไปด้วยปัญญาคุณและกรุณาคุณ และเราต้องการที่จะพูดคำนั้น จึงได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิตํ ขอจงฟังคำที่เรา (ตถาคต) พูด เพราะเหตุนั้นแล คำว่า ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ (ขอภูตทั้งปวงจงพึง) นี้ เราได้กล่าวแล้วด้วยบทที่เป็นคาถานี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบเหตุนั้นอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกอบภูตให้ตั้งใจฟังคำภาษิตของพระองค์ ได้ทรงเริ่มเพื่อจะตรัสคำที่ควรฟังว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า หมู่สัตว์คือมนุษย์นี้ใด อันอุปัทวะทั้ง ๓ ประทุษร้ายแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา คือ มิตรภาพ ได้แก่ ความเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูลในหมู่สัตว์ที่เป็นมนุษย์นั้น แต่อาจารย์บางพวก เรียกมนุษย์ว่า ปชา คำนั้นไม่ถูก เพราะไม่ได้เป็นสัตตมีวิภัติ และอาจารย์พวกอื่นก็พรรณนาเนื้อความแม้ใดไว้ เนื้อความแม้นั้นก็ไม่ถูก แต่ในคาถานี้มี อธิบายว่า เราหาได้เรียก (อย่างนั้น) ด้วยกำลังแห่งความเป็นใหญ่ว่า เป็นพระพุทธเจ้าไม่ แต่สิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ท่านทั้งหลายด้วย แก่หมู่มนุษย์ด้วย เราก็ได้กล่าวสิ่งนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 22

ก็ในคำว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

ชนเหล่าใด สร้างเมตตาจิตด้วยสามารถแห่งพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิ อย่างนี้ว่า :-

พระราชาผู้ประกอบด้วยธรรม เช่นกับฤาษี ชนะแผ่นดินอันประกอบด้วยหมู่สัตว์เจริญรอยตามกัน บูชายัญเหล่าใด คือ อัสสเมธะ ๑ (ทรงพระปรีชาในการบำรุงสัตว์พาหนะมีม้าเป็นต้น) ปุริสเมธะ ๑ (ทรงพระปรีชาในการเกลี้ยกล่อมประชาชน ๑) สัมมาปาสะ ๑ (ทรงมีพระอัธยาศัยดุจบ่วงคล้องน้ำใจประชาชน ๑) วาชเปยยะ ๑ (ทรงมีพระวาจาเป็นที่ดูดดื่มใจคน ๑) นิรัคคฬะ (ทรงปกครองพระนครไม่ต้องมีกลิ่นกลอน ๑) มหายัญเหล่านั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาจิตที่อบรมดีแล้ว ถ้าหากว่าบุคคลไม่มีจิตประทุษร้าย ย่อมแผ่เมตตาไปยังสัตว์แม้ตัวหนึ่ง เพราะเหตุนั้น กุศลจึงมี ผู้มีใจเกื้อกูลต่อสัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ประเสริฐทำบุญมาก. (๑)


๑. อัง. อัฏฐก. ๒๓/ข้อ ๙๑.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 23

และด้วยอำนาจของอานิสงส์ของเมตตา ๑๑ อย่าง พึงทราบว่า เมตตาของชนเหล่านั้นมีประโยชน์เกื้อกูล เมตตาอันบุคคลกระทำในเทพเจ้าเหล่าใด ด้วยสามารถแห่งข้อความทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลมีใจเกื้อกูลต่อเทวดา ย่อมเห็นแต่สิ่งที่เจริญใจทุกเมื่อ ดังนี้ พึงทราบว่า เมตตาของชนแม้เหล่านั้น มีประโยชน์เกื้อกูล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดง ลักษณะแห่งเมตตาจิตทั้ง ๒ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นว่า มีประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้ จึงตรัสว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ท่านทั้งหลายจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปการะจึงตรัสว่า

ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา

มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์เหล่านั้นเถิด.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า มนุษย์เหล่าใด สร้าง (รูป) เทวดา ด้วยจิตรกรรมและปฏิมากรรมเป็นต้น และเข้าไปยังเจดีย์และต้นไม้ทั้งหลาย แล้วกระทำพลีกรรมในกลางวัน อุทิศเทวดาทั้งหลายก็ดี กระทำพลีกรรมในเวลากลางคืน ในข้างแรมเป็นต้นก็ดี หรือถวายสลากภัตรเป็นต้นแล้ว กระทำพลีกรรมในเวลากลางวัน โดยการอุทิศส่วนบุญให้แก่อารักขเทวดาจนถึงเทพ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 24

ชั้นพรหมก็ดี จัดให้มีการฟังธรรมเป็นต้นตลอดทั้งคืน ด้วยการยกฉัตรและ ประทีปดอกไม้ แล้วทำพลีกรรมในเวลากลางคืน ด้วยการอุทิศให้ซึ่งส่วนบุญ ก็ดี มนุษย์ทั้งหลายอันพวกท่านจะไม่พึงรักษาได้อย่างไร เพราะเหตุว่า มนุษย์เหล่านั้นกระทำพลีกรรม อุทิศพวกท่านเท่านั้น ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้.

คำว่า ตสฺม หิ เน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงรักษา คือ จงคุ้มครองมนุษย์เหล่านั้น แม้เพราะเหตุแห่งพลีกรรม และขอให้พวกท่านจงขจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของมนุษย์เหล่านั้นออกเสีย แล้วนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาให้ ขอให้พวกท่านเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งความเป็นผู้กตัญญูนั้นๆ ไว้ในใจ ระลึกอยู่เป็นนิจเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่มนุษย์ทั้งหลายมีอุปการะ ต่อเทวดาทั้งหลายอย่างนี้แล้ว จึงทรงเริ่มเพื่อประกอบสัจวาจา โดยนัยมีอาทิ ว่า ยํกิญฺจิ วิตฺตํ เพื่อการเข้าไปสงบอุปัทวะของมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น และเพื่อการฟังธรรมของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยกระทรงประกาศพระพุทธคุณเป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํกิญฺจิ ได้แก่ สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งไม่มีส่วนเหลือ อันท่านกำหนดเอา ด้วยสามารถแห่งการกำหนดที่ไม่แน่นอน คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งได้โวหารในสิ่งนั้นๆ.

ทรัพย์ชื่อว่า วิตฺตํ. ทรัพย์ที่ชื่อว่า วิตฺตํ เพราะอรรถว่า ก็ทรัพย์ นั้นยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 25

ด้วยคำว่า อิธ วา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงมนุษยโลก. ด้วยคำว่า หุรํ วา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงโลกที่เหลือซึ่งนอกจากมนุษยโลกนั้น. ก็ด้วยคำว่า หุรํ วา นั้น เว้นมนุษยโลกและโลกสวรรค์แล้ว ก็พึงพราบว่า หมายถึง โลกที่เหลือมีนาคและครุฑเป็นต้น เพราะท่านได้ กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า สคฺเคสุ วา ดังนี้ เว้นมนุษย์ทั้งหลายเสียแล้ว ศัพท์ว่าโลกทั้งปวงก็ถึงพร้อม.

ด้วยบททั้งสองนี้ สิ่งใดที่เป็นเครื่องใช้สอยเป็นเครื่องประดับ หรือบริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย มีทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วทับทิม และแก้วลายเป็นต้น หรือทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใดของนาคและครุฑเป็นต้น ซึ่งบังเกิดแล้วในวิมานแก้ว บนพื้นดิน ซึ่งดาษดาไปด้วยทรายมุกดาและทรายแก้ว ในภพทั้งหลายซึ่งกว้างถึง ๑๐๐ โยชน์เป็นอเนก คำนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

คำว่า สคฺเคสุ วา ได้แก่ เทวโลกชั้นกามาวจรและรูปาวจรทั้งหลาย.

ที่ชื่อว่า สวรรค์ เพราะอรรถว่า ก็เทพเจ้าเหล่านั้นย่อมเคลื่อนไป คือว่า ย่อมไปด้วยกรรมอันงาม.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สวรรค์ เพราะว่า เป็นสถานที่ที่เลิศด้วยดี ดังนี้ก็มี.

บทว่า ยํ ได้แก่ ทรัพย์อันใดที่มีเจ้าของก็ตาม ไม่มีเจ้าของก็ตาม ในคำว่า รตนํ นี้มีอรรถวิเคราะห์ว่า สิ่งใดย่อมนำมา คือว่าย่อมพามา ซึ่งความยินดี ได้แก่ ย่อมยังความยินดีให้เกิด ให้เจริญ เหตุนั้นสิ่งนั้นชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 26

รัตนะ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลทำการบูชา มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ พบเห็นได้โดยยาก และไม่ใช่เป็นของที่สัตว์ต่ำต้อยบริโภค คำนี้ เป็นชื่อของรัตนะนั้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

สิ่งที่บุคคลทำ ความยำเกรง มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก และไม่ใช่ของที่สัตว์ต่ำทรามบริโภค เพราะเหตุนี้ เราจึงเรียกว่า รัตนะ ดังนี้.

คำว่า ปณีตํ ได้แก่ ประเสริฐที่สุด คือมีค่าสูง ได้แก่ ไม่ใช่มีค่าน้อย คือเป็นที่พอใจ.

ก็ด้วยบทที่เป็นพระคาถานี้ สิ่งใดซึ่งมีเจ้าของอยู่ในสวรรค์ทั้งหลาย มีวิมานซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง อันมีประมาณหลายร้อยโยชน์เป็นอเนก เช่น สุธรรมสภา และเวชยันตปราสาทเป็นต้นก็ดี สิ่งใดซึ่งไม่มีเจ้าของอยู่ในวิมานว่าง ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายทำอบายภูมิให้เต็ม เพราะเว้นจากพุทธุปบาทกาล ก็หรือว่าแม้สิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นรัตนะที่ไม่มีเจ้าของ ซึ่งอยู่ที่พื้นดิน มหาสมุทร และป่าหิมพานต์เป็นต้น สิ่งนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว

ศัพท์ว่า ในบาทพระคาถาที่ว่า น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน ดังนี้ ใช้ในอรรถปฏิเสธ.

ศัพท์ว่า โน ใช้ในอรรถอวธารณะ.

บทว่า สมํ ได้แก่ เสมอ.

บทว่า อตฺถิ ได้แก่ มีอยู่.

บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 27

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศทรัพย์และรัตนะนี้ใดไว้ ก็ในคำว่าทรัพย์และรัตนะนี้ รัตนะ แม้อย่างหนึ่งที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มีเลย.

จริงอยู่ รัตนะนั้นแม้ใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคล ทำความยำเกรง คืออย่างไร คือจักรรัตนะ และมณีรัตนะ ของพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อรัตนะได้บังเกิดขึ้นแล้ว มหาชนไม่ทำการบูชาในที่อื่น ใครๆ จะถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปยังยักขสถานและภูตสถานหามีไม่ คนทุกคนจะทำความยำเกรง ซึ่งจักรรัตนะและมณีรัตนะเท่านั้นปรารถนาพรนั้นๆ ก็สิ่งที่เขาปรารถนาแล้ว และปรารถนาแล้วบางอย่างย่อมสำเร็จได้ รัตนะแม้นั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ถ้าหากว่าทีชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าบุคคล ทำความยำเกรงแล้วไซร้ พระตถาคตแล ก็จัดเป็นรัตนะ.

จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น หาได้ทำความยำเกรงในที่อื่นไม่ ทั้งไม่ยอมบูชาสิ่งอื่นใด จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม บูชาพระตถาคต ด้วยพวงรัตนะเท่าภูเขาสิเนรุ เทพเจ้าและมนุษย์เหล่าอื่น มีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศล และอนาถบิณฑิกะเป็นต้น ก็บูชาพระตถาคตเจ้าตามกำลัง พระเจ้าอโสกมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ ให้ทรงสร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีป อุทิศซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงชนเหล่าอื่นที่ทำความยำเกรง อีกประการหนึ่งการกระทำความยำเกรงและการเคารพ ย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถาน

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 28

ที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมากรรม และเจติยสถานเป็นต้น ของพระกัสสปพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานแล้ว เหมือนกับการทำการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รัตนะ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตจึงไม่มี แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลทำการบูชาอย่างนี้.

อนึ่ง รัตนะนั้นแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากเหมือนกับผ้าซึ่งทำในแคว้นกาสี ดังที่พระผู้มีประภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสิกพัสตร์ แม้จะเก่าแต่ก็ยังมีสีสวยด้วย สัมผัสนิ่มด้วย มีค่ามากด้วย" ดังนี้ ผ้ากาสิกพัสตร์แม้นั้น ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็ถ้าหากว่าผ้ากาสิกพัสตร์นั้นชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากไซร้ พระตถาคตเจ้า แลก็จัดเป็นรัตนะ. จริงอย่างนั้น พระตถาคตย่อมรับ แม้ผ้าบังสุกุลของชนเหล่าใด ผ้าบังสุกุลนั้นของชนเหล่านั้นเป็นของมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เช่นเดียวกับผ้าของพระเจ้าอโสกมหาราช ผ้าของพระเจ้าอโสกมหาราชนี้ ก็พึงเป็นรัตนะได้ เพราะเป็นผ้าที่มีค่ามาก รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า เพราะอรรถว่ามีค่ามากอย่างนี้ ย่อมไม่มี ก็ในเรื่องแห่งรัตนะนี้ พึงทราบถึงสุตตบทนี้ ที่ยังความไม่มีโทษให้สำเร็จได้ เพราะกล่าวถึงความมีค่ามากอย่างนี้ ว่า พระตถาคตเจ้าย่อมทรงรับ ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชชบริกขารของชนทั้งหลายเหล่าใดแล การที่พระตถาคตเจ้ารับจีวรเป็นต้นนั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น เรากล่าวการรับนี้ว่ามีผลมากมีอานิสงส์มาก ก็เพราะตถาคตเป็นผู้มีค่ามาก ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกบุคคลนี้ ซึ่งมีอุปมาเช่นนั้น เหมือนกับผ้ากาสิกพัสตร์นั้นว่า มีค่ามากนะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 29

ทั้งหลายดังนี้. ชื่อว่า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคต เพราะอรรถว่ามีค่ามาก อย่างนี้ ย่อมไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง รัตนะแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าชั่งได้ คืออย่าง ไร คือจักรรัตนะที่บังเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีดุมสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล. มีซี่กำหนึ่งพันซี่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีกงสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ มีที่ต่อสำเร็จด้วยทองสีแดง ซึ่งมีซี่กำเกลี้ยงๆ อันหนึ่ง วางอยู่บนกำทุกๆ สิบซี่ ซึ่งเขาทำไว้เพื่อให้ต้องลมแล้วเปล่งเสียง มีเสียงประดุจดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ ซึ่งบรรเลงได้ไพเราะ ฉะนั้น ณ ที่ข้างทั้งสองของดุม มีหน้าสิงห์โตอยู่ ๒ หน้า ซึ่งภายในมีรูดุจรูของล้อเกวียนฉะนั้น บุคคลผู้ที่กระทำหรือให้กระทำจักรรัตนะนั้นไม่มี จักรรัตนะนั้น ปรากฏขึ้นด้วยอุตุซึ่งมีกรรมเป็นปัจจัย.

พระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการอันใด ทรงสนานพระเศียรในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถเสด็จไปยังเบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่ ได้เห็นจักรรัตนะซึ่งตั้งขึ้นอยู่ดุจพระจันทร์เพ็ญ และดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ซึ่งบุคคลย่อมได้ยินเสียงตั้งแต่ ๑๒ โยชน์ มีวรรณะปรากฏตั้งแต่ ๓ โยชน์ ซึ่งมหาชนเกิดโกลาหลขึ้นอย่างยิ่งว่า เห็นจะมีพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ขึ้นเป็นดวงที่สอง ดังนี้ปรากฏอยู่ ได้ลอยมาเบื้องบนพระนคร ปรากฏอยู่ในด้านทิศตะวันออกของภายในราชบุรี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ลอยเด่นอยู่ ประดุจไม่ไหวติง ในที่อันสมควร เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 30

ช้างแก้ว (หัตถิรัตนะ) ซึ่งอุบัติความพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น เป็นช้างเผือกเท้าสีแดง เป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ เกิดจากสกุลช้างอุโบสถ หรือสกุลช้างฉัททันต์ ถ้าหากว่ามาจากสกุลช้างอุโบสถ ก็เป็นช้างที่เป็นหัวหน้าโขลงของช้าง ถ้าหากว่ามาจากช้างสกุลฉัททันต์ ก็เป็นช้างตัวสุดท้อง มีการศึกษาอบรมมาดี ควรแก่การฝึก. ช้างนั้นพาบริษัทไปสิ้น ๑๒ โยชน์ครอบงำทั่วชมพูทวีป แล้ว กลับมาสู่ราชธานีของตน ในเวลาก่อนอาหารเช้านั่นเทียว.

ม้าแก้ว (อัสสรัตนะ) ซึ่งเกิดติดตามพระราชาแม้นั้น ก็เป็นม้าสีขาว เท้าแดง ศีรษะดำ ขนเหมือนหญ้าปล้อง มาจากสกุลม้าวลาหก คำที่เหลือในเรื่องม้าแก้วนี้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องช้างแก้วนั้นเอง.

แก้วมณี (มณีรัตนะ) เกิดติดตามพระราชาแม้นั้น แก้วมณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ สวยงามโชติช่วง ซึ่งได้เจียระไนไว้ดี ทั้ง ๘ เหลี่ยม เช่นกับรูปดุมเกวียน มาจากภูเขาเวปุลละ แก้วมณีนั้น ขึ้นสู่ยอดธงของพระราชาแล้ว ย่อมส่องสว่างไปในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ถึง ๑ โยชน์ ซึ่งพวกมนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่าเป็นกลางวันเพราะแสงสว่าง แล้วประกอบการงานทั้งหลาย โดยที่สุดย่อมเห็นได้แม้มดดำและมดแดง

นางแก้ว (อิตถีรัตนะ) เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น เป็นอัครมเหสีโดยปกติ หรือไม่ก็เสด็จมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็มาจากสกุลมัททราช เว้นจากโทษ ๖ ประการ มีสูงเกินไปเป็นต้น เปล่งปลั่งล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณอันเป็นทิพย์ ซึ่งในเวลาพระราชาเย็น พระกาย

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 31

ก็อุ่น ในเวลาพระราชาร้อน พระกายของนางแก้วก็เย็น มีสัมผัสนิ่ม ดุจปุยนุ่นที่เขาชีถึง ๗ ครั้ง มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย มีกลิ่นอุบลฟุ้งออกจากพระโอษฐ์ ประกอบด้วยคุณเป็นอเนก มีการเสด็จลุกขึ้นก่อนเป็นต้น.

ขุนคลังแก้ว (คหปติรัตนะ) เกิดขึ้นติดตามพระเจ้าจักรพรรดินั้น เป็นเศรษฐีที่ทำการงานตามปกติของพระราชา เพราะพอจักรรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว ทิพยจักษุก็อุบัติขึ้น เพราะมีทิพยจักษุนั้นแล้วก็เห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของบ้าง ไม่มีเจ้าของบ้าง ในที่ประมาณได้ ๑ โยชน์โดยรอบ ขุนคลังนั้นเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้ว ปวารณาตัวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงมีความขวนขวายน้อย ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์เพื่อพระองค์

แม้ขุนพลแก้ว (ปริณายกรัตนะ) ก็เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิ แม้นั้น ซึ่งเป็นราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา พอเมื่อจักรรัตนะอุบัติขึ้น ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาและความเฉียบแหลมอย่างเหลือล้น ขุนพลแก้วนั้น กำหนดรู้จิตของบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ด้วยจิต (ของตน) ทั้งสามารถจะทำการข่มและการยกย่อง เขาเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลปวารณาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระองค์จะปกครองราชสมบัติ เพื่อพระองค์.

ก็หรือว่ารัตนะเห็นปานนี้แม้อื่นใด. ก็ชื่อว่ารัตนะเหมือนกับพระอรรถกถาจารย์ว่าอัน ใครๆ ชั่งไม่ได้ ซึ่งมีค่าที่ใครๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงแล้วตีราคาว่า มีค่า ๑๐๐ หรือมีค่า ๑,๐๐๐ หรือมีค่า ๑ โกฏิ แม้รัตนะอย่างหนึ่ง ในบรรดารัตนะเหล่านี้ ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี ก็ถ้าหากว่ารัตนะอื่นใด พึงเป็นรัตนะ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 32

เพราะอรรถว่าใครๆ ชั่งไม่ได้แล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วยว่าพระตถาคตเจ้าอันใครๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงโดยศีล หรือโดยสมาธิ หรือโดยคุณอย่างใดอย่างหนึ่งมีพระปัญญาคุณเป็นต้นได้ เมื่อจะกำหนดว่า พระตถาคตเจ้านั้นมีคุณเท่านี้ บุคคลที่จะเสมอ หรือ ที่จะเปรียบเทียบได้กับพระตถาคตเจ้านี้ เพราะฉะนั้น รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า ย่อมไม่มี แม้เพราะอรรถว่า อันใครๆ ชั่งไม่ได้ ดังพรรณามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง แม้รัตนะใดชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคลเห็นได้โดยยาก เหมือนอย่างพระเจ้าจักรพรรดิ และรัตนะของพระองค์ มีจักรแก้วเป็นต้น ซึ่งปรากฏว่าเห็นได้ยาก รัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่าที่ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยากแล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ รัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น หรือว่ารัตนะอื่นใดเป็นอเนกซึ่งเกิดในกัปหนึ่ง (ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะ จะมีแต่ที่ไหน ก็เพราะเหตุที่ว่าในอสงไขยกัปโลกว่างจากพระตถาคตเจ้า เพราะฉะนั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้น ชื่อว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยาก เพราะทรงอุบัติขึ้นในบางครั้งบางคราวเท่านั้น สมจริงดังคำที่พระผู้มีประภาคเจ้าตรัสไว้ใน สมัยปรินิพพานว่า (๑)

"ดูก่อน อานนท์ เทวดาทั้งหลายพากันยกโทษว่า พวกเราพากันมาจากที่ไกล เพื่อจะได้เข้าเฝ้าพระตถาคตเจ้า เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้งบางคราวเท่านั้น ก็ใน


๑. ที. มหา. ๑๐/ ข้อ ๑๓๐ มหาปรินิพพานสูตร.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 33

วันนี้การปรินิพพานแห่งพระตถาคตเจ้า จักมีในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ก็ภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่นี้ยืนบังอยู่ข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พวกเราทั้งหลายไม่อาจจะเห็นพระตถาคตในกาลภายหลัง (จากนี้)

รัตนะจะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยากอย่างนี้ ย่อมไม่มี.

อีกประการหนึ่ง แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่าเป็นรัตนะเพราะอรรถว่าอันสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค คือ จักรรัตนะเป็นต้นของพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะว่าจักรรัตนะเป็นต้นนั้นมิได้บังเกิดขึ้นเพื่อการบริโภค (ใช้สอย) แม้ของชนทั้งหลายผู้มีทรัพย์ถึงแสนโกฏิก็ดี ของชนทั้งหลายผู้อยู่บนชั้นปราสาทอันประเสริฐ ๗ ชั้นก็ดี ของบุรุษผู้ต่ำทรามผู้เกิดในสกุลต่ำมีคนจัณฑาล ช่างสาน นายพราน ช่างไม้ ช่างรถ คนเทขยะก็ดี โดยที่สุดแม้ความฝัน แต่จักรรัตนะนั้นเป็นของควรบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามเท่านั้น เพราะบังเกิดขึ้นเพื่อการบริโภคของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้อุภโตสุชาติ ซึ่งบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการบริบูรณ์เท่านั้น แม้จักรรัตนะเป็นต้นนั้น ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่า ที่ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภคแล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วยว่าพระตถาคตเจ้าชื่อว่าไม่ควรแก่การบริโภค (ไม่ควรแก่การนับถือ) ของสัตว์ทั้งหลายผู้ต่ำทราม ซึ่งไม่มีอุปนิสัยของครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น ซึ่งมีความเห็นวิปริตและของคนเหล่าอื่นเห็นปานนี้ โดยที่สุดแม้ด้วยความฝัน (คือไม่เคยแม้แต่ฝันถึง) แต่ว่าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้ควรแก่การบริโภคของชนทั้งหลาย ผู้มีอุปนิสสัยถึงพร้อม ผู้สามารถเพื่อจะ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 34

บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในที่สุดแเห่งคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ ผู้มีนิพเพธิกญาณทัสสนะ มีพระพาหิยทารุจีริกะเป็นต้น และแห่งพระมหาสาวกผู้เกิดในสกุลใหญ่เหล่าอื่น ด้วยว่าอริยสาวกเหล่านั้น ยังการบริโภคนั้นให้สำเร็จอยู่ ด้วยอนุตตริยะทั้งหลายมีทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ. ปาริจริยานุตตริยะ เป็นต้น ชื่อว่าได้บริโภคซึ่งพระตถาคตเจ้า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า แม้เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค ดังนี้ ย่อมไม่มี.

แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าทำความยินดีให้เกิดโดยไม่แปลกกัน เช่นจักรรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ จริงอยู่พระเจ้าจักรพรรดิพอทอดพระเนตรเห็นจักรรัตนะนั้นเท่านั้น ก็ทรงมีพระทัยยินดี จักรรัตนะนั้นชื่อว่าทำความยินดีให้เกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ แม้อย่างนี้.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงจับพระสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์เบื้องซ้าย แล้วทรงแกว่งจักรรัตนะด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา โดยทรงอธิษฐานว่า ขอจักรรัตนะจงหมุนไป ขอให้จักรรัตนะอันประเสริฐจงได้ชัยชนะ ดังนี้ ต่อจากนั้น จักรรัตนะก็เปล่งเสียงไพเราะ ดุจดนตรีประกอบด้วยองค์ห้าไปอยู่สู่ทิศตะวันออกทางอากาศ พระเจ้าจักรพรรดิทรงติดตามจักรรัตนะนั้น ซึ่งไปไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ซึ่งไปอยู่โดยภายใต้ต้นไม้ที่สูงๆ และโดยเบื้องบนแห่งต้นไม้ที่ต่ำๆ ทั้งหลาย พร้อมด้วยเสนาทั้งหลายที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งมีขบวนแผ่กว้างถึง ๑๒ โยชน์ ด้วยอานุภาพ แห่งจักรรัตนะ ทรงรับเครื่องบรรณาการ มีผลไม้ ดอกไม้ และใบไม้อ่อนเป็นต้น ที่ต้นไม้ทั้งหลาย และทรงรับเครื่องบรรณาการจากมือของชนทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 35

ผู้ถือบรรณาการมาถวายแล้ว และทรงสั่งสอนพระราชาผู้เป็นศัตรู ผู้เสด็จมาแล้วด้วยความยำเกรงอย่างยิ่ง มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงได้เสด็จมาแล ดังนี้ โดยนัย (แห่งคำสอน) ว่า ท่านทั้งหลายไม่ควรฆ่าสัตว์ ดังนี้ เป็นต้น เสด็จไปอยู่. ก็พระราชาทรงปรารถนาจะเสวย หรือ ทรงปรารถนาจะทรงพักกลางวันในที่ใด จักรแก้วก็จะลงจากอากาศในที่นั้น ประดิษฐานอยู่ที่ภูมิภาคอันสม่ำเสมอ ซึ่งควรแก่การทำกิจทั้งปวงมีน้ำเป็นต้น เสมือนแล่นมาบทภาคพื้นดินด้วยเพลา ฉะนั้น. เมื่อพระราชาทรงปรารถนาจะเสด็จไปอีก จักรแก้วก็เปล่งเสียงไพเราะ โดยนัยก่อนนั้นแล ซึ่งบริษัทมีประมาณ ๑๒ โยชน์ ได้ฟังเสียงแล้วก็พากันไปทางอากาศ จักรแก้วย่อมร่อนลงสู่มหาสมุทรทางทิศตะวันออกโดยลำดับ เมื่อจักรแก้วนั้นร่อนลงสู่มหาสมุทร น้ำประมาณ ๑ โยชน์ หลีกออกไปดำรงอยู่ดุจมีฝากั้นไว้ มหาชนย่อมเห็นซึ่งรัตนะทั้งหลาย ๗ ประการตามลำดับ พระราชาทรงจับสุวรรณภิงคาร ทรงอธิษฐานว่า ขอรัชชสีมาของเราจงเป็นไปจำเดิมแต่นี้ ดังนี้แล้วก็ใช้น้ำประพรม แล้วเสด็จกลับ หมู่เสนาอยู่ข้างหน้า จักรแก้วอยู่ข้างหลัง พระราชาเสด็จอยู่ตรงกลาง สถานที่ที่จักรแก้วร่อนลงแล้ว และร่อนลงแล้ว ย่อมทำน้ำให้เต็ม (อีก) จักรแก้วย่อมไปที่มหาสมุทร แม้ทางด้านทิศทักษิณ ทิศประจิม และทิศอุดร โดยอุบายนี้ จักรแก้วไปจรดทิศทั้ง ๔ แล้วขึ้นไปสู่อากาศ ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ พระราชาประทับอยู่บนจักรแก้วนั้น ทรงได้ชัยชนะอันพระองค์ทรงชนะแล้ว ด้วยอานุภาพของจักรแก้ว ทรงตรวจดูจักรวาลหนึ่งๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 36

๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์ ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐ ราวกะว่าทรงตรวจอยู่ซึ่งป่าปุณทรีกะ ซึ่งมีดอกบานงามสะพรั่ง ฉะนั้น ก็เมื่อพระราชานั้นทรงตรวจอยู่อย่างนั้น ความยินดีมิใช่น้อย ก็ได้บังเกิดขึ้น จักรรัตนะนั้นทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่พระราชา แม้ดังพรรณนามาอย่างนี้. แม้จักรรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่า จักรแก้วชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดีไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จักชื่อว่ารัตนะเช่นกัน. จักรรัตนะนี้จักทำอะไรได้ เพราะว่าความยินดีของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเกิดขึ้น แล้วจากรัตนะแม้ทั้งปวง มีจักรรัตนะเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งการนับ แม้ซึ่งเสี้ยว แม้ซึ่งส่วนแห่งความยินดีอันเป็นทิพย์ใด พระตถาคตเจ้าย่อมยังความยินดีในปฐมฌาน ยังความยินดีในทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌานยังความยินดีในอากาสานัญจายตนฌาน ยังความยินดีในวิญญานัญจายตนฌาน ยังความยินดีในอากิญจัญญายตนฌาน ยังความยินดีในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ยังความยินดีในโสดาปัตติมรรค ยังความยินดีในโสดาปัตติผล ยังความยินดีในสกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และยัง

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 37

ความยินดีในอรหัตมรรค อรหัตผล อันยิ่งกว่าและประณีตกว่า กว่าความยินดีอันเป็นทิพย์แม้นั้น ให้เกิดแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้รับพระโอวาทของพระองค์ รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า แม้เพราะอรรถว่ายังความยินดีให้เกิดย่อมไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ารัตนะนี้มี ๒ อย่าง คือ วิญญาณกรัตนะ รัตนะที่มีวิญญาณ ๑ อวิญญาณกรัตนะ รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ๑ ในสองอย่างนั้น จักรแก้วและแก้วมณี ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับอนินทรีย์ มีทองและเงินเป็นต้น ชื่อว่า อวิญญาณกรัตนะ รัตนะมีช้างแก้วเป็นต้น มีขุนพลแก้วเป็นที่สุด ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใดเห็นปานนี้ ที่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์ชื่อว่า สวิญญาณกรัตนะ.

ในอวิญญาณกรัตนะ และสวิญญาณกรัตนะทั้งสองนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ท่านกล่าวว่า สวิญญาณกรัตนะเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า รัตนะมีทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น ซึ่งไม่มีวิญญาณ ถูกเขานำมาใช้ เพื่อเป็นเครื่องประดับของรัตนะทั้งหลายมีช้างแก้วเป็นต้น ซึ่งมีวิญญาณ.

แม้สวิญญาณกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ ติรัจฉานรัตนะ ๑ มนุสสรัตนะ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น มนุสสรัตนะท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะดิรัจฉานรัตนะ ถูกเขานำมาใช้ เพื่อมนุสสรัตนะ แม้มนุสสรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อิตถีรัตนะ ๑ ปุริสรัตนะ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น ปุริสรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 38

ถามว่า เพราะเหตุไร เพราะว่าอิตถีรัตนะ ถึงภาวะเป็นผู้รับใช้ของปุริสรัตนะ

แม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ คือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑ ในสองอย่างนั้น อนาคาริกรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า ในบรรดาอาคาริกรัตนะทั้งหลาย แม้พระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นผู้เลิศ (กว่าโดยภพ) ก็ถวายบังคมอนาคาริกรัตนะด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทรงเข้าไปอุปัฏฐากและทรงเข้าไปนั่งใกล้ จึงได้ทรงบรรลุทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ แล้วได้บรรลุนิพพานสมบัติในที่สุด.

แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อริยรัตนะ และปุถุชนรัตนะอย่างนี้.

แม้อริยรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ เสกขรัตนะและอเสกขรัตนะ แม้อเสกขรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สุกขวิปสสกรัตนะ และสมถยานิกรัตนะ.

แม้สมถยานิกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สาวกบารมีปัตตรัตนะ (รัตนะที่บรรลุสาวกบารมี) และสาวกบารมีอปัตตรัตนะ (รัตนะที่ไม่บรรลุสาวกบารมีญาณ)

ในบรรดาสาวกบารมีรัตนะทั้งสองนั้น สาวกบารมีปัตตรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะท่านผู้บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้มีคุณมาก ปัจเจกพุทธรัตนะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสาวกบารมีปัตตรัตนะ เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 39

เป็นผู้มีคุณมาก ก็สาวกทั้งหลายมีร้อยเป็นอเนก แม้เช่นกับพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งร้อย แม้ซึ่งส่วนแห่งพัน แห่งพระคุณทั้งหลายของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สัมมาสัมพุทธรัตนะ ท่านจึงกล่าวว่าเป็นเลิศ แม้กว่าปัจเจกพุทธรัตนะ.

ถามว่า เ พราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะมีคุณมาก ก็ถ้าหากว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นั่งสมาธิอยู่ทั่วชมพูทวีป ก็ย่อมไม่เข้าถึงการนับ ไม่เข้าถึงเสี้ยว ไม่เข้าถึงส่วนแห่งเสี้ยว แห่งคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้า ก็ตาม มีสี่เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม มีรูปก็ตาม ไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม มีประมาณเท่าใด พระตถาคตเจ้าแล ท่านกล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น" (๑) รัตนะที่จะเสมอด้วยตถาคตรัตนะ ย่อมไม่มีโดยปริยายไรๆ อย่างนี้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน ทรัพย์และรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่พุทธรัตนะไม่เสมอด้วยรัตนะ เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อการเข้าไปสงบ อุปัทวะที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้อาศัยชาติ หาได้อาศัยโคตร หาได้อาศัย


๑. อัง. จตุกก. ๒๑/ ข้อ ๓๔.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 40

การเกิดขึ้นในสกุล และหาได้อาศัยการเป็นผู้มีผิวพรรณงามเป็นต้นไม่ แต่ได้ทรงอาศัยความที่พุทธรัตนะเป็นรัตนะที่ไม่มีประมาณด้วยคุณทั้งหลายมีสีล ขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้นในโลก ตั้งแต่อเวจี จนถึงภวัคคพรหมเป็นที่สุด.

จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแต่สัตว์ทั้งหลายดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือในสวรรค์ทั้งหลาย พุทธรัตนะแม้นี้ชื่อว่าประณีต เพราะไม่เสมอเหมือนกับทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะนั้น ด้วยคุณทั้งหลายเหล่านั้นๆ ถ้าหากว่าคำที่กล่าวนี้ เป็นคำสัตย์จริง ด้วยความสัจนี้ ขอความสวัสดีจงมี คือ ขอความดีงาม ได้แก่ ความไม่มีโรค ความไม่มีอุปัทวะ จงมีแก่ปาณะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้. ก็ในข้อนี้มีอธิบายว่า จักษุ ชื่อว่า เป็นของสูญ สูญจากความเป็นตน หรือจากความเป็นของที่เกี่ยวเนื่องกับตน ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า "ดูก่อนอานนท์ จักษุแลชื่อว่าเป็นของสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตน" แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ จักษุก็จักไม่พึงสำเร็จด้วยคำว่า ตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉันใด คำที่ว่ารัตนะ อันประณีตก็พึงทราบเนื้อความนี้ว่า ความเป็นรัตนะอันประณีต คือรัตนภาพประณีต แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาได้สำเร็จ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 41

ว่าเป็นรัตนะไม่ ฉันนั้น ด้วยว่าในที่ใดไม่มีรัตนะ ที่นั้นก็ยังสำเร็จว่าเป็นรัตนะได้ แต่ในที่ใดมีความเป็นรัตนะ ที่ถึงความสัมพันธ์กัน โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง กล่าวคือประโยชน์ มีการกระทำความเคารพเป็นต้น ที่นั้นก็ย่อมปรากฏว่าเป็นรัตนะได้ ก็หมายถึงความเป็นรัตนะ เพราะฉะนั้น ที่นั้นจึงสำเร็จว่ารัตนะได้ เพราะความมีอยู่แห่งความเป็นรัตนะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ พึงทราบเนื้อความในคำนี้อย่างนี้ว่า โดยเหตุแม้นี้ พระพุทธเจ้าแล จัดว่าเป็นรัตนะก็ด้วยพระคาถา มีประมาณเท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วนี้ ความสวัสดีเกิดแล้วแก่ราชสกุล ภัยก็สงบแล้ว. ด้วยคาถาแม้นี้ อาชญา (อำนาจป้องกัน) อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจาด้วยพุทธคุณอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะตรัสด้วยธรรมคุณคือพระนิพพาน จึงทรงเริ่มว่า ขยํ วิราคํ อมตํ ปณีตํ เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น สิ้นไปแล้วคือสิ้นไปรอบแล้ว เพราะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือเพราะเหตุที่ว่า พระนิพพานนั้น เป็นธรรมชาติสักว่า ไม่บังเกิดขึ้น ดับและสิ้นไปแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้นเหล่านั้น และเพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น ไม่ประกอบด้วยราคะเป็นต้น ทั้งโดยสัมปโยค ทั้งโดยอารมณ์ หรือเพราะเหตุที่ว่าพระนิพพานนั้น อันพระอริยบุคคลทำให้แจ้งแล้ว กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ก็พลัดพรากออกไปโดยส่วนเดียว คือ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 42

สำรอกไป ได้แก่ กระจัดกระจายไป ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า ขยํ ธรรมเป็นที่สิ้นไป และเรียกว่า วิราคํ ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส.

อนึ่ง เพราะความเกิดขึ้นของพระนิพพานนั้น ไม่ปรากฏ ความเสื่อมไปก็ไม่ปรากฏ การเป็นอย่างอื่นแห่งพระนิพพานนั้น ซึ่งดำรงอยู่แล้ว ก็ไม่ปรากฏ ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า อมตํ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ไม่เกิด ไม่แก่ และไม่ตาย. ก็พระนิพพานนั้นชื่อว่า ปณีตํ เพราะอรรถว่า สูงสุด และเพราะอรรถว่า ไม่เร่าร้อน.

สองบทว่า ยทชฺฌคา ความว่า (พระศากยมุนี) ได้ทรงบรรลุแล้วคือว่าทรงประสบแล้ว ได้แก่ได้แล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งพระธรรมใด ด้วยกำลังแห่งญาณของพระองค์.

บทว่า สกฺยมุนี ได้แก่ ที่ชื่อว่า สักยะ เพราะประสูติในศากยสกุล ชื่อว่า มุนี เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วยโมเนยยธรรม ศากยะนั้นเอง เป็นมุนี จึงชื่อว่า ศากยมุนี.

บทว่า สมาหิโต ได้แก่ มีจิตตั้งมั่นด้วยอริยมรรคสมาธิ.

บาทคาถาว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ ความว่า ธรรมชาติ ไรๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมที่พระศากยมุนี ผู้ได้นามว่า ขยํ เป็นต้นนั้น ซึ่งทรงบรรลุแล้วย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ แม้ในระหว่างแห่งพระสูตร (ในตอนกลางของอัคคัปปสาทสูตร) ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ทั้งที่เป็นสังขตะก็ตาม เป็นอสังขตะก็ตาม วิราคะ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 43

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่นิพพานธรรม เป็นธรรมไม่เสมอด้วยธรรมเหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อความเข้าไปสงบแห่งอุปัทวะ ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ทรงอาศัยความที่ธรรมรัตนะ คือ พระนิพพาน เป็นธรรมไม่เช่นกับคุณธรรมทั้งหลาย มีขยธรรม วิราคธรรม อมตธรรม และปณีตธรรม จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในคาถาก่อนนั้นแล อาชญา (อำนาจป้องกัน) แห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจา ด้วยธรรมคุณคือพระนิพพานอย่างนี้แล้ว แม้ในบัดนี้เมื่อจะตรัสธรรมคุณคือมรรค จึงทรงเริ่มว่า ยมฺพุทฺธเสฏฺโ ปริวณฺณยี สุจึ ดังนี้.

ในพระคาถานี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า พุทธะ โดยนัยว่า พระองค์ทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น, ชื่อว่า ประเสริฐที่สุด เพราะอรรถว่า พระ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 44

องค์เป็นผู้สูงสุด หรือเป็นผู้ควรสรรเสริญ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วย เป็นผู้ประเสริฐด้วย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า พุทธเสฏฺโ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด, อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าประเสริฐที่สุดในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ พระอนุพุทธะ และพระปัจเจกพุทธะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พุทฺธเสฏฺโ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด, พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดพระองค์นั้น ย่อมยกย่องคือว่าย่อมสรรเสริญได้แก่ ย่อมประกาศซึ่งพระธรรมใด ในที่นั้นๆ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็ทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางเกษมกว่าทางทั้งหลาย เพราะเป็นทางเพื่อบรรลุพระนิพพาน และว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นอริยะ ซึ่งมีทั้งเหตุ มีทั้งบริขาร (เครื่องแวดล้อม)

บทว่า สุจึ ได้แก่ ผ่องแผ้วที่สุด เพราะกระทำการตัดมลทินคือ กิเลส.

บาทคาถาว่า สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ ความว่า ก็บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวสมาธิใด ที่ว่าเป็นสมาธิที่ให้ผลในลำดับ เพราะให้ผลในลำดับแห่งการเป็นไปของตน อย่างแน่นอนทีเดียว ก็เมื่อมรรคสมาธิบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่มีอันตรายไรๆ ที่จะห้ามความบังเกิดขึ้นแห่งผลของมรรคสมาธินั้นเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็บุคคลนี้พึงปฏิบัติ เพื่อการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และพึงเป็นเวลาที่ไฟไหม้กัป (๑) คือว่าบุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ตราบใดกัปก็ยังไม่ไหม้ตราบนั้น. บุคคลนี้เราเรียกว่าฐิตกัปปี ผู้มีกัปอันตั้งอยู่แล้ว บุคคลผู้เป็นมรรคสมังคีแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ฐิตกัปปี (เหมือนกัน).


บาลีว่า อุทยฺหนเวลา ของ ยุ. เป็น อุฑฺฑหนเวลา

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 45

บาทคาถาว่า สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ ความว่า รูปาวจรสมาธิ หรืออรูปาวจรสมาธิไรๆ ที่จะเสมอด้วยสมาธิที่ให้ผลในลำดับ (มรรค สมาธิ) อันสะอาค ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ทรงสรรเสริญแล้วนั้น ย่อมไม่มี

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะแม้ท่านผู้อุบัติแล้วในพรหมโลกนั้นๆ เพราะเหตุที่ได้เจริญรูปาวจร และอรูปาวจรสมาธิเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมาอุบัติในอบายภูมิทั้งหลายมีนรกเป็นต้นได้อีก และเพราะเหตุที่พระอริยบุคคลเป็นผู้เพิกถอนการ กิดในภพทั้งปวงเสียได้ เพราะท่านได้เจริญอบรมอรหัตสมาธินี้แล้ว เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในหว่างแห่งพระสูตร (๑) ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตะมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เรากล่าวว่าเป็นเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสความที่อานันตริกสมาธิ (อรหัตมรรคสมาธิ) เป็นสมาธิที่ไม่เสมอกับสมาธิเหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยความที่ธรรมรัตนะคือมรรค เป็นรัตนะที่ไม่เสมอ (กับรัตนะเหล่าอื่น) โดยนัยก่อนนั้นแล จึงทรงประกอบสัจวาจา ว่า

อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น อันบัณฑิตพึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.


๑. อัคคัปปสาทสูตร อัง. จตุกฺก. ๒๑/ ข้อ ๓๔.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 46

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจา แม้ด้วยธรรมคุณ คือมรรค อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงปรารภแม้เพื่อจะกล่าวซึ่งสังฆคุณ จึงตรัสว่า เย ปุคฺคลา เป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นบทตั้ง ซึ่งไม่กำหนดแน่นอน.

คำว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อฏฺ เป็นการกำหนดนับจำนวนบุคคลเหล่านั้น. จริงอยู่ พระอริยบุคคลเหล่านั้นมี ๘ จำพวก คือ ท่านผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวก และท่านผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ๔ จำพวก.

สองบทว่า สตํ ปสฏฺา (อันสัตบุรุษสรรเสริญ) ความว่า อันสัตบุรุษทั้งหลายคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกทั้งหลายและเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่าอื่นสรรเสริญแล้ว.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะพระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านั้น ประกอบด้วยคุณ มีศีลที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น ด้วยว่าพระอริยบุคคลเหล่านั้นมีคุณหลายประการ มีศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดร่วมกันเป็นต้น ดุจดอกไม้ทั้งหลาย มีดอกจำปา ดอกพิกุล และดอกโกสุมเป็นต้น ซึ่งมีคุณหลายอย่าง มีสีและกลิ่นที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้น จึงเป็นที่รักที่พอใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และเป็นผู้ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เย ปุคฺคลา อฏฺ สตํ ปสฏฺา

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 47

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เย เป็นอุทเทส (บทตั้ง) ที่ไม่กำหนดแน่.

คำว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.

คำว่า อฏฺสตํ ได้แก่ การกำหนดคุณของพระอริยบุคคลเหล่านั้น ว่ามี ๑๐๘.

จริงอยู่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านั้น รวมเป็น ๕๔ จำพวกคือ พระโสดาบัน ๓ จำพวก คือเอกพิธี ๑ โกลังโกละ ๑ สัตตักขัตตุปรมะ ๑

พระสกทาคามี ๓ จำพวก คือ ผู้ได้บรรลุผลแล้วในกามภพ รูปภพ อรูปภพ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี เหล่านั้น แม้ทั้งหมดรวมเป็น ๒๔ จำพวก ด้วยสามารกแห่งปฎิปทา ๔ (๔x๖)

พระอนาคามี ๒๔ จำพวก คือ พระอนาคามีในชั้นอวิหาภูมิ ๕ จำพวก คือ อันตราปรินิพพายี ๑ อุปหัจจปรินิพพายี ๑ สสังขารปรินิพพายี ๑ อสังขารปรินิพพายี ๑ และอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ในอตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ ก็เหมือนกัน (คือมีภูมิละ ๕ จำพวก) แต่ในอกนิฏฐภูมิมี ๔ จำพวกเว้นอุทธังโสโต พระอรหันต์ ๒ จำพวกคือสุกขวิปัสสกะ ๑ สมถยานิกะ ๑ และท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก (รวมเป็น ๕๔ จำพวก) พระอริยบุคคลทั้ง ๕๔ จำพวกเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เอา ๒ คูณด้วยอำนาจแห่งสัทธาธุระ และปัญญาธุระ จึงรวมเป็นพระอริยบุคคล ๑๐๘ จำพวก คำที่เหลือมีนัย อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

บาทคาถาว่า จติตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ ความว่า พระอริยบุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ซึ่งท่านแสดงไว้ว่า ๘ จำพวก หรือ ๑๐๘ จำพวก โดยพิสดาร แต่โดยสังเขปมี ๔ คู่ คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และตั้ง

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 48

อยู่ในโสดาปัตติผลคู่ ๑ จนถึงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคและตั้งอยู่ในอรหัตผลคู่ ๑.

คำว่า เต ในคำนี้ว่า เต ทกฺขิเณยฺยา เป็นการขยายความกำหนด ถึงพระอริยบุคคลตามที่ท่านแสดงไม่กำหนดไว้ในตอนต้น

บุคคลเหล่าใด ซึ่งท่านกล่าวได้โดยพิสดารว่ามี ๘ จำพวกหรือ ๑๐๘ จำพวก แต่โดยสังเขปมี ๔ คู่ ดังนี้ พระอริยบุคคลเหล่านี้แม้ทั้งหมด.

พระอริยบุคคลทั้งหลายชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมควรซึ่งทักษิณา. ไทยธรรมที่บุคคลเชื่อกรรม และเชื่อผลของกรรมให้อยู่โดยไม่คำนึงถึงเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักทำเวชกรรมนี้แก่เรา จะทำการรับใช้เรา ดังนี้ ชื่อว่า ทักษิณา. บุคคลทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมควรซึ่งทักษิณา ก็พระอริยบุคคลเหล่านี้เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า ทักขิเณยยบุคคล.

สองบทว่า สุคตสฺส สาวกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะพระองค์ประกอบด้วยการเสด็จไปที่งดงาม เพราะพระองค์เสด็จถึงฐานะที่งาม เพราะพระองค์เสด็จไปดี และเพราะพระองค์เสด็จไปด้วยดีนั้นเอง บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดย่อมฟัง (ซึ่งคำสอน) ของพระสุคตเจ้านั้น เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า สาวก (ผู้ฟังคำสอนของพระสุคต)

ก็คนแม้เหล่าอื่นย่อมฟังคำสอนของพระสุคตก็จริง แต่ว่าฟังแล้วหาได้กระทำกิจที่ตนจะพึงกระทำไม่ แต่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ ฟังแล้วกระทำตาม

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 49

ธัมมานุธัมมปฏิบัติที่ควรกระทำ บรรลุแล้วซึ่งมรรคและผลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สาวก.

บาทคาถาว่า เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ ความว่า ทานทั้งหลาย แม้จะน้อยที่บุคคลให้แล้วในสาวกของพระสุคตเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า มีผลมาก เพราะทักษิณาทานเข้าถึงความบริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคคาหก (ผู้รับ) เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในตอนกลางๆ แห่งอัคคัปปสาทสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย หมู่หรือคณะมีประมาณเท่าใด หมู่แห่งสาวกของพระตถาคต เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ บุรุษบุคคล ๘ นี่คือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลายเหล่าใดเลื่อมใสแล้วในสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมได้รับผลเลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถึงคุณของสังฆรัตนะ ด้วยสามารถบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในมรรคและผลแม้ทั้งปวง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณข้อนั้น ประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งพระคาถาเหล่านี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจวาจา ด้วยคุณของสังฆรัตนะด้วย สามารถแห่งท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค และท่านผู้ตั้งอยู่ในผลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ต่อแต่นั้นทรงปรารภจะตรัสสัจวาจา ด้วยคุณแห่งพระขีณาสพทั้งหลายผู้เสวย ความสุขอันเกิดจากผลสมาบัติบางจำพวกเท่านั้น จึงตรัสว่า เย สุปฺปยุตฺตา เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 50

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นคำยกขึ้นแสดงโดยไม่กำหนด

บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยดี อธิบายว่า พระอริยบุคคลเหล่านั้น ละอเนสนามีอย่างต่างๆ อาศัยการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์ เริ่มประกอบตนไว้ด้วยวิปัสสนา.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ประกอบด้วยกายประโยค และวจีประโยคอันบริสุทธิ์. ด้วยบทว่า สุปฺปยุตฺตา นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงศีลขันธ์ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

สองบทว่า มนสา ทฬฺเหน ความว่า ด้วยใจที่มั่นคง อธิบายว่า ด้วยจิตที่ประกอบด้วยสมาธิที่มั่นคง ด้วยบทว่า มนสา ทฬฺเหน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงสมาธิขันธ์ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า นิกฺกามิโน ความว่า เป็นผู้ไม่อาลัยในกายและชีวิต คือไม่มีความห่วงใยด้วยกิเลสทั้งปวงที่ได้กระทำไว้ ด้วยความเพียรที่เป็นปัญญาธุระ ด้วยบทว่า นิกฺกามิโน นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงปัญญาขันธ์ที่ถึงพร้อมด้วยความเพียรของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า โคตมสาสนมฺหิ ความว่า ในศาสนาของพระตถาคตเจ้าพระนามว่า โคดม โดยพระโคตรนั้นเอง. ด้วยบทว่า โคตมสาสนมฺหิ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไม่มี ความไม่ห่วงใยกิเลสทั้งหลายที่กระทำไว้แล้ว เพราะความไม่มีแห่งคุณ มีการพยายามดีเป็นต้น แห่งพระอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้กระทำความเพียรเพื่อความไม่ตายมีประการต่างๆ ในภายนอกจากศาสนาของพระสมณโคดมนี้.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 51

บทว่า เต เป็นคำแสดงถึงฐานะที่พระองค์ได้แสดงไว้ในตอนต้น. ในบทว่า ปตฺติปตฺตา นี้ มีวิเคราะห์ดังนี้.

ที่ชื่อว่า ปตฺติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อันบุคคลพึงบรรลุ. พระอริยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าควรบรรลุ ได้แก่ ผู้ควรบรรลุ พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุผลใดแล้ว เป็นผู้มีความเกษมจากโยคะโดยส่วนเดียว.

คำว่า ปตฺติปตฺตา นั้นเป็นชื่อแห่งพระอรหัตผล.

พระอริยบุคคลบรรลุแล้วซึ่งพระอรหัตผลนั้น เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ปตฺติปตฺตา ผู้บรรลุผลที่ควรบรรลุ.

บทว่า อมตํ ได้แก่ พระนิพพาน.

บทว่า วิคยฺห ได้แก่ หยั่งลงแล้วด้วยอำนาจแห่งอารมณ์.

บทว่า ลทฺธา ได้แก่ ได้แล้ว.

บทว่า มุธา ได้แก่ โดยไม่เสื่อม คือว่าได้กระทำให้เสียไปแม้ ๑ กากณิก.

บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ ผลสมาบัติ เป็นที่สงบระงับความกระวนกระวายแห่งกิเลส.

บทว่า ภุญฺชมานา คือ เสวยอยู่ ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ชื่อว่าประกอบแล้วด้วยดี เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีล ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเยื่อใย เพราะถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยจิตใจพี่มั่นคง เพราะเหตุที่สมบูรณ์ด้วยสมาธิ ในศาสนาของพระโคดมนี้ พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หยั่งลงแล้วสู่อมตะ ด้วยสัมมาปฏิปทาได้แล้วซึ่งความดับ ที่รู้กันว่า ผลสมาบัติโดยไม่เสื่อม บริโภคอยู่ เป็นผู้ชื่อว่าได้บรรลุผลที่ควรบรรลุ.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 52

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณแห่งพระสังฆรัตนะด้วยอำนาจบุคคลผู้เป็นขีณาสพซึ่งเสวยความสุขอันเกิดจากผลสมาบัติเท่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นเอง ประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นพึงทราบโดยนัย ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล.

อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฎิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะ อันมีพระสงฆ์เป็นตั้ง ด้วยคุณแห่งพระขีณาสพบุคคลทั้งหลายอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะกล่าวถึงคุณของพระโสดาบันอันประจักษ์แก่ชนจำนวนมากเท่านั้น จึงทรงเริ่มว่า ยถินฺทขีโล ปวึ สิโต สิยา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยถา เป็นคําอุปมา.

คำว่า อินฺทขีโล นี้เป็นชื่อแห่งเสาไม้แก่น ที่เขาขุดแผ่นดินตอกลงไปลึก ๘ ศอก หรือ ๑๐ ศอก ที่ระหว่างประตูเพื่อป้องกันประตูพระนคร.

บทว่า ปวึ ได้แก่ พื้นดิน.

บทว่า สิโต ได้แก่ ฝั่งตั้งไว้ภายในดิน.

บทว่า สิยา ได้แก่ พึงเป็น.

สองบทว่า จตุพฺภิ วาเตภิ คือเพราะลมที่มาจากทิศทั้งสี่.

บทว่า อสมฺปกมฺปิโย ได้แก่ ไม่อาจจะให้หวั่นไหวหรือจะให้เคลื่อนได้.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 53

บทว่า ตถูปมํ ได้แก่ มีอย่างนั้น.

บทว่า สปฺปุริสํ ได้แก่ บุรุษผู้สูงสุด.

บทว่า วทามิ แปลว่า ย่อมกล่าว.

บาทพระคาถาว่า โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ ความว่า ผู้ใดหยั่งลงด้วยปัญญาเห็นอริยสัจ ๔. อริยสัจในพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

แต่ในที่นี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-

เสาเขื่อนที่เขาฝังดินไว้ จะไม่พึงหวั่นไหวเพราะลมจากทิศทั้ง ๔ ได้ เพราะเหตุที่มีโคนอยู่ลึกฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นี้ว่าสัตบุรุษ ซึ่งมีอุปมาฉันนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะบุคคลแม้นี้เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยลมคือการกล่าวของพวกเดียรถีย์ทั้งปวง ดุจเสาเขื่อนไม่หวั่นไหว เพราะลมจากทิศทั้ง ๔ ฉะนั้น คือว่า เป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะให้หวั่นไหว หรือเพื่อจะให้เคลื่อนจากความเห็นนี้ได้ เพราะฉะนั้น แม้ในพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตะปูเหล็กหรือเสาเขื่อน ซึ่งมีโคนอยู่ลึก ฝังไว้ดีแล้ว ไม่โอนเอน คือไม่หวั่นไหว แม้หากว่าจะมีลมฝนที่แรงกล้าพัดมาจากทิศตะวันออก ก็ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อน แม้หากว่าจะมีลมฝนแรงกล้าพัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้ว่าจะมีลมฝนแรงกล้าพัดมาจากด้านทิศใต้ ฯลฯ แม้ว่าจะมีลมฝนแรงกล้าพัดมาจากด้านทิศเหนือ ตะปูเหล็กหรือเสาเขื่อน

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 54

นั้นก็ไม่พัง ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เสาเขื่อนนั้นมีโคนลึก เพราะเหตุที่เสาเขื่อนเขาฝังไว้ดี แล้วแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมทราบตามความเป็นจริงว่า นี่คือทุกข์ นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี่คือความดับทุกข์ นี่คือทางให้ถึงความดับทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นหาได้มองดูหน้าสมณพราหมณ์เหล่าอื่นไม่ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้รู้อยู่ ย่อมรู้ เห็นอยู่ ย่อมเห็น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นเพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้เห็นอริยสัจ ๔ แจ่มชัดแล้ว. (๑)

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณแห่งพระสังฆรัตนะ ด้วยอำนาจแห่งพระโสดาบัน ซึ่งคนเป็นจำนวนมากเห็นได้ประจักษ์เท่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั้นเอง อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะซึ่งพระสงฆ์เป็นที่ตั้ง ด้วยคุณของพระโสดาบันโดยไม่แปลกกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสว่า พระโสดาบัน ๓ จำพวกเหล่านั้น คือ เอกพิชี ๑ โกลังโกละ ๑ สัตตักขัตตุปรมะ ๑ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้บรรลุโสดาบัน เพราะความสิ้น ไปแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ บุคคลนั้นบังเกิดอีกชาติเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดทุกข์ได้


๑. สัง. มหา. ๒๙/ข้อ ๑๗๒๓.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 55

บุคคลนี้ชื่อว่า เอกพีชี อนึ่งบุคคลใด ท่องเที่ยวไปสู่สกุล ๒ หรือ ๓ สกุล (เกิด ๒ หรือ ๓ ชาติ) แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อว่า โกลังโกละ อนึ่งบุคคลใด ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกสิ้น ๗ ครั้ง (ร่วมกัน) แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ เพื่อจะตรัสถึงคุณของ พระโสดาบัน ผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ อันเป็นผู้น้อยกว่าพระโสดาบัน ๓ จำพวกนั้น จึงทรงเริ่มว่า เย อริยสจฺจานิ วิภาวยนฺติ ดังนี้เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น คำนี้ว่า เย อริยสจฺจานิ มีนัยอันข้าพเจ้ากล่าว แล้วนั้นแล

บทว่า วิภาวยนฺติ ความว่า กำจัดความมืดคือกิเลสที่ปกปิดสัจจะด้วยโอภาส คือ ปัญญา กระทําประกาศของตนให้ปรากฏ.

บทว่า คมฺภีรปญฺเน ได้แก่ ด้วยปัญญาที่ประดิษฐานไว้ อันบุคคลไม่พึงได้ด้วยญาณของโลก แม้พร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุที่เป็นผู้มีปัญญา ไม่อาจจะประมาณได้ มีคำอธิบายว่า ด้วยสัพพัญญุตญาณ

บทว่า สุเทสิตานิ ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วด้วยดี ด้วยนัยทั้งหลายเหล่านั้นๆ มีโดยย่อ โดยพิสดาร สากล และ โดยรวบรัด เป็นต้น

บาทคาถาว่า กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา ความว่า บุคคลทั้งหลายผู้มีอริยสัจอันทำให้แจ้งแล้วเหล่านั้น แม้บางคราวถึงฐานะเป็นที่ตั้งความ ประมาท เช่นเมื่อเป็นเทวราชหรือพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น เป็นผู้ประมาทอย่างยิ่งก็จริง ถึงกระนั้นพระอริยบุคคลเหล่าใด ดำรงอยู่แล้วด้วยการดับอภิสังขารวิญญาณ ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ จะพึงทํานามรูปให้เกิดขึ้นในสังสารวัฏฏ์

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 56

อันมีเบื้องต้นและที่สุด อันใครๆ ไม่รู้แล้วสิ้น ๗ ภพ จะไม่ทำภพที่ ๘ ให้บังเกิดขึ้น เพราะดับนามรูปเหล่านั้นเสียได้ เพราะนามรูปถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ แต่ได้เจริญวิปัสสนาในภพที่ ๗ นั่นเอง ก็จะได้บรรลุพระอรหันต์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณแห่งสังฆรัตนะด้วยอำนาจแห่งพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นเอง ทรง ประกอบสัจวาจาว่า อิทฺมปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ดังนี้.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจะ อันมีพระสงฆ์เป็นที่ตั้ง ด้วยคุณคือการไม่ทรงคำนึงถึงภพที่ ๘ ของพระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้ แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสถึงคุณของพระโสดาบันนั้นนั่นเอง แม้ผู้ยังต้องเกิดอยู่สิ้น ๗ ภพว่ายังพิเศษกว่าบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่น ซึ่งยังละความยึดมั่นในภพไม่ได้จึงทรงเริ่มว่า สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย ดังนี้เป็นต้น.

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สหาว ได้แก่ พร้อมนั้นเอง.

บทว่า อสฺส ได้แก่ พระโสดาบันจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ในบรรดาพระโสดาบันทั้ง ๓ จำพวก ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า พระโสดาบันเหล่านั้นย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ บังเกิดขึ้น.

บทว่า ทสฺสนสมฺปทาย ได้แก่ ด้วยความถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรค จริงอยู่โสดาปัตติมรรค ท่านเรียกว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานได้.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 57

ก่อนกว่าพระอริยะทุกจำพวก เพราะความถึงพร้อมแห่งกิจอันท่านเห็นพระนิพพานแล้วจะพึงกระทำ ความที่โสดาปัตติมรรคนั้นปรากฏในตน ชื่อว่า ทสฺสนสมฺปทา ความถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ด้วยความถึงพร้อมด้วยทัสสนสัมปทานนั่นเอง.

คำว่า สุ ในพระคาถานี้ว่า ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถทำบทให้เต็ม เหมือนคำว่า สุ ในประโยคทั้งหลาย มีประโยคอย่างนี้ว่า อิทํสุ เม สาริปุตฺต มหาวิกฏโภชนสฺมึ โหติ.

ในประโยคนี้มีเนื้อความเพียงนี้ว่า ก็เพราะพระโสดาบันนั้นละคือสละธรรม ๓ ประการเสียได้ พร้อมด้วยทัสสนสัมปทานั้น เพื่อแสดงถึงธรรมที่พระโสดาบันละได้แล้วในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ

สักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา หรือ สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งมีอยู่ ดังนี้.

ในคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ในกายที่มีอยู่ ได้แก่ ในกายกล่าวคืออุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย ที่ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย มีประการดังข้าพเจ้ากล่าวแล้ว. อีกอย่างหนึ่งที่ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ ก็เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิในกายที่มีอยู่นั่นเอง อธิบายว่า ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ตัวตนกล่าวคืออรูปขันธ์เป็นต้น ในกายที่มีอยู่มีประการตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 58

ก็ทิฏฐิทุกประการ เป็นอันพระโสดาบันนั้นละได้แล้ว ก็เพราะท่านละสักกายทิฏฐินั้นได้แล้วนั่นเอง ก็สักกายทิฏฐินั้นเป็นมูลรากแห่งทิฏฐิทั้งปวงเหล่านั้น.

ปัญญา ท่านเรียกว่า จิกิจฺฉิตํ คุณชาติเครื่องเยียวยา เพราะเข้าไปสงบพยาธิ (คือกิเลส) ทั้งปวง ปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น ไปปราศจากคุณชาตินี้ หรือว่าคุณชาตนี้ ไปปราศจากปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น เพราะเหตุนั้น คุณชาตินั้น จึงชื่อว่า วิจิกิจฺฉิตํ (วิจิกิจฉา) คำว่า วิจิกิจฺฉิตํ นั้นเป็นชื่อแห่งความสงสัยในวัตถุ ๘ ประการ ตามที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า "ความสงสัยในพระศาสดา" ดังนี้เป็นต้น ก็เพราะเหตุที่พระโสดาบันละความสงสัยนั้นเสียได้ ความสงสัยทุกอย่างจึงเป็นอันท่านละได้แล้ว เพราะความสงสัยนั้น เป็นมูลรากแห่งความสงสัยทั้งปวง.

ศีลหลายประการ มีศีลอย่างใด ศีลอย่างสุนัขเป็นต้น และวัตร มีวัตรของโค และวัตรของสุนัขเป็นต้น ซึ่งมาแล้วในสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า "ความบริสุทธิ์ของสมณพราหมณ์ ภายนอกศาสนานี้ ย่อมมีด้วยศีล (เช่นศีลอย่างโคเป็นต้น) ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยวัตร เช่นวัตรของโคเป็นต้น" ดังนี้. ท่านเรียกว่า ศีลพรต เพราะละศีลพรตนั้นเสียได้ ตบะที่ไม่ตายแม้ทั้งปวงมีนัคคิยตบะ ตบะของคนเปลือย และมุณฑิยตบะ ตบะของคนโล้นเป็นต้น ก็ เป็นอันพระโสดาบันละได้. เพราะว่าศีลพรตนั้นเป็นมูลรากแห่งศีลพรตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในที่สุดแห่งคำทั้งปวง (ท้ายบาทคาถา) ว่า ยทตฺถิ กิญฺจิ บัณฑิตพึงทราบว่า ก็สักกายทิฏฐิ ในคำว่า

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 59

สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพตํ วาปิ นี้ อันพระโสดาบันละเสียได้ ด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็นทุกข์ ละวิจิกิจฉาเสียได้ ด้วยความถึงพร้อมแห่ง การเห็นสมุทัย ละสีลัพพตปรามาสเสียได้ ด้วยการเห็นพระนิพพานด้วยมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการละกิเลส แห่งพระโสดาบันบุคคลอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงการละวิปากวัฏฏ์ ในเมื่อกิเลสวัฏฏ์ยังมีอยู่ จึงตรัสว่า จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต เป็นต้น.

ในพระคาถานั้น นรก สัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัยและอสุรกาย ชื่อว่า อบาย ๔ อธิบายว่า ก็พระอริยบุคคล (โสดาบัน) นี้ แม้อุบัติอยู่ในภพ ๗ (๗ ชาติ) ก็พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ เหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงการที่พระโสดาบันนั้นละวิปากวัฏฏ์ได้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงการละแม้กรรมวัฏฏ์อันเป็นมูลรากของวิปากวัฏฏ์นี้ จึงตรัสว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุํ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐาน ๖.

กรรมที่หยาบช้าชื่อว่า อภิฐาน ก็พระโสดาบันนี้เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานเหล่านั้น ก็อภิฐาน ๖ เหล่านี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กรรมคือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท สังฆเภท และการถือศาสดาอื่น ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์เอกนิบาต โดยนัยว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดานี้ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้เป็นต้น แม้ว่าพระอริยบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะไม่พึงฆ่า แม้มดดำมดแดงก็จริง แต่ถึงกระนั้น อภิฐาน ๖ เหล่านั้น พระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 60

พระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ เพื่อจะติเตียนความเป็นปุถุชน ด้วยว่าปุถุชนย่อมกระทำ แม้ซึ่งอภิฐานอันมีโทษมากอย่างนี้ เพราะตนยังไม่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ แต่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานเหล่านั้น.

ก็ อภัพพ ศัพท์ ในบาทคาถาว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุํ นี้ เป็นการแสดงถึงการไม่กระทำอภิฐาน ๖ แม้ในระหว่างภพเป็นอรรถ. จริงอยู่ แม้ในระหว่างภพ พระอริยบุคคลนี้ แม้ไม่ทราบว่าตนเป็นพระอริยสาวก ก็ย่อมไม่กระทำเวร ๕ มีการฆ่าสัตว์เป็นปกติเป็นต้น หรืออภิฐาน ๖ เหล่านี้ พร้อมกับการนับถือศาสดาอื่น คือไม่กระทำฐานะ ๖ ซึ่งอาจารย์บางพวกกล่าวว่า อภิฐาน ๖ ดังนี้ก็มี. ก็ในข้อนี้มีเรื่องเด็กหญิงชาวบ้านผู้เป็นอริยสาวิกา ซึ่งถือเอาปลาตายเป็นต้นเป็นตัวอย่าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงคุณของพระอริยสาวก ผู้แม้อุบัติแล้วสิ้น ๗ ภพ ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีคุณพิเศษกว่า บุคคลทั้งหลาย ซึ่งยังละความยึดมั่นในภพไม่ได้เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งคาถาแม้นี้อันอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะอันเป็นสังฆาธิษฐาน (มีพระสงฆ์เป็นที่ตั้ง) แห่งพระอริยบุคคลผู้แม้เกิดแล้วสิ้น ๗ ภพ ด้วยอำนาจผู้มีคุณพิเศษ กว่าบุคคลทั้งหลาย ที่ยังละความยึดมั่นในภพไม่ได้เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 61

เพื่อจะตรัสถึงบุคคลแม้ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ แม้จะอยู่ด้วยความประมาท ด้วยคุณคือการไม่ปกปิดสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้วว่า พระโสดาบันผู้ถึงพร้อม ด้วยทัสสนะ หาใช่เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะกระทำอภิฐาน ๖ อย่างเดียวไม่ แต่ท่านได้เคยทำแม้บาปเล็กน้อยไรๆ แล้ว ก็ไม่ควรแม้เพื่อจะปกปิดบาปนั้น ดังนี้ จึงได้ทรงเริ่มว่า กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ พระอริยบุคคลนั้น แม้จะทำบาปกรรมก็จริง ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งบาทพระคาถานั้นว่า พระอริยบุคคลนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ อาศัยความอยู่ด้วยความประมาท เพราะความหลงลืมสติบ้าง ก็งดเว้น การล่วงละเมิดด้วยการจงใจที่เป็นโลกวัชชะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาว่า สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบท ที่เราบัญญัติไว้เพื่อสาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ดังนี้. ย่อมกระทำปาปกรรมอย่างอื่น มีกุฏิการสหไสยา (คือการนอนในกุฏิเดียวกันกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน หรือในกุฏิเดียวกันกับมาตุคามแม้คืนเดียว) ด้วยกายหรือกระทำบาปกรรมมีการก้าวล่วงสิกขาบท ที่เป็นปทโสธัมมะ (การสอนธรรมแก่อนุปสัมบันโดยว่าพร้อมกัน) อุตฺตรึฉปฺปญฺจวาจาธมฺมเทสนา (การแสดงธรรมแก่มาตุคาม ซึ่งไม่มีผู้ชายเป็นเพื่อนเกิน ๕ - ๖ คำ) การพูดเพ้อเจ้อ และการพูดส่อเสียดเป็นต้น ด้วยวาจา หรือว่าทำบาปกรรมมีการไม่พิจารณา แล้วใช้สอยเป็นต้น ในการยินดีเงินและทองเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโลภะ โทสะ และการใช้สอยจีวร เป็นต้น พระอริยบุคคลนั้นไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น พระอริยบุคคลนั้นรู้ว่า กรรมนี้เป็นสิ่งไม่ควร ตนไม่ควรกระทำ แม้จะปกปิดไว้ครู่เดียวแต่ก็

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 62

เปิดเผยเสียในศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ ย่อมกระทำคืนเสียตามธรรม ในขณะนั้นนั่นเอง หรือว่าสำรวมในสิ่งที่ควรสำรวมอย่างนี้ว่า เราจักไม่ทำอีก.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรกล่าวถึงทิฏฐิบท.

ตอบว่า เพราะความที่บุคคลผู้มีธรรมคือพระนิพพานอันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว อธิบายว่า ความที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ผู้มีบทคือพระนิพพานอันตนเห็นแล้ว กระทำบาปกรรมแม้ปานนั้น ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ อย่างไร?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เด็กอ่อนยังเยาว์นอนหงาย ใช้มือหรือเท้าถูกถ่านเพลิง ก็จะพึงหดกลับได้เร็วพลันฉันใด ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมดาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระอริยบุคคลนั้นแม้จะต้องอาบัติก็จริง การออกจากอาบัติเห็นปานนั้นปรากฏอยู่ ถึงกระนั้นพระอริยบุคคลนั้นก็แสดงเปิดเผยทำให้แจ้งในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ ครั้นแสดงเปิดเผยทำให้แจ้งแล้ว ก็สำรวมระวังต่อไป ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงคุณของพระสังฆรัตนะ ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ แม้อยู่ด้วยความประมาท ด้วยคุณคือการไม่ปกปิดกรรมที่ตนทำแล้ว อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 63

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นเอง อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะอันเป็นสังฆาธิษฐาน แห่งบุคคลทั้งหลายผู้นับเนื่องในพระสงฆ์ ด้วยการประกาศคุณนั้นๆ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยแม้พระปริยัติธรรม ที่พระองค์เมื่อทรงแสดงคุณของพระรัตนตรัยได้ทรงแสดงไว้ โดยสังเขปในที่นี้และโดยพิสดารในที่อื่น เมื่อจะกล่าวสัจจะอันเป็นพุทธาธิษฐาน มีพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง อาศัยปริยัติธรรมแม้นั้น จึงทรงเริ่มอีกว่า วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค เป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

หมู่แห่งไม้ทั้งหลาย ซึ่งตั้งอยู่แล้ว คือตั้งขึ้นแล้ว ด้วยการขึ้นหนาแน่น ชื่อว่า วนํ ป่า.

พุ่มไม้ ซึ่งเจริญแล้วด้วยราก แก่น กระพี้ เปลือก กิ่งและใบทั้งหลาย ชื่อว่า ปคุมโพ พุ่มไม้.

พุ่มไม้ในป่าชื่อว่า วนปฺปคุมโพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า วนปฺปคุมโพ นี้นั้น. (เป็นสัตตมีวิภัตติ) ว่า วนปฺปคุมเพ ก็แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ใครๆ ก็อาจจะกล่าวได้ว่า วนสณฺโฑ (ชัฎแห่งป่า) ไพรสณฑ์ เหมือนอย่างคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า อตฺถิ สวิตกฺกสวิจาเร อตฺถิ อวิตกฺกอวจารมตฺเต สุเข ทุกฺเข ชีเว ดังนี้.

คำว่า ยถา เป็นคำอุปมา ยอดของต้นไม้นั้นบานแล้ว เหตุนั้น ต้นไม้นั้น ชื่อว่า ผุสิตคฺเค มียอดบานแล้ว อธิบายว่า มีดอกเกิดแล้ว ที่กิ่งน้อยกิ่งใหญ่ทุกกิ่ง.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 64

คำว่า ผุสิตคฺโค นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ผุสิตคฺเค โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล.

บาทพระคาถาว่า คิมฺหานมาเส ปมสฺมึ คิมฺเห ได้แก่ ในเดือนหนึ่ง บรรดาเดือนในฤดูร้อน ๔ เดือน ถ้าหากว่าจะกล่าวว่าในเดือนใดเดือนหนึ่ง ก็ต้องอธิบายว่า ในเดือนจิตรมาส (เดือน ๔) อันเริ่มฤดูร้อนแรก จริงอยู่ เดือนจิตรมาสนั้น ท่านเรียกว่า ปมคิมฺโห (ฤดูร้อนเดือนแรก) และว่า พาลวสนฺโต (ฤดูใบไม้เริ่มผลิ) บทต่อแต่นั้นเนื้อความปรากฏชัดแล้ว ทั้งนั้น.

ก็คำว่า ปมคิมฺเห นี้ ในคาถานี้ มีการประมวลมาเป็นอรรถ กอไม้ซึ่งได้ปริยายนามว่า พุ่มไม้อ่อนๆ ที่มีกิ่งยอดผลิบานสะพรั่ง ในป่าอันหนาแน่นด้วยต้นไม้นานาชนิด ในวสันตฤดูอ่อนๆ ซึ่งชื่อว่าปฐมคิมหะ จัดว่าเป็นป่าที่สวยงามอย่างยิ่งฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงปริยัติธรรม อันประเสริฐที่ให้ถึงพระนิพพาน โดยทรงแสดงหนทางให้ถึงพระนิพพาน หาใช่แสดงเพราะเหตุแห่งลาภ หรือเพราะเหตุแห่งสักการะเป็นต้นไม่ แต่ พระองค์เป็นผู้มีพระทัยประกอบด้วยอุตสาหะ และเอ็นดูอย่างยิ่ง ได้ทรงแสดงด้วยพระมหากรุณาอย่างเดียว เพื่อประโยชน์สุขอย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย อุปมา ฉันนั้น เพราะความที่แห่งพระธรรมของพระองค์ เป็นธรรมที่มีสิริ คือ ความงามอย่างยิ่ง ด้วยดอกอันต่างด้วยประโยชน์นานัปการ มีขันธ์ อายตนะ เป็นต้น หรือมีสติปัฏฐานและสัมมัปปธานเป็นต้น หรือมีศีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 65

ก็ในคำว่า ปรมํ หิตาย นี้ เป็นอนุนาสิก (นิคคหิต ออกเสียงขึ้นจมูก) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา แต่เนื้อความมีดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดง (ธรรมอันประเสริฐ) เพื่อพระนิพพานอันมีประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระปริยัติธรรมอันเช่นกับพุ่มไม้ในป่าที่มียอดคือดอกบานสะพรั่งนี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง ทรงประกอบสัจวาจาเป็นพุทธาธิษฐานว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น แต่ก็พึงประกอบบทอย่างเดียว อย่างนี้ว่า พุทธรัตนะกล่าวคือ พระปริยัติ ธรรม มีประการตามที่กล่าวแล้วแม้นั้น เป็นรัตนะอันประณีต อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะเป็นพุทธาธิษฐานด้วยอำนาจพระปริยัติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสด้วยโลกุตรธรรมจึงทรงเริ่มว่า วโร วรญฺญู วรโท วราหโร ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วโร ความว่า ผู้อันชนทั้งหลาย ผู้มีอธิมุตติอันประณีต ปรารถนาแล้วว่า โอ! หนอ แม้พวกเราพึงเป็นเช่นนี้ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วโร ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณที่ประเสริฐ อธิบายว่า เป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐที่สุด.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 66

บทว่า วรญฺญู ได้แก่ รู้พระนิพพาน จริงอยู่ พระนิพพาน ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงทราบพระนิพพานนั้นด้วยพระองค์เอง ที่ควงแห่งต้นโพธิ.

บทว่า วรโท ความว่า ทรงประทานพระธรรมอันประเสริฐ อันเป็นส่วนแห่งธรรมเครื่องแทงตลอด หรืออันเป็นส่วนแห่งวาสนาแก่ภิกษุทั้งหลาย มีพระปัญจวัคคีย์ ภัททวัคคีย์ และชฎิลทั้งหลายเป็นต้น และแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่าอื่น.

บทว่า วราหโร ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกกันว่า ผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะพระองค์นำมรรคอันประเสริฐมา จริงอยู่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐอันเป็นของเก่าซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ทรงดำเนินไปแล้ว เพราะเหตุนั้นชาวโลก จึงเรียก (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่าผู้ประเสริฐ เพราะได้เฉพาะซึ่งสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ทรงทราบสิ่งอันประเสริฐ เพราะกระทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน ชื่อว่า ประทานสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงประทานสุขอันเกิดจากวิมุตติ แก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า ทรงนำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะนำข้อปฏิบัติอันสูงสุดมาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีใครที่จะยิ่งกว่า (พระองค์) ด้วยโลกุตรคุณทั้งหลายเหล่านี้.

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะทำให้บริบูรณ์ในอุปสมาธิษฐาน ชื่อว่า ทรงรู้สิ่งที่ประเสริฐ เพราะทำให้บริบูรณ์ใน-

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 67

ปัญญาธิษฐาน ชื่อว่า ทรงประทานสิ่งที่ประเสริฐ เพราะทำให้บริบูรณ์ในจาคาธิษฐาน. ชื่อว่า ทรงนำสิ่งที่ประเสริฐมาให้ เพราะทำให้บริบูรณ์ในสัจจาธิษฐาน ชื่อว่า ผู้ทรงนำมาซึ่งมัคคสัจจะอันประเสริฐ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อว่า ประเสริฐ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งบุญ ชื่อว่า ทรงรู้สิ่งอันประเสริฐ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญา ชื่อว่า ทรงประทานสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงประทานอุบายนั้นๆ แก่ชนทั้งหลาย ผู้ต้องการความเป็นพุทธะ ชื่อว่า ทรงนำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงนำมา ซึ่งอุบายนั้นๆ แก่ชนทั้งหลายผู้ต้องการเป็นพระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐ เพราะไม่มีใครจะเสมอเหมือนในคุณนั้นๆ หรือว่าเพราะพระองค์ เป็นผู้ไม่มีอาจารย์ หรือเพราะพระองค์เป็นอาจารย์ของชนเหล่าอื่น ชื่อว่า ได้ทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ อันประกอบด้วยคุณ มีความเป็นสวากขาตธรรมเป็นต้น เพื่อคุณนั้นๆ แก่ชนทั้งหลาย ผู้ต้องการเป็นสาวก คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแหละ ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม ๙ อย่าง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยพระคุณข้อนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจา อันเป็นพุทธาธิษฐานว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น อันผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า กล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล แต่ในที่นี้พึงทราบโยชนาอย่างนี้อย่างเดียวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ได้ทรงทราบโลกุตตรธรรมอันประเสริฐใด ได้ทรง

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 68

ประทานโลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐใด ได้ทรงนำมา ซึ่งโลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐใด และได้ทรงแสดงโลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐใด พุทธรัตนะ แม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ดังนี้ อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยพระปริยัติธรรมและโลกุตตรธรรม ตรัสสัจจะอันเป็นพุทธาธิษฐานด้วย ๒ พระคาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัย คุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแห่งท่านทั้งหลายผู้ได้ฟังพระปริยัติธรรมนั้นแล้ว และได้ปฏิบัติตามกระแสแห่งธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว ก็ได้บรรลุโลกุตตรธรรม ๙ ประการ เพื่อจะตรัสสัจวาจาอันเป็นสังฆาธิษฐานอีก จึงทรงเริ่มว่า ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขีณํ ได้แก่ สิ้นรอบแล้ว หรือตัดได้เด็ดขาดแล้ว

บทว่า ปุราณํ ได้แก่ เก่า

บทว่า นวํ ได้แก่ ซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบัน

บทว่า นตฺถิสมฺภวํ ได้แก่ ความปรากฏว่าไม่มีอยู่.

บทว่า วิรตฺตจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตปราศจากราคะ.

สองบทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ในอนาคตกาล คือในภพใหม่.

บทว่า เต ความว่า ท่านเหล่าใดมีกรรมเก่าสิ้นแล้ว กรรมใหม่ก็ไม่มี และท่านเหล่าใด มีจิตปราศจากราคะในภพต่อไป ท่านเหล่านั้น ชื่อว่า ภิกษุขีณาสพ.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 69

บทว่า ขีณพีชา ได้แก่ มีพืชตัดขาดแล้ว.

บทว่า อวิรูฬฺหิฉนฺทา คือ เว้นจากความพอใจที่เจริญขึ้น.

บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ ย่อมดับ.

บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

สองบทว่า ยถายมฺปทีโป ได้แก่ เปรียบเหมือนประทีปนี้.

มีคำถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร? ตอบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า กรรมใดซึ่งเป็นกรรมเก่า ได้แก่เป็นกรรมในอดีต แม้ซึ่งเกิดแก่สัตว์ทั้งหลายแล้วดับไป ชื่อว่าผลไม่สิ้นแล้วนั่นเอง เพราะสามารถจะนำปฏิสนธิมา เหตุที่ยังละยางเหนียวคือตัณหาไม่ได้ กรรมเก่านั้นของสัตว์เหล่าใด ชื่อว่า สิ้นแล้ว เพราะไม่สามารถจะให้วิบากต่อไปได้ เนื่องจากยางเหนียวคือตัณหาได้เหือดแห้งไป ด้วยอรหัตมรรคญาณ เปรียบประดุจพืชที่ไฟไหม้แล้วฉะนั้น และกรรมอันใดของสัตว์เหล่านั้น ซึ่งเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งการบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กรรมใหม่ ก็กรรมใหม่ นั้นของชนเหล่าใด ชื่อว่าไม่มีสมภพ เพราะไม่สามารถจะให้ผลต่อไปได้ เพราะละตัณหาแล้วนั่นแหละ เปรียบประดุจดอกไม้ที่หลุดจากขั้วแล้วฉะนั้น และชนทั้งหลายเหล่าใด ชื่อว่ามีจิตคลายกำหนัดในภพต่อไปได้แล้ว เพราะละเสียได้ซึ่งตัณหานั้นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุขีณาสพ ชื่อว่า มีพืชสิ้นแล้ว เพราะสิ้นปฏิสนธิวิญญาณซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคาถานี้ว่า กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺาณํ พีชํ กรรม เป็นเนื้อนา วิญญาณ เป็นพืช (๑) ดังนี้


๑. อัง. ติก ๒๐/ ข้อ ๕๑๗.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 70

เป็นต้น เพราะความสิ้นกรรมนั้นเอง. แม้ความพอใจด้วยอำนาจตัณหา กล่าวคือตัณหาในภพใหม่ซึ่งเจริญขึ้นแม้อันใด ได้มีแล้วในกาลก่อน เพราะตัณหาที่เจริญขึ้นแม้นั้นอันตนละเสียได้ ด้วยการละสมุทัยนั่นเอง พระอริยบุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความพอใจอันไม่เจริญขึ้น เพราะไม่มีสมภพ (ความเกิด) ในเวลาจุติ เหมือนในกาลก่อน จึงชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วยปัญญา ย่อมดับเสียได้ เพราะความดับแห่งวิญญาณดวงสุดท้าย เหมือนดวงประทีปนี้ที่ดับไปฉะนั้น ได้แก่ ย่อมล่วงบทบัญญัติมีอาทิอย่างนี้ว่า เป็นรูปหรือเป็นอรูปอีก.

เล่ากันมาว่า ในสมัยนั้นในบรรดาดวงประทีปทั้งหลายที่เขาจุดไว้ เพื่อบูชาเทวดาประจำพระนคร ดวงประทีปดวงหนึ่งดับไป พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงดวงประทีปที่ดับไปนั้นจึงตรัสว่า ยถายมฺปทีโป เหมือนดวงประทีปนี้ที่ดับไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงคุณแห่งการบรรลุ อนุปาทิเสสนิพพาน ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ได้สดับพระปริยัติธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยพระคาถา ๒ คาถาแรกนั้น แล้วปฏิบัติตามกระแสแห่งธรรมที่ตนได้ฟังมาแล้วนั้นแล ได้บรรลุโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง เพื่อจะทรงประกอบสัจวาจา เป็นสังฆาธิษฐาน จึงตรัสเทสนาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า กล่าวแล้วในตอนต้น แต่ก็พึงทราบวาจาประกอบความอย่างนี้อย่างเดียวว่า สังฆรัตนะ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 71

กล่าวคือพระนิพพานของภิกษุขีณาสพทั้งหลาย โดยประการตามที่เรากล่าวไว้แล้วแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

ในที่สุดแห่งพระเทศนา ความสวัสดีได้มีแก่ราชสกุลแล้ว อุปัทวะทั้งปวงสงบแล้ว สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยคุณพระรัตนตรัยประกอบสัจวาจา ทำความสวัสดีแก่ชาวพระนครแล้ว แม้ เราเองก็จะพึงอาลัยคุณพระรัตนตรัย กล่าวบางสิ่งบางอย่าง เพื่อความสวัสดีแก่ชาวพระนคร จึงได้ตรัส ๓ คาถาสุดท้ายว่า

ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ดังนี้เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัย ในพระคาถาทั้ง ๓ นั้น ดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า ได้รับขนานนามว่า พระตถาคต ก็เพราะพระองค์ทรงถึงประโยชน์เหมือนอย่างบุคคลทั้งหลายผู้ขวนขวาย เพื่อประโยชน์ สุขแก่ชาวโลกจะพึงถึง เพราะพระองค์เสด็จไปโดยประการที่ชาวโลกผู้ขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเหล่านี้จะพึงไป เพราะพระองค์ทรงทราบถึงสิ่งที่ชาวโลกผู้ขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเหล่านี้จะพึงทราบ เพราะพระองค์ทรงรู้โดยประการที่ชนเหล่านี้จะพึงรู้และเพราะพระองค์เสด็จไปอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 72

และเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชากันเหลือเกิน ด้วยวัตถุมีดอกไม้และของหอมเป็นต้น ซึ่งเกิดในภายนอก (ตน) และด้วยการปฏิบัติมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นต้น ซึ่งเกิดในตน เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ จึงได้ทรงรวบรวมเทวบริษัททั้งหมด พร้อมกับพระองค์ ตรัสว่า

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ พุทธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ.

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจึงมีแก่สัตว์เหล่านั้น ดังนี้.

ก็เพราะในฝ่ายพระธรรม มรรคธรรมอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยกำลังแห่งสมถะและวิปัสสนาทั้งคู่ ฉันใด นิพพานธรรมอันพระอริยบุคคลผู้ตัดธรรม อันเป็นฝ่ายกิเลส ก็ถึงได้ฉันนั้น พระธรรมอันบุคคลถึงแล้วคือแทงตลอดแล้วด้วยปัญญา ฉันใด นิพพานธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นทรงบรรลุแล้ว ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะกำจัดทุกข์ทั้งปวงได้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า ตถาคต พระธรรมที่บุคคลถึงแล้วอย่างนั้น.

อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระสงฆ์ ท่านก็เรียกว่า ตถาคต ผู้ถึงเหมือนกัน เพราะท่านถึงความเป็นพระสงฆ์ได้ด้วยมรรคนั้นๆ เหมือนกับบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตนจะพึงถึง เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัส

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 73

แม้ใน ๒ คาถาที่เหลือว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายจะนมัสการพระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย, ข้าพเจ้าทั้งหลายจะนมัสการพระสงฆ์ ผู้ไปแล้วอย่างนั้นขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.

ท้าวสักกะจอมเทพ ครั้นตรัส ๓ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว ทรงกระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เสด็จไปยังเทพนคร พร้อมด้วยเทพบริษัท ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรัตนสูตรนั้นนั่นแล แม้ในวันที่สอง สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้บรรลุธรรมอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอยู่อย่างนี้จนถึงวันที่ ๗. การบรรลุธรรมก็ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ทุกๆ วัน เหมือนอย่างนั้นนั่นเทียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในเมืองเวสาลีเป็นเวลาครึ่งเดือน แล้วทรงประกาศว่า เราจักไปเมืองราชคฤห์ ต่อจากนั้นพระราชาทั้งหลายก็ได้ นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยใช้เวลา ๓ วันอีกพร้อมด้วยเครื่องสักการะที่จัดถวายเป็นสองเท่า (ของพระเจ้าพิมพิสาร) นาคราชทั้งหลาย บังเกิดในแม่น้ำคงคาคิดกันว่า พวกมนุษย์กระทำสักการะแด่พระตถาคตเจ้า พวกเราจักไม่ทำอะไรกันหรือ นาคราชทั้งหลายจึงได้เนรมิตเรือทั้งหลาย ซึ่งสำเร็จด้วย ทอง เงิน และแก้วมณี ให้ปูลาดบัลลังก์ทั้งหลายที่สำเร็จด้วยทอง เงิน และแก้วมณีเหมือนกัน ได้กระทำน้ำให้ดารดาษไปด้วยดอกปทุม ๕ สี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ขอพระองค์จงอนุเคราะห์ ข้าพระองค์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ครั้นทรงรับนิมนต์

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 74

แล้ว ก็เสด็จลงเรือรัตนะ ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ลงเรือของตนๆ นาคราชทั้งหลาย ได้นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ให้เสด็จเข้าไปสู่นาคพิภพ.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นาคบริษัทตลอดคืนทั้งสิ้น ณ นาคพิภพนั้น ในวันที่สอง นาคราชทั้งหลายได้ถวายมหาทานด้วย ขาทนียะและโภชนียะอันเป็นทิพย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จออกจากนาคพิภพ. ภุมมัฏฐเทวดาคิดว่า พวกมนุษย์ทั้งหลายและนาคทั้งหลาย ย่อมกระทำสักการะแก่พระตถาคต พวกเราจักไม่ทำอะไรกันหรือ ดังนี้แล้ว จึงได้ยกฉัตรซ้อนฉัตร ขึ้นที่ป่า พุ่มไม้ ต้นไม้ และภูเขาเป็นต้น โดยอุบายนี้นั่นเอง มหาสักการะอันพิเศษบังเกิดขึ้นแล้วตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม แม้พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงทำสักการะเป็นทวีคูณ กว่าสักการะที่เจ้าลิจฉวีทั้งหลายกระทำ ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา พระองค์ได้นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังกรุงราชคฤห์โดยใช้เวลา ๕ วัน โดยนัยที่กล่าวแล้วใน ตอนก่อนนั้นแล.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกัน ณ โรงกลม ภายหลังภัต เกิดการสนทนากันในระหว่างดังนี้ว่า "โอ! อานุภาพของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ภูมิภาค ๘ โยชน์จากฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคาอันพระราชาและมหาชนกระทำภาคพื้นที่เป็นที่ลุ่มและ ที่ดอนให้เสมอกัน เกลี่ยด้วยทรายแล้วลาดด้วยดอกไม้ น้ำในแม่น้ำคงคาประมาณ ๑ โยชน์ ก็ดาษดาไปด้วยดอกปทุมนานาพรรณ เทวดาทั้งหลาย ยกฉัตรซ้อนฉัตรขึ้นถึงชั้นอกนิษฐภพทีเดียว เจาะจง (อุทิศ) พระพุทธองค์" ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 75

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปนั้น เสด็จออกจากพระคันธกุฎี ไปยังโรงกลม (หอประชุม) ด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะสมในขณะนั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นประทับนั่งแล้วแลได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลาย นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ. พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การบูชาพิเศษนี้หาได้เกิดขึ้นด้วยพุทธานุภาพของเราไม่ หาได้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของนาค เทพ และพรหมไม่ โดยที่แท้แล การบูชาพิเศษนี้ เกิดขึ้นแล้วด้วยอานุภาพแห่ง การบริจาคมีประมาณน้อย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่ทราบการบริจาคอันมีประมาณน้อยนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยประการที่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงทราบเรื่องนั้นได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า สังขะ ในเมืองตักกสิลา มาณพชื่อว่า สุสิมะ ที่เป็นบุตรของพราหมณ์นั้น มีอายุราว ๑๖ ปี วันหนึ่งได้เข้าไปหาบิดา ไหว้ แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. บิดาพูดกับบุตรนั้นว่า พ่อสุสิมะ อะไรกัน. บุตรนั้นพูดว่า คุณพ่อครับ ผมต้องการจะไปศึกษาศิลปวิชาที่เมืองพาราณสี.

บิดาพูดว่า "ลูกสุสิมะ ถ้าอย่างนั้น (เจ้าจงไปเถิด) เพื่อนของพ่อ เป็นพราหมณ์ชื่อโน้น เจ้าไปยังสำนักของพราหมณ์นั้นแล้ว จงเรียนวิชาเถิด" ดังนี้ แล้วมอบทรัพย์ให้พันกหาปณะ สุสิมะมาณพนั้นรับทรัพย์ ๑ พันกหาปณะ

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 76

นั้นแล้ว ไหว้อำลามารดาบิดา ไปสู่เมืองพาราณสีโดยลำดับ เข้าไปหาอาจารย์ ด้วยวิธีประกอบด้วยมารยาทเรียบร้อย ไหว้แล้ว แนะนำตน อาจารย์ทราบว่า เด็กหนุ่มนี้เป็นบุตรเพื่อนของเรา จึงรับมาณพ (นั้น) แล้วได้กระทำการต้อนรับทุกอย่าง.

มาณพนั้นบรรเทาความเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล (พักผ่อน) แล้ว ได้มอบทรัพย์ ๑ พันกหาปณะนั้นไว้ที่ใกล้เท้าอาจารย์ ขอโอกาสเรียนศิลปวิทยา อาจารย์ให้โอกาสแล้วก็ให้ศึกษา มาณพนั้นเรียนได้ไวด้วย เรียนได้มากด้วย และจดจำสิ่งที่เรียนไว้แล้วๆ ไม่ลืม เหมือนน้ำมันที่ใส่ไว้ในภาชนะทองฉะนั้น ได้เรียนศิลปวิทยา ซึ่งคนทั่วไปใช้เวลาเรียน ๑๒ ปี (โดยใช้เวลาเรียน) เพียง ๒ - ๓ เดือนเท่านั้น เขาเมื่อจะกระทำการสาธยาย ย่อมเห็นเบื้องต้น และท่ามกลางของศิลปะนั้นได้ แต่ไม่เห็นที่สุด. ครั้งนั้นเขาจึงเข้าไปหาอาจารย์แล้ว เรียนว่า กระผมย่อมเห็นเบื้องต้นและท่ามกลางเท่านั้นของศิลปะนั้น แต่ไม่เห็นที่สุด. อาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนพ่อ แม้เราเองก็ไม่เห็นเหมือนกัน. มาณพจึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าย่อมทราบที่สุดแห่งศิลปะนี้ได้. อาจารย์ตอบว่า ดูก่อนพ่อ ที่ป่าอิสิปตนะมีฤาษีทั้งหลายอยู่ ฤาษีเหล่านั้นพึงทราบได้. มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์กระผมเข้าไปหาฤาษีเหล่านั้นแล้วจักไต่ถาม. อาจารย์ตอบว่า เจ้าจงถามตามสบายเถิดพ่อ. มาณพนั้นไปยังป่าอิสิปตนะ เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว เรียนถามว่า ท่านทั้งหลายทราบเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด (ของศิลปะ) หรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ใช่แล้ว พวกเราทราบ.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 77

มาณพเรียนว่า ท่านทั้งหลายจะให้กระผมศึกษาบ้างได้ไหม พระปัจเจกพุทธเจ้า. ทั้งหลายตอบว่า อาวุโส ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงบวช (เสียก่อน) ด้วยว่าผู้ที่ไม่บวช ไม่อาจศึกษาได้. มาณพเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีละ ท่านทั้งหลายจงให้กระผมบวช ท่านทั้งหลายกระทำสิ่งที่ท่านทั้งหลายปรารถนาแล้ว จงให้กระผมทราบที่สุดแห่งศิลปะเถิด.

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้มาณพนั้นบวชแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะสั่งสอน ในกัมมัฏฐานได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ให้ศึกษาอภิสมาจาริกวัตร โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ ท่านพึงห่มอย่างนี้ ก็สุสิมะนั้น ศึกษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนะนั้น ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณโดยไม่นานเลย เพราะ (ความที่ตน) สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ท่านจึงได้ปรากฏในเมืองพาราณสีทั้งสิ้นว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะเกิดขึ้นแล้ว ท่านถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ มีบริวารพรั่งพร้อม พระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะนั้น ไม่นานเลยก็ปรินิพพาน เพราะท่านได้ทำกรรมที่เป็นเหตุให้มีอายุน้อยไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และหมู่มหาชนกระทำซึ่งสรีรกิจของพระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะนั้น ถือเอาแล้ว ซึ่งพระธาตุทั้งหลายให้ประดิษฐานไว้ในพระสถูปที่ประตูพระนคร.

ครั้งนั้นแล สังขพราหมณ์คิดว่า บุตรของเราไปนานแล้ว และเราก็ไม่ทราบความเป็นไปของบุตรนั้น ดังนี้. ต้องการที่จะพบบุตร จึงออกจากเมืองตักกสิลา ไปถึงเมืองพาราณสีโดยลำดับ เห็นหมู่มหาชนประชุมกันอยู่ จึงดำริว่า ในบรรดาหมู่ชนเป็นอันมาก คงจะมีใครสักคนหนึ่งทราบความเป็นไปแห่งบุตรของเราบ้างเป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปในที่นั้นถามว่า เด็กหนุ่ม ชื่อว่าสุสิมะมาในที่นี้มีอยู่ พวกท่านทราบความเป็นไปของเขาบ้างแหละหรือ

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 78

มหาชนตอบว่า ใช่แล้วพราหมณ์ เราทั้งหลายทราบอยู่ สุสิมะมาณพเป็นผู้จบไตรเพทในสำนักของพราหมณ์ในนครนี้. บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สถูปองค์นี้ มหาชนให้สร้างประดิษฐานไว้เพื่อสุสิมะปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

สังขพราหมณ์นั้นใช้มือทุบแผ่นดินร้องไห้คร่ำครวญ ไปยังลานเจดีย์นั้น ถอนหญ้าทั้งหลายขึ้นแล้ว ใช้ผ้าห่ม (ห่อ) ขนทรายมา แล้วเกลี่ยลงที่ ลานพระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประพรมด้วยน้ำจากคณโฑ (ลักจั่น) กระทำบูชาด้วยดอกไม้ป่าทั้งหลาย ใช้ผ้าห่มยกทำเป็นธงปฏากขึ้น ผูกร่มของตน ไว้เบื้องบนสถูป แล้วหลีกไป.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำอดีตนิทานมาอย่างนี้แล้วเมื่อทรงสืบต่อ อนุสนธิชาดกนั้น ให้เชื่อมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน จึงตรัสธรรมกถาแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงเห็นข้อนั้นอย่างนี้ว่า คนอื่นจะพึงมีได้แล สังขพราหมณ์ได้มีแล้วในสมัยนั้นแน่แท้ เราเองได้เป็นสังข- พราหมณ์โดยสมัยนั้น เราได้ถอนหญ้าที่ลานพระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าสุสิมะ ด้วยผลที่ไหลออกแห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายได้กระทำหนทางประมาณ ๘ โยชน์ ให้ปราศจากตอและหนาม แล้วกระทำพื้นที่ให้เสมอ สะอาด เราได้เกลี่ยทรายลงที่ลานพระเจดีย์นั้น ด้วยผลที่ไหลออกแห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายได้เกลี่ยทรายในหนทางประมาณ ๘ โยชน์ เราได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ป่าที่พระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลที่ไหลออกแห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายได้ทำการลาดดอกไม้ ด้วยดอกไม้นานาชนิด

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 79

ทั้งบนบกและในน้ำในหนทางประมาณ ๘ โยชน์ เราได้ทำการประพรมภาคพื้น ด้วยน้ำที่ลานพระเจดีย์นั้น ด้วยน้ำในคนโฑ ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมของเรานั้น ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงในเมืองเวสาลี เราได้ยกธงปฏากและผูกฉัตรไว้ที่เจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมของเรานั้น มนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ยกธงปฏากและยกฉัตรซ้อนฉัตรขึ้นจนถึงอกนิษฐภพ ภิกษุทั้งหลาย การบูชาพิเศษเพื่อเรานี้ มิได้บังเกิดขึ้นด้วยพุทธานุภาพ มิได้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งนาค เทพ และพรหม แต่ได้บังเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งการบริจาคอันมีประมาณน้อย (ของเรา) ดังกล่าว มานี้แล.

ในที่สุดแห่งพระธรรมกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

มตฺตาสุขปฺปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ

ถ้าหากว่า บุคคลพึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะการสละความสุขอันพอประมาณไซร้ (ก็พึงสละความสุขพอประมาณเสีย) นักปราชญ์เมื่อเห็นความสุขอันไพบูลย์ ก็พึงละความสุขพอประมาณเสีย.

จบอรรถกถารตนสูตร

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา