ถ้าทำผิด ศีล สังฆาทิเสส เเล้วไม่ได้แก้ ไม่ได้ ปริวาสกรรม จะเป็นอะไรบ้างไหมครับ.

 
sunti
วันที่  20 ก.ค. 2557
หมายเลข  25132
อ่าน  62,728

ผมทำผิดสังฆาทิเลสข้อที่ ๑ ครับ ถ้าไม่แก้จะเป็นยังไงบ้างครับ บางคนบอกว่าถ้าไม่แก้ ชีวิตจะไม่เจริญอะครับ ผมอายไม่กล้าไปบอกพระผู้ใหญ่ ผมต้องทำไงดีครับ แนะนำด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

นมัสการเรียน พระคุณเจ้า ที่เคารพ

อาบัติสังฆาทิเสส แม้จะเป็นอาบัติหนัก แต่ก็เป็นอาบัติที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง ตามพระวินัย ซึ่งการประพฤติที่จะทำให้พ้นจากอาบัติดังกล่าวได้เรียกตามพระวินัยว่า "ประพฤติวุฏฐานวิธี" หรือ การอยู่กรรม (หรือ ที่คุ้นกันในคำว่า อยู่ปริวาสกรรม) ซึ่งจะต้องอาศัยสงฆ์เป็นหลัก เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ไม่ควรปกปิดไว้ ต้องบอกแก่พระภิกษุด้วยกันว่า ตนเองต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะถ้าปกปิดไว้กี่วัน หรือเป็นเดือน เป็นปี ก็ต้องอยู่ปริวาสตามวันที่ตนเองได้ปกปิดอาบัติไว้

อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังปฏิญาณตนว่าเป็นพระภิกษุ เมื่อต้องอาบัติแล้ว ก็จะต้องกระทำคืนแก้ไขให้ถูกต้อง ตามพระวินัย เห็นโทษ พร้อมทั้งมีความจริงใจที่จะไม่ล่วงละเมิดอีก เพื่อให้ตนเองพ้นจากอาบัตินั้นๆ เพราะถ้าไม่แก้ไข ยังเป็นผู้มีอาบัติอยู่ย่อมเป็นเครื่องกั้นสวรรค์ กั้นการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ถ้ามรณภาพลงในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า [แต่ถ้าได้ลาสิกขา (คือ สึกไป) เป็นคฤหัสถ์ โดยที่ยังไม่ได้อยู่ปริวาสกรรม ก็ไม่มีอาบัติติดตัวอีกต่อไป เพราะไม่ได้เป็นพระภิกษุแล้ว]

...ขออนุโมทนา ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
sunti
วันที่ 20 ก.ค. 2557
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 1 โดย paderm ขอบพระคุณครับ ผมต้องไปบอกพระผู้ใหญ่เหรอครับ ปลงอาบัติ กับท่านเหรอครับ สมมติว่า ถ้าสึกแล้ว อาบัติก็จะหายไปใช่มั้ยครับ แล้วจะส่งผล มีผลต่อการดำเนินชีวิตของเราในอนาคตมั้ยครับ?

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

นมัสการเรียน พระคุณเจ้า ที่เคารพ

พระวินัยบัญญัติแต่ละสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง เพื่อให้พระภิกษุได้สำรวมระวัง ไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทนั้นๆ อันจะเป็นไปเพื่อฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ให้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะล่วงละเมิดสิกขาบท ก็ย่อมจะมีได้มาก รวมถึงต้องอาบัติสังฆาทิเสสด้วย ซึ่งเมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ต้องแก้ไขด้วยการประพฤติวุฏฐานวิธี (อยู่กรรม) ตามพระวินัย จึงจะพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้ ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาบัติหนักหรือเบา ถ้าไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว ย่อมมีโทษแก่ภิกษุรูปนั้น เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผลนิพพาน และถ้ามรณภาพในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า แต่ถ้าได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เป็นเครื่องกั้น

ประเด็นที่น่าคิด คือ ผู้ที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แก้ไขตามพระวินัยเลย จำเป็นจะต้องไปบวชใหม่เพื่อกระทำให้ถูกต้อง หรือไม่

เมื่อลาสิกขาแล้ว ย่อมไม่มีอาบัติอีกต่อไป สามารถเป็นคนดี ในเพศคฤหัสถ์ได้โดยไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องอาบัติ เพราะเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติ ไม่ใช่เพศบรรพชิตอีกต่อไป ก็ควรที่จะเป็นคนดี ควบคู่ไปกับการฟังพระธรรมให้เข้าใจ แต่ถ้ากลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติที่เคยต้องไว้ยังไม่ได้แก้ไขเมื่อตอนบวชครั้งก่อน กลับมาทั้งหมด ก็จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ต่อไป ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 20 ก.ค. 2557

ถ้าสึกแล้วก็จบ ก็ไม่ได้อาบัติ ไม่ได้เป็นเครื่องกั้นมรรคผล นิพพาน สะสมปัญญา อบรมบารมีต่อได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Lertchai
วันที่ 7 ธ.ค. 2559

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Naphasin
วันที่ 15 พ.ค. 2563

ถ้าไม่แก้ อาบัติสังฆทิเสสข้อที่ ๑ แล้วสึกออกมา จะไม่มีผลอะไรกับชีวิตจริงๆ หรอคับ ผมเคยได้ยินบางคนบอกทำอะไรก็ไม่เจริญเลยนะคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 15 พ.ค. 2563

เรียนความเห็นที่ 8

ข้อสงสัยของท่านมีคำตอบในความเห็นที่ 4 โดย อ.คำปั่น ดังนี้

เมื่อลาสิกขาแล้ว ย่อมไม่มีอาบัติอีกต่อไป สามารถเป็นคนดี ในเพศคฤหัสถ์ ได้โดยไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องอาบัติ เพราะเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติ ไม่ใช่เพศบรรพชิตอีกต่อไป ก็ควรที่จะเป็นคนดี ควบคู่ไปกับการฟังพระธรรมให้เข้าใจ แต่ถ้ากลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติที่เคยต้องไว้ยังไม่ได้แก้ไขเมื่อตอนบวชครั้งก่อน กลับมาทั้งหมด ก็จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ต่อไป ครับ

สำหรับเรื่องที่ท่านเคยได้ยินจากบางคนบอกว่า ทำอะไรก็ไม่เจริญเลย นั้น

ขอเรียนว่า ความเจริญหรือความเสื่อม เป็นผลจากกุศล หรืออกุศลกรรมของท่านเอง ครับ

ข้อความบางตอนจากความเห็นที่ 4 ในกระทู้ ....

กฏแห่งกรรม และบาป

กรรมใดได้กระทำ แล้วก็เป็นเหตุให้เกิดผล คือ วิบากแก่ผู้กระทำกรรมนั้น ตามควรแก่โอกาสของกรรมนั้นๆ ผู้กระทำกรรมจึงเป็นผู้รับผลของกรรม โดยมีกรรมเป็นกำเนิด คือ เป็นเหตุให้เกิดในสุคติภูมิหรือทุคติภูมิ เมื่อเกิดมาแล้วก็มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เมื่อถึงโอกาสของอกุศลกรรมให้ผล ขณะนั้นก็มีอกุศลกรรมเป็นพวกพ้อง มีความวิบัติต่างๆ เกิดขึ้น แม้จากญาติ มิตรสหาย บริวาร และคนอื่นๆ

เมื่อถึงโอกาสของกุศลกรรมให้ผล ก็ตรงข้ามกับผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงมีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ตราบใดที่ยังมีสังสารวัฎฎ์ก็ไม่พ้นกรรมตั้งแต่ขณะเกิด เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีกรรมก็ไม่ต้องเกิด แต่ละคนเกิดมาต่างกันเพราะกรรมต่างกัน กรรมนั้นมีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม กรรมที่ได้กระทำแล้ว สามารถให้ผลได้เมื่อยังมีสังสารวัฎฎ์ เมื่อกลัวผลของอกุศลกรรม หรือความเสื่อม ก็ควรเจริญกุศลกรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ โดยเฉพาะกุศลกรรมที่จะทำให้พ้นจากสังสารวัฎฎ์ เพราะเมื่อยังเป็นกุศลกรรมที่ทำแล้ว ก็ไม่พ้นจากสังสารวัฎฎ์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ