ไม่ใช่แยกเป็นสำนักต่าง ๆ และกล่าวว่ามีข้อปฏิบัติต่าง ๆ

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  11 ธ.ค. 2549
หมายเลข  2450
อ่าน  910

ควรจะเข้าใจสภาพธรรมทั้งหลาย ให้ถูกต้องจริงๆ เช่น ธรรมทั้งหลายเป็น

อนัตตา เพียงเท่านี้ถ้าใครสามารถเข้าใจถูกต้อง และศึกษาพิจารณามาก

ขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่แยกเป็นสำนักต่างๆ และกล่าว

ว่ามีข้อปฏิบัติต่างๆ หนทางปฏิบัติใด ทำให้ปัญญาอบรมเจริญขึ้น จน

ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามปกติ ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน หน

ทางปฏิบัตินั้นถูก หนทางปฏิบัติใด ไม่ทำให้ปัญญารู้แจ้งสภาพธรรมใน

ชีวิตประจำวัน หนทางปฏิบัตินั้น ก็ไม่ใช่การเจริญปัญญา เพื่อรู้แจ้งอริย-

สัจจธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 13 ธ.ค. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
medulla
วันที่ 13 ธ.ค. 2549
สาธุ กระจ่างมากขึ้นค่ะ เข้าใจแล้วว่า ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ปัญญาเกิด ไม่ใช่การไปนั่งหลับตาหรือทำความนิ่งอะไร
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 14 ธ.ค. 2549

สัมมามรรค คือ หนทางที่ถูก และมีมิจฉามรรค คือ หนทางที่ผิดก็มีด้วย ดังนั้น ไม่ใช่ ข้อปฏิบัติทุกอย่างจะถูกหมด โดยอ้างว่าจุดหมายเดียวกัน ควรพิจารณาและเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก และที่สำคัญสามารถพิสูจน์ได้ในขณะนี้ครับ ข้อความบางตอนจากวัชชิยสูตรเกี่ยวกับเรื่องข้อปฏิบัติ ทุกอย่างไม่จำเป็นว่าต้องควรประพฤติ หรือถูกทั้งหมดครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 308

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ คฤหบดี ท่านพึงข่มขี่พวก

โมฆบุรุษให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยกาลอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล

ดูก่อนคฤหบดี เราไม่กล่าวตบะทั้งหมดว่า ควรบำเพ็ญ เราไม่กล่าวตบะ

ทั้งหมดว่า ไม่ควรบำเพ็ญ เราไม่กล่าวการสมาทานทั้งหมดว่า ควรสมาทาน

เราไม่กล่าวการสมาทานทั้งหมดว่า ไม่ควรสมาทาน เราไม่กล่าวการเริ่มตั้ง

ความเพียรทั้งหมดว่า ควรเริ่มตั้งความเพียร เราไม่กล่าวการเริ่มตั้งความ

เพียรทั้งหมดว่า ไม่ควรเริ่มตั้งความเพียร เราไม่กล่าวการสละทั้งหมดว่า

ควรสละ เราไม่กล่าวการสละทั้งหมดว่า ไม่ควรสละ เราไม่กล่าวการ

หลุดพ้นทั้งหมดว่า ควรหลุดพ้น เราไม่กล่าวการหลุดพ้นทั้งหมดว่า

ไม่ควรหลุดพ้น ดูก่อนคฤหบดี เมื่อบุคคลบำเพ็ญตบะอันใดอยู่ อกุศล-

ธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวตบะ

เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรบำเพ็ญ ก็เมื่อบุคคลบำเพ็ญตบะอันใดอยู่ อกุศล-

ธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวตบะ

เห็นปานนั้นว่าควรบำเพ็ญ เมื่อบุคคลสมาทานการสมาทานอันใดอยู่อกุศล-

ธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการ

สมาทานเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรสมาทาน เมื่อบุคคลสมาทานการสมาทาน

อันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง

เรากล่าวการสมาทานเห็นปานนั้นว่า ควรสมาทาน เมื่อบุคคลเริ่มตั้งความ

เพียรอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อม

เสื่อมไป เรากล่าวการเริ่มตั้งความเพียรเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรเริ่มตั้ง เมื่อ

บุคคลเริ่มตั้งความเพียรอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศล-

ธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการเริ่มตั้งความเพียรเห็นปานนั้น ว่า

ควรเริ่มตั้ง เมื่อบุคคลสละซึ่งการสละอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อม

เจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการสละเห็นปานนั้นว่าไม่ควรสละ เมื่อบุคคลสละการสละอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม

ไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการสละเห็นปานนั้นว่า ควร

สละ เมื่อบุคคลหลุดพ้นการหลุดพ้นอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ

ยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการหลุดพ้นเห็นปานนั้นว่า

ไม่ควรหลุดพ้น เมื่อบุคคลหลุดพ้นการหลุดพ้นอันใดอยู่ อกุศลธรรม

ทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการหลุด

พ้นเห็นปานนั้นว่า ควรหลุดพ้น ลำดับนั้น วัชชิยมาหิตคฤหบดีอันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วย

ธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อวัชชิยมาหิตคฤบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดแล

ผู้มีกิเลสเพียงดังว่าธุลีในปัญญาจักษุน้อยในธรรมวินัยนี้ตลอดกาลนานภิกษุ

แม้นั้น พึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดย

ชอบธรรม เหมือนอย่างวัชชิยมาหิตคฤหบดีข่มขี่แล้วฉะนั้น.

จบวัชชิยสูตรที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pamali
วันที่ 29 ก.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ