รูปนิมิตและรสนิมิต

 
papon
วันที่  10 ธ.ค. 2556
หมายเลข  24154
อ่าน  1,480

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

รูปนิมิตและรสนิมิตมีการเกิดดับและปรุงแต่งเป็นสังขารนิมิตเหมือนกันหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไรครับ

ขอความอนุเคราะห์และขออนุโมทนาครับ (พระอภิธรรมพื้นฐานตอนที่237)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ต้องมีรูป (สี) ที่ปรากฏทางตา เกิดขึ้นเป็นไป จึงมีนิมิตของสีที่ปรากฏได้นั่นก็คือ มีรูปนิมิต ในทำนองเดียวกัน รส ก็เป็นธรรมที่มีจริงที่เป็นรูปธรรม ต้องมี รส เกิดขึ้นเป็นไปจึงมี รสนิมิต เพราะถ้าไม่มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไป อะไรๆ ก็ไม่มี ทั้งสี และ รส เป็นสังขารธรรมเป็นสภาพธรรมที่เกิด เพราะเหตุปัจจัย และเกิดตามสมุฏฐานของตนๆ

สำหรับเรื่องของสังขารนิิมิต โดยนัยที่กล่าวถึงนิมิตของขันธ์ ๕ นั้น สังขารนิมิตในที่นี้ มุ่งหมายถึงนิมิตของสังขารขันธ์ ซึ่งเป็นเจตสิกธรรม ๕๐ ประเภท (นอกเหนือจากสัญญาเจตสิกและเวทนาเจตสิก) ซึ่งเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตให้เป็นไปกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นต้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว แม้ในขณะนี้ก็ไม่ปราศจากสังขารขันธ์เลย แต่ถ้าจะกล่าวโดยรวมว่า สภาพธรรมที่เกิดดับทั้งหมด เป็นสังขาร ก็ได้ และเมื่อเกิดดับสืบต่อกันก็ปรากฏเป็นนิมิต โดยนัยนี้จะหมายรวมนิมิตของธรรมที่เกิดดับทั้งหมดว่า เป็นสังขารนิมิต ก็ได้ สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ

ขอเชิญอ่านคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ทบทวน เพิ่มเติมได้ ดังต่อไปนี้

ถ้าไม่มีสภาพธัมมะ ที่เกิดดับสืบต่อ จะมีนิมิตไหม อยู่ดีๆ ก็มีนิมิต โดยที่ไม่มีสภาพธัมมะได้อย่างไร นี่คือ ความเป็นเหตุเป็นผลอย่างยิ่งนะคะ ของธัมมะเป็นความจริง ที่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าอะไรก็ตามค่ะ ที่ปรากฏว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ความจริงคืออะไรความจริงต้องมีธัมมะอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดดับสืบต่อจนกระทั่งปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือความจำ อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น คำว่า “เช่น” เป็นนิมิต หรือเปล่าคะ ถ้าเป็นเสียงเล็กน้อย เพียงกระทบหู ปรากฏแล้วดับ ที่ทรงแสดงไว้นะคะว่า จิตเกิดดับอย่างรวดเร็ว นับประมาณไม่ได้ ก็คือ เดี๋ยวนี้เนี่ยค่ะ ทันทีที่เห็น ก็เป็นคนเยอะเลย ทำไมนิมิตมามากมายอย่างนี้ ทั้งสิ่งที่ปรากฏที่เกิดดับ และจิตที่ไปรู้ด้วย ว่าเป็น รูปร่างสัณฐานต่างๆ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า การเกิดดับเร็วมากแล้ว ก็เพราะการเกิดดับอย่างเร็ว จึงไม่สามารถ ที่จะรู้เพียงหนึ่ง ที่เกิดแล้วดับ แต่เมื่อหลายๆ ขณะ เกิดสืบต่อ ทั้งสิ่งที่ปรากฏ ก็ปรากฏเป็นนิมิต และจิตก็เป็นนิมิตด้วยเช่น เห็นขณะนี้ค่ะ เห็น หนึ่ง ขณะ หรือเปล่าคะที่กำลังเห็นอยู่เดี๋ยวนี้ หลายขณะ จนรู้ว่า เห็น นี่คือ นิมิตของจิตเห็น เพราะฉะนั้นนิมิต ทุกอย่าง นะคะ รูป รูปะนิมิต ไม่ว่าจะเป็นเป็นสีที่ปรากฏทางตา รูปร่างสัณฐานต่างๆ หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรสทั้งหมด เป็นนิมิตแล้วค่ะ เพราะว่า ไม่ได้เพียงเกิดแล้วดับเพียงเกิดแล้วดับจึงสามารถที่จะรู้ว่า นั่นไม่ใช่นิมิต แต่เป็นธัมมะ แต่เพราะเหตุว่า เกิดดับอย่างเร็วนะคะ เพราะฉะนั้นตลอดเวลา รู้ นิมิตหมด ยังไม่ได้ รู้ การเกิดดับเพียงหนึ่ง เพราะว่า เกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ ด้วยเหตุนี้ ก็จะเข้าใจ ความหมายของนิมิตไม่ใช่ว่าเพียงแต่ฟัง แล้วก็ ลืมไปแล้วว่ายังไงแต่นิมิตของสิ่งที่มีจริง เพราะ สิ่งที่มีจริง เกิดดับเร็วจึงปรากฏเป็นรูปร่าง หรือนิมิต แต่ละทาง เช่น นิมิตของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เป็นอย่างนี้นะคะ เป็นคิ้ว เป็นตา เป็นจมูก เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ นั่นคือ รูปร่างสัณฐานของ สิ่งที่เกิดดับ ปรากฏให้เห็นได้นิมิตของเสียงก็เป็นเรื่องเลยค่ะ ทันที เป็นคำออกมา แต่ละคำได้ยินเสียง หรือว่า ได้ยินคำ ได้ยินเสียง หรือว่า ได้ยินคำ คะถ้าไม่มีเสียง จะมีคำ ได้ยังไงคะ แต่เพราะเสียงนั้น นะคะ ต่างกัน หลากหลาย เป็นนิมิต ของแต่ละเสียงทำให้คิดถึง แต่ละคำ ด้วยเหตุนี้ เวลาคิด คิดคำ ใช่ไหมคะ ทั้งๆ ที่ ถ้าไม่มีเสียงก็ไม่มีคำ แต่ไม่ได้จำเสียง แต่จำคำซึ่งเป็นนิมิตของเสียง เพราะ ทุกครั้งที่คิดแต่ละคำ ก็คือ กำลังคิดถึง นิมิต ไม่ใช่จำเสียงนะคะ แต่หมายความว่า รู้ว่าเสียงนั้น นิมิตอย่างนั้นน่ะ หมายความถึงอะไรก็จำ แล้ว ก็คิดถึงความหมายนั้นทันทีด้วยเหตุนี้ นะคะ ก็จะเห็นได้ว่า กว่าจะเข้าใจแต่ละคำจริงๆ อย่างมั่นคง

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทั้งรูปนิมิต และ รสนิมิต ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง หากกล่าวถึง รูปนิมิตที่เป็นโดยนัยของสี และ รสนิมิต ที่เป้น รสที่ปรากฎทางลิ้น ก็รวมอยู่ใน นิมิต ๕ ที่เป็นรูปนิมิตในขันธ์ ๕ ที่เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น ทั้ง รูปนิมิต และ รสนิมิต ก็เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น และ ดับไป เพราะ ถ้าไม่มีการเกิดขึ้นก็ไม่มีการปรากฏของสี และ ไมมีการปรากฎของรส เพราะ ไม่มีการเกิดขึ้น แต่เพราะ มีการเกิดขึ้นแล้ว จึบงมีสภาพธรรมนั้นปรากฎ นี่แสดงถึงความเป็นสภาพธรรมที่เป็น สังขารธรรม ที่มีปัจจัยปรุงแต่ง และ ต่างก็เป้นสังขารมิต ซึ่งขออธิบายคำว่า นิมิต และ สังขารนิมิตให้เข้าใจพอสังเขป ดังนี้ ครับ ตามความเข้าใจดังนี้

ในเรื่อง นิมิตของสภาพธรรมโดยทั่วไป ที่เข้าใจกันนั้น เมื่อได้ยินคำว่า นิมิต ก็มี อนุพยัญชนะด้วย นิมิตในที่นั้น หมายถึง ส่วนหยาบ ที่เห็นเป็นรูปร่าง สัณฐานแล้ว ที่เป็นบัญญัติ เรื่องราวในขณะนั้น หากแต่ว่านิมิต มีหลากหลายนัย ทั้งนิมิตในสภาพธรรมที่กำลัง มี กำลังปรากฎ ที่เป็นรูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต นิมิตของสภาพธรรม นั่น ก็คือ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ซึ่งในวิปัสสนาญาณ ที่เห็นความเป็นภัยในพระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค แสดงถึง สังขารนิมิต นิมิตของสภาพธรรมไว้ น่าพิจารณาครับว่า พระโยคาวจร คือ ผู้ที่อบรมปัญญา พิจารณาเห็นสังขารนิมิต ว่ามีภัยคือ สภาพธรรมในขณะนี้ ที่เกิดขึ้น และ ดับไป มีภัย เป็นต้น ส่วน พระนิพพาน ชื่อว่า สภาพธรรมที่ไม่มีนิมิต คือ ไม่มีลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป ดังนั้น นิมิตอีกนัยหนึ่ง ย่อมหมายถึง สภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนิมิตให้รู้ มีลักษณะให้รู้ หากไม่มีนิมิต ไม่มีลักษณะให้รู้ ปัญญาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณ ก็ไม่สามารถรู้ได้ เพราะ ไม่มีนิมิต ลักษณะให้รู้ แต่เมื่อรู้โดยความเป็นนิมิตของสภาพธรรม ย่อมเห็นว่าเกิดขึ้น และ ดับไป นิมิตนั้น หาสาระไม่ได้เลย จึงเจริญอบรมปัญญา ออกจากนิมิต คือ ประจักษ์พระนิพพาน ออกจากนิมิตที่เป็นสังขารนิมิต ที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 14 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ