ปิสุณาวาจา มีองค์ ๔

 
เมตตา
วันที่  19 ก.ย. 2557
หมายเลข  25556
อ่าน  1,016

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ในคำว่า ปิสุณํ วาจํ ปหาย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ วาจาที่เป็นเหตุทำคนเป็นที่รักในใจของผู้ที่คนพูดด้วย และเป็น เหตุส่อเสียดผู้อื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.

อนึ่ง วาจาที่เป็นเหตุให้กระทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคาย ทั้ง หยาบคายแม้เอง ไม่เสนาะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา. วาทะที่เป็นเหตุให้บุคคลพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป .แม้เจตนาอันเป็นต้นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ก็พลอยได้ชื่อว่าปิสุณาวาจา เป็นต้นไปด้วย. ก็ในที่นี้ประสงค์เอาเจตนานั้นแหละ.

ในบรรดาวาจาทั้ง ๓อย่างนั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมอง อันให้เกิดกายประโยค และวจีประโยค เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อ ต้องการทำคนให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่า มีคุณน้อย เพราะผู้การทำความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ ผู้นั้นมีคุณมาก.

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน

๒. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่าง กัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺยตา ประสงค์ให้ตนเป็น ที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้ว่างใจ ด้วยอุบายอย่างนี้

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามที่เกิดแต่ความมุ่งให้เขาแตกกันนั้น

๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ ผู้นั้นรู้เรื่องนั้น.

บทว่า อิเมสํ เภทาย ความว่า ฟังในสำนักของคนเหล่าใดที่ตรัส ไว้ว่า จากข้างนี้ เพื่อให้คนเหล่านั้นแตกกัน.

บทว่า ภินฺนานํ วา สนฺธาตา ความว่า มิตร ๒ คนก็ดี ภิกษุ ร่วมอุปัชฌาย์เป็นต้น ๒ รูปก็ดี แตกกันด้วยเหตุไรๆ ก็ตาม เข้าไปหา ทีละคนแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า การแตกกันนี้ไม่ควรแก่ท่านผู้เกิดใน ตระกูลเช่นนี้ ผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ ดังนี้ กระทำ กระทำเนืองๆ ซึ่งการสมาน.

บทว่า อนุปฺปทาตา ความว่า ส่งเสริมการสมาน อธิบายว่า เห็น คน ๒ คน พร้อมเพรียงกันแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า ความพร้อมเพรียงนี้ สมควรแก่ท่านทั้งหลาย ผู้เกิดในตระกูลปานนี้ ผู้ประกอบด้วยคุณเห็น ปานนี้ ดังนี้ กระทำให้มั่นเข้า.

ชื่อว่า ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน เพราะมีคนที่พร้อมเพรียงกันเป็น ที่มายินดี อธิบายว่า ในที่ใดไม่มีคนพร้อมเพรียงกัน ไม่ปรารถนาแม้จะ อยู่ในที่นั้น. พระบาลีเป็น สมคฺคราโม ก็มี ความอย่างเดียวกัน.

บทว่า สมคฺครโต แปลว่า ยินดีแล้วในคนผู้พร้อมเพรียงทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่ปรารถนาแม้จะละคนผู้พร้อมเพรียงเหล่านั้นไปอยู่ที่อื่น. ชื่อว่า เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกัน เพราะเห็นก็ดี ฟังก็ดี ซึ่งคนผู้พร้อมเพรียงกันแล้วเพลิดเพลิน.

ข้อว่า สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา ความว่า กล่าวแต่วาจาที่ทำให้ เหล่าสัตว์พร้อมเพรียงกันอย่างเดียว ซึ่งเป็นวาจาแสดงคุณแห่งสามัคคีเท่านั้น ไม่กล่าววาจานอกนี้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ