๑๐. ทุติยเสทกสูตร ว่าด้วยกายคตาสติ

 
chatchai.k
วันที่  3 ม.ค. 2564
หมายเลข  33525
อ่าน  522

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หนาที่ 457

๑๐. ทุติยเสทกสูตร

วาดวยกายคตาสติ

[๗๖๓] ขาพเจาไดสดับมาแลวอยางนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผูมีพระภาคเจาประทับอยู ณ นิคมของชาวสุมภะ ชื่อ เสทกะ ในสุมภชนบท ณ ที่นั้นแล พระผูมีพระภาคเจาตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายวา ดูกอนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหลานั้นทูลรับพระผูมีพระภาคเจาแลว พระผูมีพระภาคเจาไดตรัสพระดํารัสนี้วา

[๗๖๔] ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหมูมหาชนไดทราบขาว วา มีนางงามในชนบทๆ พึงประชุมกัน. ก็นางงามในชนบทนั้น แสดงได ดีในการฟอนรํา แสดงไดดียิ่งในการขับรอง หมูมหาชนไดทราบขาววา นางงามในชนบทจะฟอนรําขับรอง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกวาประมาณ. ครั้งนั้น บุรุษผูอยากเปนอยู ไมอยากตาย ปรารถนาความสุข เกลียดทุกข พึงมากลาว กะหมูมหาชนนั้นอยางนี้วา ดูกอนบุรุษผูเจริญ ทานพึงนําภาชนะน้ํามันอัน เต็มเปยมนี้ไปในระหวางที่ประชุมใหญกับนางงามในชนบท และจักมีบุรุษ เงื้อดาบตามบุรุษผูนําหมอน้ํามันนั้นไปขางหลังๆ บอกวา ทานจักทําน้ํามัน นั้นหกแมหนอยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของทานจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสําคัญความขอนั้นเปนไฉน บุรุษผูนั้น จะไมใสใจภาชนะน้ํามันโนน แลวพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ ภิกษุทั้ง หลายกราบทูลวา ไมเปนอยางนั้น พระเจาขา

[๗๖๕] พ. ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เราทําอุปมานี้ เพื่อใหเขาใจเนื้อ ความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในขอนี้มีอยางนี้แลคําวาภาชนะน้ํามันอันเต็มเปยม เปนชื่อของกายคตาสติ

[๗๖๖] ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอยางนั้นวา กายคตาสติ จักเปนของอันเราเจริญแลว กระทําใหมากแลว กระทําใหเปนดังยาน กระทําใหเปนที่ตั้ง กระทําไมหยุด สั่งสมแลว ปรารภ ดีแลว ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอยางนี้แล

จบ ทุติยเสทกสูตรที่ ๑๐


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ม.ค. 2564

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หนาที่ 458

อรรถกถาทุติยเสทกสูตร

ในสูตรที่ ๑๐. คําวา นางงามในชนบท หมายถึง นางที่งามที่สุด ในชนบท ซึ้งเวนจากโทษประจําตัว ๖ อยาง แลวประกอบดวยความงาม ๕ อยาง. ก็เพราะนางนั้นไมสูงนัก ไมเตี้ยนัก ไมผอมนักไมอวนนัก ไมดํานัก ไมขาวนัก ผิวพรรณแมจะไมถึงทิพย แตก็เกินผิวพรรณมนุษยดวยกัน ฉะนั้น จึงจัดวาปราศจากโทษประจําตัว ๖ อยาง. และเพราะประกอบดวยความงามเหลานี้ คือผิวงาม เนื้องาม เล็บงาม * (นหารุกลฺยาณ) กระดูกงาม วัยงาม จึงชื่อวา ประกอบดวยความงาม ๕ อยาง.

นางไมตองใชแสงสวางจรมาเลย ดวยแสงสวาง ประจําตัวของตนนั่นแหละ ก็ทําใหสวางในที่มีระยะ ๑๒ ศอก เปนผิวที่เหมือน กับดอกประยงค หรือเหมือนกับทองคํา นี้เปนความงามแหงผิวของนาง. สวนมือเทาทั้ง ๔ และริมฝปากของนางนั้นเลา ก็คลายกับทาดวยชาด เหมือน แกวประพาฬแดงหรือผากัมพลแดง นี้คือความงามแหงเนื้อของนาง. สวนกลีบ เล็บทั้ง ๒๐ นั้นเลา ในทีที่ไมพนจากเนื้อ ก็คลายกับเอาชาดมาทาไว ที่พน จากเนื้อแลว ก็เหมือนกับธารน้ํานม นี้คือความงามแหงเล็บ * ของนาง. ที่ฟน ๓๒ ซี่ ซึ่งงอกขึ้นมานั่นเลา ก็ปรากฏคลายเอาเพชรที่เจียระไนแลวมาเรียงเปน แถวไว นี้คือความงามแหงกระดูกของนาง

และตอใหมีอายุถึง ๑๒๐ ป ก็ยัง สาวพริ้งเหมือนอายุแค ๑๖ ป ผมไมมีหงอกเลย นี้ คือความงามแหงวัยของนาง. สําหรับในคําวา มีกระแสเสียงไพเราะอยางยิ่ง นี้หมายความวา กระแสเสียงไหลเอื่อยไป กระแสเสียงนั้นไพเราะอยางยิ่ง ที่ชื่อวา มีกระแส เสียงไพเราะอยางยิ่ง ก็เพราะนางมีกระแสเสียงที่ไพเราะอยางยิ่งนั้น.

มีคํา ที่ทานขยายความวา นางมีความประพฤติสูงสุด มีกิริยาประเสริฐ ในการรํา และการรอง ยอมรําทํารําที่สูงที่สุด หรือถาจะรอง ก็รองแตเพลงชั้นสูงที่สุด เทานั้น. คําที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นทั้งนั้น. ก็และวิปสสนาแรกเริ่ม เปนอันตรัสไวแลวในสูตรทั้งสองนี้ ดวยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุติยเสกทกสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถานาฬันทวรรคที่ ๒

* คําวา นหารุกลฺยาณ นี้ อรรถกถาอธิบายเรื่องเล็บ ไมไดอธิบายเรื่องเอ็นเลย จึงแปลวา เล็บงาม ไมใชเอ็นงามตามศัพท อรรถกถาอุทาน นันทวรรค นันทสูตรที่ ๒ หนา ๒๑๒ แกวา ฉวิกลฺยาณ ม สกลฺยาณ นขกลฺยาณ (เล็บงาม) อฏิกลฺยาณ วยกลฺยาณ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ