ภวังคจิตเป็นเหมือนมารดา ชวนจิตเป็นเหมือนบุตร

 
papon
วันที่  28 ก.พ. 2557
หมายเลข  24535
อ่าน  1,039

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

ท่านอาจารย์บรรยาย" ภวังคจิตเป็นเหมือนมารดา ชวนจิตเป็นเหมือนบุตร"

(ถ้าผิดต้องขออภัยด้วยครับ)

หมายความว่าอย่างไรครับ ขอความกรุณาช่วยแปลพจนานี้ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สามารถอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ได้ที่นี่ครับ

ผู้ถาม อาจารย์บอกว่าเวลาเกิดอกุศลจิตมาจากภวังค์คือมารดาไม่ดี

สุ. ถ้าไม่มีปฏิสนธิ ไม่มีภวังค์ จะมีอกุศลจิตเกิดมาได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม

ผู้ถาม ถ้าเกิดเป็นกุศลจิตก็แสดงว่า

สุ. เช่นเดียวกัน

ผู้ถาม มารดาดีหรือ

สุ. แน่นอน สะสมมา ภวังคจิตดีเพราะว่าปฏิสนธิจิตเป็นผลของกุศลกรรมและก็การสะสมก็สะสมสิ่งที่ดี สะสมความเมตตาใครๆ เขาอาจจะกลัว อาจจะโกรธ แต่ผู้ที่สะสมความเมตตาก็พร้อมที่จะเป็นมิตรเป็นเพื่อน พร้อมที่จะเกื้อกูลทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

ผู้ถาม แต่ก็สลับกันเพราะว่าบางครั้งก็เป็นอกุศล

สุ. ถูกต้อง ส่วนใหญ่เป็นดีหรือไม่ดี

ผู้ถาม ไม่ดี

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 28 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจ ต้องเข้าใจก่อนว่า ภวังคจิต เป็นจิตชาติวิบาก เป็นจิตที่เกิดขึ้นกิจดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้ และ กล่าวได้ว่า เป็นจิตประภัสสร เพราะขณะที่เป็นภวังจิต นั้น ไม่ได้เห็นไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่มีกิเลสประการต่างๆ เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ไม่ได้ประกอบด้วยความโลภ ความโกรธ เป็นต้น เลย จึงเป็นจิตที่ผ่องใส ภวังคจิต ไม่ใช่ชวนจิต เป็นจิตคนละประเภทกัน ขณะที่เป็นภวังคจิตนั้น ไม่ได้เป็นอกุศล เลย แต่เมื่อมีเหตุปัจจัย อกุศลจิตเกิดขึ้น ทำให้จิตในขณะนั้นเศร้าหมองไปด้วยอกุศลเจตสิกประการต่างๆ ที่เกิดร่วมด้วย ในกรณีนี้ ก็อุปมาได้ว่า ภวังคจิต เปรียบเหมือน มารดาบิดา อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณความดี แต่ก็ต้องมาเสื่อมเสียชื่อเสียง เพราะบุตรที่ไม่ดี ซึ่งเปรียบได้กับขณะจิตที่เป็นอกุศลนั่นเอง จากที่เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส ก็มาเศร้าหมอง ในขณะที่เป็นอกุศล ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นกุศลจิตซึ่งประกอบด้วยเหตุที่ดีงาม มี อโลภะ อโทสะ และ ปัญญา ขณะนั้นพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิต เป็นขณะจิตที่ดี ก็เปรียบเหมือนกับบุตรที่ดีที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี ทำให้มารดาบิดา (ซึ่งเปรียบเหมือนกับภวังคจิต ซึ่งเป็นจิตประภัสสร) เป็นต้น พลอยได้รับการชื่นชมสรรเสริญ อันเนื่องมาจากมีบุตรที่ดี นั่นเอง เพราะจิตในขณะนั้นไม่ได้เศร้าหมองเพราะกิเลสใดๆ เลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ....

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 28 ก.พ. 2557

ภวังคจิต เป็นผลของกรรม ที่ดำรงภพชาติ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 2 มี.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
napachant
วันที่ 5 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 14 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ