มีอะไรคุ้มครองเราได้

 
Bom
วันที่  30 มี.ค. 2550
หมายเลข  3237
อ่าน  1,596

มีอะไรคุ้มครองเราได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 30 มี.ค. 2550

ในพระไตรปิฎกกล่าวถึง พระปริต เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ หลายสูตร เช่น อาฏานาฏิยสูตร กรณียเมตตาสูตร เป็นต้น ผู้ศึกษาโปรดศึกษาโดยละเอียด เถิด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 30 มี.ค. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ

คุ้มครอง รักษา [อาฏานาฏิยสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 30 มี.ค. 2550

ข้อความบางตอนกล่าวถึงเหตุเกิดของเมตตสูตร

ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นนั่นแหละอยู่กันเถิด แต่ถ้าว่าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลายก็จงพากัน เรียนพระปริตรนี้ ด้วยว่าพระปริตรนี้จักเป็นเครื่องป้องกัน และจักเป็นกรรมฐานสำหรับพวกเธอ ดังนี้ แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกได้ที่นี่ ครับ

เมตตา [เมตตสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 30 มี.ค. 2550

มีตัวอย่างในอรรถกถาธรรมบทว่าผู้เจริญพุทธคุณป้องกันอันตรายได้

เชิญคลิกอ่านที่นี่...เจริญพุทธานุสสติป้องกันอมนุษย์ได้ [คาถาธรรมบท]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จิต89หรือ121
วันที่ 30 มี.ค. 2550

กุศล ที่เราทำ นั่นแหละครับ ที่คุ้มครองเราได้ สำหรับเรื่องการสวดพระปริต หรือพระสูตรต่างๆ ถ้า อมนุษย์ ไม่เข้าใจภาษาบาลี สวดไปก็เปล่าประโยชน์ก็คนสวดเองยังไม่เข้าใจความหมาย แล้วอมนุษย์สมัยนี้ เข้าใจภาษาบาลีหรือไม่ ข้อนี้ควรพิจารณาแต่ยุคนี้ สมัยนี้ คนไม่ดี น่ากลัวกว่า อมนุษย์ เป็นไหนๆ จริงไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
PUM
วันที่ 30 มี.ค. 2550

พระรัตนตรัย เป็นได้ทั้งที่พึ่งและเกราะคุ้มกันภัย โดยเฉพาะภัยคือวัฏสงสาร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้รู้จักการ ให้ทาน เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ ย่อมเที่รักของคนหมู่มาก (ศัตรูย่อมยำเกรง) เป็นเหตุให้มีโภคทรัพย์มาก ฯ (การให้ทาน) รักษาศีล เพราะศีลจะคุ้มครองเราได้ ผู้มีศีลมีปรกติสำรวมกายวาจา ย่อมเป็นผู้ไม่ก่อเวร ไม่ต้องหวาดระแวงว่าใครจะมาแก้แค้นหรือทำร้าย ภาวนา การอบรมปัญญาจะเป็นเครื่องคุ้มครองทิฏฐิ และปัญญาของเราไม่ให้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้จักว่าสิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล และรู้หนทางนำตนออกจากทุกข์แห่งวัฏสงสารในที่สุด

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 มี.ค. 2550

การน้อมระลึกถึงพุทธานุสสติ เป็นเรื่องของจิต เพราะกุศลอยู่ที่จิตมิใช่อยู่ที่คนอื่นหรือการท่อง ดังนั้น การเข้าใจธััมมะ มากขึ้น จิตย่อมน้อมที่จะระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า แม้การที่เราจะสวดมนต์หรือเมตตสูตร ขณะที่สวดก็ด้วยจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย หรือสวดเมตตสูตรก็ด้วยมีจิตที่เมตตาจริงๆ ดังนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจและสภาพจิตที่เป็นกุศล ขณะที่จิตเป็นกุศลขณะนั้น ธรรม (กุศล) ก็ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ซึ่งคนอื่นไม่เป็นประมาณ แม้ใครจะฟังไม่รู้เรื่องที่เราสวด แต่จิตเราเป็นกุศล ก็ชื่อว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม และที่สำคัญก็ต้องมั่นคงในเรื่องของกรรมด้วย ถ้ากุศลวิบากจะให้ผลไม่ต้องสวด กุศลนั่นแหละคุ้มครองเรา แต่ถ้าอกุศลวิบากจะให้ผลต่อให้ท่องมากมาย ก็หนีไม่พ้นกรรมครับ

เรื่องการรักษาตนคือการประพฤติทางกาย วาจา ใจ ที่ดี

เชิญคลิกอ่านที่นี่..ผู้รักษาตน...ผู้ไม่รักษาตน [อัตตรักขิตสูตร]

เรื่อง บุญเท่านั้นเป็นที่พึ่ง

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 216

ข้อความบางตอนจาก ปฐมชนสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุญนั้น
ชื่อว่า ตาณะ เพราะหมายความว่าเป็นที่ต้านทานของผู้ไปสู่ปรโลก
ชื่อว่า เลณะ เพื่อหมายความว่า เป็นที่ซ่อนเร้น
ชื่อว่า ทีปะ เพราะหมายความว่า เป็นที่พำนัก
ชื่อว่า สรณะเพราะหมายความว่า เป็นที่พึ่งอาศัย และ
ชื่อว่า ปรายนะ เพราะสามารถจะให้คติที่สูงได้

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
medulla
วันที่ 30 มี.ค. 2550
ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
PUM
วันที่ 30 มี.ค. 2550
สาธุ...สาธุ...สาธุ...ขอ อนุโมทนา ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
devout
วันที่ 30 มี.ค. 2550
ไม่มีอะไรคุ้มครองเราได้เลยนอกจากกรรมของตนค่ะ
ผู้มีปัญญาย่อมไม่หวาดกลัว
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
citta89121
วันที่ 31 มี.ค. 2550

เรื่องการสวดมนต์ ต้องสวด ทั้ง ภาษาบาลี และภาษาแปลที่เราเข้าใจ เนื่องจากถ้าสวดเป็นภาษาแปลอย่างเดียว นานๆ ไป ความหมายอาจผิดเพี้ยนไปจากภาษาบาลีได้ และถ้าสวดภาษาบาลีอย่างเดียว (โดยไม่เข้าใจความหมาย) ก็จะเหมือนนกแก้ว นกขุนทอง เพื่อความเข้าใจ ผมว่าน่าจะสวดภาษาบาลี 1 ประโยค แล้วตามด้วยภาษาแปล ๑ ประโยค จะดีกว่า อันนี้เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ที่ชอบสวดมนต์นะครับ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ชอบสวดมนต์ (แต่ชอบฟังธรรม) พ่อ แม่ ก็คงไม่บังคับให้สวดใช่ไหมครับ (โตๆ กันแล้ว)

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
unknown
วันที่ 31 มี.ค. 2550
ขณะนี้ก็ตายอยู่ครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ