ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  13 ก.ค. 2559
หมายเลข  27977
อ่าน  3,397

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน หมายถึง ชวนจิต หรือเปล่าคะ อธิบาย ชวนจิต ให้ด้วยค่ะ มีกล่าวใน พระไตรปิฎก ส่วนไหนคะ

ขอบพระคุณที่อนุเคราะห์ให้ความรู้ความเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน เป็นคำสุภาษิต ของชาวโลก ที่มุ่งหมายถึง การได้รับความสุขและความทุกข์ สลับกันไป ไม่แน่นอน ซึ่งก็คือในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วิบาก การได้รับผลของกรรมที่ดี ไม่ดี ครับ ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา ไม่มีคำนี้ ครับ

ชวนจิตเป็นจิตของจิตอย่างหนึ่ง ในกิจของจิต ๑๔ กิจ ชวนจิตทำกิจแล่นไปในอารมณ์หรือ เสพอารมณ์จิตคือการแล่นไปโดยเร็ว หมายถึง จิตที่เป็นชาติกุศลหรืออกุศลของผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ หรือกิริยาของพระอรหันต์ และวิบากจิตที่เป็นโลกุตระ จิตที่ทำกิจชวนะเรียกว่า ชวนจิตมี ๕๕ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง กุศลจิต ๒๑ ดวง สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ดวง อเหตุกกิริยาหสิตุปาทจิต ๑ ดวง โลกุตรวิบากจิต ๔ ดวง จิตที่แล่นไปเสพอารมณ์ซ้ำๆ กัน โดยปกติเกิดดับติดต่อกัน ๗ ขณะ ขณะสลบ ๖ ขณะ ชวนวิถีวาระแรกหลังจากปฏิสนธิและชวนวิถีวาระสุดท้ายก่อนจุติ ๕ ขณะ ขณะที่เข้าฌานสมาบัติหรือผลสมาบัติ มีชวนจิตมากมายจนนับไม่ได้

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของธรรม ไม่เคยเปลี่ยน เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้,การเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นผลของกุศลกรรม แต่เกิดมาแล้ว ก็มีความแตกต่างกัน มีความประพฤติเป็นไปที่แตกต่างกัน ตามการสะสม เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีคนชั่ว ไม่มีคนดี เป็นต้น มีแต่ธรรมเท่านั้นจริงๆ แต่ที่เรียกว่าเป็นคนชั่ว ก็เพราะเหตุว่า ธรรมฝ่ายชั่ว ธรรมฝ่ายไม่ดี คือ อกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ถูกอกุศลครอบงำ จึงมีความประพฤติเป็นไปตามกำลังของอกุศล จึงเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า เป็นคนชั่ว เป็นคนไม่ดี ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป มีเมตตา ต่อผู้อื่น มีการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ไม่ว่าร้าย ผู้อื่น พร้อมทั้งฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน บุคคลประเภทนี้เป็นคนดี เพราะมีกุศลธรรม เกิดขึ้นเป็นไป ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว ตามสมควร เรื่องกรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด กรรมในอดีตชาติที่ผ่านๆ มา แต่ละบุคคลก็ได้กระทำมาอย่างมากมาย มีทั้งดีและไม่ดี กรรมดี กับ กรรมชั่ว เป็นคนละส่วนกัน

การกระทำกรรมดี และ กรรมชั่ว นั้น เป็นการสร้างเหตุใหม่ เมื่อกรรมถึงคราวที่จะให้ผล ผลก็ย่อมเกิดขึ้น (เหตุ ย่อมสมควรแก่ผล) ถ้าเป็นผลของกรรมดี ย่อมทำให้ได้รับในสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ถ้าเป็นผลของกรรมชั่ว ย่อมทำให้ได้รับในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เป็นไปไม่ได้ที่เหตุดี แล้วจะให้ผลไม่ดี หรือ เหตุไม่ดีแล้ว จะให้ผลเป็นดี แต่เหตุย่อมสมควรแก่ผล เหตุดี ผลก็ย่อมดี เหตุไม่ดี ผลก็ต้องไม่ดี

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 13 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 14 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
valaiporn
วันที่ 14 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 15 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ประสาน
วันที่ 16 ก.ค. 2559

สาธุๆ ๆ ๆ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tuijin
วันที่ 22 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ