ทุกอย่างเป็นธรรมะ

 
tanrat
วันที่  14 เม.ย. 2558
หมายเลข  26449
อ่าน  797

ความมั่นคงในธรรมะ มีเมื่อไร การพิจารณาในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จนเป็นความคิดของตนของตน แล้วนำไปประพฤติปฎิบัติ จนไม่มีความไม่แช่มชื่นของจิต ขณะใด ขณะนั้นสติเกิดแล้วค่ะ แต่ขั้นการฟัง ต้องอบรมไปอีกนาน เป็นจิระกาลภาวนา การที่ในชีวิตปกติประจำวันดำเนินไป มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส กระทบสัมผัส คิดนึก หากขาดการฟังธรรม ก็จะระลึกไม่ได้ กราบเรียนท่านอาจารย์ทั้งสองว่า คิดเช่นนี้ เข้าแนวทางที่จะเดินทางถูกไหมคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 เม.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม ที่มุ่งหมายว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมเพื่อเข้าใจความจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา มุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่มีจริง ที่มีลักษณะ นั่น คือ จิต เจตสิก และ รูป แต่ไม่รวมถึง บัญญัติ เรื่องราว ที่เป็นสมมติบัญญัติ ที่ไม่มีลักษณะให้รู้ได้ เพราะฉะนั้น การจะเข้าใจความจริงของสภาพธรรม ต้องเข้าใจตัวจริงที่เป็น สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ที่มีลักษณะให้รู้ เช่น เห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส คิดนึก โลภะ โทสะ กุศลจิต อกุศลจิต เหล่านี้ ที่เกิดขึ้นให้เข้าใจว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา แต่ไม่ได้หมายถึง เรื่องราว ที่คิดเป็นไปต่างๆ หรือ การเห็นเป็นสัตว์ บุคคลควรรู้ เพราะเหตุว่า ไม่สามารถรู้ได้ เพราะ ไม่มีลักษณะให้รู้ แต่ เป็นสิ่งที่ควรไถ่ถอน ละ ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนครับ

ดังนั้น หนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้อง คือ การเข้าใจถูกในขั้นการฟังให้เข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม หมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงที่มีลักษณะให้รู้ ที่ไม่ใช่เรื่องราว บัญญัติ เป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งการจะรู้เช่นนี้ได้ก็ด้วยการอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง แม้แต่คำว่าธรรม คืออะไรเพื่อที่จะไม่ต้องปนกับ เรื่องราว บัญญัติที่ไม่ใช่สภาพธรรมที่มีจริงครับ อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
tanrat
วันที่ 14 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 14 เม.ย. 2558

เรียนธรรมะเพื่อเข้าใจความจริง ทุกขณะเป็นธรรมะ เช่น เห็นเดี๋ยวนี้ ได้ยินเดี๋ยวนี้ แล้วก็ไม่มี หมดไป ผ่านไปทุกขณะ ถ้าปัญญารู้ก็จะไม่มีความติดข้องในสภาพธรรมะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kullawat
วันที่ 14 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 14 เม.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตลอด ๔๕ พรรษา เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อปัญญาโดยตลอด เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ซึ่งมีแล้ว แต่ไม่รู้ ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครสามารถทำอะไรให้เกิดขึ้นได้เลย ทุกขณะเป็นสิ่งที่มีจริง ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ทุกขณะ เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงๆ สิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ก็คือ แต่ละหนึ่งไม่ได้ปะปนกันเลย มีจริง แต่หลากหลายต่างกัน เช่น ความโกรธ เป็นอย่างหนึ่ง ความติดข้องยินดีพอใจเป็นอย่างหนึ่ง ศรัทธาเป็นอย่างหนึ่ง ความละอาย เป็นอย่างหนึ่ง ความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นอย่างหนึ่ง รูปแต่ละรูป เป็นแต่ละหนึ่ง เป็นต้น

ตั้งแต่เกิดมา ก่อนฟังพระธรรม ไม่รู้ความจริงอะไรเลย หลงผิดว่าเป็นเรา หรือหลงผิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เที่ยงยั่งยืน แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่มีจริงนั้นมีลักษณะเฉพาะแต่ละหนึ่ง ซึ่งปะปนกันไม่ได้ เกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเป็นผู้ตรงในทุกคำที่ได้ยินได้ฟัง แข็งไม่ใช่เรา ได้ยินไม่ใช่เรา กุศล ไม่ใช่เรา อกุศล ไม่ใช่เรา รูป ไม่ใช่เรา ทั้งหมดนั้น ล้วนแสดงให้เห็นถึงความจริงของสิ่งที่มีจริง ว่า เป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ แต่ละชนิด ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น นี้คือ การเริ่มฟังความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ให้เข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริง เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจริงๆ เพียงชั่วคราว และสิ่งที่มีจริงนั้น ก็เป็นแต่เพียงธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้น ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตน ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siriporn2509
วันที่ 14 เม.ย. 2558

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
thilda
วันที่ 14 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 15 เม.ย. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอย่างยิ่ง ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 15 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
papon
วันที่ 15 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ms.pimpaka
วันที่ 18 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Jarunee.A
วันที่ 6 ธ.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ