ธนาคารกับคนที่ปล่อยเงินให้คนกู้ต่างกันไหม

 
goong
วันที่  31 ม.ค. 2550
หมายเลข  2750
อ่าน  3,711

คนปล่อยเงินเขาว่าเป็นบาปกรรม แต่ธนาคารก็ปล่อยเงินเหมือนกันแต่ไม่บาปกรรม งงมาก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 1 ก.พ. 2550

ในเบื้องต้นควรทราบก่อนว่าคำว่า บาป หมายถึง อกุศลกรรม สภาพจิตที่ไม่ดีทำให้ ผู้อื่นเดือดร้อนไม่ว่าใครทำก็เป็นบาปทั้งสิ้นไม่มียกเว้น เรื่องการปล่อยเงินกู้หรือให้ยืม เงินก็เช่นกัน ถ้าหากให้ผู้อื่นยืมเงินเพื่อการลงทุนและคิดดอกเบี้ยพอสมควรไม่มาก เกินไป หรือไม่คิดดอกเลย การให้ยืมเงินอย่างนี้ไม่เป็นบาป แต่ถ้าคิดดอกเบี้ยแพงเกิน ไป เอารัดเอาเปรียบผู้กู้ยืม อย่างนี้เป็นอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 1 ก.พ. 2550

อยู่ที่เจตนาของคนทีให้ยืม ถ้าคิดดอกเบี้ยถูกไม่บาปแถมเป็นบุญอีกได้ช่วยเหลือ คนไม่มีแต่ถ้าคิดแพงถึงจะไม่ผิดศีลแต่ทำให้คนอื่นเดือนรัอนไม่ดี ถ้าเป็นญาติกันหรือ เพื่อนกันไม่คิดดอกเบี้ยก็จะดีมาก สงเคราะห์ญาติเป็นบุญเป็นกุศล ถ้าญาติยืมแล้ว เราก็ไม่ควรจะท้วงเงินจากเขา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 1 ก.พ. 2550

แม้พระโสดาบัน เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ยังให้กู้ ซึ่งเป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์ซึ่งสำคัญที่เจตนาครับ

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 16

๔. เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี [๙๘]

ในกาลต่อมา เศรษฐี ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์. ทั้งพวกพาณิช ก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ ๑๘ โกฏิจากมือเศรษฐีนั้น. เงิน ๑๘ โกฏิแม้เป็นสมบัติ แห่งตระกูลของเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ (เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร. ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้น ไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้

แต่ที่สำคัญที่สุด เรารู้ตัวไหมว่าเรากู้หนี้และเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว ขณะใดที่ทำอกุศลทาง กาย วาจา ใจ ขณะนั้นก็กู้หนี้แล้ว เป็นหนี้ด้วย เป็นคนจนเข็ญใจ อีกต่างหาก

ลองอ่านข้อความในพระไตรปิฎกที่เราเป็นหนี้ดูครับ (หนทางที่จะพ้นจากหนี้คือการ อบรมสติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน)

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 665

ข้อความบางตอนจาก

อิณสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแลเมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกายวาจา ใจ เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม

เราลองมาดูความคิดของพระโพธิสัตว์เมื่อท่านเป็นพญานกแขกเต้า ว่าท่านคิดเรื่องการกู้หนี้ การเปลื้องหนี้ ว่าเป็นอย่างไรครับ ลองอ่านดูนะ

เชิญคลิกอ่านที่นี่..

การกู้หนี้และการใช้หนี้ [สาลิเกทารชาดก]

แต่คนที่ไม่ใช้หนี้ก็เป็นคนถ่อย

[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 327

ข้อความบางตอนจาก...

วสลสูตรที่ ๗

๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หา ได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนีไปเสีย พึงรู้ว่าเป็น คนถ่อย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ