อยากรู้ความหมายของการสวดพระอภิธรรมในงานศพ

 
jiraphorn
วันที่  3 ก.พ. 2550
หมายเลข  2766
อ่าน  11,216

ได้ฟังการสวดพระอภิธรรมในงานศพแต่สวดเป็นภาษาบาลี ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง อยากรู้คำแปลที่เป็นภาษาไทยค่ะ พระท่านสวดพระอภิธรรมทั้งหมดที่มีในพระไตรปิฎกหรือเปล่าคะ แล้วทำไมพระท่านสวดจบเร็วจัง หรือสวดแค่บางส่วนคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 ก.พ. 2550

ประเพณีของชาวพุทธที่ประพฤติสืบๆ กันมา คือเมื่อมีญาติเสียชีวิตก็นิยมทำบุญถวายทานกับพระภิกษุผู้ทรงศีลแล้วอุทิศให้ญาติผู้จากไป เมื่อพระภิกษุท่านมาท่านก็แสดงพระธรรม เพื่อให้ญาติที่โศกเศร้าถึงผู้ล่วงลับไปได้คลายความโศกเศร้า บทธรรมที่นิยมแสดงหรือสวดในงานศพก็คือมาติกาพระอภิธรรมปิฎก หรือพระอภิธรรมมัตถสังคหะ สำหรับมาติกาพระอภิธรรมปิฎก อ่านได้ในพระอภิธรรมปิฎก และอรรถกถา เล่มที่ 75 ขึ้นไป ส่วนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ มีแปลเป็นภาษาไทย และมีวางจำหน่ายตามร้านขายหนังสือธรรมทั่วไป และขอยกคำบาลีคำแปลมาให้ดูเป็นตัวอย่างดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 4 ก.พ. 2550

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

มาติกา ตอนที่ 1 [ธรรมสังคณี]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 4 ก.พ. 2550

อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธรรมฺมภตฺวิภาวินีนาม อภิธมฺมตฺถสงฺคหฏีกา นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ ปกรณารมฺภคาถา สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ อภิวาทิย ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ฯ ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถา ฯ ปฐโม ปริจฺเฉโท ตตฺถ จิตฺตํ ตาว จตุพฺพิธํ โหติ กามาวจรํ รูปาวจรํ อรูปาวจรํ โลกุตฺตรญฺเจติ ฯ ตตฺถ กตมํ กามาวจรํ ฯ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ สสงฺขาริกเมกํ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ สสงฺขาริกเมกํ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ สสงฺขาริกเมกํ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ สสงฺขาริกเมกนฺติ อิมานิ อฏฺฐปิ โลภสหคตจิตฺตานิ นาม ฯ โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ สสงฺขาริกเมกนฺติ อิมานิ เทฺวปิ ปฏิฆจิตฺตานิ ๑ นาม ฯ อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตเมกํ อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตเมกนฺติ อิมานิ ฯลฯ

อภิธัมมัตถสังคหบาลีแปล

[ปริเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค]

ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระรัตนตรัย

อภิธัมมัตถสังคหบาลี

คาสถาเริ่มต้นปกรณ์

ข้าพเจ้า (ชื่ออนุรุทธาจารย์) ขอถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระภาคอันชั่งไม่ได้ พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่แห่งพระอริยสงฆ์อันสูงสุดแล้ว จักกล่าวปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะฯ อรรถแห่งพระอภิธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น โดยปรมัตถ์ทุกประการ มี ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ ฯ

ปริเฉทที่ ๑

บรรดาอรรถแห่งพระอภิธรรม ๔ อย่างนั้น จิตอันดับแรกมี ๔ อย่าง คือ กามาจิต ๑ รูปาจรจิต ๑ อรูปาวจรจิต ๑ โลกุตตรจิต ๑ ฯ บรรดาจิต ๔ อย่างนั้น กามาวจรจิตเป็นไฉน? จิต ๘ เหล่านี้ คือจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก ๑ สสังขาริก ๑ จิตที่สรหคตด้วยโสมนัส ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก ๑ สสังขาริก ๑ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก ๑ สสังขาริก ๑ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก ๑ สสังขาริก ๑ ชื่อว่า โลภสกคตจิต (จิตประกอบด้วยโลภะ)

จิต ๒ นี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ประกอบด้วยปฏิฆะ เป็นอสังขาริก ๑ เป็นสสังขาริก ๑ ชื่อว่า ปฏิฆจิต ฯ

จิต ๒ นี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยวิกิจฉา ๑ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยอุทธัจจะ ๑ ชื่อว่า โมมูหจิต ฯ

อกุศลจิต ๑๒ จบบริบูรณ์ทุกประการ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
devout
วันที่ 4 ก.พ. 2550

การศึกษาพระอภิธรรมอันดับแรก จะต้องมีปัญญาจากขั้นการฟัง (สุตมยปัญญา) ก่อน คือการศึกษาเรื่องราวของสภาพธรรมจากคำสอนของผู้ที่ตรัสรู้ เมื่อมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง ปัญญาจะเริ่มทำกิจพิจารณาสภาพธรรมนั้นๆ (จินตามยปัญญา) จนกว่าจะเห็นจริงตรงตามที่ตรัสรู้ เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรมทั้งหมด ก็เพื่อเกื้อกูลให้เข้าใจความจริงว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแท้ที่จริง เป็นเพียงแต่ธาตุหรือธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 4 ก.พ. 2550

พระอภิธรรมที่พระท่านสวดนั้น ก็เป็นสภาพธัมมะที่อยู่ในชีวิตประจำวันนั่นเอง ธรรมเป็นกุศล เช่น เมตตา ก็อยู่ในชีวิตประจำวัน (แต่ยึดถือว่าเป็นเรา) ธรรมเป็นอกุศล ก็อยู่ในชีวิตประจำวัน (แต่ยึดถือว่าเป็นเรา) ธรรมเป็นอัพยากฤต ก็อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น เสียง (แต่ยึดถือว่าเป็นเรา) ดังนั้น พระอภิธรรมที่อยู่ในหนังสือก็อยู่ในขณะนี้นั่นเอง ปัญญาจะต้องรู้ว่า ไม่ใช่เรา เมื่อสภาพธัมมะนั้นเกิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 12 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ